WORLD7

smed PIONEER 720x100ใจฟู720x100pxgpf 720x100 66

การดำเนินงานโครงการตามแผนปฏิบัติการฟื้นฟู เยียวยา เกษตรกรผู้ประสบภัยฝนทิ้งช่วงและอุทกภัย  ปี 2562    

GOV4 copy copyการดำเนินงานโครงการตามแผนปฏิบัติการฟื้นฟู เยียวยา เกษตรกรผู้ประสบภัยฝนทิ้งช่วงและอุทกภัย  ปี 2562

      คณะรัฐมนตรีพิจารณา เรื่อง การดำเนินงานโครงการตามแผนปฏิบัติการฟื้นฟู เยียวยา เกษตรกรผู้ประสบภัยฝนทิ้งช่วงและอุทกภัย ปี 2562 ตามที่กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ (กษ.) เสนอ แล้วมีมติดังนี้

  1.      รับทราบคู่มือการดำเนินงานแผนปฏิบัติการฟื้นฟู เยียวยา เกษตรกรผู้ประสบภัยฝนทิ้งช่วงและอุทกภัย ปี 2562 และผลการดำเนินงานตามแผนปฏิบัติการฟื้นฟูฯ
  2.      อนุมัติให้ กษ. ดำเนินการถัวจ่ายงบประมาณ งบกลาง รายการเงินสำรองจ่ายเพื่อกรณีฉุกเฉินหรือจำเป็น ระหว่างโครงการภายใต้แผนปฏิบัติการฟื้นฟูฯ กรอบวงเงิน 2,967.50 ล้านบาท (กรอบวงเงินทั้งหมด 3,120.86 ล้านบาท)

       สำหรับ ประเด็นที่ขออนุมัติให้กรมการข้าวปรับเปลี่ยนปริมาณของเมล็ดพันธุ์แต่ละชนิดข้าวและปริมาณเมล็ดพันธุ์ข้าวของแหล่งผลิต (กรมการข้าว สหกรณ์การเกษตร/กลุ่มเกษตรกร และศูนย์ข้าวชุมชนและแปลงใหญ่) ให้เป็นไปตามความต้องการของเกษตรกรและตามความสามารถในการผลิตเมล็ดพันธุ์ข้าวและปริมาณที่จะสนับสนุนของแต่ละแหล่งผลิต (ในปริมาณ 63,200 ตัน เท่าเดิม) นั้น ให้กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ดำเนินการตามอำนาจหน้าที่ ทั้งนี้ ให้รับความเห็นของหน่วยงานไปประกอบการพิจารณา

สาระสำคัญของเรื่อง

กษ. รายงานว่า

  1.      คู่มือการดำเนินงานแผนปฏิบัติการฟื้นฟูฯ กษ. ได้จัดทำคู่มือการดำเนินงานแผนปฏิบัติการฟื้นฟูฯ ของ 4 โครงการ (จากทั้งหมด 5 โครงการ) ประกอบด้วย (1) โครงการส่งเสริมการปลูกพืชใช้น้ำน้อยฯ (2) โครงการรักษาระดับปริมาณและคุณภาพข้าวฯ (3) โครงการพัฒนาเสริมทางเลือกอาชีพด้านประมงฯ และ (4) โครงการส่งเสริมการเลี้ยงสัตว์ปีก โดยมีรายละเอียดสรุปได้ ดังนี้

      1.1 พื้นที่ดำเนินการ พื้นที่ประสบสถานการณ์ฝนทิ้งช่วงและพื้นที่ประสบสถานการณ์อุทกภัย เนื่องจากพายุ 'โพดุล' (PODUL) และ/หรือ พายุ 'คาจิกิ' (KAJIKI) โดยเป็นพื้นที่ที่ประสบภัยพิบัติที่ได้รับความเสียหายสิ้นเชิงและได้รับการช่วยเหลือตามระเบียบกระทรวงการคลังฯ รวมทั้งสิ้น 39 จังหวัด (ข้อมูล ณ วันที่ 25 ตุลาคม 2562) จำแนกเป็นพื้นที่ประสบภัยพิบัติกรณีฉุกเฉิน ฝนทิ้งช่วง/ฝนแล้ง ช่วงวันที่ 1 มิถุนายน – 31 ตุลาคม 2562 จำนวน 19 จังหวัด และพื้นที่ประสบภัยพิบัติกรณีฉุกเฉิน อุทกภัย (น้ำท่วมฉับพลันและน้ำป่าไหลหลาก) ช่วงวันที่ 23 สิงหาคม – 31 ตุลาคม 2562 จำนวน 28 จังหวัด ดังนี้

