โครงการประกันภัยข้าวนาปี ปีการผลิต 2563
- Details
- Category: มติ ครม.
- Published: Saturday, 25 April 2020 23:02
- Hits: 3123
โครงการประกันภัยข้าวนาปี ปีการผลิต 2563
คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบตามที่กระทรวงการคลัง (กค.) เสนอ ดังนี้
- เห็นชอบการดำเนินโครงการประกันภัยข้าวนาปี ปีการผลิต 2563 ตามมติคณะกรรมการนโยบายและบริหารข้าวแห่งชาติ (นบข.) ซึ่งเป็นการดำเนินงานต่อเนื่องจากโครงการฯ ปีการผลิต 2562 ภายใต้วงเงินงบประมาณจำนวน 2,910.39 ล้านบาท โดยใช้เงินงบประมาณคงเหลือในส่วนที่ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร (ธ.ก.ส.) ได้เบิกจ่ายจากสำนักงบประมาณ (สงป.) เพื่อดำเนินโครงการฯ ในปีการผลิต 2562 จำนวน 106.61 ล้านบาท และเสนอของบประมาณเพิ่มเติม จำนวน 2,803.78 ล้านบาท
- เห็นชอบให้ ธ.ก.ส. ทดรองจ่ายเงินอุดหนุนค่าเบี้ยประกันภัยแทนรัฐบาลในส่วนของงบประมาณเพิ่มเติม 2,803.78 ล้านบาท และเบิกเงินชดเชยตามจำนวนที่จ่ายจริงพร้อมด้วยอัตราต้นทุนเงิน ในอัตราดอกเบี้ยเงินฝากประจำ 12 เดือน ธ.ก.ส. บวกร้อยละ 1 ในปีงบประมาณถัดไปให้กับ ธ.ก.ส. ซึ่งคิดเป็นจำนวนเงินรวม 2,980.24 ล้านบาท
- มอบหมายให้ ธ.ก.ส. ดำเนินการขายกรมธรรม์ประกันภัยข้าวนาปี ปีการผลิต 2563 ให้ได้ตามเป้าหมายและตามกำหนดเวลาการเอาประกันภัยของเกษตรกร ทั้งในส่วนที่ 1 และส่วนที่ 2 (Tier 1 และ Tier 2) พร้อมทั้งให้ ธ.ก.ส. บริหารจัดการความเสี่ยงในแต่ละพื้นที่ให้สอดคล้องกับหลักการประกันภัย และร่วมกับสมาคมประกันวินาศภัยไทย (สมาคมประกันฯ) และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องในการดำเนินการประชาสัมพันธ์โครงการฯ รวมทั้งให้ความรู้ด้านการประกันภัยแก่เกษตรกรและบุคคลที่เกี่ยวข้องเพื่อสร้างความตระหนักรู้ในความสำคัญของการประกันภัย
- มอบหมายให้กรมส่งเสริมการเกษตร กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ (กษ.) ประสานงานกับ ธ.ก.ส. และสมาคมประกันฯ ดำเนินการเชื่อมโยงข้อมูลเอกสารทะเบียนเกษตรกรแบบประมวลรวบรวมความเสียหายและการช่วยเหลือเกษตรกรผู้ประสบภัย (แบบ กษ 02) และแบบรายงานข้อมูลความเสียหายจริงของเกษตรกร (แบบ กษ 02 เพื่อการประกันภัย) ตลอดจนดำเนินการเพื่อให้มีการปรับปรุงประสิทธิภาพของระบบฐานข้อมูลสารสนเทศที่เกี่ยวข้องกับโครงการฯ เพื่อรองรับการเพิ่มพื้นที่เป้าหมาย และรองรับการจ่ายค่าสินไหมทดแทนให้รวดเร็วและถูกต้องมากขึ้น พร้อมทั้งให้กรมส่งเสริมการเกษตรเก็บข้อมูลพื้นที่ประสบภัยตามระเบียบกระทรวงการคลังว่าด้วยเงินทดรองราชการเพื่อช่วยเหลือผู้ประสบภัยพิบัติกรณีฉุกเฉิน พ.ศ. 2562
