WORLD7

smed PIONEER 720x100ใจฟู720x100pxgpf 720x100 66

การขอรับจัดสรรงบประมาณโครงการสินเชื่อชะลอการขายข้าวเปลือกนาปี ปีการผลิต 2562/63

GOV5 การขอรับจัดสรรงบประมาณโครงการสินเชื่อชะลอการขายข้าวเปลือกนาปี ปีการผลิต 2562/63 (เพิ่มเติม)

        คณะรัฐมนตรีมีมติรับทราบและเห็นชอบตามที่กระทรวงพาณิชย์ (พณ.) เสนอดังนี้

  1.        รับทราบการขยายเป้าหมายปริมาณข้าวเปลือก ขยายวงเงินสินเชื่อและขยายระยะเวลาการจัดทำสัญญาเงินกู้ ตามโครงการสินเชื่อชะลอการขายข้าวเปลือกนาปี ปีการผลิต 2562/63 เพิ่มเติม ตามมติคณะกรรมการนโยบายและบริหารข้าวแห่งชาติ (นบข.)
  2.         เห็นชอบการจัดสรรวงเงินโครงการสินเชื่อชะลอการขายข้าวเปลือก ปีการผลิต 2562/63 วงเงินรวมทั้งสิ้น 682.86 ล้านบาท โดยให้ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร (ธ.ก.ส.) ขอจัดสรรวงเงินจากงบประมาณรายจ่ายประจำปี เพื่อชำระคืนต้นทุนเงินและค่าใช้จ่ายที่เกิดขึ้นจริงจากการดำเนินโครงการฯ จนกว่าจะชำระเสร็จสิ้น
  3. รับทราบการขอรับจัดสรรค่าฝากเก็บและรักษาคุณภาพข้าวเปลือกของโครงการสินเชื่อชะลอ

การขายข้าวเปลือก (เพิ่มเติม) วงเงิน 750.00 ล้านบาท จากกองทุนรวมเพื่อช่วยเหลือเกษตรกร (คชก.) โดยให้ พณ. ดำเนินการให้เป็นไปตามระเบียบขั้นตอนตามกฎหมายต่อไป

         สำหรับ ค่าใช้จ่ายที่จะเกิดขึ้นและเป็นภาระต่องบประมาณนั้น ให้ ธ.ก.ส. จัดทำแผนการปฏิบัติงานและแผนการใช้จ่ายงบประมาณเพื่อเสนอขอตั้งงบประมาณรายจ่ายประจำปีตามผลการดำเนินงานจริงต่อไป

ตามความเห็นของสำนักงบประมาณ

สาระสำคัญของเรื่อง

        นบข. ในการประชุม ครั้งที่ 1/2563 เมื่อวันที่ 2 มีนาคม 2563 ได้พิจารณาและมีมติเกี่ยวกับ

การขออนุมัติการดำเนินโครงการฯ (เพิ่มเติม) ที่ ธ.ก.ส. เสนอ ดังนี้

  1. รับทราบผลการดำเนินโครงการฯ ณ วันที่ 24 กุมภาพันธ์ 2563 ดังนี้

ผลการดำเนินการ            จำนวน

(ราย)     ปริมาณข้าวเปลือก

(ตัน)      สินเชื่อ

(ล้านบาท)

1) ผู้เข้าร่วมโครงการฯ ได้รับสินเชื่อแล้ว              142,884 950,310.20           9,958.72

2) ข้อมูลที่ได้รับการอนุมัติสินเชื่อในระบบการจ่ายสินเชื่อตามโครงการฯ ของ ธ.ก.ส. แล้ว รอการโอนเข้าบัญชี                13,929   82,962.00             829.62

3) ข้อมูลผู้เข้าร่วมโครงการซึ่งยังมิได้บันทึกข้อมูลเตรียมการจ่ายในระบบการจ่ายสินเชื่อของ ธ.ก.ส.                60,427   421,166.00           4,211.66

รวม         217,240 1,454,438.20        15,000.00

  1. เห็นชอบการปรับเพิ่มเป้าหมายปริมาณข้าวเปลือก วงเงินสินเชื่อ และขยายระยะเวลาการจัดทำสัญญาเงินกู้ ของโครงการฯ ดังนี้

การปรับเพิ่ม/ขยาย                เดิม มติคณะรัฐมนตรี (11 ธันวาคม 2562)         เป็น

(เสนอในครั้งนี้)

1) ปรับเพิ่มเป้าหมายปริมาณข้าวเปลือกที่เข้าร่วมโครงการฯ             1 ล้านต้น               1.5 ล้านตัน

