WORLD7

smed PIONEER 720x100ใจฟู720x100pxgpf 720x100 66

รายงานสรุปผลการดำเนินการประจำปีตามยุทธศาสตร์ชาติและตามแผนการปฏิรูปประเทศประจำปี 2562

GOV7รายงานสรุปผลการดำเนินการประจำปีตามยุทธศาสตร์ชาติและตามแผนการปฏิรูปประเทศประจำปี 2562

 

        คณะรัฐมนตรีมีมติรับทราบตามที่สำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศช.) ในฐานะสำนักงานเลขานุการของคณะกรรมการยุทธศาสตร์ชาติ คณะกรรมการจัดทำยุทธศาสตร์ชาติ และคณะกรรมการปฏิรูปประเทศ เสนอรายงานสรุปผลการดำเนินการประจำปีตามยุทธศาสตร์ชาติและแผนการปฏิรูปประเทศ ประจำปี 2562 ซึ่งที่ประชุมร่วมประธานกรรมการปฏิรูปประเทศทุกคณะในคราวประชุมครั้งที่ 1/2563 เมื่อวันที่ 25 มีนาคม 2563 ได้มีมติเห็นชอบรายงานสรุปผลการดำเนินการตามแผนการปฏิรูปประเทศ ประจำปี 2562 ด้วยแล้ว โดยมีสาระสำคัญสรุปได้ ดังนี้

 

  1. รายงานสรุปผลการดำเนินการตามยุทธศาสตร์ชาติ ประจำปี 2562

     1.1 การประเมินผลความก้าวหน้าตามเป้าหมายของแผนแม่บทภายใต้ยุทธศาสตร์ชาติ ประกอบด้วย 6 ยุทธศาสตร์ 23 ประเด็น 37 เป้าหมาย มีผลการประเมินสรุปได้ ดังนี้

ความก้าวหน้า     จำนวนประเด็น

(ร้อยละ)            สาระสำคัญ

บรรลุค่าเป้าหมายแล้ว     4

(10.8)    

ประเด็น             เป้าหมายที่มีผลสัมฤทธิ์

การเกษตร         ผลิตภาพการผลิตของภาคเกษตรเพิ่มขึ้น

โครงสร้างพื้นฐาน

ระบบโลจิสติกส์

และดิจิทัล          ความสามารถในการแข่งขัน               ด้านโครงสร้างพื้นฐานของประเทศดีขึ้น

เขตเศรษฐกิจพิเศษ          การลงทุนในพื้นที่เขตเศรษฐกิจพิเศษทั้งหมดได้รับการยกระดับ

การเติบโตอย่างยั่งยืน           สภาพแวดล้อมของประเทศไทย            มีคุณภาพดีขึ้นอย่างยั่งยืน

ต่ำกว่าค่าเป้าหมาย               15

(40.5) เช่น ความมั่นคง (เป้าหมาย : ประเทศไทยมีบทบาทเพิ่มขึ้นในการกำหนดทิศทางและส่งเสริมเสถียรภาพของภูมิภาคเอเชียรวมทั้งเป็นประเทศแนวหน้าในภูมิอาเซียน) การต่างประเทศ (เป้าหมาย : ประเทศไทยเป็นหนึ่งในศูนย์กลางทางการค้าการลงทุน และการบริการในภูมิภาคเอเชีย มีระบบเศรษฐกิจที่เน้นการใช้ประโยชน์จากนวัตกรรม) และผู้ประกอบการวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมยุคใหม่ (เป้าหมาย : มูลค่าการระดมทุนผ่านตลาดทุนของกิจการที่เริ่มตั้งต้นและวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมเพิ่มขึ้น)

ต่ำกว่าค่าเป้าหมายระดับเสี่ยง             12

(32.5) เช่น การเสริมสร้างให้คนไทยมีสุขภาวะที่ดี (เป้าหมาย : ประชาชนมีความรอบรู้ด้านสุขภาวะ สามารถดูแลสุขภาพ มีพฤติกรรมสุขภาพที่พึงประสงค์ และสามารถป้องกันและลดโรคที่สามารถป้องกันได้ เกิดเป็นสังคมบ่มเพาะจิตสำนึกการมีสุขภาพที่ดีสูงขึ้น และกฎหมายและกระบวนการยุติธรรม (เป้าหมาย : การอำนวยความยุติธรรมมีความโปร่งใส สะดวก รวดเร็ว เสมอภาค ทั่วถึง เป็นธรรม และปราศจากการเลือกปฏิบัติ)