ภาค      จังหวัด

ภาคเหนือ              

14 จังหวัด ได้แก่ จังหวัดกำแพงเพชร เชียงใหม่ เชียงราย น่าน นครสวรรค์ พิษณุโลก พิจิตร เพชรบูรณ์ แพร่ แม่ฮ่องสอน ลำปาง สุโขทัย อุตรดิตถ์ และอุทัยธานี

ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ      17 จังหวัด ได้แก่ จังหวัดกาฬสินธุ์ ขอนแก่น ชัยภูมิ นครพนม นครราชสีมา บุรีรัมย์ มหาสารคาม มุกดาหาร ยโสธร ร้อยเอ็ด ศรีสะเกษ สกลนคร สุรินทร์ อำนาจเจริญ อุบลราชธานี อุดรธานี และหนองคาย

ภาคกลาง               7 จังหวัด ได้แก่ จังหวัดลพบุรี สระบุรี สุพรรณบุรี สระแก้ว ตราด กาญจนบุรี และราชบุรี

ภาคใต้    1 จังหวัด ได่แก่ จังหวัดพัทลุง                      

1.2 คุณสมบัติของเกษตรกรและเงื่อนไขการเข้าร่วมโครงการ

      1) เป็นเกษตรกรผู้ประสบภัยฝนทิ้งช่วง/ฝนแล้งหรืออุทกภัย ปี 2562 ที่ได้รับความเสียหายสิ้นเชิง และได้รับการช่วยเหลือตามระเบียบกระทรวงการคลังฯ ทั้งด้านพืช ด้านประมง และด้านปศุสัตว์ โดยให้เกษตรกรมีสิทธิ์เลือกได้ 1 โครงการ เท่านั้น (ยกเว้นโครงการสร้างรายได้จากอาชีพประมงฯ เนื่องจากเป็นโครงการที่กรมประมงดำเนินการปล่อยพันธุ์สัตว์น้ำในแหล่งน้ำชุมชนเองโดยไม่ได้ให้เกษตรกรดำเนินการและไม่มีการรับสมัครเกษตรกรสมัครเข้าร่วมโครงการ)

      2) เกษตรกรที่ได้รับความเสียหายทั้งด้านพืช ด้านประมง และด้านปศุสัตว์ สามารถแจ้งความประสงค์ขอเข้าร่วมโครงการด้านใดด้านหนึ่งได้โดยไม่จำเป็นต้องตรงกับด้านที่ได้รับความเสียหาย ทั้งนี้ เมื่อตรวจสอบพบว่า คุณสมบัติไม่เป็นไปตามเงื่อนไขของแต่ละโครงการที่ประสงค์เข้าร่วม ให้ถือว่าเกษตรกรสละสิทธิ์และจะไม่สามารถเข้าร่วมโครงการอื่นได้

      3) กรณีเกษตรกรขอรับการสนับสนุนด้านพืช มีเงื่อนไข ดังนี้

      3.1) โครงการส่งเสริมการปลูกพืชใช้น้ำน้อยฯ มีเงื่อนไขคือ (1) พื้นที่ที่เข้าร่วมโครงการต้องมีเอกสารสิทธิถูกต้องตามกฎหมาย โดยเกษตรกรสามารถเลือกแปลงปลูกอื่นของครัวเรือนที่ไม่ได้รับความเสียหาย แต่มีเอกสารสิทธิเข้าร่วมโครงการได้ (2) เกษตรกรสามารถเลือกพืชได้มากกว่า 1 ชนิด (ข้าวโพดเลี้ยงสัตว์และถั่วเขียว) แต่พื้นที่รวมกันไม่เกิน 20 ไร่ต่อรายหรือครัวเรือน และ (3) พื้นที่ที่เข้าร่วมโครงการต้องมีความเหมาะสมในการผลิต ซึ่งทั้งสภาพพื้นที่และปริมาณน้ำต้นทุนต้องเหมาะสม/เพียงพอ

