WORLD7

smed PIONEER 720x100ใจฟู720x100pxgpf 720x100 66

การจัดกลุ่มองค์การมหาชน กรณีสำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ

GOV 7การจัดกลุ่มองค์การมหาชน กรณีสำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ

        คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบและรับทราบตามที่สำนักงาน ก.พ.ร. เสนอดังนี้

  1. เห็นชอบปรับกลุ่มสำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ (สปสช.) จากเดิมองค์การมหาชนกลุ่มที่ 3 บริการสาธารณะทั่วไป เป็นองค์การมหาชนกลุ่มที่ 1 พัฒนาและดำเนินการตามนโยบายสำคัญของรัฐเฉพาะด้าน
  2. รับทราบแนวทางการทบทวนหลักเกณฑ์การประเมินค่างานและการจัดกลุ่มองค์การมหาชนตามมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 7 กันยายน 2547 (เรื่อง การปรับปรุงหลักเกณฑ์การกำหนดอัตราเงินเดือนฯ หลักเกณฑ์การกำหนดเบี้ยประชุมฯ และการพัฒนาการดำเนินงานและประเมินผลองค์การมหาชน) ของสำนักงาน ก.พ.ร. ซึ่งจะเพิ่มเติมมิติด้านผลกระทบ (impact) ที่เกิดจากการดำเนินงานขององค์การมหาชนไว้ด้วย

สาระสำคัญของเรื่อง

สำนักงาน ก.พ.ร. รายงานว่า

  1.     สปสช. เสนอขอปรับกลุ่มองค์การมหาชน จากเดิมองค์การมหาชนกลุ่มที่ 3 บริการสาธารณะทั่วไป เป็นองค์การมหาชนกลุ่มที่ 1 พัฒนาและดำเนินการตามนโยบายสำคัญของรัฐเฉพาะด้าน เนื่องจากบทบาทภารกิจมีความซับซ้อน หลากหลาย และขยายขอบเขตกว้างขวางขึ้นจากสถานการณ์เปลี่ยนแปลงของระบบหลักประกันสุขภาพทั้งในระดับประเทศและระดับโลก รวมทั้งต้องเชื่อมโยงกับระบบอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง ทำให้ภาระงานและความรับผิดชอบมีขอบเขตกว้างขวางกว่าการบริหารเงินกองทุนหลักประกันสุขภาพแห่งชาติตามอำนาจหน้าที่ที่กำหนด ตามมาตรา 26 แห่งพระราชบัญญัติหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ พ.ศ 2545
  2.       กพม. ได้อาศัยอำนาจตามมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 7 กันยายน 2547 พิจารณาการขอปรับกลุ่มองค์การมหาชนของ สปสช. จากองค์การมหาชนกลุ่มที่ 3 บริการสาธารณะทั่วไป เป็นองค์การมหาชนกลุ่มที่ 1 พัฒนาและดำเนินการตามนโยบายสำคัญของรัฐเฉพาะด้าน โดยมีแนวทางในการพิจารณาสรุปได้ ดังนี้

       2.1 หลักเกณฑ์การประเมินค่างานเพื่อจัดกลุ่มองค์การมหาชนเพื่อให้ผู้อำนวยการได้รับเงินเดือนและประโยชน์ตอบแทนอื่นตามช่วงอัตราค่าตอบแทนตามการจัดกลุ่มองค์การมหาชน และคณะกรรมการองค์การมหาชนได้รับค่าเบี้ยประชุมและประโยชน์ตอบแทนอื่นตามการจัดกลุ่มขององค์การมหาชนเช่นเดียวกัน โดยพิจารณาจากองค์ประกอบสำคัญ 3 มิติ ดังนี้

     2.1.1 มิติด้านความรับผิดชอบในการบริหารงาน

      เป็นการประเมินในแง่ของลักษณะภารกิจที่ต่างกันในด้านผลกระทบที่จะเกิดจากการปฏิบัติงานขององค์การมหาชน โดยพิจารณาจากเทคนิคหรือเทคโนโลยีที่ใช้ความหลากหลายของผู้รับบริการ ขอบเขตความครอบคลุมของการให้บริการ ตลอดจนผลกระทบที่มีต่อส่วนรวมขององค์การมหาชนนั้น ๆ ทั้งในด้านเศรษฐกิจและสังคมของประเทศโดยส่วนรวม