- มอบหมายให้สมาคมประกันฯ พิจารณากำหนดรูปแบบการประเมินความเสียหายแก่เกษตรกรที่ได้รับความเสียหายแต่มิได้อยู่ในเขตพื้นที่ที่มีการประกาศเขตการให้ความช่วยเหลือผู้ประสบภัยพิบัติกรณีฉุกเฉิน ตามระเบียบกระทรวงการคลังว่าด้วยเงินทดรองราชการเพื่อช่วยเหลือผู้ประสบภัยพิบัติกรณีฉุกเฉิน พ.ศ. 2562 ร่วมกับ ธ.ก.ส. และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเพื่อพิจารณาดำเนินการช่วยเหลือเยียวยาต่อไป
- มอบหมายให้สำนักงานคณะกรรมการกำกับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัย (สำนักงาน คปภ.) ปรับปรุงกรมธรรม์ประกันภัยข้าวนาปีให้เป็นไปตามรูปแบบและหลักเกณฑ์ของการรับประกันภัยของโครงการฯ ปีการผลิต 2563 รวมทั้งอนุมัติกรมธรรม์และอัตราเบี้ยประกันภัยให้แล้วเสร็จและสามารถเริ่มรับประกันภัยในปีการผลิต 2563 ได้ทันที ภายหลังคณะรัฐมนตรีได้ให้ความเห็นชอบโครงการฯ ปีการผลิต 2563 และดำเนินการสร้างความรู้ความเข้าใจ ตลอดจนประชาสัมพันธ์โครงการฯ ปีการผลิต 2563 ในภาพรวมและเชิงรุกร่วมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง
สาระสำคัญของเรื่อง
กค. รายงานว่า
- การดำเนินโครงการประกันภัยข้าวนาปี ปีการผลิต 2562 ประสบความสำเร็จอย่างสูงเมื่อเทียบกับปีการผลิต 2560 และปีการผลิต 2561 โดย ณ วันสิ้นสุดการจำหน่ายกรมธรรม์ (15 ธันวาคม 2562) มีจำนวนเกษตรกรผู้เอาประกันภัยในการประกันภัยพื้นฐานในส่วนที่ 1 (Tier 1) 2.01 ล้านราย จำนวนพื้นที่เข้าร่วมโครงการฯ 28.01 ล้านไร่ หรือคิดเป็นร้อยละ 93 ของจำนวนพื้นที่เป้าหมายสูงสุด 30 ล้านไร่ และคิดเป็นร้อยละ 50.04 ของพื้นที่เพาะปลูกข้าวนาปีทั้งประเทศ นอกจากนี้มีเกษตรกรเอาประกันภัยเพิ่มเติมในส่วนที่ 2 (Tier 2) ซึ่งเป็นการประกันภัยภาคสมัครใจ จำนวน 2.43 ล้านไร่ เบี้ยประกันภัยรับรวมทั้งส่วนที่ 1 (Tier 1) และส่วนที่ 2 (Tier 2) คิดเป็นจำนวน 2,593.14 ล้านบาท
