WORLD7

smed PIONEER 720x100ใจฟู720x100pxgpf 720x100 66

ขอความเห็นชอบการจัดทำโครงการและลงนามหนังสือยืนยันการเข้าร่วมโครงการกับองค์การพัฒนาอุตสาหกรรมแห่งสหประชาชาติ (UNIDO)

GOV5 ขอความเห็นชอบการจัดทำโครงการและลงนามหนังสือยืนยันการเข้าร่วมโครงการกับองค์การพัฒนาอุตสาหกรรมแห่งสหประชาชาติ (UNIDO)

     คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบให้กระทรวงอุตสาหกรรม โดยกรมโรงงานอุตสาหกรรมร่วมกับองค์การพัฒนาอุตสาหกรรมแห่งสหประชาชาติ (United Nations Industrial Development Organization: UNIDO) ดำเนินโครงการ Application of Industry – urban Symbiosis and Green Chemistry for Low Emission and Persistent Organic Pollutants free Industrial Development in Thailand (โครงการการประยุกต์ใช้หลักการเอื้อประโยชน์ร่วมกันระหว่างอุตสาหกรรมและชุมชนและการใช้สารเคมีอย่างเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมเพื่อการพัฒนาอุตสาหกรรมในประเทศไทยที่มุ่งสู่การลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกและเลิกใช้สารมลพิษที่ตกค้างยาวนาน) และเห็นชอบต่อร่างหนังสือยืนยันการเข้าร่วมโครงการฯ กับ UNIDO โดยเห็นชอบให้ปลัดกระทรวงอุตสาหกรรมเป็นผู้ลงนามหนังสือยืนยันการเข้าร่วมโครงการฯ ตามที่กระทรวงอุตสาหกรรม เสนอ

                  

สาระสำคัญ

     กระทรวงอุตสาหกรรม โดยกรมโรงงานอุตสาหกรรมร่วมมือกับองค์การพัฒนาอุตสาหกรรมแห่งสหประชาชาติ (UNIDO) ดำเนินโครงการ Application of Industry – urban Symbiosis and Green Chemistry for Low Emission and Persistent Organic Pollutants free Industrial Development in Thailand เพื่อขอรับการสนับสนุนงบประมาณจากกองทุนสิ่งแวดล้อมโลก โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก (Greenhouse Gas : GHG) รวมถึงการปล่อยสารมลพิษ ที่ตกค้างยาวนาน (Persistent  Organic  Pollutant : POPs) และสารเคมีอื่นๆ ที่เป็นอันตรายจากภาคอุตสาหกรรมและชุมชนเมือง โดยการประยุกต์ใช้หลักการเอื้อประโยชน์ร่วมกันระหว่างอุตสาหกรรมและชุมชน และการใช้สารเคมีอย่างเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม (หลักการเอื้อประโยชน์ร่วมกันคือ การใช้ผลิตผลหรือผลพลอยได้ที่เกิดจากอุตสาหกรรมหนึ่ง เพื่อให้เกิดประโยชน์แก่อุตสาหกรรมอื่นหรือชุมชนใกล้เคียง 

     โดยปลัดกระทรวงอุตสาหกรรมเป็นผู้ลงนามหนังสือยืนยันการเข้าร่วมโครงการฯ ซึ่งปลัดกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมได้ให้การรับรองข้อเสนอโครงการดังกล่าวตามมติคณะรัฐมนตรี เมื่อวันที่ 9 พฤษภาคม 2549 แล้ว และกองทุนสิ่งแวดล้อมโลกสิ่งแวดล้อมโลกได้อนุมัติงบประมาณในการดำเนินโครงการดังกล่าว เมื่อวันที่ 2 เมษายน 2562 ในรูปแบบเงินสด (In cash) จำนวน 8.966 ล้านดอลลาร์สหรัฐ (ประมาณ 273 ล้านบาท โดยคิดจากอัตราแลกเปลี่ยน 1 ดอลลาร์สหรัฐ : ประมาณ 30 บาท) โดยรวมเข้ากับงบประมาณสนับสนุน   (Co-Financing ) จากหน่วยงานภาครัฐที่เกี่ยวข้องและผู้ประกอบการในประเทศไทยที่เข้าร่วมโครงการจำนวน 120 ล้านดอลลาร์สหรัฐ (ประมาณ 3,840 ล้านบาท)

                  

สาระสำคัญของโครงการ                 

วัตถุประสงค์   

     เพื่อลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก รวมถึงการปล่อยสารมลพิษที่ตกค้างยาวนานและสารเคมีอื่นๆ ที่เป็นอันตราย จากภาคอุตสาหกรรมและชุมชนเมือง โดยการประยุกต์ใช้หลักการเอื้อประโยชน์ร่วมกันระหว่างอุตสาหกรรมและชุมชน และการใช้สารเคมีอย่างเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม (การเอื้อประโยชน์ร่วมกันคือ การใช้ผลิตผลทางเคมีที่เกิดขึ้นจากอุตสาหกรรมหนึ่งเพื่อให้เกิดประโยชน์แก่อุตสาหกรรมอื่น หรือชุมชนใกล้เคียง)