2) ปรับเพิ่มวงเงินสินเชื่อตามโครงการฯ               10,000 ล้านบาท   15,000 ล้านบาท

3) ขยายระยะเวลาการจัดทำสัญญาเงินกู้ตามโครงการฯ    สิ้นสุดวันที่

29 กุมภาพันธ์ 2563             สิ้นสุดวันที่

30 เมษายน 2563 (ภาคใต้ ถึงวันที่ 31 กรกฎาคม 2563)

  1.         เห็นชอบการจัดสรรวงเงินโครงการฯ (เพิ่มเติม) โดยให้ ธ.ก.ส. ประสาน สงป. ในการขอรับจัดสรรวงเงินจากงบประมาณ ปี 2564 และปีถัด ๆ ไป วงเงินรวมทั้งสิ้น 682.86 ล้านบาท ตามที่ ธ.ก.ส. เสนอ เพื่อให้การดำเนินโครงการฯ เป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพโดยขอให้รัฐบาลรับภาระเงินชดเชยดอกเบี้ยให้ ธ.ก.ส. จากการให้สินเชื่อเกษตรกรหรือสถาบันเกษตรกรตามโครงการฯ ในอัตราดอกเบี้ยเงินฝากประจำประเภท 12 เดือน ของ ธ.ก.ส. บวก 1 ต่อปี รวมถึงภาระค่าใช้จ่ายกรณีที่มีการระบายข้าว ได้แก่ ค่าขนย้ายข้าวเปลือก ต้นทุนเงิน

ค่าขนย้ายข้าว และส่วนต่างภาระขาดทุนจากการระบายข้าว โดยจำแนกเป็นค่าใช้จ่าย ดังนี้

รายการ วงเงิน (ล้านบาท)

1) ค่าชดเชยดอกเบี้ย ในอัตราดอกเบี้ยเงินฝากประจำ 12 เดือน ของ ธ.ก.ส. บวก 1 ซึ่งเป็นอัตราที่ กค. สงป. และ ธ.ก.ส. ทำความตกลงในการชดเชยต้นทุนเงินให้ ธ.ก.ส. และ กค.

ได้นำผลการตกลงเสนอคณะรัฐมนตรีทราบแล้วเมื่อวันที่ 1 ตุลาคม 2562        117.50

2) ค่าบริหารโครงการฯ ในอัตราร้อยละ 2 ต่อปี ระยะเวลา 6 เดือน ของวงเงินสินเชื่อที่เพิ่มขึ้น (5,000 ล้านบาท)  50.00

3) ค่าใช้จ่ายกรณีที่มีการระบายข้าว ได้แก่ ค่าขนย้ายข้าวเปลือก ต้นทุนเงินค่าขนย้ายข้าวและส่วนต่างภาระขาดทุนจากการระบายข้าว    515.36

รวม         682.86

โดยมอบหมายกรมการค้าภายในในฐานะฝ่ายเลขานุการ นบข. นำเสนอคณะรัฐมนตรีพิจารณาอนุมัติต่อไป

  1.        เห็นชอบการขอรับจัดสรรค่าฝากเก็บและรักษาคุณภาพข้าวเปลือกโครงการฯ (เพิ่มเติม) วงเงิน 750 ล้านบาท จาก คชก. เพื่อจ่ายเป็นค่าฝากเก็บและรักษาคุณภาพข้าวเปลือกให้เกษตรกรที่เก็บข้าวไว้ในยุ้งฉาง ตันละ 1,500 บาท และสำหรับสถาบันเกษตรกรที่รับฝากได้รับตันละ 1,500 บาท (จำแนกเป็นสถาบันเกษตรกรได้รับตันละ 1,000 บาท และให้เกษตรกรที่นำข้าวมาฝากเก็บกับสถาบันเกษตรกรตันละ 500 บาท) (ตามข้อ 3) ซึ่งเป็นผลมาจากการปรับเพิ่มเป้าหมายปริมาณข้าวเปลือกจาก 1 ล้านตัน เป็น 1.5 ล้านตัน ทั้งนี้ ต้องเก็บข้าวไว้อย่างน้อย 1 เดือน ระยะเวลาไถ่ถอน 5 เดือน โดยมอบหมาย ธ.ก.ส. จัดทำรายละเอียดการขอรับจัดสรรงบประมาณจาก คชก. และนำเสนอคณะกรรมการบริหารกองทุนรวมเพื่อช่วยเหลือเกษตรกรพิจารณาต่อไป
  2.        การดำเนินมาตรการรักษาเสถียรภาพราคาข้าวของรัฐบาลเป็นกลไกหนึ่งที่ส่งผลให้ราคาข้าวเปลือกที่เกษตรกรจำหน่ายได้มีเสถียรภาพ ลดภาระค่าใช้จ่ายการชดเชยเงินตามโครงการประกันรายได้เกษตรกรผู้ปลูกข้าว โดยเมื่อเปรียบเทียบราคาข้าวเปลือกในช่วงปัจจุบันกับก่อนดำเนินโครงการสินเชื่อชะลอการขายข้าวเปลือก (ปลายเดือนพฤศจิกายน 2562) พบว่า ราคาข้าวเปลือกปรับตัวสูงขึ้นทุกชนิด โดยมีรายละเอียด ดังนี้