- เพื่อให้โครงการดังกล่าวสามารถดำเนินการได้อย่างสอดคล้องกับฤดูกาลเพาะปลูกข้าวนาปีของเกษตรกรซึ่งจะเริ่มต้นตั้งแต่วันที่ 1 เมษายน 2563 เป็นต้นไป และเพื่อให้เกษตรกรเข้าร่วมโครงการฯ อย่างทั่วถึง รวมทั้งได้รับความคุ้มครองตลอดระยะเวลาการปลูกข้าวนาปีทั้งฤดูการผลิตเพื่อลดผลกระทบความเสียหายที่เกิดจากภัยธรรมชาติ ซึ่งความเสียหายดังกล่าวได้ส่งผลกระทบต่อเนื่องกับจำนวนเงินทุนของเกษตรกรที่มีไม่เพียงพอสำหรับใช้เพาะปลูกในปีการผลิตถัดไป กค. จึงได้ดำเนินโครงการฯ ปีการผลิต 2563 ดังนี้
2.1 กค. และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ได้แก่ กษ. สำนักงาน คปภ. ธ.ก.ส. และสมาคมประกันฯ ได้ร่วมกันพิจารณาแนวทางการดำเนินโครงการฯ ดังนี้ (1) กำหนดหลักการให้เกษตรกรที่เป็นลูกค้าสินเชื่อเพื่อการเพาะปลูกข้าวนาปีของ ธ.ก.ส. และเกษตรกรทั่วไปได้รับความคุ้มครองจากระบบการประกันภัยตามกฎของจำนวนมาก (Law of Large Numbers) (การใช้ข้อมูลจากสถิติในอดีตเพื่อคาดการณ์ผลที่จะเกิดขึ้นในอนาคต) เช่นเดียวกับการดำเนินโครงการฯ ในปีการผลิตที่ผ่านๆ มา (2) ปรับปรุงอัตราค่าเบี้ยประกันภัยพื้นฐานในส่วนที่ 1 (Tier 1) ให้มีความสอดคล้องกับข้อมูลสถิติอัตราส่วนความเสียหาย (Damage Ratio) ของพื้นที่เพาะปลูกข้าวนาปีทั้งประเทศ และอัตราส่วนค่าสินไหมทดแทน (Loss Ratio)1 ของการรับประกันภัย
โดยแบ่งอัตราเบี้ยประกันภัยในส่วนที่ 1 (Tier 1) เป็น 4 อัตรา ได้แก่ เบี้ยประกันภัยสำหรับลูกค้าสินเชื่อเพื่อการเพาะปลูกข้าวนาปีของ ธ.ก.ส. กำหนดอัตราเบี้ยประกันภัยอัตราเดียวทั่วประเทศ และเบี้ยประกันภัยสำหรับเกษตรกรทั่วไปจำนวน 3 อัตรา แตกต่างกันตามระดับพื้นที่ความเสี่ยงภัยในระดับอำเภอ (3) เพิ่มเป้าหมายสำหรับการเอาประกันภัยพื้นฐานในส่วนที่ 1 (Tier 1) ให้ครอบคลุมพื้นที่เพาะปลูกที่มีความเหมาะสมต่อการเพาะปลูกข้าวนาปีที่มีความเสี่ยงต่อภัยธรรมชาติ ต่ำ (พื้นที่ในอำเภอที่มีอัตราส่วนความเสียหายเฉลี่ยย้อนหลัง 9 ปี ตั้งแต่ปี 2554 – 2562 ไม่เกินร้อยละ 4) จำนวน 594 อำเภอ คิดเป็นพื้นที่เพาะปลูก 15.7 ล้านไร่ (4) คงรูปแบบการรับประกันภัยเพิ่มเติมในส่วนที่ 2 (Tier 2) ซึ่งเป็นการประกันภัยภาคสมัครใจ เพื่อให้เกษตรกรที่เข้าร่วมโครงการฯ มีส่วนร่วมในการรับภาระค่าเบี้ยประกันภัยโดยสามารถขอเอาประกันภัยเพื่อรับความคุ้มครองเพิ่มเติมจากส่วนที่ภาครัฐให้การอุดหนุนอัตราค่าเบี้ยประกันภัย
