WORLD7

smed PIONEER 720x100ใจฟู720x100pxgpf 720x100 66

กรอบการเจรจาความตกลงที่เกี่ยวข้องกับมาตรฐานเกษตรอินทรีย์และการตรวจสอบรับรองของอาเซียน ภายใต้คณะรัฐมนตรีอาเซียนด้านเกษตรและป่าไม้

GOV9กรอบการเจรจาความตกลงที่เกี่ยวข้องกับมาตรฐานเกษตรอินทรีย์และการตรวจสอบรับรองของอาเซียน ภายใต้คณะรัฐมนตรีอาเซียนด้านเกษตรและป่าไม้

     คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบต่อกรอบการเจรจาความตกลงที่เกี่ยวข้องกับมาตรฐานเกษตรอินทรีย์และการตรวจสอบรับรองของอาเซียน ภายใต้คณะรัฐมนตรีอาเซียนด้านเกษตรและป่าไม้ และมอบให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์หรือผู้ที่ได้รับมอบหมาย พิจารณาใช้ดุลยพินิจตามสถานการณ์ตามความเหมาะสมในเรื่องที่จะเป็นประโยชน์ต่อไป ตามที่กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ (กษ.) เสนอ

(กำหนดประชุมคณะผู้เชี่ยวชาญด้านเกษตรอินทรีย์ของอาเซียนในช่วงเดือนมีนาคม 2563)

สาระสำคัญของเรื่อง

     กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ รายงานว่า ในการประชุมคณะรัฐมนตรีอาเซียนด้านเกษตรและป่าไม้ (ASEAN Ministerial Meeting on Agriculture and Forestry : AMAF) ครั้งที่ 38 เมื่อปี 2559 ที่ประชุมได้รับรองแผนยุทธศาสตร์เกษตรอินทรีย์ของอาเซียน ปี 2559 – 2563 (Strategic Plan of Action for the ASEAN Cooperation on Organic Agriculture 2016 - 2020) โดยมีวัตถุประสงค์เพื่ออำนวยความสะดวกทางการค้า เศรษฐกิจ และการตลาด รวมทั้งสร้างความเชื่อมั่นต่อการผลิตด้านการเกษตรที่ยั่งยืนและเกษตรอินทรีย์

กรอบการเจรจาความตกลงฯ สรุปได้ ดังนี้

  1.       เป้าหมายการเจรจาในภาพรวม เพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุดต่อประเทศไทย ได้แก่ 1) ปกป้องคุ้มครองผู้บริโภค เกษตรกร ผู้ประกอบการ เกษตรอินทรีย์ และระบบนิเวศ 2) รักษาความมั่นคงทางเศรษฐกิจและเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันของประเทศ 3) ส่งเสริมและอำนวยความสะดวกในการส่งออกสินค้าเกษตรอินทรีย์ของไทยในตลาดอาเซียนและตลาดอื่น 4) ร่วมสร้างอาเซียนให้เป็นฐานการผลิตเกษตรอินทรีย์ที่มีคุณภาพ มีมาตรฐาน และการตรวจสอบรับรองเป็นที่ยอมรับและเป็นธรรม 5) ส่งเสริมสินค้าจากฐานการผลิตอาเซียนให้มีการเคลื่อนย้ายอย่างเสรีและเป็นธรรมในอาเซียน 6) ไม่ขัดต่อรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย 7) เอื้ออำนวยต่อการนำไปปฏิบัติหรือบังคับใช้โดยสอดคล้องกับความตกลงที่ไทยมีพันธกรณีภายใต้ความตกลงระหว่างประเทศที่เกี่ยวข้อง และ 8) มีแนวทางในการระงับข้อพิพาทที่อาจเกิดขึ้น
  2.       ขอบเขตและสาระสำคัญของกรอบการเจรจาฯ ความตกลงมีขอบเขตครอบคลุมการกำหนดหลักการ ข้อกำหนด กระบวนการ และกลไกการประสานงานของอาเซียนและของประเทศสมาชิก ในการยอมรับผลการตรวจสอบรับรองเกษตรอินทรีย์ของกันและกันในอาเซียน เพื่ออำนวยความสะดวกทางการค้าในอาเซียนและคุ้มครองผู้บริโภค โดยผลของการตรวจสอบและให้การรับรองเกษตรอินทรีย์ของประเทศสมาชิกที่ผ่านการประเมินแล้วตามมาตรฐานและหลักเกณฑ์ที่อาเซียนกำหนดจะถูกยอมรับจากประเทศสมาชิกอาเซียนอื่น โดยไม่ต้องมีการตรวจสอบซ้ำ ดังนี้ 1) การกำหนดมาตรฐานและกฎระเบียบ 2) การยอมรับร่วม 3)การพัฒนากลไกการประสานงานของอาเซียนและการปฏิบัติตามความตกลงของประเทศสมาชิก และ 4) ประเด็นอื่นที่เกี่ยวข้อง
  3.      การประสานงาน มกอช. เป็นผู้ประสานงานกับหน่วยงานภาครัฐ เอกชน และผู้มีส่วนเกี่ยวข้อง เช่น กระทรวงสาธารณสุข กระทรวงพาณิชย์ กระทรวงอุตสาหกรรม กระทรวงการต่างประเทศ สำนักงานคณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภค สำนักนายกรัฐมนตรี สภาเกษตรกรแห่งชาติ สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย สภาหอการค้าแห่งประเทศไทย มูลนิธิเพื่อผู้บริโภค มูลนิธิเกษตรอินทรีย์ไทย ในการจัดทำร่างความตกลงที่เกี่ยวข้องกับการกำกับดูแลด้านการผลิต แปรรูป แสดงฉลาก และจำหน่าย ผลิตผล และผลิตภัณฑ์เกษตรอินทรีย์ของอาเซียน และการตรวจสอบรับรอง เพื่อให้การดำเนินการเจรจาความตกลงเป็นไปในแนวทางที่สอดประสานกันในหลักการ วัตถุประสงค์ และเป้าหมายเกิดประโยชน์และเป็นไปตามวิสัยทัศน์ของประชาคมอาเซียน

     ทั้งนี้ กรอบการเจรจาความตกลงที่เกี่ยวข้องกับมาตรฐานเกษตรอินทรีย์และการตรวจสอบ รับรองของอาเซียน ภายใต้คณะรัฐมนตรีอาเซียนด้านเกษตรและป่าไม้จัดอยู่ในด้านการสร้างรายได้และการเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขัน

ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา (นายกรัฐมนตรี) 4 กุมภาพันธ์ 2563

สำนักโฆษก   สำนักเลขาธิการนายกรัฐมนตรี โทร. 0 2288-4396

******************************************

line logotwitterLike1 Share3Like1 Share1กด Like - Share  เพจ Corehoon-Power Time เพื่อติดตามเคล็ดลับ ข่าวสาร เทรนด์ และบทวิเคราะห์ดีๆ อัพเดตทุกวัน คัดสรรมาเพื่อท่านนักลงทุนโดยเฉพาะ

 Click Donate Support Web

SAM720x100px bgGC 790x90

sme 720x90banpu 720x90 new1 1

apm

 

 

Facebook

5 ข่าวฮอตนิวส์!