                   

ระยะเวลาโครงการ      

    กำหนดจะเริ่มดำเนินโครงการฯ ในเดือนพฤษภาคม 2563 ระยะเวลาดำเนินโครงการ 5 ปี (ปี 2563-2567)

                  

หน่วยงานรับผิดชอบ    

      กระทรวงอุตสาหกรรม โดยกรมโรงงานอุตสาหกรรมจะเป็นหน่วยงานหลักในการกำกับดูแลดำเนินโครงการฯ ในภาพรวม และ UNIDO จะทำหน้าที่หน่วยบริหารโครงการและสนับสนุนผู้เชี่ยวชาญเพื่อให้บรรลุวัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้

'

เป้าหมายโครงการฯ     

         ลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก จำนวน 1.3 ล้านตันคาร์บอนไดออกไซด์ และลดสารพิษที่ตกค้างยาวนาน จำนวน 620 ตัน (ภายใน 5 ปี)

        การดำเนินโครงการ ประกอบด้วย 5 องค์ประกอบ ได้แก่ 1) กรอบนโยบายและกฎหมาย 2) การเสริมสร้างขีดความสามารถของประเทศและ การเสริมสร้างความตระหนักเกี่ยวกับการเอื้อประโยชน์ร่วมกันระหว่างอุตสาหกรรมและชุมชนและสารมลพิษที่ตกค้างยาวนาน 3) กิจกรรมสาธิตการประยุกต์ใช้แนวทางการผลิตที่สะอาดการบริหารจัดการสารมลพิษที่ตกค้างยาวนานชนิดใหม่ และการเอื้อประโยชน์ร่วมกันระหว่างอุตสาหกรรมและชุมชน 4) การพัฒนากรอบเมืองอุตสาหกรรมเชิงนิเวศของประเทศและระบบสนับสนุน 5) การติดตามและประเมินผล

 

ตัวชี้วัดและเป้าหมายของโครงการฯ      

   เช่น 1) จำนวนมาตรการ แนวปฏิบัติด้านนโยบายเพื่อส่งเสริมการเอื้อประโยชน์ร่วมกันระหว่างอุตสาหกรรมและชุมชน และการบริหารจัดการสารมลพิษที่ตกค้างยาวนานชนิดใหม่ และ 2) เมื่อสิ้นสุดโครงการฯ สามารถลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก จำนวน 1.3 ล้านตันคาร์บอนไดออกไซด์ และลดสารมลพิษที่ตกค้างยาวนาน จำนวน 620 ตัน และมีการายงานผลโครงการตามกำหนดเวลา

                 

ค่าใช้จ่ายและแหล่งเงิน

     แหล่งเงิน กองทุนสิ่งแวดล้อมโลกสนับสนุน 8.966 ล้านดอลลาร์สหรัฐ (ประมาณ 273 ล้านบาท) และฝ่ายไทยร่วมสมทบงบประมาณสนับสนุน (Co-Financing) จากหน่วยงานภาครัฐที่เกี่ยวข้อง ประกอบด้วย กรมโรงงานอุตสาหกรรม ทส. (กรมควบคุมมลพิษ) การนิคมอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย สภาอุตสาหกรรม มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ และผู้ประกอบการที่เข้าร่วมโครงการ (หน่วยงานของรัฐที่เกี่ยวข้องดำเนินการผ่านภารกิจปกติที่มีการตั้งงบประมาณประจำปีของหน่วยงานรองรับไว้แล้ว) 120.000 ล้านดอลลาร์สหรัฐ (ประมาณ 3,655 ล้านบาท)

(โปรดตรวจสอบมติคณะรัฐมนตรีที่เป็นทางการจากสำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรีอีกครั้ง)

ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา (นายกรัฐมนตรี) 12 พฤษภาคม พ.ศ. 2563

สำนักโฆษก   สำนักเลขาธิการนายกรัฐมนตรี โทร. 0 2288-4396  

******************************************

line logotwitterLike1 Share3Like1 Share1กด Like - Share  เพจ Corehoon-Power Time เพื่อติดตามเคล็ดลับ ข่าวสาร เทรนด์ และบทวิเคราะห์ดีๆ อัพเดตทุกวัน คัดสรรมาเพื่อท่านนักลงทุนโดยเฉพาะ

 Click Donate Support Web

SAM720x100px bgGC 790x90

SME720 x 100banpu 720x90 new1 1

apm

 

 

Facebook

5 ข่าวฮอตนิวส์!