WORLD7

smed PIONEER 720x100ใจฟู720x100pxgpf 720x100 66

ร่างนโยบายและแผนยุทธศาสตร์ความมั่นคงด้านวัคซีนแห่งชาติ พ.ศ. 2563-2565

GOV9ร่างนโยบายและแผนยุทธศาสตร์ความมั่นคงด้านวัคซีนแห่งชาติ พ.ศ. 2563-2565

     

     คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบและรับทราบตามที่กระทรวงสาธารณสุข (สธ.) เสนอดังนี้

  1. เห็นชอบร่างนโยบายและแผนยุทธศาสตร์ความมั่นคงด้านวัคซีนแห่งชาติ พ.ศ. 2563 -2565
  2. รับทราบกรอบวงเงินงบประมาณที่ใช้ดำเนินการตามร่างนโยบายและแผนยุทธศาสตร์ความมั่นคงด้านวัคซีนแห่งชาติ พ.ศ. 2563-2563 รวมทั้งสิ้น 11,078,946,553 บาท

ปีงบประมาณ พ.ศ.          กรอบวงเงินงบประมาณ (บาท)

2563       4,054,418,853

2564       3,640,079,900

2565       3,384,447,800    

             

สาระสำคัญของเรื่อง                  

สธ.รายงานว่า

  1. ภายหลังจากที่ได้มีการประกาศใช้บังคับพระราชบัญญัติความมั่นคงด้านวัคซีนแห่งชาติ พ.ศ. 2561 เป็นกฎหมายแล้ว เมื่อวันที่ 22 พฤศจิกายน 2561 สธ. ได้ดำเนินการทบทวนสถานการณ์ด้านวัคซีนทั้งในและต่างประเทศ การประเมินความเสี่ยงภูมิคุ้มกันหรือความเข้มแข็งด้านวัคซีนของประเทศ รวมทั้งทบทวนนโยบายและแผนยุทธศาสตร์ด้านวัคซีนและด้านอื่นๆ ที่เกี่ยวข้องโดยผ่านการรับฟังความเห็นจากประชาชนและผู้เชี่ยวชาญในหน่วยงานต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้อง ทั้งภาครัฐและภาคเอกชน

        และได้นำเสนอคณะกรรมการวัคซีนแห่งชาติเพื่อพิจารณาในการประชุมครั้งที่ 2/2562 เมื่อวันที่ 29 พฤษภาคม 2562 ซึ่งที่ประชุมได้มีมติ (1) เห็นชอบร่างนโยบายและแผนยุทธศาสตร์ความมั่นคงด้านวัคซีนแห่งชาติ พ.ศ. 2563 - 2565 และกรอบงบประมาณ จำนวน 11,078,946,553 บาทและ (2) มอบหมายให้สถาบันวัคซีนแห่งชาติในฐานะเลขานุการคณะกรรมการวัคซีนแห่งชาติดำเนินการเสนอร่างนโยบายและแผนยุทธศาสตร์ความมั่นคงด้านวัคซีนแห่งชาติ พ.ศ. 2563 – 2565 และกรอบงบประมาณต่อคณะรัฐมนตรี ตามนัยมาตรา 10 (1) และ 10 (4) แห่งพระราชบัญญัติความมั่นคงด้านวัคซีนแห่งชาติ พ.ศ. 2561

  1.       สธ. แจ้งว่า นโยบายและแผนยุทธศาสตร์ความมั่นคงด้านวัคซีนแห่งชาติ พ.ศ. 2563 –2565 เป็นแผนที่นำไปสู่การพึ่งตนเองและความมั่นคงด้านวัคซีนอย่างยั่งยืนโดยยึดหลักความสอดคล้องเชื่อมโยงกับยุทธศาสตร์ชาติ 20 ปี ในยุทธศาสตร์ที่ 2 การสร้างความสามารถในการแข่งขัน ในการจัดการวัคซีนให้มีความเพียงพอและต่อเนื่อง การวิจัยพัฒนาผลิตวัคซีนเพื่อต่อยอดสู่การผลิต การส่งออก และการบริหารจัดการทรัพยากรด้านวัคซีนของประเทศ และแผนแม่บทภายใต้ยุทธศาสตร์ชาติ ในประเด็นที่ 4 อุตสาหกรรมและบริการแห่งอนาคต แผนย่อยอุตสาหกรรมและบริการการแพทย์ครบวงจร อีกทั้งยังมีแนวคิดที่สอดรับกับนโยบายและแผนพัฒนาของชาติ เช่น แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 12 นโยบายแผนระดับชาติว่าด้วยความมั่นคงแห่งชาติ พ.ศ. 2560 – 2564 แผนยุทธศาสตร์ สธ. 20 ปี (พ.ศ. 2560 -2579) (ร่าง) ยุทธศาสตร์การวิจัยและนวัตกรรม 20 ปี (พ.ศ. 2560 – 2579) และแผนพัฒนาสุขภาพแห่งชาติ ฉบับที่ 12
  2. ร่างนโยบายและแผนยุทธศาสตร์ความมั่นคงด้านวัคซีนแห่งชาติ พ.ศ. 2563 –2565 มีสาระสำคัญสรุปได้ ดังนี้

