WORLD7

smed PIONEER 720x100ใจฟู720x100pxgpf 720x100 66

ร่างพระราชบัญญัติป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน (ฉบับที่ ..) พ.ศ. ….

GOV1 copy copyร่างพระราชบัญญัติป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน (ฉบับที่ ..) พ.ศ. ….

      คณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติและรับทราบ ดังนี้

  1.      อนุมัติหลักการร่างพระราชบัญญัติป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน (ฉบับที่ ..) พ.ศ. …. ตามที่สำนักงานป้องกันและปราบปรามการฟอกเงินเสนอ และให้ส่งสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาตรวจพิจารณา โดยให้รับความเห็นของกระทรวงยุติธรรม สำนักงานศาลยุติธรรม และสำนักงานอัยการสูงสุดไปประกอบการพิจารณาด้วย แล้วส่งให้คณะกรรมการประสานงานสภาผู้แทนราษฎรพิจารณา ก่อนเสนอรัฐสภาต่อไป โดยให้แจ้งประธานรัฐสภาทราบด้วยว่า ร่างพระราชบัญญัติฉบับนี้ได้ตราขึ้นเพื่อดำเนินการตามหมวด 16 การปฏิรูปประเทศของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย
  2.      รับทราบแผนในการจัดทำกฎหมายลำดับรอง กรอบระยะเวลา และกรอบสาระสำคัญของกฎหมายลำดับรองที่ออกตามความในพระราชบัญญัติดังกล่าว ตามที่สำนักงานป้องกันและปราบปรามการฟอกเงินเสนอ  
  3. ให้สำนักงานป้องกันและปราบปรามการฟอกเงินรับความเห็นของสำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ เลขานุการที่ประชุมร่วมประธานกรรมการปฏิรูปประเทศทุกคณะไปพิจารณาดำเนินการต่อไปด้วย

สาระสำคัญของร่างพระราชบัญญัติ 

        เป็นการแก้ไขเพิ่มเติมพระราชบัญญัติป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน พ.ศ. 2542 โดยกำหนดเกี่ยวกับการขอคืน หรือชดใช้คืนทรัพย์สินให้แก่ผู้เสียหายเพื่อให้ครอบคลุมทุกความผิดมูลฐาน จากเดิมคุ้มครองเฉพาะความเสียหายทางทรัพย์สิน และการคุ้มครองสิทธิผู้เสียหายในความผิดมูลฐานให้มีสิทธิได้รับชดใช้ค่าสินไหมทดแทนจากทรัพย์สินที่เกี่ยวกับการกระทำความผิด รวมทั้งการคุ้มครองสิทธิผู้มีส่วนได้เสียในทรัพย์สินที่พนักงานอัยการร้องขอให้ตกเป็นของแผ่นดิน ตลอดจนการให้ริบทรัพย์สินอื่นทดแทน หรือริบทรัพย์สินตามมูลค่าของทรัพย์สินที่ตกเป็นของแผ่นดินซึ่งสูญหายหรือเสียหาย โดยมีรายละเอียดดังนี้