               6

(16.2)     เช่น การเกษตร (เป้าหมาย : สินค้าเกษตรปลอดภัยมีมูลค่าเพิ่มขึ้น) การท่องเที่ยว (เป้าหมาย : สัดส่วนรายได้จากการท่องเที่ยวเมืองรองต่อรายได้จากการท่องเที่ยวทั้งหมดเพิ่มขึ้น) และการพัฒนาการเรียนรู้ (เป้าหมาย : คนไทยมีการศึกษาที่มีคุณภาพตามมาตรฐานสากล มีทักษะที่จำเป็นของโลกศตวรรษที่ 21 สามารถแก้ไข ปรับตัว สื่อสาร และทำงานร่วมกับผู้อื่นได้อย่างมีประสิทธิผลเพิ่มขึ้น มีนิสัยใฝ่เรียนรู้อย่างต่อเนื่องตลอดชีวิต)

     1.2 ผลการประเมินผลการพัฒนาตามเป้าหมายของยุทธศาสตร์ชาติ ในช่วงปี 2561-2562 ทั้ง 6 มิติ สรุปได้ ดังนี้

 

ลำดับ    มิติ        ผลสัมฤทธิ์

  1. ความอยู่ดีมีสุขของคนไทยและสังคมไทย คนไทยและสังคมไทยมีความอยู่ดีมีสุขดีขึ้น โดยดัชนีความอยู่เย็นเป็นสุขร่วมกันในสังคมไทยในปี 2561 ปรับตัวเพิ่มขึ้นเป็นร้อยละ 76.47 จากร้อยละ 70.40 ในปีก่อนหน้า
  2. ขีดความสามารถ

ในการแข่งขันการพัฒนา

      เศรษฐกิจและการกระจายรายได้ ประเทศไทยมีขีดความสามารถในการแข่งขันดีขึ้น โดยมีผลการจัดอันดับความสามารถในการแข่งขันของประเทศของ International Institute for Management Development (IMD) ในปี 2562 ดีขึ้น 5 อันดับ อยู่ในอันดับที่ 25 แต่ยังต้องเร่งพัฒนาด้านประสิทธิภาพของภาคเอกชน

  1.      การพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ ประเทศไทยได้รับการจัดลำดับจาก United Nations Development Programme (UNDP) ให้อยู่ในกลุ่มประเทศที่มีการพัฒนามนุษย์ในระดับ ‘สูง’ โดยเป็นประเทศกำลังพัฒนาที่มีความก้าวหน้ามากที่สุดในโลกจากการจัดอันดับดัชนีการพัฒนามนุษย์ (Human Development Index : HDI) และอยู่ในอันดับ 77 ในการจัดอันดับโลก (จาก 189 ประเทศ) อย่างไรก็ตาม ค่าดัชนีการพัฒนามนุษย์ที่ไม่เท่าเทียม (Inequality-adjusted Human Development Index : IHDI) ยังคงมีค่าต่ำกว่า HDI อย่างมีนัยสำคัญ สะท้อนให้เห็นถึงการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ของประเทศยังคงมีความเหลื่อมล้ำ
  2. ความเท่าเทียม

และความเสมอภาค

ทางสังคม          

    ความเท่าเทียมและความเสมอภาคของสังคมของประเทศปรับตัวดีขึ้นเล็กน้อย โดยดัชนีตัวชี้วัดความก้าวหน้าทางสังคม (Social Progress Index : SPI) ในปี 2562 ของประเทศไทยมีค่าเท่ากับ 67.47 ปรับเพิ่มขึ้นเล็กน้อยจาก 67.35 ในปี 2560 และสูงกว่าดัชนี SPI เฉลี่ยของโลกที่ 64.47 รวมทั้งค่าสัมประสิทธิ์จีนี (GINI) ซึ่งเป็นดัชนีที่ใช้สำหรับวัดความเหลื่อมล้ำด้านรายได้และรายจ่ายในส่วนของรายจ่ายเพื่ออุปโภคบริโภคลดลงอย่างต่อเนื่อง นอกจากนี้ภาครัฐได้พัฒนาระบบการบริหารจัดการข้อมูลการพัฒนาคนแบบชี้เป้า (TPMAP) เพื่อช่วยให้การช่วยเหลือและพัฒนาศักยภาพกลุ่มคนเป้าหมายให้พ้นจากความยากจนสอดคล้องกับความต้องการและมีความเสมอภาคมากขึ้น

