WORLD7

smed PIONEER 720x100ใจฟู720x100pxgpf 720x100 66

ร่างมาตรการในการป้องกันและแก้ไขปัญหาการล่วงละเมิดหรือคุกคามทางเพศในการทำงาน

GOV 5ร่างมาตรการในการป้องกันและแก้ไขปัญหาการล่วงละเมิดหรือคุกคามทางเพศในการทำงาน

        คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบตามที่กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ (พม.) เสนอ ดังนี้

  1. ให้กรมกิจการสตรีและสถาบันครอบครัว พม. เป็นศูนย์ประสานการป้องกันและแก้ไขปัญหาการล่วงละเมิดหรือคุกคามทางเพศในการทำงาน (ศปคพ.)
  2.   ร่างมาตรการในการป้องกันและแก้ไขปัญหาการล่วงละเมิดหรือคุกคามทางเพศในการทำงาน (มาตรการฯ) ที่ปรับใหม่ จำนวน 12 ข้อ

สาระสำคัญของเรื่อง

พม. รายงานว่า

  1.        ภายหลังจากที่คณะรัฐมนตรีมีมติวันที่ 16 มิถุนายน 2558 พม. ได้ขอความร่วมมือหน่วยงานภาครัฐระดับกระทรวง  ระดับกรม และรัฐวิสาหกิจ นำมาตรการฯ ไปดำเนินการตามความเหมาะสม และให้รายงานผลการดำเนินงานตามแนวปฏิบัติเพื่อป้องกันและแก้ไขปัญหาการล่วงละเมิดหรือคุกคามทางเพศในการทำงาน (แนวปฏิบัติฯ) ต่อ พม. เพื่อรายงานต่อคณะกรรมการส่งเสริมความเท่าเทียมระหว่างเพศ (คกก.สทพ.) อย่างน้อยปีละหนึ่งครั้ง แต่โดยที่ที่ผ่านมาการดำเนินงานตามมาตรการฯ ยังไม่ได้รับความร่วมมือเท่าที่ควร 

อีกทั้ง พบว่า บางหน่วยงานยังมีการล่วงละเมิดหรือคุกคามทางเพศในการทำงานเกิดขึ้นด้วย ดังนั้น ในการประชุม คกก. สทพ. ครั้งที่ 2/2561 เมื่อวันที่ 28 กันยายน 2561 ที่ประชุมฯ ได้มีมติเห็นชอบให้ พม. เป็น ศปคพ. เพื่อแก้ไขปัญหาการล่วงละเมิดหรือคุกคามทางเพศในการทำงาน และปรับปรุงหลักการของมาตรการฯ ให้มีประสิทธิภาพมากขึ้น และให้นำเสนอ คกก. สทพ. พิจารณาอีกครั้ง

  1.      ต่อมาในการประชุม คกก. สทพ. ครั้งที่ 1/2563 เมื่อวันที่ 13 มกราคม 2563 ที่ประชุมฯ มีมติเห็นชอบร่างมาตรการฯ ซึ่งปรับใหม่ จากเดิม จำนวน 7 ข้อ เป็น จำนวน 12 ข้อ และให้เสนอการปรับปรุงมาตรการฯ ต่อคณะรัฐมนตรีต่อไป ซึ่งสามารถสรุปได้ ดังนี้

ข้อ        มาตรการฯ เดิม

(ตามมติคณะรัฐมนตรี 16 มิถุนายน 2558)   ข้อ        ร่างมาตรการฯ ที่ปรับใหม่

1             หน่วยงานต้องมีการประกาศเจตนารมณ์เป็นลายลักษณ์อักษร (เช่น ประกาศ คำสั่ง) โดยเผยแพร่ประชาสัมพันธ์ให้บุคลากรในองค์กรรับทราบอย่างทั่วถึง ในการป้องกันและแก้ไขปัญหาการล่วงละเมิดหรือคุกคามทางเพศในการทำงาน

(เพิ่มเติมให้ทุกหน่วยงาน ทั้งภาครัฐและภาคเอกชน มีการประกาศเจตนารมณ์ที่ชัดเจน)