2.2 กค. ได้นำโครงการประกันภัยข้าวนาปี ปีการผลิต 2563 เสนอ นบข. ในคราวประชุม ครั้งที่ 1/2563 เมื่อวันที่ 2 มีนาคม 2563 โดยที่ประชุมได้มีมติเห็นชอบให้ ธ.ก.ส. ดำเนินโครงการฯ ปีการผลิต 2563 โดยสามารถสรุปรายละเอียดของโครงการฯ ปีการผลิต 2563 ได้ ดังนี้
หัวข้อ รายละเอียด
- วัตถุประสง
- เพื่อให้เกษตรกรมีเครื่องมือในการบริหารจัดการความเสี่ยงด้านภัยพิบัติผ่านระบบการประกันภัยและเป็นการต่อยอดความช่วยเหลือของภาครัฐตามระเบียบกระทรวงการคลังว่าด้วยเงินทดรองราชการเพื่อช่วยเหลือผู้ประสบภัยพิบัติกรณีฉุกเฉิน พ.ศ. 2562 เพื่อรองรับต้นทุนในการเพาะปลูกข้าวให้กับเกษตรกรเมื่อประสบเหตุการณ์ภัยพิบัติทางธรรมชาติ รวมทั้งเป็นการเพิ่มประสิทธิภาพในการใช้จ่ายงบประมาณของภาครัฐ
- พื้นที่
รับประกันภัย
(รวม Tier 1
และ Tier 2
ไม่เกิน 45.7 ล้านไร่) และอัตราค่าเบี้ยประกันภัย
การประกันภัย พื้นที่รับประกันภัย อัตราค่าเบี้ยประกันภัย
การรับประกันภัย
พื้นฐาน
(Tier 1) พื้นที่รวมไม่เกิน 44.7 ล้านไร่ โดยกำหนดค่าเบี้ยประกันภัยตามความเสี่ยงจริงของเกษตรกรแต่ละกลุ่ม
(ไม่รวมภาษีมูลค่าเพิ่มและอากรแสตมป์) แบ่งเป็น
(1) พื้นที่ที่ได้รับการอนุมัติสินเชื่อเพื่อการเพาะปลูกข้าวนาปี ปีการผลิต 2563 (เกษตรกรลูกค้า ธ.ก.ส.) ไม่เกิน 28 ล้านไร่ 97 บาทต่อไร่ เท่ากันทุกพื้นที่ (ความเสี่ยงต่ำ ปานกลาง และสูง) (ประกันภัยกลุ่ม)
(2) พื้นที่ที่ไม่ได้รับการอนุมัติสินเชื่อเพื่อการเพาะปลูกข้าวนาปี ปีการผลิต 2563 (เกษตรกรลูกค้า ธ.ก.ส. และเกษตรกรทั่วไป) ซึ่งอยู่ในพื้นที่เพาะปลูกที่มีความเสี่ยงภัยต่ำ ไม่เกิน 15.7 ล้านไร่ 58 บาทต่อไร่
(ประกันภัยรายบุคคล)
(3) พื้นที่ที่ไม่ได้รับการอนุมัติสินเชื่อเพื่อการเพาะปลูกข้าวนาปี ปีการผลิต 2563 (เกษตรกรลูกค้า ธ.ก.ส. และเกษตรทั่วไป) ซึ่งอยู่ในพื้นที่เพาะปลูกที่มีความเสี่ยงภัยปานกลางและสูง ไม่เกิน 1 ล้านไร่
- พื้นที่เสี่ยงภัย
ปานกลาง
210 บาทต่อไร่
- พื้นที่เสี่ยงภัยสูง
230 บาทต่อไร่
(ประกันภัยรายบุคคล)
- รัฐบาลอุดหนุนค่าเบี้ยประกันภัยข้างต้นทุกรายในอัตรา 58 บาทต่อไร่ จำนวนรวม
44.7 ล้านไร่ รวมทั้งให้การอุดหนุนในส่วนภาษีมูลค่าเพิ่มและอากรแสตมป์ทั้งหมด
(ภาษีมูลค่าเพิ่มเท่ากับร้อยละ 7 ของเบี้ยประกันภัย และค่าอากรแสตมป์เท่ากับ