 

  1. ความหลากหลาย

ทางชีวภาพ

     คุณภาพสิ่งแวดล้อม และความยั่งยืนของทรัพยากรธรรมชาติ คุณภาพของทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมของประเทศดีขึ้น โดยดัชนีการชี้วัดการดำเนินการด้านสิ่งแวดล้อมในปี 2561 มีค่าเท่ากับ 49.88 ซึ่งสูงกว่าค่าเฉลี่ยของทั้งโลกที่ 46.16 แต่ยังเป็นค่าดัชนีที่ต่ำกว่าหลายประเทศในภูมิภาค เช่น สิงคโปร์ (64.23) บรูไน (63.57) และมาเลเซีย (59.22)

  1. ประสิทธิภาพการบริหารจัดการ และการเข้าถึงการให้บริการของภาครัฐ ประเทศไทยยังคงมีความท้าทายในประเด็นของการควบคุมปัญหาการทุจริตประพฤติมิชอบ โดยดัชนีชี้วัดธรรมาภิบาลโลกของประเทศไทยในปี 2561 มีค่าคะแนนเฉลี่ยเท่ากับ 43.64 ปรับลดลงเล็กน้อยจากปี 2560 ซึ่งมีค่าคะแนนเฉลี่ยเท่ากับ 43.97 โดยเป็นผลมาจากมิติด้านการควบคุมปัญหาทุจริตประพฤติมิชอบ และมิติการมีสิทธิ์มีเสียงของประชาชนและภาระรับผิดชอบมีคะแนนปรับลดลง

         1.3 ประเด็นท้าทายที่สำคัญ

         1.3.1 ประเด็นท้าทายที่สำคัญในระดับการขับเคลื่อนโครงการ เช่น การบูรณาการความร่วมมือระดับหน่วยงาน ความพร้อมของข้อมูลหรือข้อจำกัดเรื่องการเข้าถึงข้อมูลที่จำเป็น ถูกต้อง และเป็นปัจจุบัน และความต่อเนื่องของการดำเนินโครงการ/การดำเนินงาน

         1.3.2 ประเด็นท้าทายที่สำคัญที่ส่งผลกระทบต่อการบรรลุผลสัมฤทธิ์ตามเป้าหมายของการดำเนินการตามยุทธศาสตร์ชาติ เช่น ภาระหนี้สินส่วนบุคคลและความรู้ทางด้านการวางแผนการเงินของประชาชน ความล่าช้าในการกระจายอำนาจและความรับผิดชอบสู่ท้องถิ่น และการปรับปรุงและทบทวนกฎระเบียบทางราชการที่ล้าสมัยและเป็นปัญหาอุปสรรคในการดำเนินชีวิตหรือการประกอบธุรกิจ

        1.3.3 ประเด็นท้าทายจากการเปลี่ยนแปลงในบริบทโลกที่คาดว่าจะส่งผลต่อการพัฒนาประเทศไทยในมิติต่างๆ เช่น การเปลี่ยนแปลงโครงสร้างประชากร ความก้าวหน้าทางเทคโนโลยีดิจิทัล และแนวโน้มทางการเมืองและเศรษฐกิจระหว่างประเทศ

       1.4 ข้อเสนอแนะในการดำเนินการในระยะต่อไป

       1.4.1 ควรขับเคลื่อนการดำเนินงานผ่านหลักการความสัมพันธ์เชิงเหตุและผล (XYZ) กล่าวคือ การดำเนินโครงการ/การดำเนินงาน (X) จะต้องสามารถส่งผลต่อการบรรลุเป้าหมายของแผนแม่บทภายใต้ยุทธศาสตร์ชาติ (Y) และยุทธศาสตร์ชาติ (Z) รวมทั้งควรบูรณาการการขับเคลื่อนยุทธศาสตร์ชาติและแผนการปฏิรูปประเทศกับกระบวนการงบประมาณอย่างเป็นระบบ

       1.4.2 การจัดทำโครงการ/การดำเนินงานที่สำคัญจะต้องมีการกำหนดส่วนสนับสนุนของโครงการต่อการบรรลุผลลัพธ์การพัฒนาตามเป้าหมายแผนแม่บทตามยุทธศาสตร์ชาติให้สามารถบรรลุได้ตามที่กำหนดไว้ในแต่ละห้วง 5 ปีของการพัฒนาได้อย่างเป็นรูปธรรม