1             หน่วยงานต้องมีการจัดทำแนวปฏิบัติฯ ที่ครอบคลุมบุคลากรทุกคนที่ทำงานในหน่วยงาน รวมทั้งผู้ที่มีการดำเนินงานที่เกี่ยวข้องกับหน่วยงาน เช่น นักศึกษา นักศึกษาฝึกงาน  ผู้รับจ้าง ฯลฯ โดยให้บุคลากรในหน่วยงานได้มีส่วนร่วมเพื่อให้เกิดการเรียนรู้และยอมรับ รวมทั้งต้องประชาสัมพันธ์เพื่อสร้างความตระหนักแก่บุคลากรทุกคนในหน่วยงานได้รับทราบและถือปฏิบัติ        2             หน่วยงานต้องมีการจัดทำแนวปฏิบัติฯ ที่ครอบคลุมบุคลากรทุกคนที่ทำงานในหน่วยงานภาครัฐและภาคเอกชน รวมทั้งผู้ที่ดำเนินงานที่เกี่ยวข้องกับหน่วยงาน เช่น นักศึกษา นักศึกษาฝึกงาน ผู้รับจ้าง ฯลฯ โดยให้บุคลากรในหน่วยงานได้มีส่วนร่วมเพื่อให้เกิดการเรียนรู้และยอมรับ  รวมทั้งต้องประชาสัมพันธ์เพื่อสร้างความตระหนักแก่บุคลากรทุกคนในหน่วยงานได้รับทราบและถือปฏิบัติ

(เพิ่มเติมประเด็นการจัดทำแนวปฏิบัติฯ ให้มีการจัดทำทั้งในหน่วยงานภาครัฐและภาคเอกชน)

2             หน่วยงานต้องแสดงเจตนารมณ์อย่างจริงจังในการส่งเสริมความเท่าเทียมกันระหว่างบุคคล เพื่อให้บุคลากรปฏิบัติต่อกันอย่างให้เกียรติและเคารพซึ่งกันและกัน โดยการสร้างสภาพแวดล้อมที่ดีเน้นการป้องกันปัญหาเป็นพื้นฐานควบคู่กับการปรับเปลี่ยนทัศนคติเกี่ยวกับพฤติกรรมทางเพศ             

3             หน่วยงานต้องแสดงเจตนารมณ์อย่างจริงจังในการส่งเสริมความเท่าเทียมกันระหว่างบุคคล เพื่อให้บุคลากรปฏิบัติต่อกันอย่างให้เกียรติและเคารพซึ่งกันและกัน โดยเน้นการป้องกันปัญหาเป็นพื้นฐาน ควบคู่กับการปรับเปลี่ยนทัศนคติเกี่ยวกับพฤติกรรมทางเพศ รวมทั้งกำหนดให้เป็นประเด็นหนึ่งในหลักสูตรการพัฒนาบุคลากรทุกระดับ

(เพิ่มเติมประเด็นการปรับเปลี่ยนทัศนคติเกี่ยวกับพฤติกรรมทางเพศให้เป็นหนึ่งในหลักสูตรการพัฒนาบุคลากรทุกระดับ)

3             หน่วยงานต้องเสริมสร้างความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับพฤติกรรมการล่วงละเมิดหรือคุกคามทางเพศ และแนวทางในการแก้ไขในกรณีที่มีปัญหาเกิดขึ้น รวมทั้งกำหนดให้เป็นประเด็นหนึ่งในหลักสูตรการพัฒนาบุคลากรทุกระดับ การจัดสถานที่ทำงานเพื่อลดความเสี่ยงจากปัญหาการล่วงละเมิดหรือคุกคามทางเพศ เช่น จัดห้องทำงานที่เปิดเผย โล่ง มองเห็นกันได้ชัดเจน เป็นต้น