1 บาท ของค่าเบี้ยประกันภัยทุก 250 บาท)
- ธ.ก.ส. จะอุดหนุนค่าเบี้ยประกันภัยในส่วนที่เหลืออีก 39 บาทต่อไร่ เฉพาะกลุ่มที่
(1) จำนวน 28 ล้านไร่
การรับประกันภัย
ร่วมจ่ายโดยสมัครใจ
(Tier 2) พื้นที่ไม่เกิน 1 ล้านไร่ โดยกำหนดค่าเบี้ยประกันภัยตามความเสี่ยงในแต่ละพื้นที่ซึ่งจ่ายเพิ่มจาก Tier 1 (รวมภาษีมูลค่าเพิ่มและอากรแสตมป์) แบ่งเป็น
ไม่เกิน 1 ล้านไร่ (1) พื้นที่เสี่ยงภัยต่ำ
26.75 บาทต่อไร่
(2) พื้นที่เสี่ยงภัย
ปานกลาง
52.43 บาทต่อไร่
(3) พื้นที่เสี่ยงภัยสูง
109.14 บาทต่อไร่
เกษตรกรจ่ายเองทั้งหมด
หมายเหตุ : พื้นที่เสี่ยงภัยต่ำ (พื้นที่สีเขียว) จำนวน 594 อำเภอ พื้นที่เสี่ยงภัยปานกลาง (พื้นที่สีเหลือง) จำนวน 182 อำเภอ พื้นที่เสี่ยงภัยสูง (พื้นที่สีแดง) จำนวน 152 อำเภอ
- ระยะเวลาการจำหน่ายกรมธรรม์ กำหนดวันเริ่มจำหน่ายกรมธรรม์ประกันภัยตั้งแต่วันที่คณะรัฐมนตรีมีมติให้ความเห็นชอบโครงการฯ และกำหนดวันสิ้นสุดการขายกรมธรรม์ตามภาค โดยแบ่งเป็น 4 กลุ่ม ดังนี้
- กลุ่มที่ 1 ภาคกลาง ภาคตะวันออก และภาคตะวันออกเฉียงเหนือ (จำนวน 13 จังหวัด)
กำหนดวันสิ้นสุดการขายกรมธรรม์ ไม่เกินวันที่ 30 เมษายน 2563
- กลุ่มที่ 2 ภาคเหนือ และภาคตะวันออกเฉียงเหนือ (จำนวน 7 จังหวัด) กำหนดวันสิ้นสุด
การขายกรมธรรม์ ไม่เกินวันที่ 31 พฤษภาคม 2563
- กลุ่มที่ 3 ภาคตะวันตก กำหนดวันสิ้นสุดการขายกรมธรรม์ ไม่เกินวันที่ 30 มิถุนายน
2563
- กลุ่มที่ 4 ภาคใต้ กำหนดวันสิ้นสุดการขายกรมธรรม์ ไม่เกินวันที่ 31 ธันวาคม 2563
- วงเงิน
ความคุ้มครอง
พื้นที่ ภัยธรรมชาติ 7 ภัย
(น้ำท่วมหรือฝนตกหนัก ภัยแล้ง ฝนแล้ง
หรือฝนทิ้งช่วง ลมพายุหรือพายุไต้ฝุ่น
ภัยอากาศหนาวหรือน้ำค้างแข็ง
ลูกเห็บ ไฟไหม้ และภัยช้างป่า) ภัยศัตรูพืชหรือโรคระบาด
Tier 1 1,260 บาทต่อไร่ 630 บาทต่อไร่
Tier 2 240 บาทต่อไร่ 120 บาทต่อไร่
รวม ไม่เกิน 1,500 บาทต่อไร่ 750 บาทต่อไร่
- ภาระ
งบประมาณ
(เงินอุดหนุนค่าเบี้ยประกันภัย)
ภายในวงเงิน 2,910.39 ล้านบาท (พื้นที่เป้าหมาย 44.7 ล้านไร่) โดยแบ่งเป็น
1) ใช้จ่ายจากงบประมาณคงเหลือจากการดำเนินโครงการฯ ในปีการผลิต 2562 จำนวน 106.61 ล้านบาท
2) ให้ ธ.ก.ส. ทดรองจ่ายเงินอุดหนุนค่าเบี้ยประกันภัยแทนรัฐบาล จำนวน 2,803.78 ล้านบาท และให้ ธ.ก.ส. เบิกเงินชดเชยตามจำนวนที่จ่ายจริงพร้อมด้วยอัตราต้นทุนเงิน ในอัตราดอกเบี้ยเงินฝากประจำ 12 เดือน ธ.ก.ส. บวกร้อยละ 1 ในปีงบประมาณถัดไป