       1.4.3 การจัดทำแผนปฏิบัติราชการของส่วนราชการต้องสอดคล้องกับยุทธศาสตร์ชาติและแผนระดับที่ 2 เพื่อใช้เป็นกรอบในการดำเนินการจัดสรรงบประมาณ

      1.4.4 ควรใช้ระบบติดตามและประเมินผลแห่งชาติ (eMENSCR) เป็นระบบในการติดตาม ตรวจสอบ และประเมินผลการดำเนินการในทุกระดับอย่างแท้จริง

     1.4.5 ควรเปิดโอกาสให้ภาคีแห่งการพัฒนาเข้ามามีส่วนร่วมในการพัฒนามากขึ้น

     1.4.6 ควรขับเคลื่อนเป้าหมายตามยุทธศาสตร์ชาติให้มีความสอดคล้องกับการบรรลุเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน (SDGs)

  1. รายงานสรุปผลการดำเนินการแผนการปฏิรูปประเทศ ประจำปี 2562

      2.1 ผลสัมฤทธิ์การบรรลุเป้าหมายของการปฏิรูปประเทศ ประกอบด้วย 12 ด้าน เรื่องและประเด็นปฏิรูปรวม 173 เรื่อง มีผลการประเมินสรุปได้ ดังนี้

ความก้าวหน้า     จำนวนเรื่องและ

ประเด็นการปฏิรูป

(ร้อยละ)            สาระสำคัญ

ดำเนินการได้ครบถ้วนตามแผน            10

(5.8)       ด้านกฎหมาย

  1. มีกลไกให้การออกกฎหมายป็นกฎหมายที่ดีและเท่าที่จำเป็นรวมทั้งมีกลไกในการทบทวนกฎหมายที่มีผลใช้บังคับแล้วเพื่อให้สอดคล้องกับหลักการตามมาตรา 77 ของรัฐธรรมนูญ

ด้านเศรษฐกิจ

  1. มีหน่วยงานดูแลควบคุมด้านกฎหมาย ด้านการแข่งขันทางการค้า และตลาดเสรี
  2. การขับเคลื่อนและพัฒนาวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม
  3. การปฏิรูปกรมทรัพย์สินทางปัญญา
  4. การปฏิรูปสถาบันทางเศรษฐกิจเพื่อบริหารการส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดเล็ก (SMEs)
  5. การปฏิรูปหน่วยงานขับเคลื่อน ติดตาม และประเมินผลการพัฒนาเศรษฐกิจ

ด้านพลังงาน

  1. การพัฒนาอุตสาหกรรมก๊าซธรรมชาติ
  2. การปฏิรูประบบบริหารจัดการเชื้อเพลิงชีวมวลไม้โตเร็วสำหรับโรงไฟฟ้าชีวมวล
  3. การปฏิรูปโครงสร้างการใช้พลังงานภาคขนส่งระยะ 20 ปี
  4. การส่งเสริมการอนุรักษ์พลังงานและการใช้พลังงานอย่างคุ้มค่าในกลุ่มอุตสาหกรรม

อยู่ระหว่าง

การดำเนินการ

และสามารถบรรลุ

เป้าหมายที่กำหนดไว้

ในปี 2565          60

(34.7)    

เช่น ด้านการเมือง (การเสริมสร้างวัฒนธรรมทางการเมืองและการมีส่วนร่วมของประชาชนในระบอบประชาธิปไตย) ด้านการบริหารราชการแผ่นดิน (การปรับปรุงโครงสร้างและระบบบริหารงานภาครัฐ) และด้านกระบวนการยุติธรรม (การนำเทคโนโลยีมาใช้ในการตรวจค้น จับกุม และการบันทึกภาพและเสียงในการสอบคำให้การในการสอบสวน)

อยู่ระหว่าง

การดำเนินการ

แต่มีความล่าช้า

หรือความเสี่ยงที่จะ

ไม่บรรลุเป้าหมายที่

กำหนดไว้ในปี 2565             77

(44.5)    

เช่น ด้านกฎหมาย (การปรับปรุงกฎหมายเพื่อให้การจัดเก็บภาษีจากผู้ประกอบการที่ยังไม่อยู่ในระบบภาษีหรือยังเสียภาษีไม่ถูกต้อง มีความรัดกุมและมีประสิทธิภาพมากขึ้น) ด้านทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม (การเพิ่มพื้นที่สีเขียวทั่วประเทศ) และด้านสาธารณสุข (การพัฒนามาตรฐานรายงานต้นทุนการจัดบริการ การทดลองใช้และขยายผลให้ทุกหน่วยบริการทั้งรัฐและเอกชนดำเนินการ)