  1. กำหนดให้ยกเลิกความในวรรคหกของมาตรา 49 แห่งพระราชบัญญัติป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน พ.ศ. 2542 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติฯ (ฉบับที่ 5) พ.ศ. 2558 เพื่อให้การขอคืนหรือชดใช้คืนทรัพย์สินให้แก่ผู้เสียหายครอบคลุมทุกความผิดมูลฐาน
  2.     กำหนดให้ผู้รับประโยชน์หรือผู้มีส่วนได้เสียโดยตรงในทรัพย์สินที่พนักงานอัยการร้องขอให้ตกเป็นของแผ่นดิน สามารถยื่นคำร้องขอคุ้มครองสิทธิของตน ก่อนศาลมีคำสั่งให้ทรัพย์สินตกเป็นของแผ่นดิน 
  3. กำหนดให้ผู้เสียหายในความผิดมูลฐานที่จะมีสิทธิที่ได้รับชดใช้ค่าสินไหมทดแทน ต้องเป็นผู้ที่แสดงให้ศาลเห็นว่า มีคำพิพากษาถึงที่สุดในคดีความผิดมูลฐานหรือคดีแพ่งที่เกี่ยวเนื่องกับความผิดมูลฐาน ให้ตนได้รับการชดใช้ค่าสินไหมทดแทน หรือตนเป็นผู้เสียหายในมูลฐานความผิดและได้ร้องทุกข์ไว้หรือมีการดำเนินคดี เพื่อเรียกร้องค่าสินไหมทดแทนแล้ว 
  4. กำหนดให้ศาลมีคำสั่งให้ทรัพย์สินที่เกี่ยวกับการกระทำความผิดตกเป็นของแผ่นดิน ถ้าผู้ร้องมิใช่เจ้าของที่แท้จริงหรือมิใช่ผู้รับโอนโดยสุจริต เว้นแต่ตนเป็นผู้เสียหายตามข้อ 3. ให้ศาลมีคำสั่งให้นำทรัพย์สินดังกล่าวไปชดใช้เป็นค่าสินไหมทดแทนให้แก่ผู้เสียหายตามข้อ 3. แทนการสั่งให้ตกเป็นของแผ่นดินได้ และหากมีทรัพย์สินเหลือให้ตกเป็นของแผ่นดิน
  5.      กำหนดให้กรณีที่ทรัพย์สินที่ตกเป็นของแผ่นดินโดยสภาพไม่สามารถส่งมอบได้ สูญหาย ไม่สามารถติดตามเอาคืนได้ มีการนำไปรวมกับทรัพย์สินอื่น มีการจำหน่าย จ่าย โอน หรือติดตามเอาคืนได้ยากเกินสมควร ศาลอาจกำหนดมูลค่าของทรัพย์สินนั้น โดยคำนึงถึงราคาท้องตลาดในวันที่มีคำสั่งให้ทรัพย์สินตกเป็นของแผ่นดิน และสั่งให้ผู้มีหน้าที่ส่งมอบทรัพย์สินนั้นชำระเงินแทนตามมูลค่า โดยคำนึงสัดส่วนของทรัพย์สินที่มีการรวมเข้าด้วยกัน หรือมูลค่าของทรัพย์สินที่ได้มาแทนทรัพย์สินนั้น และการชำระเงินแทนจะชำระทั้งหมดในคราวเดียวหรือจะให้ผ่อนก็ได้ ถ้าไม่ชำระหรือชำระไม่ครบภายในระยะเวลาที่ศาลกำหนดต้องเสียดอกเบี้ยผิดนัด และสามารถบังคับคดีเอาแก่ทรัพย์สินอื่นของบุคคลนั้นได้ แต่ต้องดำเนินการภายในสิบปีนับแต่วันที่ศาลมีคำสั่งถึงที่สุด 
  6. กำหนดให้กรณีที่ศาลมีคำสั่งให้ทรัพย์สินตกเป็นของแผ่นดินหรือมีคำสั่งให้นำทรัพย์สินไปชดใช้เป็นค่าสินไหมทดแทน ถ้าศาลเห็นว่าผู้ร้องเป็นผู้รับประโยชน์หรือผู้มีส่วนได้ส่วนเสียโดยสุจริตและเสียค่าตอบแทน หรือได้มาซึ่งประโยชน์หรือส่วนได้เสียโดยสุจริตและตามศีลธรรมอันดี หรือกุศลสาธารณะ ศาลจะมีคำสั่งคุ้มครองสิทธิของผู้ร้องได้ แต่ถ้าผู้ร้องดังกล่าวเกี่ยวข้องหรือเคยเกี่ยวข้องสัมพันธ์กับผู้กระทำความผิดมูลฐานหรือความผิดฐานฟอกเงินมาก่อน ให้สันนิษฐานว่าเป็นผลประโยชน์หรือส่วนได้เสียได้มาโดยไม่สุจริต
  7.    กำหนดให้กรณีที่ศาลมีคำสั่งให้ทรัพย์สินตกเป็นของแผ่นดินหรือมีคำสั่งให้นำทรัพย์สินไปชดใช้เป็นค่าสินไหมทดแทน ถ้าศาลเห็นว่าผู้ร้องเป็นเจ้าของที่แท้จริงและไม่ใช่ทรัพย์สินที่เกี่ยวกับการกระทำความผิด หรือเป็นผู้รับโอนโดยสุจริตและมีค่าตอบแทน หรือเป็นผู้รับประโยชน์ หรือมีส่วนได้เสียโดยสุจริตและเสียค่าตอบแทน หรือได้มาซึ่งประโยชน์หรือส่วนได้เสียโดยสุจริตและตามศีลธรรมอันดีหรือกุศลสาธารณะ ให้ศาลคืนทรัพย์สินนั้นหรือกำหนดเงื่อนไขการคุ้มครองสิทธิ หรือให้ใช้ราคาหรือค่าเสียหายแทน
  8.   กำหนดให้กรณีที่ศาลมีคำสั่งให้ทรัพย์สินตกเป็นของแผ่นดินหรือมีคำสั่งให้นำทรัพย์สินไปชดใช้เป็นค่าสินไหมทดแทน ถ้ามีทรัพย์สินเกี่ยวกับการกระทำความผิดเพิ่มอีก ให้ศาลมีคำสั่งให้ทรัพย์สินนั้นตกเป็นของแผ่นดิน 
  9. กำหนดให้มีบทเฉพาะกาลรับรองสิทธิของผู้เสียหายที่มีอยู่เดิมก่อนวันที่ร่างพระราชบัญญัตินี้จนกว่าคดีจะถึงที่สุด

(โปรดตรวจสอบมติคณะรัฐมนตรีที่เป็นทางการจากสำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรีอีกครั้ง)

ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา (นายกรัฐมนตรี) 12 พฤษภาคม พ.ศ. 2563

สำนักโฆษก  สำนักเลขาธิการนายกรัฐมนตรี โทร. 0 2288-4396  

******************************************

line logotwitterLike1 Share3Like1 Share1กด Like - Share  เพจ Corehoon-Power Time เพื่อติดตามเคล็ดลับ ข่าวสาร เทรนด์ และบทวิเคราะห์ดีๆ อัพเดตทุกวัน คัดสรรมาเพื่อท่านนักลงทุนโดยเฉพาะ

 Click Donate Support Web

SAM720x100px bgGC 790x90

SME720 x 100banpu 720x90 new1 1

apm

 

 

Facebook

5 ข่าวฮอตนิวส์!