      2.1.2 มิติด้านประสบการณ์ของผู้อำนวยการ

       เป็นการประเมินในแง่ความรู้ความสามารถของผู้อำนวยการที่ต้องการในการบริหารองค์การมหาชน ทั้งความรู้ทางวิชาการ ความสามารถ ทักษะ และประสบการณ์ที่จำเป็นต่อการบริหารองค์การมหาชน ตลอดจนสภาพแวดล้อม ที่ต้องใช้ทักษะการติดต่อสื่อสารในการบริหารองค์การมหาชน

       2.1.3 มิติด้านสถานการณ์

       เป็นการประเมินในแง่ความสำคัญของภารกิจและวัตถุประสงค์ขององค์การมหาชนที่มีต่อความสำเร็จตามนโยบายของรัฐบาลที่ต้องการให้เกิดผลในระยะสั้นหรือจำกัด รวมถึงความจำเป็นในแต่ละช่วงที่อาจจะต้องการผู้อำนวยการที่มีคุณสมบัติความรู้ความสามารถและประสบการณ์เฉพาะด้านที่แตกต่างกัน

     2.2 การจัดกลุ่มขององค์การมหาชน

    จากการประเมินค่างานที่พิจารณาจากองค์ประกอบสำคัญ 3 มิติข้างต้น (ตามข้อ 2.1) สามารถจัดกลุ่มขององค์การมหาชน ได้เป็น 3 กลุ่ม คือ

กลุ่มขององค์การมหาชน        รายละเอียด

กลุ่มที่ 1

พัฒนาและดำเนินการตามนโยบายสำคัญของรัฐเฉพาะด้าน

อัตราเบี้ยประชุมของคณะกรรมการ

6,000 – 20,000 บาท

อัตราเงินเดือนของผู้อำนวยการ

100,000 – 300,000 บาท    

องค์การมหาชนที่จัดตั้งขึ้นเพื่อพัฒนาและดำเนินการตามนโยบายสำคัญเฉพาะด้านของรัฐให้เกิดผลในทางปฏิบัติภายในระยะเวลาจำกัด ซึ่งต้องการผู้บริหารที่มีความสามารถสูงในการบริหารงานเชิงยุทธศาสตร์ การบริหารเครือข่ายหรือการบริหารองค์กรที่มีสาขาทั้งในระดับประเทศและระหว่างประเทศ ทั้งนี้ องค์การมหาชนที่จะถูกจัดลงในกลุ่มที่ 1 ต้องได้รับความเห็นชอบจากคณะรัฐมนตรี

กลุ่มที่ 2

บริการที่ใช้เทคนิควิชาการเฉพาะด้านหรือสหวิทยาการ

อัตราเบี้ยประชุมของคณะกรรมการ

6,000 – 16,000 บาท

อัตราเงินเดือนของผู้อำนวยการ

100,000 – 250,000 บาท    

องค์การมหาชนที่จัดตั้งขึ้นเพื่อให้บริการที่ใช้วิชาชีพระดับสูง ซับซ้อน หรือเป็นงานศึกษาวิจัยทางด้านวิทยาศาสตร์ที่มีเป้าหมายในการริเริ่มหรือสร้างนวัตกรรมที่จำเป็นต้องใช้ผู้มีความรู้ความสามารถเฉพาะและความสามารถในการบริหารองค์กรที่มีกิจกรรมหลากหลาย มีขอบเขตการทำงานครอบคลุมในระดับประเทศหรือต้องดำเนินกิจกรรมเพื่อบรรลุวัตถุประสงค์โดยการร่วมมือกับต่างประเทศ

กลุ่มที่ 3

บริการสาธารณะทั่วไป

อัตราเบี้ยประชุมของคณะกรรมการ

6,000 – 12,000 บาท

อัตราเงินเดือนของผู้อำนวยการ

100,000 – 200,000 บาท    

องค์การมหาชนที่จัดตั้งขึ้นเพื่อให้ดำเนินงานศึกษาวิจัยทั่วไปหรืองานบริการทั่วไปหรืองานปกติประจำ หรืองานให้บริการแก่กลุ่มลูกค้า/ผู้รับบริการเฉพาะครอบคลุมในขอบเขตจำกัด ใช้ผู้มีความรู้ความสามารถในการบริหารองค์กรขนาดเล็กที่มีธุรกรรมไม่หลากหลาย                  

  1. ขอบเขตภารกิจของ สปสช.

