WORLD7

smed PIONEER 720x100ใจฟู720x100pxgpf 720x100 66

ขอรับการจัดสรรงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2563 งบกลาง รายการเงินสำรองจ่ายเพื่อกรณีฉุกเฉินหรือจำเป็นเพื่อเตรียมความพร้อมป้องกันและแก้ไขปัญหาโรคติดต่ออุบัติใหม่ : กรณีโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (Covid -19)

GOV10ขอรับการจัดสรรงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2563 งบกลาง รายการเงินสำรองจ่ายเพื่อกรณีฉุกเฉินหรือจำเป็นเพื่อเตรียมความพร้อมป้องกันและแก้ไขปัญหาโรคติดต่ออุบัติใหม่ : กรณีโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (Covid -19) ระยะการระบาดในวงจำกัด (ระยะที่ 2)

      คณะรัฐมนตรีมีมติรับทราบและอนุมัติตามที่กระทรวงสาธารณสุขเสนอ ดังนี้

  1. รับทราบโครงการเตรียมความพร้อมป้องกันและแก้ไขปัญหาโรคติดต่ออุบัติใหม่ : กรณีโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา  2019 (COVID-19) ระยะระบาดในวงจำกัด (ระยะที่ 2) ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2563
  2.      อนุมัติจัดสรรงบประมาณรายจ่ายประจำปี พ.ศ. 2563 งบกลาง รายการเงินสำรองจ่ายเพื่อกรณีฉุกเฉินหรือจำเป็น 1,233,272,900 บาท

สาระสำคัญของเรื่อง

    คณะรัฐมนตรีมีมติเมื่อวันที่ 3  มีนาคม 2563 เห็นชอบการดำเนินงานเพื่อเตรียมความพร้อมป้องกันและแก้ไขปัญหาโรคติดต่ออุบัติใหม่ : กรณีโรคไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) ระยะการระบาดในวงจำกัด (ระยะที่ 2) ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2563 สถานการณ์การระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ที่เมืองอู่ฮั่น มณฑลหูเป่ย สาธารณรัฐประชาชนจีน ตั้งแต่ในช่วงเดือนธันวาคม 2562 ที่ผ่านมา การแพร่ระบาดได้สร้างความกังวลไปทั่วโลกหลังจากจำนวนผู้ติดเชื้อไวรัสชนิดนี้ในสาธารณรัฐประชาชนจีนมีแนวโน้มพุ่งสูงขึ้นโดยข้อมูล ณ วันที่ 25 กุมภาพันธ์ 2563 มีรายงานผู้ป่วยยืนยันทั่วโลก จำนวนทั้งสิ้น 80,294 ราย มีอาการรุนแรง 9,215 ราย เสียชีวิต 2,707 ราย ประเทศไทยมีผู้ป่วยยืนยันสะสม จำนวน 37 ราย หายป่วยและแพทย์อนุญาตให้ออกจากโรงพยาบาล จำนวน 24 ราย

      และมีผู้ป่วยที่มีอาการเข้าได้ตามนิยาม (PUI) จำนวน 1,798 ราย โดยประเทศไทยได้ยกระดับการแจ้งเตือนโรคในผู้เดินทางให้หลีกเลี่ยงการเดินทางไปยังพื้นที่ที่มีการระบาด ติดตามสถานการณ์โรคทั้งในประเทศและต่างประเทศอย่างใกล้ชิด  และบริหารจัดการทรัพยากร เสริมสร้าง ความเข้มแข็งของระบบการเฝ้าระวังค้นหาผู้ป่วยโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ที่มาจากต่างประเทศ ทั้งการคัดกรองอุณหภูมิของร่างกาย ณ ช่องทางเข้าออกประเทศ ที่ท่าอากาศยานนานาชาติ  6 แห่ง ได้แก่ ท่าอากาศยานนานาชาติ สุวรรณภูมิ ดอนเมือง เชียงใหม่ ภูเก็ต กระบี่ และเชียงราย เพิ่มการเฝ้าระวังที่โรงพยาบาลรัฐและเอกชน สนับสนุน การเตรียมความพร้อมรับมือโรคติดต่ออุบัติใหม่ ครอบคลุมระบบบริการสาธารณสุข  และชุมชนแหล่งท่องเที่ยว โรงแรม