 26(15.0) เช่น ด้านเศรษฐกิจ (การจัดตั้ง Centre of Excellence สำหรับภาคเกษตรร่วมกับมหาวิทยาลัยในพื้นที่ทั่วประเทศ) และด้านสื่อสารมวลชน เทคโนโลยีสารสนเทศ [การปรับเปลี่ยนวิธีการประมูลคลื่นความถี่ (Beauty Contest)]

      2.2 ประเด็นท้าทายที่สำคัญ

      2.2.1 ประเด็นท้าทายที่ส่งผลกระทบต่อการบรรลุเป้าหมายหรืออาจก่อให้เกิดความล่าช้าในการปฏิรูปประเทศ ประกอบด้วย 3 ประการ ได้แก่ (1) ประเทศชาติมีความสงบเรียบร้อย มีความสามัคคีปรองดอง มีการพัฒนาอย่างยั่งยืนตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง และมีความสมดุลระหว่างการพัฒนาด้านวัตถุกับการพัฒนาด้านจิตใจ (2) สังคมมีความสงบสุข เป็นธรรม และมีโอกาสอันทัดเทียมกันเพื่อขจัดความเหลื่อมล้ำ และ (3) ประชาชนมีความสุข มีคุณภาพชีวิตที่ดี และมีส่วนร่วมในการพัฒนาประเทศและการปกครองในระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข

      2.2.2 ความท้าทายในการดำเนินการของหน่วยงานภาครัฐ ได้แก่ (1) การถ่ายทอดแผนการปฏิรูปประเทศไปสู่การปฏิบัติ (2) ความพร้อมของหน่วยงานภาครัฐในการขับเคลื่อนกิจกรรมตามแผนการปฏิรูปประเทศ (3) ระยะเวลาในการดำเนินการ และ (4) การมีส่วนร่วมของประชาชน

      2.3 การดำเนินการในระยะต่อไป

       2.3.1 ปรับปรุงแผนการปฏิรูปประเทศให้มีความสอดคล้องกับยุทธศาสตร์ชาติ รวมทั้งมีความชัดเจนของเป้าหมายในระดับของแผนการปฏิรูป ค่าเป้าหมายและการวัดผลสัมฤทธิ์ในการดำเนินการ เพื่อให้หน่วยงานของรัฐสามารถจัดสรรทรัพยากรเพื่อดำเนินการตามลำดับความสำคัญของเรื่องและประเด็นการปฏิรูป ต่างๆ

      2.3.2 ขับเคลื่อนกิจกรรมการปฏิรูปประเทศที่มีนัยสำคัญ (Big Rock) ซึ่งเป็นกิจกรรม ที่มุ่งเน้นการปรับปรุง เปลี่ยนแปลง หรือแก้ไขประเด็นปัญหาและอุปสรรคเร่งด่วนรวมทั้งจัดการกับความท้าทาย ที่สำคัญในการบรรลุเป้าหมายของการปฏิรูปประเทศ

       2.3.3 สร้างการรับรู้และการมีส่วนร่วมในการดำเนินการของภาคีการพัฒนา ได้แก่ ภาคเอกชน ภาคประชาสังคม ภาคสถาบันวิชาการ และภาคสื่อมวลชน

(โปรดตรวจสอบมติคณะรัฐมนตรีที่เป็นทางการจากสำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรีอีกครั้ง)

ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา (นายกรัฐมนตรี) 5 พฤษภาคม 2563

สำนักโฆษก   สำนักเลขาธิการนายกรัฐมนตรี โทร. 0 2288-4396                        

******************************************

line logotwitterLike1 Share3Like1 Share1กด Like - Share  เพจ Corehoon-Power Time เพื่อติดตามเคล็ดลับ ข่าวสาร เทรนด์ และบทวิเคราะห์ดีๆ อัพเดตทุกวัน คัดสรรมาเพื่อท่านนักลงทุนโดยเฉพาะ

 Click Donate Support Web

SAM720x100px bgGC 790x90

SME720 x 100banpu 720x90 new1 1

apm

 

 

Facebook

5 ข่าวฮอตนิวส์!