4             หน่วยงานต้องเสริมสร้างความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับพฤติกรรมการล่วงละเมิดหรือคุกคามทางเพศและแนวทางในการแก้ไขในกรณีที่มีปัญหาเกิดขึ้น และสร้างสภาพแวดล้อมที่ดี โดยคำนึงถึงเรื่องพื้นที่ปลอดภัยในองค์กร เช่น จัดห้องทำงานที่เปิดเผย  โล่ง มองเห็นกันได้ชัดเจน เป็นต้น

(เพิ่มเติมการสร้างสภาพแวดล้อมที่ดีในหน่วยงาน)

-              5             หน่วยงานต้องกำหนดกลไกการร้องทุกข์ภายในหน่วยงาน เช่น ฝ่ายการเจ้าหน้าที่ ฝ่ายกฎหมาย หรือกลุ่มคุ้มครองคุณธรรมจริยธรรม

(เพิ่มกลไกรับเรื่องร้องทุกข์ภายในหน่วยงาน)

4             การแก้ไขและจัดการปัญหาอาจใช้กระบวนการอย่างไม่เป็นทางการ เช่น การพูดคุยกันอย่างเป็นมิตร การประนอมข้อพิพาท ฯลฯ เพื่อยุติปัญหา หากกระบวนการไม่เป็นทางการไม่สามารถแก้ไขปัญหาได้ จึงจะเข้าสู่กระบวนการทางวินัยตามกฎหมายที่หน่วยงานนั้นถือปฏิบัติอยู่       

6             การแก้ไขและจัดการปัญหาอาจใช้กระบวนการอย่างไม่เป็นทางการ เช่น การพูดคุยกันอย่างเป็นมิตร การประนอมข้อพิพาทฯลฯ เพื่อยุติปัญหาหากกระบวนการไม่เป็นทางการไม่สามารถแก้ไขปัญหาได้ จึงจะเข้าสู่กระบวนการทางวินัยตามกฎหมายที่หน่วยงานนั้นถือปฏิบัติอยู่

(เหมือนเดิม)

5             การแก้ไขและจัดการปัญหาต้องดำเนินการอย่างจริงจังโดยทันที และเป็นไปตามเวลาที่กำหนดในแนวปฏิบัติฯ และต้องเป็นความลับเว้นแต่คู่กรณีทั้งสองฝ่ายยินดีให้เปิดเผย รวมทั้งให้ความเป็นธรรมต่อทั้งสองฝ่ายเท่าเทียมกัน กรณีที่ขยายเวลาออกไปต้องมีเหตุผลที่ดีพอ

6             กรณีที่มีการร้องเรียนหรือการรายงานเรื่องนี้ให้มีการแต่งตั้งคณะทำงานสอบข้อเท็จจริง ประกอบด้วย ประธานคณะทำงานที่มีตำแหน่งสูงกว่าคู่กรณี บุคคลจากหน่วยงานต้นสังกัดของคู่กรณี โดยมีตำแหน่งไม่ต่ำกว่าคู่กรณี บุคคลที่มีผลงานด้านการแก้ไขปัญหาการล่วงละเมิดทางเพศจนเป็นที่ประจักษ์โดยอาจมีบุคคลที่มีเพศเดียวกับผู้เสียหายไม่น้อยกว่าหนึ่งคนและให้มีบุคคลที่ผู้เสียหายไว้วางใจเข้าร่วมรับฟังในการสอบข้อเท็จจริงได้ หากต้องมีการดำเนินการทางวินัย ขอให้คณะทำงานนำข้อมูลเสนอผู้บริหารประกอบการดำเนินการทางวินัย               

7             การแก้ไขและจัดการปัญหาต้องดำเนินการอย่างจริงจังโดยทันทีและเป็นไปตามเวลาที่กำหนดในแนวปฏิบัติฯ และต้องเป็นความลับ เว้นแต่คู่กรณีทั้งสองฝ่ายยินดีให้เปิดเผย รวมทั้งให้ความเป็นธรรมต่อทั้งสองฝ่ายเท่าเทียมกัน กรณีที่ขยายเวลาออกไปต้องมีเหตุผลที่ดีพอ(เหมือนเดิม)