       โดยบูรณาการการทำงานร่วมกันของทุกกระทรวง อาทิ กระทรวงคมนาคม กระทรวงการต่างประเทศ กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา สำนักงานตำรวจแห่งชาติ และกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัย และนวัตกรรม กระทรวงมหาดไทย สำนักนายกรัฐมนตรี หน่วยงานความมั่นคง โดยสร้างการมีส่วนร่วมทุกภาคส่วน รวมทั้งประสานงานกับองค์การอนามัยโลก และประเทศในภูมิภาคอาเซียน เพื่อการแลกเปลี่ยนข้อมูลมาตรการ และประสบการณ์ของประเทศไทยในการเฝ้าระวังให้กับประเทศเพื่อนบ้าน ซึ่งสามารถดำเนินการได้อย่างมีประสิทธิภาพ ด้วยมาตรฐานระดับสูงสุดในการป้องกันควบคุมโรคติดต่ออุบัติใหม่

      เพื่อลดผลกระทบด้านเศรษฐกิจและสังคม รวมทั้งการลดจำนวนผู้ป่วยและผู้เสียชีวิตจากโรคติดเชื้อไวรัสโคโนนา 2019 ของประเทศไทย คณะกรรมการโรคติดต่อ มีมติเมื่อวันที่ 24 กุมภาพันธ์ 2563 ประกาศให้เป็นโรคติดต่ออันตราย ลำดับที่ 14 รวมทั้งมติ คณะกรรมการอำนวยการเตรียมความพร้อมป้องกันและแก้ไขปัญหาโรคติดต่ออุบัติใหม่แห่งชาติ  มีมติเมื่อวันที่ 20 กุมภาพันธ์ 2563 เห็นชอบมาตรการลดโอกาสการแพร่เชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ซึ่งมีแนวโน้มของการระบาดในวงกว้างและชะลอการระบาดภายในประเทศ ตามแผนบูรณาการความร่วมมือพหุภาคีเพื่อความปลอดภัยและลดผลกระทบจากโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019

       จากแนวโน้มการระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโนนา 2019 ในประเทศไทย ประเทศจีนและทั่วโลก กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข ได้คาดการณ์จำนวนผู้ป่วยตามหลักการทางระบาดวิทยา คาดว่าจะพบผู้ป่วยเข้าเกณฑ์สอบสวนโรค (PUI) ผู้ป่วยยืนยัน อาการไม่รุนแรงและรุนแรง ในระยะระบาดของโรคในวงจำกัด ซึ่งจะพบผู้ป่วยที่มีประวัติเดินทางจากประเทศในกลุ่มเสี่ยงและพบผู้ป่วยในประเทศไทยที่มีลักษณะการระบาดเป็นกลุ่มก้อนเป็นวงจำกัด ในเวลา 3 เดือน จากแบบจำลองทางคณิตศาสตร์ พบว่า ผู้ป่วยเข้าเกณฑ์สอบสวนโรค  (PUI) จำนวน 1,500 รายต่อเดือน  รวมผู้ป่วย PUI ทั้งสิ้น 4,500 ราย โดยแบ่งเป็นผู้ป่วยยืนยัน อาการไม่รุนแรง จำนวน 225 ราย อาการรุนแรง 45 ราย และผู้ป่วยเข้าเกณฑ์สอบสวนโรค (PUI)  และวินิจฉัยสุดท้ายเป็นโรคอื่น จำนวน 4,230 ราย

     เพื่อให้สามารถควบคุมการระบาดของโรค  ให้อยู่ในวงจำกัด ลดโอกาสการแพร่เชื้อเข้าสู่ประเทศ ลดผลกระทบทางสุขภาพ  รวมถึงสามารถดูแลคนไทยและผู้เดินทางจากต่างประเทศ ให้ปลอดภัยจากโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ตามหลักการป้องกันและการแพร่กระจายเชื้อ  ได้อย่างมีประสิทธิภาพ กระทรวงสาธารณสุข จึงจัดทำโครงการเตรียมความพร้อมป้องกันและแก้ไขปัญหาโรคติดต่ออุบัติใหม่ :  กรณีโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID -19) ระยะระบาดในวงจำกัด (ระยะที่ 2) ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2563

       โครงการเตรียมความพร้อมป้องกันและแก้ไขปัญหาโรคติดต่ออุบัติใหม่ : กรณีโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) ระยะระบาดในวงจำกัด (ระยะที่ 2) ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2563

หลักการและเหตุผล :