    3.2) โครงการรักษาระดับปริมาณและคุณภาพข้าวฯ มีเงื่อนไข คือ (1) พื้นที่ที่เข้าร่วมโครงการต้องมีเอกสารสิทธิถูกต้องตามกฎหมาย โดยเกษตรกรสามารถเลือกแปลงปลูกอื่นของครัวเรือนที่ไม่ได้รับความเสียหาย แต่มีเอกสารสิทธิเข้าร่วมโครงการได้ (2) เกษตรกรสามารถเลือกรับการสนับสนุนพันธุ์ข้าว 1 พันธุ์ (ข้าวหอมมะลิ ข้าวหอมปทุม ข้าวเจ้า ข้าวเหนียว) ชนิดใดชนิดหนึ่งตามพื้นที่เสียหายสิ้นเชิงจริง แต่ไม่เกินครัวเรือนละ 10 ไร่ (ไร่ละ 10 กิโลกรัม) และ (3) พื้นที่ที่เข้าร่วมโครงการต้องมีความเหมาะสมในการผลิต ซึ่งทั้งสภาพพื้นที่และปริมาณน้ำต้นทุนต้องเหมาะสม/เพียงพอ

               4) กรณีเกษตรกรขอรับการสนับสนุนด้านประมง มีเงื่อนไข ดังนี้

               4.1) เกษตรกรจะต้องมีบ่อดิน

               4.2) มีปริมาณน้ำเพียงพอและเหมาะสมในการเลี้ยงปลานิลแปลงเพศ

               5) กรณีเกษตรกรขอรับการสนับสนุนด้านปศุสัตว์ มีเงื่อนไข ดังนี้

               5.1) เกษตรกรต้องมีโรงเรือนสัตว์ปีก พร้อมลานปล่อยที่มีตาข่ายป้องกันสัตว์พาหะ

               5.2) อยู่ในพื้นที่ประสบอุทกภัย 17 จังหวัด (มีเพียงพื้นที่ประสบอุทกภัยที่ได้รับความเสียหายในด้านปศุสัตว์) ได้แก่ จังหวัดเชียงใหม่ สุโขทัย แม่ฮ่องสอน น่าน พิจิตร พิษณุโลก สกลนคร มหาสารคาม ร้อยเอ็ด ยโสธร ขอนแก่น อุบลราชธานี อำนาจเจริญ กาฬสินธุ์ ศรีสะเกษ นครพนม และมุกดาหาร

               6) เกษตรกรต้องมีบัญชีเงินฝากออมทรัพย์กับธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร กรณีที่รับการสนับสนุนเป็นเงินโอนเข้าบัญชีตามโครงการส่งเสริมการปลูกพืชใช้น้ำน้อยฯ และโครงการส่งเสริมการเลี้ยงสัตว์ปีก

                   1.3 ระยะเวลาดำเนินการ เดือนตุลาคม 2562 – กันยายน 2563

                   1.4 ขั้นตอน/แผนการดำเนินงาน มีดังนี้

ขั้นตอน/แผนการดำเนินงาน          ช่วงเวลา

1) ตรวจสอบคุณสมบัติของเกษตรกรเป้าหมาย เพื่อดูความซ้ำซ้อนของแต่ละด้านและความถูกต้อง ครบถ้วนสมบูรณ์ตามคุณสมบัติที่กำหนด โดยต้องเป็นเกษตรกรผู้ประสบภัยฝนทิ้งช่วง/ฝนแล้งหรืออุทกภัย ปี 2562 ที่ได้รับความเสียหายสิ้นเชิง และได้รับความช่วยเหลือตามระเบียบกระทรวงการคลังฯ ด้านพืช ด้านประมง และด้านปศุสัตว์ ตุลาคม-พฤศจิกายน 2562