8             กรณีที่มีการร้องเรียนหรือการรายงานเรื่องให้ดำเนินการดังต่อไปนี้

- ให้หัวหน้าหน่วยงานดำเนินการแต่งตั้งคณะทำงานสอบข้อเท้จจริง จำนวน ไม่เกิน 5 คน ประกอบด้วย ประธานคณะทำงานที่มีตำแหน่งสูงกว่าคู่กรณี บุคคลจากหน่วยงานต้นสังกัดของคู่กรณี โดยมีตำแหน่งไม่ต่ำกว่าคู่กรณี โดยอาจมีบุคคลที่มีเพศเดียวกับผู้เสียหายไม่น้อยกว่าหนึ่งคน และให้มีบุคคลที่ผู้เสียหายไว้วางใจเข้าร่วมรับฟังในการสอบข้อเท็จจริงได้ หรือ

- ให้กลุ่มงานคุ้มครองจริยธรรมดำเนินการสอบข้อเท็จจริง ทั้งนี้ ให้รายงานผลต่อหัวหน้าหน่วยงาน และหากต้องมีการดำเนินการทางวินัย ขอให้คณะทำงานนำข้อมูลเสนอผู้บริหาร ประกอบการดำเนินการทางวินัย (เพิ่มจำนวนคณะกรรมการ และระบุกลุ่มงานรับผิดชอบดำเนินการสอบข้อเท็จจริง และให้รายงานผลต่อผู้บริหารหน่วยงาน)

9             หน่วยงานต้องมีมาตรการคุ้มครองผู้ร้องเรียนและผู้เป็นพยาน เมื่อมีการร้องเรียนแล้ว ผู้ร้องเรียนและผู้เป็นพยานจะไม่ถูกดำเนินการใดๆ ที่กระทบต่อหน้าที่การงานหรือการดำรงชีวิตหากจำเป็นต้องมีการดำเนินการใดๆ ต้องได้รับความยินยอมจากผู้ร้องเรียนและผู้เป็นพยาน รวมถึงข้อร้องขอของผู้เสียหาย ผู้ร้องเรียนหรือผู้เป็นพยานควรได้รับการพิจารณาจากบุคคลหรือหน่วยงานที่รับผิดชอบตามความเหมาะสม และหน่วยงานต้องให้การคุ้มครองผู้ร้องเรียนไม่ให้ถูกกลั่นแกล้ง

(เพิ่มเติมมาตรการคุ้มครองผู้ร้องเรียนและผู้เป็นพยาน)

10           หน่วยงานต้องมีมาตรการคุ้มครองผู้ถูกกล่าวหา โดยในระหว่างการร้องเรียน ยังไม่ถือว่าผู้ถูกกล่าวหามีความผิด ต้องให้ความเป็นธรรมและให้ได้รับการปฏิบัติ เช่นเดียวกับบุคลากรอื่น และต้องมีการให้โอกาสผู้ถูกกล่าวหาในการชี้แจงแก้ข้อกล่าวหาอย่างเต็มที่ รวมทั้งสิทธิในการแสดงเอกสาร/พยานหลักฐานแก้ข้อกล่าวหา

(เพิ่มเติมมาตรการคุ้มครองผู้ถูกกล่าวหา)

7             หน่วยงานต้องติดตามผลการดำเนินงานตาม

แนวปฏิบัติฯ อย่างต่อเนื่อง และรายงานต่อ คกก.สทพ. อย่างน้อยปีละหนึ่งครั้ง              

11           หน่วยงานต้องรายงานผลการดำเนินงานตามแนวปฏิบัติฯ อย่างต่อเนื่อง สำหรับหน่วยงานภาครัฐให้รายงานต่อผู้บริหารด้านการเสริมสร้างบทบาทหญิงชาย (Chief Gender Equality Officer : CGEO) และให้เจ้าหน้าที่ศูนย์ประสานด้านความเสมอภาคระหว่างหญิงชาย (Gender Focal Point : GFP)  ติดตามการดำเนินงานตามมาตรการฯ สำหรับการรายงานผลการดำเนินงานให้รายงานไปยัง ศปคพ. กรมกิจการสตรีและสถาบันครอบครัว ภายในวันที่ 31 ตุลาคม ของทุกปี