ช่วงเวลา ขอบเขตภารกิจ

ระยะที่ 1

ช่วงก่อร่างสร้างระบบ

(ปี พ.ศ 2545 – 2550)           - เริ่มก่อตั้งองค์กร จัดระบบและโครงสร้างพื้นฐานต่าง ๆ

- ขับเคลื่อนงานตามภารกิจ โดยมีขอบเขตการดำเนินงานหลัก คือ

1) ขยายความครอบคลุมหลักประกันให้ประชาชนผู้มีสิทธิ

2) ส่งเสริมความรู้ความเข้าใจกับภาคีทุกภาคส่วน

3) สนับสนุน พัฒนาความเข้มแข็งของระบบบริการ เช่น บริการปฐมภูมิ เป็นต้น

ระยะที่ 2

ช่วงการพัฒนา

(ปี พ.ศ 2551 – 2555)       - ต่อยอดการดำเนินงาน

- ขับเคลื่อนการบริหารงบประมาณ/จัดการกองทุนอย่างมีส่วนร่วม

- พัฒนาระบบบริหารจัดการภายในองค์กร

- ขยายการมีส่วนร่วมของภาคีเครือข่าย

- พัฒนาการสื่อสารเพื่อการรับรู้สิทธิ/การคุ้มครองสิทธิ

ระยะที่ 3

ช่วงการขับเคลื่อนนโยบายบูรณาการความร่วมมือในการพัฒนาระบบหลักประกันสุขภาพ

(ปี พ.ศ. 2556 - 2560)          

- ออกแบบการบริหารกองทุนรูปแบบใหม่ ๆ และการจัดการธุรกรรมการเบิกจ่าย

- ขับเคลื่อนการบูรณาการ 3 กองทุน ได้แก่ กองทุนสวัสดิการรักษาพยาบาลข้าราชการ กองทุนประกันสังคม และกองทุนหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ

- ทำหน้าที่อื่นที่ได้รับมอบหมาย เช่น หน่วยงานกลางในการจัดการธุรกรรมการเบิกจ่ายค่ารักษาพยาบาลกองทุนสุขภาพภาครัฐและระบบข้อมูลบริการสาธารณสุข (National Cleaning House : NCH) หน่วยงานกลางในการบริหารจัดการทะเบียนสิทธิรักษาพยาบาลของประชาชน (National Beneficiary Registration Center) ร่วมพัฒนาระบบการเข้าถึงยาที่มีปัญหา การเข้าถึงกลุ่มยากำพร้าและยาต้านพิษที่มีอัตราการใช้ต่ำและไม่แน่นอน

- เพิ่มกลไกการมีส่วนร่วมในพื้นที่ร่วมกับภาคีต่างๆ เช่น คณะกรรมการพัฒนาคุณภาพชีวิตระดับอำเภอ (พชอ.)

- สร้างความเป็นเจ้าของระบบหลักประกันสุขภาพแห่งชาติผ่านกลไก/มาตรการต่างๆ

ระยะที่ 4

พัฒนาระบบหลักประกันสุขภาพให้ครอบคลุมและมีประสิทธิภาพ

(ปี พ.ศ. 2561 - 2565)           - ขับเคลื่อน Commitment และ Accountability ของ สปสช. และกลไกคณะกรรมการ คณะอนุกรรมการ และภาคียุทธศาสตร์ทั้งส่วนกลางและพื้นที่

- ปรับรูปแบบการบริหารกองทุนและการจ่ายชดเชยค่าบริการเพื่อตอบสนอง Health need และการเข้าถึงบริการอย่างมีคุณภาพของประชาชน

- นำ Digital technology มาใช้ปรับปรุงการเข้าถึงบริการ

- วางรากฐานการบรรลุเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน (SDGs) ด้านหลักประกันสุขภาพของไทย

- ขับเคลื่อนงานหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้าของไทยในเวทีประชาคมโลกโดยร่วมมือกับกระทรวงการต่างประเทศและกระทรวงสาธารณสุข

ทิศทางการดำเนินงานในระยะต่อไป           

- จัดหาบริการให้เพียงพอ และผู้มีสิทธิได้รับบริการที่มีคุณภาพมาตรฐาน

- เพิ่มประสิทธิผลของความครอบคลุมบริการ

- ออกแบบการบริหารกองทุนเพื่อรองรับการขยายสิทธิประโยชน์จากแนวโน้มการเปลี่ยนแปลงของการเกิดโรค การเจ็บป่วยโรคอุบัติใหม่ อุบัติซ้ำ โรคหายาก และโรคที่มีค่าใช้จ่ายสูงที่ส่งผลให้ครัวเรือนล้มละลาย รวมถึงการพัฒนาเทคโนโลยีทางการแพทย์ที่มีความก้าวหน้าและราคาแพง