2) การรับสมัครเกษตรกรเข้าร่วมโครงการ โดยใช้กลไกคณะทำงานปฏิบัติการขับเคลื่อนงานนโยบายสำคัญและการแก้ไขปัญหาการเกษตรระดับอำเภอ (Operation Team)ที่มีนายอำเภอ เป็นที่ปรึกษา เกษตรอำเภอ เป็นประธานคณะทำงาน หัวหน้าส่วนราชการระดับอำเภอหรือเทียบเท่าของหน่วยงานในสังกัด กษ. ที่ได้รับมอบหมาย นายกองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นหรือผู้แทน เป็นคณะทำงาน และเกษตรตำบลที่ได้รับมอบหมาย เป็นคณะทำงานและเลขานุการ รับผิดชอบหลัก เพื่อดำเนินการตามความเหมาะสมของพื้นที่หรือให้เกษตรกรสมัครได้ด้วยตนเองที่สำนักงานเกษตรจังหวัด สำนักงานประมงจังหวัด สำนักงานปศุสัตว์จังหวัด สำนักงานเกษตรอำเภอ สำนักงานประมงอำเภอ และสำนักงานปศุสัตว์อำเภอ หรือสถานอื่น ๆ ที่กำหนด โดยให้ดำเนินการวางแผนการลงพื้นที่ ชี้แจงโครงการ และบันทึกข้อมูลเกษตรกรที่เข้าร่วมโครงการผ่านระบบฐานข้อมูลของกรมส่งเสริมการเกษตรเพื่อตรวจสอบความซ้ำซ้อน 25 ตุลาคม – 10 พฤศจิกายน 2562

3) ประมวลผลความต้องการขอรับการช่วยเหลือและประมาณการวงเงินและเป้าหมาย (กรณีวงเงินหรือเป้าหมายไม่สอดคล้องกับมติคณะรัฐมนตรีต้องเสนอคณะรัฐมนตรีพิจารณา) 11 – 14 พฤศจิกายน 2562

4) ตรวจสอบเอกสารหลักฐานหรือจัดซื้อจัดจ้างตามหลักเกณฑ์ เงื่อนไขของแต่ละโครงกา 15 พฤศจิกายน 2562-30 มีนาคม 2563

5) เตรียมโอนเงินหรือจัดซื้อจัดจ้าง และประสาน ติดตามผลการพิจารณาจัดสรรเงินงวดจากสำนักงบประมาณ (สงป.) 21-28 พฤศจิกายน 2562

6) ดำเนินกระบวนการเพื่อโอนเงินให้กับเกษตรกรหรือแจกปัจจัยการผลิตตามเงื่อนไขโครงการ พฤศจิกายน 2562-มกราคม 2563

7) ติดตามและรายงานผลการดำเนินงาน โดยกรมส่งเสริมการเกษตร กรมการข้าว กรมประมง และกรมปศุสัตว์ ตุลาคม 2562-กันยายน 2563

8) ติดตามประเมินผลโครงการ โดยสำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร ตุลาคม 2562-กันยายน 2563                  

  1. สรุปผลการดำเนินงาน ได้ดำเนินการ ดังนี้

     2.1 ประชาสัมพันธ์และเปิดรับสมัครให้เกษตรกรที่มีคุณสมบัติแจ้งความประสงค์เข้าร่วมโครงการ (ยกเว้นโครงการสร้างรายได้จากอาชีพประมงฯ) รวมทั้งสิ้น 587,420 ครัวเรือน จำนวน 2 รอบ แบ่งเป็น

รอบที่    ช่วงเวลา จำนวน

(ครัวเรือน)

1             วันที่ 25 ตุลาคม – 10 พฤจิกายน 2562               469,544

2             วันที่ 23 – 27 ธันวาคม 2562 117,876

รวม      587,420

ทั้งนี้ มีรายละเอียดผลการดำเนินงานแต่ละโครงการ ดังนี้

โครงการ            เป้าหมาย           ผลการรับสมัคร  

หมายเหตุ

เกษตรกร

(ครัวเรือน)              วงเงิน

(ล้านบาท)              เกษตรกร

(ครัวเรือน)              วงเงิน

(ล้านบาท)

1) ส่งเสริมการปลูกพืชใช้น้ำน้อยเพื่อสร้างรายได้แก่เกษตรกร             150,000  325.00    12,296    25.87      -

2) รักษาระดับปริมาณและคุณภาพข้าวปี 2563/64             827,000  1728.90  452,753  957.85    ได้รับอนุมัติงบประมาณงวดที่ 1 เมื่อวันที่ 15 มกราคม 2563 จำนวน 932.15 ล้านบาท

3) พัฒนาเสริมทางเลือกอาชีพด้านประมง การเลี้ยงปลานิลแปลงเพศในบ่อดิน               50,000    250.00               44,394    221.97    -

4) ส่งเสริมการเลี้ยงสัตว์ปีก เพื่อฟื้นฟูเกษตรกรที่ประสบปัญหาอุทกภัย             48,000    232.80    77,977               378.19    -