(เพิ่มเติมกลไกติดตามและการรายงานผล)

12           ศปคพ. กรมกิจการสตรีและสถาบันครอบครัวทำหน้าที่เป็นศูนย์กลางในการประสานหน่วยงานทั้งภาครัฐและเอกชนในการดำเนินงานป้องกันและแก้ไขปัญหาการล่วงละเมิดหรือคุกคามทางเพศในการทำงาน และติดตามผลการดำเนินงานตามมาตรการฯ โดยรายงานต่อ คกก. สทพ. อย่างน้อยปีละหนึ่งครั้ง

(เพิ่มเติมบทบาทของ ศปคพ.)

  1. เรื่อง ข้อเสนอแนะเพื่อป้องกันการทุจริต กรณีศึกษาเกี่ยวกับการประมูลงานให้สิทธิประกอบกิจการจำหน่ายสินค้าปลอดอากร (Duty Free) ณ ท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ ท่าอากาศยานภูเก็ต ท่าอากาศยานเชียงใหม่ และท่าอากาศยานหาดใหญ่ และงานให้สิทธิประกอบกิจการบริหารจัดการกิจกรรมเชิงพาณิชย์ภายในอาคารผู้โดยสาร ณ ท่าอากาศยานสุวรรณภูมิของบริษัท ท่าอากาศยานไทย จำกัด (มหาชน)

          คณะรัฐมนตรีมีมติรับทราบข้อเสนอแนะเพื่อป้องกันการทุจริต กรณีศึกษาเกี่ยวกับการประมูลงานให้สิทธิประกอบกิจการจำหน่ายสินค้าปลอดอากร (Duty Free) ณ ท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ ท่าอากาศยานภูเก็ต ท่าอากาศยานเชียงใหม่ และท่าอากาศยานหาดใหญ่ และงานให้สิทธิประกอบกิจการบริหารจัดการกิจกรรมเชิงพาณิชย์ภายในอาคารผู้โดยสาร ณ ท่าอากาศยานสุวรรณภูมิของบริษัท ท่าอากาศยานไทย จำกัด (มหาชน) ตามที่คณะกรรมการ ป.ป.ช. เสนอ

และให้กระทรวงคมนาคมเป็นหน่วยงานหลักร่วมกับกระทรวงการคลังและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องรับไปพิจารณาดำเนินการในส่วนที่เกี่ยวข้อง เพื่อให้การดำเนินการในเรื่องดังกล่าวเป็นไปตามข้อเสนอแนะของคณะกรรมการ ป.ป.ช. ต่อไป โดยให้รับความเห็นของกระทรวงการคลัง กระทรวงพาณิชย์ และสำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติไปประกอบการพิจารณาดำเนินการด้วย

สาระสำคัญของเรื่อง

           สำนักงาน ป.ป.ช. ได้รับทราบถึงกรณีที่ปรากฏเป็นข่าวตามสื่อมวลชนต่างๆ เกี่ยวกับการให้สัมปทานสิทธิในการประกอบกิจการจำหน่ายสินค้าปลอดอากร (Duty free) และสิทธิในการบริหารจัดการกิจกรรมเชิงพาณิชย์ภายในอาคารผู้โดยสาร ของบริษัท ท่าอากาศยานไทย จำกัด (มหาชน) (ทอท.) ซึ่งเป็นที่สนใจของสื่อมวลชนและประชาชนโดยทั่วไป เนื่องจากเป็นการประมูลที่คาดว่าจะให้ผลตอบแทนแก่ประเทศเป็นจำนวนมาก