ประเด็น สาระสำคัญ

วิสัยทัศน์           

ประเทศไทยมีความมั่นคงด้านวัคซีน ประชาชนทุกคนในประเทศเข้าถึงการป้องกันโรคด้วยวัคซีนที่มีคุณภาพอย่างทั่วถึง เป็นธรรม

 

วัตถุประสงค์      

- เพื่อพัฒนาระบบการจัดหาที่สมดุลกับความต้องการและสนับสนุนอุตสาหกรรมวัคซีนของประเทศ และพัฒนาระบบการให้บริการวัคซีน เพื่อให้ประชาชนทุกกลุ่มเป้าหมาย ทุกพื้นที่เข้าถึงวัคซีนที่มีคุณภาพอย่างทั่วถึง และทันการณ์

- เพื่อส่งเสริม สนับสนุน และบูรณาการการวิจัยพัฒนา การผลิตวัคซีน การประกันคุณภาพและการนำไปใช้ให้เป็นทิศทางเดียวกัน และมีขีดความสามารถในการวิจัยพัฒนาและผลิตวัคซีนที่สามารถรองรับความต้องการได้ทั้งในปัจจุบันและอนาคต

- เพื่อผลิตและพัฒนาทรัพยากรบุคคลด้านวัคซีนอย่างครบวงจรเพื่อรองรับความต้องการอย่างเพียงพอ พัฒนาและบริหารจัดการโครงสร้างพื้นฐานด้านวัคซีนของประเทศให้มีครบถ้วนและได้มาตรฐานสากล

- เพื่อเสริมสร้างขีดความสามารถขององค์กรภาคีเครือข่ายทุกภาคส่วนให้มีศักยภาพและมีส่วนร่วมในการพัฒนางานด้านวัคซีนของประเทศได้อย่างเข้มแข็ง มีเอกภาพในการบริหารจัดการอย่างบูรณาการและมีประสิทธิภาพ

นโยบาย  - รัฐบาลจะส่งเสริมให้คนไทยและผู้ที่อาศัยอยู่ในประเทศไทยได้รับวัคซีนอย่างครอบคลุม เหมาะสม และเป็นธรรมทั้งในภาวะปกติและภาวะฉุกเฉิน

- รัฐบาลจะส่งเสริมให้ประเทศไทยสามารถผลิตวัคซีนที่จำเป็นสำหรับใช้ป้องกันโรคที่เป็นปัญหาสาธารณสุขของประเทศ เพื่อทดแทนการนำเข้าและการส่งออกในระยะต่อไป

- รัฐบาลจะส่งเสริมและพัฒนาบุคลากรและโครงสร้างพื้นฐานด้านวัคซีนของประเทศเพื่อรองรับความต้องการอย่างเพียงพอ และได้มาตรฐานสากล

- รัฐบาลจะส่งเสริมให้องค์กรภาคีเครือข่ายด้านวัคซีนมีความเข้มแข็ง เพื่อให้สามารถดำเนินการด้านวัคซีนได้อย่างครบวงจรและมีคุณภาพ

ยุทธศาสตร์        ประกอบด้วย 5 ยุทธศาสตร์ ได้แก่

- ยุทธศาสตร์ที่ 1 พัฒนาระบบและบริหารจัดการงานสร้างเสริมภูมิคุ้มกันโรคให้มีประสิทธิภาพทั้งในภาวะปกติและภาวะฉุกเฉิน โดยมุ่งสร้างความมั่นคงด้านวัคซีนเพื่อให้ประชาชนเข้าถึงวัคซีนได้อย่างเป็นธรรมและทันต่อสถานการณ์ทั้งในภาวะปกติและภาวะฉุกเฉิน มุ่งพัฒนากลไกและระบบงบประมาณในการนำวัคซีนใหม่เข้ามาใช้เป็นวัคซีนพื้นฐาน รวมทั้งมุ่งส่งเสริมการพัฒนารูปแบบและมาตรฐานของการให้บริการวัคซีน