      สถานการณ์การระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ที่เมืองอู่ฮั่น มณฑลหูเป่ย สาธารณรัฐประชาชนจีน ตั้งแต่ในช่วงเดือนธันวาคม 2562 ที่ผ่านมา การแพร่ระบาดได้สร้างความกังวลไปทั่วโลกหลังจากจำนวนผู้ติดเชื้อไวรัสชนิดนี้ในสาธารณรัฐประชาชนจีนมีแนวโน้มพุ่งสูงขึ้นโดยข้อมูล ณ วันที่ 25 กุมภาพันธ์ 2563 มีรายงานผู้ป่วยยืนยันทั่วโลก จำนวนทั้งสิ้น 80,294 ราย มีอาการรุนแรง 9,215 ราย เสียชีวิต 2,707 ราย ประเทศไทยมีผู้ป่วยยืนยันสะสม จำนวน 37 ราย หายป่วยและแพทย์อนุญาตให้ออกจากโรงพยาบาล จำนวน 24 ราย และมีผู้ป่วยที่มีอาการเข้าได้ตามนิยาม (PUI) จำนวน 1,798 ราย

      โดยประเทศไทยได้ยกระดับการแจ้งเตือนโรคในผู้เดินทางให้หลีกเลี่ยงการเดินทางไปยังพื้นที่ที่มีการระบาด ติดตามสถานการณ์โรคทั้งในประเทศและต่างประเทศอย่างใกล้ชิด และบริหารจัดการทรัพยากร เสริมสร้าง ความเข้มแข็งของระบบการเฝ้าระวังค้นหาผู้ป่วยโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ที่มาจากต่างประเทศ ทั้งการคัดกรองไข้ ณ ช่องทางเข้าออกประเทศที่ท่าอากาศยานนานาชาติ 6 แห่ง ได้แก่ ท่าอากาศยานนานาชาติ สุวรรณภูมิ ดอนเมือง เชียงใหม่ ภูเก็ต กระบี่ และเชียงราย เพิ่มการเฝ้าระวังที่โรงพยาบาลรัฐและเอกชน สนับสนุน การเตรียมความพร้อมรับมือโรคติดต่ออุบัติใหม่ ครอบคลุมระบบบริการสาธารณสุข และชุมชน

      แหล่งท่องเที่ยว โรงแรม โดยบูรณาการการทำงานร่วมกันของทุกกระทรวง อาทิ กระทรวงคมนาคม กระทรวงการต่างประเทศ กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา สำนักงานตำรวจแห่งชาติ และ กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและ นวัตกรรม กระทรวงมหาดไทย สำนักนายกรัฐมนตรี หน่วยงานความมั่นคง โดยสร้างการมีส่วนร่วมทุกภาคส่วน รวมทั้งประสานงานกับองค์การอนามัยโลก และประเทศในภูมิภาคอาเซียน เพื่อการแลกเปลี่ยนข้อมูล มาตรการ และประสบการณ์ของประเทศไทยในการเฝ้าระวังให้กับประเทศเพื่อนบ้าน ซึ่งสามารถดำเนินการได้อย่างมีประสิทธิภาพ ด้วยมาตรฐานระดับสูงสุดในการป้องกันควบคุมโรคติดต่ออุบัติใหม่ นั้น เพื่อลดผลกระทบด้านเศรษฐกิจและสังคม รวมทั้งการลดจำนวนผู้ป่วยและผู้เสียชีวิต

      จากโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ของประเทศไทย คณะกรรมการโรคติดต่อ มีมติเมื่อวันที่ 24 กุมภาพันธ์ 2563 ประกาศให้เป็นโรคติดต่ออันตราย ลำดับที่ 14 รวมทั้งมติ คณะกรรมการอำนวยการเตรียมความพร้อมป้องกันและแก้ไขปัญหาโรคติดต่ออุบัติใหม่แห่งชาติ มีมติเมื่อวันที่ 20 กุมภาพันธ์ 2563 เห็นชอบมาตรการลดโอกาสการแพร่เชื้อโคโรนา 2019 ซึ่งมีแนวโน้มของการระบาดในวงกว้างและชะลอการระบาดภายในประเทศตามแผนบูรณาการความร่วมมือพหุภาคีเพื่อความปลอดภัยและลดผลกระทบจากโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019

      จากแนวโน้มการระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ในประเทศไทย ประเทศจีน และทั่วโลก กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข ได้คาดการณ์จำนวนผู้ป่วยตามหลักการทางระบาดวิทยาคาดว่าจะพบผู้ป่วยเข้าเกณฑ์สอบสวนโรค (PUI) ผู้ป่วยยืนยัน อาการไม่รุนแรงและรุนแรง ในระยะระบาดของโรคในวงจำกัด ซึ่งจะพบผู้ป่วยที่มีประวัติเดินทางจากประเทศในกลุ่มเสี่ยงและพบผู้ป่วยในประเทศไทย ที่มีลักษณะการระบาดเป็นกลุ่มก้อนเป็นวงจำกัด ในเวลา 3 เดือน จากแบบจำลองทางคณิตศาสตร์ พบว่าผู้ป่วยเข้าเกณฑ์สอบสวนโรค (PUI) จำนวน 1,500 รายต่อเดือน รวมผู้ป่วย PUI ทั้งสิ้น 4,500 ราย