ในขณะเดียวกัน ก็พบว่ามีข้อสังเกตในหลายประเด็นจากทั้งสื่อมวลชน นักวิชาการ ตลอดจนประชาชนบางกลุ่มเกี่ยวกับการบริหารจัดการโครงการประมูลดังกล่าว ของ ทอท. ว่ามีความเหมาะสม คุ้มค่า และโปร่งใสหรือไม่ เพียงใด ดังนั้น สำนักงาน ป.ป.ช. จึงได้ดำเนินการศึกษาข้อมูล ข้อเท็จจริง ตลอดจนเอกสารหลักฐานที่เกี่ยวข้อง เพื่อเสนอให้มีการกำหนดมาตรการหรือข้อเสนอแนะในการป้องกันและแก้ไขปัญหาต่าง ๆ ที่อาจเกิดขึ้นจากการดำเนินโครงการของ ทอท. ในข้างต้น

โดยคำนึงถึงผลประโยชน์สูงสุดของประเทศเป็นสำคัญ โดยพิจารณาแล้วเห็นสมควรเสนอข้อเสนอแนะเพื่อป้องกันการทุจริตกรณีศึกษาเกี่ยวกับการประมูลงานให้สิทธิประกอบกิจการจำหน่ายสินค้าปลอดอากร (Duty Free) ณ ท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ ท่าอากาศยานภูเก็ต ท่าอากาศยานเชียงใหม่ และท่าอากาศยานหาดใหญ่ และงานให้สิทธิประกอบกิจการบริหารจัดการกิจกรรมเชิงพาณิชย์ภายในอาคารผู้โดยสาร ณ ท่าอากาศยานสุวรรณภูมิของบริษัท ท่าอากาศยานไทย จำกัด (มหาชน) ต่อคณะรัฐมนตรี สรุปได้ ดังนี้

  1. ข้อเสนอต่อรัฐบาล

         1.1 รัฐบาลควรส่งเสริมให้มีการดำเนินธุรกิจจำหน่ายสินค้าปลอดอากรที่หลากหลาย โดยเฉพาะร้านค้าปลอดอากรในเมือง

         1.2 ควรมอบหมายให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องพิจารณากำหนดแนวทางที่ส่งเสริมให้นักท่องเที่ยวสามารถซื้อสินค้าในร้านค้าปลอดอากรในเมืองและนำสินค้าดังกล่าวติดตัวไปได้ โดยไม่ต้องเดินทางไปรับสินค้า ณ จุดส่งมอบสินค้าในสนามบิน

          1.3 ให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องพิจารณากำหนดหลักเกณฑ์การแบ่งผลประโยชน์ตอบแทนจากการจำหน่ายสินค้าจากร้านค้าปลอดอากรในเมืองให้เหมาะสมเช่นเดียวกับร้านค้าปลอดอากรในท่าอากาศยาน โดยอาจพิจารณาให้กระทรวงการคลังหรือหน่วยงานอื่นที่เกี่ยวข้องเป็นผู้รับผิดชอบในการเก็บส่วนแบ่งผลประโยชน์ดังกล่าว

  1. ข้อเสนอต่อ ทอท. ทั้งนี้ กระทรวงคมนาคม (ทอท.) ได้พิจารณาแล้ว ไม่มีข้อขัดข้องต่อข้อเสนอดังกล่าว สรุปได้ ดังนี้

ข้อเสนอต่อ ทอท.            ความเห็นของ ทอท.

ข้อเสนอระยะสั้น

Ÿ ทอท. และบริษัทคู่สัญญาต้องดำเนินการติดตั้งและใช้ประโยชน์อย่างเต็มรูปแบบจากระบบรับรู้รายได้ (Point of Sale : POS)

Ÿ ทอท. ควรกำหนดแนวทางหรือกระบวนการในการตรวจสอบการดำเนินงานตามเงื่อนไจต่าง ๆ ที่กำหนดในสัญญา

Ÿ ทอท. ควรมีกระบวนการในการตรวจสอบการใช้พื้นที่ ตลอดจนราคาสินค้า ราคาอาหาร เพื่อให้การดำเนินโครงการเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพและเกิดประโยชน์สูงสุด

              