- การพัฒนาประสิทธิภาพการบริหารจัดการกองทุน และจัดการธุรกรรมการเบิกจ่าย

- พัฒนาศักยภาพและความเข้มแข็งของการบริหารจัดการกองทุนหลักประกันสุขภาพระดับท้องถิ่น/พื้นที่ (ตำบล/จังหวัด)

- การนำเทคโนโลยีดิจิทัลมาใช้เพิ่มขึ้นเพื่ออำนวยความสะดวกในการเข้าถึงบริการของประชาชน รวมถึงการจัดการและใช้ประโยชน์จากฐานข้อมูลขนาดใหญ่

-เพิ่มความเสมอภาคด้านหลักประกันสุขภาพ ขยายความร่วมมือกับหน่วยงานประกันสุขภาพภาครัฐต่าง ๆ รวมทั้งขยายการดูแลเฉพาะกลุ่มมากขึ้น เช่น กลุ่มเปราะบาง กลุ่มด้อยโอกาส และผู้มีสิทธิระบบอื่น ๆ เช่น รัฐวิสาหกิจ

- แสวงหาแหล่งเงินใหม่เข้าสู่ระบบ

- เพิ่มความเข้าใจและร่วมมือจากทุกภาคส่วนเพื่อความยั่งยืนของระบบ

- ร่วมขับเคลื่อนบทบาทไทยในเวทีโลกด้านหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้าเพื่อตอบสนองนโยบายรัฐบาลและทิศทางระบบสุขภาพโลกและการบรรลุเป้าหมาย SDGs ในการผลักดันเรื่องหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้า

  1. เรื่อง ขอความเห็นชอบการแก้ไขสัญญาโครงการระบบทางด่วนขั้นที่ 2 (ทางพิเศษศรีรัช รวมถึงส่วนดี) และสัญญาโครงการทางด่วนสายบางปะอิน – ปากเกร็ด (ทางพิเศษอุดรรัถยา) รวม 2 ฉบับ

        คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบตามที่กระทรวงคมนาคม (คค.) เสนอ การแก้ไขสัญญาโครงการระบบทางด่วนขั้นที่ 2 (ทางพิเศษศรีรัช รวมถึงส่วนดี) และสัญญาโครงการทางด่วนสายบางปะอิน-ปากเกร็ด (ทางพิเศษอุดรรัถยา) รวม 2 ฉบับ ตามพระราชบัญญัติการให้เอกชนร่วมลงทุนในกิจการของรัฐ พ.ศ. 2556 มาตรา 47 ประกอบพระราชบัญญัติการร่วมลงทุนระหว่างรัฐและเอกชน พ.ศ. 2562 มาตรา 68 (3) และเห็นชอบให้กระทรวงการคลัง

       โดยสำนักงานคณะกรรมการนโยบายรัฐวิสาหกิจ (สคร.) หารือกับ คค. และการทางพิเศษแห่งประเทศไทย (กทพ.) เพื่อหาแนวทางบริหารจัดการที่เหมาะสมมิให้ส่งผลต่อการประเมินผลการดำเนินงานรัฐวิสาหกิจ ในกรณีที่ผลการดำเนินงานจากวิธีการทางบัญชีส่งผลต่อการประเมินผลการดำเนินงานรัฐวิสาหกิจ อย่างไรก็ดี เนื่องจากเรื่องนี้เป็นกรณีที่มีทุนทรัพย์ในข้อพิพาทเป็นจำนวนเงินที่สูงมาก และเป็นเรื่องที่มีความซับซ้อน ประกอบกับเป็นเรื่องที่เกิดขึ้นในอดีต ดังนั้น จึงให้กรมสอบสวนคดีพิเศษ (DSI) ไปดำเนินการตรวจสอบอีกทางหนึ่ง

ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา (นายกรัฐมนตรี) 18 กุมภาพันธ์ 2563

สำนักโฆษก   สำนักเลขาธิการนายกรัฐมนตรี โทร. 0 2288-4396

******************************************

line logotwitterLike1 Share3Like1 Share1กด Like - Share  เพจ Corehoon-Power Time เพื่อติดตามเคล็ดลับ ข่าวสาร เทรนด์ และบทวิเคราะห์ดีๆ อัพเดตทุกวัน คัดสรรมาเพื่อท่านนักลงทุนโดยเฉพาะ

 Click Donate Support Web

SAM720x100px bgGC 790x90

sme 720x90banpu 720x90 new1 1

apm

 

 

Facebook

5 ข่าวฮอตนิวส์!