5) สร้างรายได้จากอาชีพประมงในแหล่งน้ำชุมชน               -              430.80    -              430.80    ได้รับอนุมัติเงินงวดแล้วอยู่ระหว่างจัดซื้อจัดจ้าง

รวม      1,075,000           2,967.50 587,420  2,014.68    

                 

     ทั้งนี้ ผลการรับสมัครโครงการที่ 1) – 4) ปรากฏว่า โครงการส่งเสริมการเลี้ยงสัตว์ปีก เพื่อฟื้นฟูเกษตรกรที่ประสบปัญหาอุทกภัย มีเกษตรกรแจ้งความประสงค์ขอเข้าร่วมโครงการมากกว่าเป้าหมาย [ตามข้อ 2.1 4)] ส่วนโครงการส่งเสริมการปลูกพืชใช้น้ำน้อยฯ โครงการรักษาระดับปริมาณและคุณภาพข้าวฯ และโครงการพัฒนาเสริมทางเลือกอาชีพด้านประมงฯ เกษตรกรประสงค์เข้าร่วมต่ำกว่าเป้าหมาย [ตามข้อ 2.1 1) – 3)] ดังนั้น จึงเห็นควรเสนอคณะรัฐมนตรีเพื่อขออนุมัติถัวจ่ายงบประมาณระหว่างโครงการภายใต้กรอบวงเงิน 3,120.86 ล้านบาท ซึ่งใช้งบกลาง รายการเงินสำรองจ่ายเพื่อกรณีฉุกเฉินหรือจำเป็น จำนวน 2,967.50 ล้านบาท

     2.2 กรมการข้าวประมาณการรายละเอียดเมล็ดพันธุ์ข้าวและแหล่งจัดหาเมล็ดพันธุ์ข้าว 63,200 ตัน จำแนกเป็น กรมการข้าว 23,100 ตัน สหกรณ์การเกษตร/กลุ่มเกษตรกร 3,300 ตัน ศูนย์ข้าวชุมชนและแปลงใหญ่ 36,800 ตัน แต่ความต้องการชนิดข้าวเปลี่ยนแปลงไปจากที่กรมการข้าวประมาณการไว้ในโครงการ ประกอบกับสหกรณ์การเกษตรขอเพิ่มปริมาณเมล็ดพันธุ์ที่จะสนับสนุนโครงการจากเดิม 3,300 ตัน เป็น 14,300 ตัน เนื่องจากสหกรณ์การเกษตรสามารถผลิตเมล็ดพันธุ์ข้าวได้เพิ่มขึ้น จึงขอเพิ่มเติมจำนวนเมล็ดพันธุ์ที่จะนำไปสนับสนุนช่วยเหลือเกษตรกรตามโครงการฯ ซึ่งกรมการข้าวเห็นว่าควรให้สหกรณ์การเกษตร/กลุ่มเกษตรกรเพิ่มจำนวนเมล็ดพันธุ์ข้าวที่สนับสนุนโครงการฯ มากขึ้น ซึ่งจะเป็นการสร้างความเข้มแข็งและสร้างแรงจูงใจให้แก่สหกรณ์การเกษตรในการผลิตเมล็ดพันธุ์ข้าวคุณภาพดีมากยิ่งขึ้น โดยขอให้กรมการข้าวปรับเปลี่ยนปริมาณของเมล็ดพันธุ์แต่ละชนิดข้าวและปริมาณเมล็ดพันธุ์ข้าวของแหล่งผลิตได้

ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา (นายกรัฐมนตรี) 24 กุมภาพันธ์ 2563

สำนักโฆษก   สำนักเลขาธิการนายกรัฐมนตรี โทร. 0 2288-4396

******************************************

line logotwitterLike1 Share3Like1 Share1กด Like - Share  เพจ Corehoon-Power Time เพื่อติดตามเคล็ดลับ ข่าวสาร เทรนด์ และบทวิเคราะห์ดีๆ อัพเดตทุกวัน คัดสรรมาเพื่อท่านนักลงทุนโดยเฉพาะ

 Click Donate Support Web

SAM720x100px bgGC 790x90

sme 720x90banpu 720x90 new1 1

apm

 

 

Facebook

5 ข่าวฮอตนิวส์!