ข้อเสนอระยะสั้น

ทอท. ไม่ขัดข้อง โดยปัจจุบันท่าอากาศยานที่อยู่ในความรับผิดชอบของ ทอท. บางส่วนได้ดำเนินการติดตั้งระบบรับรู้รายได้ และเชื่อมต่อส่งข้อมูลให้ ทอท. สามารถตรวจสอบได้ทุกวัน สำหรับแนวทางหรือกระบวนการในการตรวจสอบ การดำเนินการตามเงื่อนไขต่างๆ  ที่กำหนดในสัญญานั้น ปัจจุบันมีกระบวนการตรวจสอบ โดยหน่วยงานของ ทอท. และสำนักตรวจสอบ ทอท. ทั้งนี้ ทอท. จะรับข้อเสนอแนะในส่วนอื่น ๆ มาปรับปรุงเพิ่มเติมเพื่อใช้บริหารโครงการฯ เป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพและเกิดประโยชน์สูงสุด

ข้อเสนอระยะยาว

Ÿ ทอท. ควรศึกษารูปแบบและระยะเวลาที่เหมาะสมในการให้สัมปทานแก่เอกชน เพื่อประกอบกิจการจำหน่ายสินค้าปลอดอากรและการบริหารจัดการกิจกรรมเชิงพาณิชย์ภายในอาคารผู้โดยสาร โดยต้องมีการวิเคราะห์ข้อดี ข้อเสียให้ครอบคลุมในทุกด้าน

Ÿ ทอท. ควรให้ความสำคัญกับการจัดทำฐานข้อมูลและเผยแพร่ข้อมูลต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้อง โดยเฉพาะข้อมูลที่ผู้เข้าร่วมประมูลและสาธารณชนควรรับทราบ

Ÿ ทอท. ควรทบทวน และปรับปรุงการกำหนดเกณฑ์การให้คะแนนในการคัดเลือกผู้ชนะการประมูลโดยพิจารณาปรับสัดส่วน/น้ำหนักเกี่ยวกับผลประโยชน์ผลตอบแทนที่รัฐควรได้รับให้มากขึ้น เพื่อให้การคัดเลือกผู้ชนะการประมูลมีความโปร่งใสเท่าเทียมกัน และเกิดประโยชน์สูงสุด

Ÿ ทอท. ควรพิจารณาปรับปรุงแนวทางการบริหารพื้นที่เชิงพาณิชย์ภายในท่าอากาศยานโดย ทอท. ควรเป็นผู้บริหารจัดการพื้นที่เอง

Ÿ ในการพิจารณาจัดตั้งจุดส่งมอบสินค้าควรกำหนดให้ดำเนินการโดยแยกต่างหากจากสัญญาการบริหารกิจกรรมเชิงพาณิชย์ ผู้โดยสาร ทั้งนี้ อาจพิจารณาแนวทางให้ ทอท. ดำเนินการเปิดจุดส่งมอบสินค้าในพื้นที่ของตนเอง  เพื่อเปิดโดกาสให้ผู้ประกอบการรายอื่น ๆ  สามารถเข้ามาใช้บริการจุดส่งมอบสินค้าได้ ซึ่งจะเป็นการแก้ไขปัญหาการผูกขาด  และสามารถสร้างรายได้ให้รัฐเพิ่มมากขึ้น

Ÿ ควรพิจารณาทบทวนกำหนดค่าตอบแทนหรือส่วนแบ่งรายได้ที่รัฐพึงได้รับจากการให้บริการจุดส่งมอบสินค้าให้มีความเหมาะสม

Ÿ ควรเปิดโอกาสให้ภาคประชาชนหรือหน่วยงานที่เกี่ยวข้องได้เข้ามามีส่วนร่วมในกระบวนการดำเนินงานหรือการตรวจสอบต่าง ๆ              ข้อเสนอระยะยาว