- ยุทธศาสตร์ที่ 2  ส่งเสริม สนับสนุนการวิจัยพัฒนา และการผลิตวัคซีนรองรับความต้องการในการป้องกันโรคของประเทศ โดยมุ่งสร้างศักยภาพในการพึ่งพาตนเองด้านวัคซีน ส่งเสริมและสนับสนุนทุนในการวิจัยพัฒนาวัคซีนเป้าหมายและวัคซีนเพื่อตอบโต้การระบาด รวมทั้งสนับสนุนให้เกิดการพัฒนาหรือรับการถ่ายทอดเทคโนโลยีที่ทันสมัยในการผลิตวัคซีน

- ยุทธศาสตร์ที่ 3 ส่งเสริม สนับสนุนอุตสาหกรรมวัคซีนภายในประเทศให้มีความเข้มแข็งและส่งออกได้ ซึ่งให้ความสำคัญกับการเสริมสร้างศักยภาพของอุตสาหกรรมวัคซีนของประเทศ โดยการแสวงหาและส่งเสริมความร่วมมือระหว่างภาครัฐและเอกชนทั้งในประเทศและต่างประเทศ รวมทั้งการกำหนดนโยบาย มาตรการ หรือระเบียบปฏิบัติที่สนับสนุนให้เกิดการลงทุน ความร่วมมือระหว่างภาครัฐและเอกชนให้สามารถผลิตวัคซีนที่จำเป็นได้อย่างเพียงพอและได้มาตรฐานสากลเพื่อสามารถส่งออกจำหน่ายในภูมิภาคและนานาชาติได้อย่างเข้มแข็งและเติบโต

- ยุทธศาสตร์ที่ 4 พัฒนาศักยภาพบุคลากรและโครงสร้างพื้นฐานด้านวัคซีนของประเทศให้รองรับภารกิจความมั่นคงด้านวัคซีนได้อย่างเหมาะสม ให้ความสำคัญกับการผลิต การพัฒนา และการรักษาบุคลากรในสาขาที่จำเป็นและขาดแคลนให้เพียงพอ รวมถึงการพัฒนาและบริหารจัดการโครงสร้างพื้นฐานให้ได้มาตรฐานสากลและการพัฒนาองค์กรภาคีเครือข่ายด้านวัคซีนให้มีศักยภาพสูงและเป็นเอกภาพ

- ยุทธศาสตร์ที่ 5 เสริมสร้างขีดความสามารถขององค์กรภาคีเครือข่ายด้านวัคซีนของประเทศ โดยให้ความสำคัญกับการสนับสนุน ส่งเสริมความร่วมมือระหว่างหน่วยงานทั้งภาครัฐและภาคเอกชนทั้งในและต่างประเทศเพื่อให้สามารถดำเนินการวิจัยพัฒนาและผลิตวัคซีนได้อย่างมีประสิทธิภาพ

จำนวนโครงการ   67 โครงการ

กรอบวงเงินงบประมาณ    11,078,946,553 บาท

การประเมินผล    แบ่งเป็น 3 ระยะ ได้แก่

     1) ประเมินผลก่อนการปฏิบัติการหรือก่อนเริ่มโครงการ โดยให้หน่วยงานภาคีเครือข่ายด้านวัคซีนประเมินตนเองเพื่อประเมินสถานการณ์และศักยภาพความพร้อมของหน่วยงาน (ระยะเวลา 1 ปี พ.ศ. 2563)

    2) ประเมินผลระหว่างดำเนินการ โดยคณะกรรมการวัคซีนแห่งชาติหรือหน่วยงานภายนอกเข้ามามีส่วนร่วมในการประเมิน เพื่อติดตามประเมินผลความก้าวหน้าของการดำเนินโครงการ (ระยะเวลา 2 ปี พ.ศ. 2563 – 2564)

     3) ประเมินผลหลังสิ้นสุดแผน โดยคณะกรรมการวัคซีนแห่งชาติ เพื่อวิเคราะห์ประสิทธิภาพ ปัญหาอุปสรรค และผลกระทบในภาพรวม พร้อมทั้งสรุปผลการดำเนินงานภายหลังจากสิ้นสุดแผนและจะรายงานต่อคณะรัฐมนตรีทุกปี (ระยะเวลา 3 ปี พ.ศ. 2563 – 2565)

ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา (นายกรัฐมนตรี) 3 มีนาคม 2563

สำนักโฆษก   สำนักเลขาธิการนายกรัฐมนตรี โทร. 0 2288-4396

******************************************

line logotwitterLike1 Share3Like1 Share1กด Like - Share  เพจ Corehoon-Power Time เพื่อติดตามเคล็ดลับ ข่าวสาร เทรนด์ และบทวิเคราะห์ดีๆ อัพเดตทุกวัน คัดสรรมาเพื่อท่านนักลงทุนโดยเฉพาะ

 Click Donate Support Web

SAM720x100px bgGC 790x90

SME720 x 100banpu 720x90 new1 1

apm

 

 

Facebook

5 ข่าวฮอตนิวส์!