- การพิจารณา
ค่าสินไหมทดแทน
- จ่ายตามระเบียบกระทรวงการคลังว่าด้วยเงินทดรองราชการเพื่อช่วยเหลือผู้ประสบภัยพิบัติกรณีฉุกเฉิน พ.ศ. 2562 และจ่ายเพิ่มเติมกรณีที่เสียหายจริงแต่ไม่อยู่ในเขตประกาศภัยตามที่ราชการกำหนด โดยการดำเนินการของสมาคมประกันฯ ธ.ก.ส. และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง
- วันเริ่ม
ความคุ้มครอง
(1) กลุ่มเกษตรกรที่เป็นลูกค้าสินเชื่อ ธ.ก.ส. ซึ่งได้รับการอนุมัติสินเชื่อทั้งหมด ในการเพาะปลูกในส่วนที่ 1 (Tier 1) และเกษตรกรทั่วไปซึ่งอยู่ในพื้นที่เพาะปลูกที่มีความเสี่ยงภัยต่ำ (พื้นที่สีเขียว) กำหนดวันเริ่มความคุ้มครองนับตั้งแต่วันที่คณะรัฐมนตรีมีมติให้ความเห็นชอบโครงการฯ ทั้งนี้ หากเกษตรกรดังกล่าวประสงค์จะเอาประกันภัยเพิ่มเติมในส่วนที่ 2 (Tier 2) จะกำหนดวันเริ่มต้นความคุ้มครองนับตั้งแต่วันที่เกษตรกรขอเอาประกันภัย
(2) กลุ่มเกษตรกรที่เป็นลูกค้าสินเชื่อ ธ.ก.ส. ที่ได้รับการอนุมัติสินเชื่อบางส่วน และมีความประสงค์จะเอาประกันภัยเพิ่มเติม กำหนดวันเริ่มต้นความคุ้มครองนับตั้งแต่วันที่เกษตรกรขอเอาประกันภัย
(3) กลุ่มเกษตรกรที่ไม่ใช่ลูกค้าสินเชื่อซึ่งอยู่ในพื้นที่ความเสี่ยงภัยปานกลางและสูง (พื้นที่สีเหลืองและพื้นที่สีแดง) โดยภาครัฐรับภาระอุดหนุนค่าเบี้ยประกันภัยบางส่วน และเกษตรกรรับภาระค่าเบี้ยประกันภัยเอง ทั้งในส่วนที่ 1 และส่วนที่ 2 (Tier 1 และ Tier 2) กำหนดวันเริ่มต้นความคุ้มครองนับตั้งแต่วันที่เกษตรกรขอเอาประกันภัย
------------------------------------------------------------------
1 อัตราส่วนระหว่างความเสียหายที่เกิดขึ้นแล้วกับเบี้ยประกันภัยที่ถือเป็นรายได้
(โปรดตรวจสอบมติคณะรัฐมนตรีที่เป็นทางการจากสำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรีอีกครั้ง)
ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา (นายกรัฐมนตรี) 21 เมษายน 2563
สำนักโฆษก สำนักเลขาธิการนายกรัฐมนตรี โทร. 0 2288-4396
******************************************
กด Like - Share เพจ Corehoon-Power Time เพื่อติดตามเคล็ดลับ ข่าวสาร เทรนด์ และบทวิเคราะห์ดีๆ อัพเดตทุกวัน คัดสรรมาเพื่อท่านนักลงทุนโดยเฉพาะ
Click Donate Support Web