ทอท. ไม่ขัดข้อง โดยข้อเสนอส่วนใหญ่ ทอท. ได้นำไปใช้ในโครงการคัดเลือกผู้ประกอบกิจการจำหน่ายสินค้าปลอดอากร  ณ ท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ  ท่าอากาศยานภูเก็ต ท่าอากาศยานเชียงใหม่ และท่าอากาศยานหาดใหญ่  และโครงการบริหารจัดการกิจกรรมเชิงพาณิชย์ภายในอาคารผู้โดยสาร ณ ท่าอากาศยานสุวรรณภูมิที่ผ่านมาแล้ว ข้อเสนอระยะยาวที่ยังไม่ได้ปฏิบัติ  เช่น การปรับปรุงเกณฑ์การให้คะแนนในการคัดเลือกหรือให้ ทอท. พัฒนาแนวทางการบริหารพื้นที่เชิงพาณิชย์ภายในท่าอากาศยานเอง ทอท. จะพิจารณานำข้อเสนอดังกล่าวมาปรับปรุงเป็นแนวดำเนินการต่อไป

สำหรับ ข้อเสนอให้มีการจัดตั้งจุดส่งมอบสินค้า (Pick up counter) แยกต่างหากจากสัญญาบริหารจัดการกิจกรรมเชิงพาณิชย์ เพื่อป้องกันการผูกขาดนั้น ทอท. ได้พิจารณาดำเนินการเรียบร้อยแล้ว โดยเริ่มดำเนินการที่ท่าอากาศยานภูเก็ตตั้งแต่วันที่ 16 กันยายน 2559 ท่าอากาศยานสุวรรณภูมิจะเริ่มดำเนินการตั้งแต่วันที่ 28 กันยายน 2563 และท่าอากาศยานดอนเมืองจะเริ่มดำเนินการตั้งแต่วันที่ 1 ตุลาคม 2565

         ทั้งนี้ ข้อเสนอของสำนักงาน ป.ป.ช. เกี่ยวกับการพิจารณาจัดตั้งจุดส่งมอบสินค้าหรือ Pick up counter ควรกำหนดให้ดำเนินการโดยแยกต่างหากจากสัญญาการบริหารกิจกรรมเชิงพาณิชย์ เพื่อป้องกันการผูกขาด และเป็นการแก้ไขปัญหาในเรื่องการเอื้อประโยชน์ให้กับผู้ประกอบการที่ได้รับสัมปทานจำหน่ายสินค้าปลอดอากรและการบริหารจัดการกิจกรรมเชิงพาณิชย์ภายในอาคารผู้โดยสาร นั้น กระทรวงคมนาคม

โดย ทอท. ได้ดำเนินการแยกสัญญา สำหรับสัญญาที่จะมีผลใช้บังคับตั้งแต่เดือนกันยายน 2563 สำหรับท่าอากาศยานสุวรรณภูมิและตั้งแต่เดือนตุลาคม 2565 สำหรับท่าอากาศยานดอนเมืองเรียบร้อยแล้ว โดยอยู่ระหว่างการประมูลหาผู้ประกอบการในส่วนสัญญาจุดส่งมอบสินค้า ซึ่งที่ผ่านมาคณะรัฐมนตรีได้มีมติ (2 มกราคม 2563) เห็นชอบแนวทางการดำเนินการดังกล่าวด้วยแล้ว

(โปรดตรวจสอบมติคณะรัฐมนตรีที่เป็นทางการจากสำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรีอีกครั้ง)

ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา (นายกรัฐมนตรี) 21 เมษายน 2563  

สำนักโฆษก   สำนักเลขาธิการนายกรัฐมนตรี โทร. 0 2288-4396 

******************************************

line logotwitterLike1 Share3Like1 Share1กด Like - Share  เพจ Corehoon-Power Time เพื่อติดตามเคล็ดลับ ข่าวสาร เทรนด์ และบทวิเคราะห์ดีๆ อัพเดตทุกวัน คัดสรรมาเพื่อท่านนักลงทุนโดยเฉพาะ

 Click Donate Support Web

SAM720x100px bgGC 790x90

SME720 x 100banpu 720x90 new1 1

apm

 

 

Facebook

5 ข่าวฮอตนิวส์!