ราคา     ชนิดข้าวเปลือก (บาท/ตัน)

หอมมะลิ           เจ้า       ปทุมธานี           เหนียว

ก่อนการดำเนินโครงการฯ (ปลายเดือนพฤศจิกายน 2562)                14,300 - 14,800   7,400 – 7,800                8,600 – 9,500       15,300 – 16,300

ปัจจุบัน (17 มีนาคม 2563) 14,800 – 15,300   8,500 – 9,400       9,700 – 10,000     15,700 – 16,900

เปลี่ยนแปลง (%)   3.44        17.76     8.84        2.52

       อย่างไรก็ตาม เมื่อพิจารณาราคาตลาดข้าวเปลือกหอมมะลิพบว่า ยังอยู่ในภาวะชะลอตัว และข้าวเปลือกเหนียวยังคงมีความผันผวนด้านราคา

  1.         พณ. พิจารณาแล้วเห็นว่า เกษตรกรที่เข้าร่วมโครงการสินเชื่อชะลอการขายข้าวเปลือกนาปี ปี 2562/63 เป็นเกษตรผู้ปลูกข้าวหอมมะลิและข้าวเปลือกเหนียวในพื้นที่ภาคตะวันออกเฉียงเหนือและภาคเหนือ ซึ่งยังเก็บข้าวเปลือกไว้ในยุ้งฉางและยังมีความประสงค์ขอรับสินเชื่อตามโครงการฯ เนื่องจากขณะนี้ราคาข้าวเปลือกหอมมะลิยังอยู่ในภาวะชะลอตัวเมื่อเทียบกับข้าวชนิดอื่น ๆ และข้าวเปลือกเหนียวยังคงมีความผันผวนจึงควรขยายเป้าหมายปริมาณข้าวเปลือก ขยายวงเงินสินเชื่อ และขยายระยะเวลาการจัดทำสัญญาเงินกู้ตามโครงการฯ เพื่อเป็นการชะลอการขายข้าวเปลือกหอมมะลิและเพื่อจะรักษาระดับราคาข้าวเปลือกให้มีเสถียรภาพ
  2.        พณ. ได้จัดทำรายละเอียดข้อมูลตามมาตรา 27 และ 28 แห่งพระราชบัญญัติวินัยการเงินการคลังของรัฐ พ.ศ. 2561 เพื่อเสนอต่อคณะรัฐมนตรีด้วยแล้ว โดยมีประโยชน์ที่จะได้รับ เช่น ชะลอปริมาณข้าวเปลือกในช่วงผลผลิตออกสู่ตลาดในฤดูเก็บเกี่ยวไม่ให้เกินความต้องการตลาด ซึ่งจะทำให้ราคาตลาดข้าวเปลือกมีโอกาสปรับตัวสูงขึ้นและเกษตรกรมีช่องทางเลือกในการตัดสินใจที่จะจำหน่ายหรือเก็บรักษาข้าวเปลือกของตนเองไว้ที่ยุ้งฉางซึ่งเป็นการสร้างแรงจูงใจและสนับสนุนให้เกษตรกรผลิตข้าวเปลือกและเก็บรักษาข้าวเปลือกให้มีคุณภาพ

ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา (นายกรัฐมนตรี) 7 เมษายน 2563  

สำนักโฆษก   สำนักเลขาธิการนายกรัฐมนตรี โทร. 0 2288-4396

******************************************

line logotwitterLike1 Share3Like1 Share1กด Like - Share  เพจ Corehoon-Power Time เพื่อติดตามเคล็ดลับ ข่าวสาร เทรนด์ และบทวิเคราะห์ดีๆ อัพเดตทุกวัน คัดสรรมาเพื่อท่านนักลงทุนโดยเฉพาะ

 Click Donate Support Web

SAM720x100px bgGC 790x90

SME720 x 100banpu 720x90 new1 1

apm

 

 

Facebook

5 ข่าวฮอตนิวส์!