      โดยแบ่งเป็นผู้ป่วยยืนยัน อาการไม่รุนแรง จำนวน 225 ราย อาการรุนแรง 45 ราย และผู้ป่วยเข้าเกณฑ์สอบสวนโรค (PUI) และวินิจฉัยสุดท้ายเป็นโรคอื่น จำนวน 4,230 ราย เพื่อให้สามารถควบคุมการระบาดของโรค ให้อยู่ในวงจำกัด ลดโอกาสการแพร่เชื้อเข้าสู่ประเทศ ลดผลกระทบทางสุขภาพ รวมถึงสามารถดูแลคนไทยและผู้เดินทางจากต่างประเทศ ให้ปลอดภัยจากโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ตามหลักการป้องกันการแพร่กระจายเชื้อ ได้อย่างมีประสิทธิภาพ กระทรวงสาธารณสุข จึงจัดทำโครงการเตรียมความพร้อมป้องกันและแก้ไขปัญหาโรคติดต่ออุบัติใหม่ : กรณีโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) ระยะระบาดในวงจำกัด (ระยะที่ 2) ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2563

วัตถุประสงค์ :

  1.     เพื่อลดจำนวนผู้ป่วยและเสียชีวิตจากโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019
  2.     เพื่อควบคุมการระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ให้อยู่ในวงจำกัด ช่วยลดผลกระทบทางด้านสุขภาพ เศรษฐกิจ การท่องเที่ยว สังคม และเพิ่มความมั่นคงของประเทศ
  3.      เพื่อยกระดับสมรรถนะการเฝ้าระวัง ป้องกัน ควบคุมโรค ของประเทศให้เป็นไปตามมาตรฐานสากล

ระยะเวลาการดำเนินการ :  3 เดือน (เดือนมีนาคม - พฤษภาคม 2563)

กิจกรรมการดำเนินงาน :

(ตารางกิจกรรมสามารถดาวน์โหลดได้ที่เอกสารแนบ)

งบประมาณ :

      จากงบกลาง รายการเงินสำรองจ่ายเพื่อกรณีฉุกเฉิน หรือจำเป็น โครงการความพร้อมป้องกันและแก้ไขปัญหาโรคติดต่ออุบัติใหม่ : กรณีโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) ระยะระบาดในวงจำกัด (ระยะที่ 2) ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2563 จำนวนทั้งสิ้น 1,233,272,900 บาท 

กลุ่มเป้าหมาย :

  1. บุคลากรทางการแพทย์และสาธารณสุข ของกระทรวงสาธารณสุข และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง
  2. ประชาชนทั่วไปและกลุ่มเสี่ยง
  3. ผู้เดินทางระหว่างประเทศ

ประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับ :

  1.      ทุกคนในประเทศไทย ลดป่วย ลดตายและปลอดภัยจากโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019
  2.      ประเทศไทย สามารถควบคุม การระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ให้อยู่ในวงจำกัด ช่วยลดผลกระทบทางด้านสุขภาพ เศรษฐกิจ การท่องเที่ยว สังคม และเพิ่มความมั่นคงของประเทศ
  3.      ประเทศไทย มีระบบการป้องกัน ควบคุมโรค ที่มีสมรรถนะการป้องกัน ควบคุมโรคที่เป็นไปตามมาตรฐานสากล สามารถลดการแพร่กระจายเชื้อภายในประเทศ

ผู้รับผิดชอบโครงการ

     กระทรวงสาธารณสุข โดยสำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข กรมการแพทย์ กรมควบคุมโรค กรมอนามัย กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ และกรมสนับสนุนบริการสุขภาพ

หมายเหตุ : คำนิยาม PUI (Patient Under Investigation) หมายถึง ผู้ป่วยเข้าเกณฑ์สอบสวนโรค

ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา (นายกรัฐมนตรี) 3 มีนาคม 2563

สำนักโฆษก   สำนักเลขาธิการนายกรัฐมนตรี โทร. 0 2288-4396

******************************************

line logotwitterLike1 Share3Like1 Share1กด Like - Share  เพจ Corehoon-Power Time เพื่อติดตามเคล็ดลับ ข่าวสาร เทรนด์ และบทวิเคราะห์ดีๆ อัพเดตทุกวัน คัดสรรมาเพื่อท่านนักลงทุนโดยเฉพาะ

 Click Donate Support Web

SAM720x100px bgGC 790x90

SME720 x 100banpu 720x90 new1 1

apm

 

 

Facebook

5 ข่าวฮอตนิวส์!