WORLD7

smed PIONEER 720x100ใจฟู720x100pxgpf 720x100 66

การส่งเสริมพหุวัฒนธรรมและเศรษฐกิจชุมชนในจังหวัดชายแดนภาคใต้

GOV3 copy copyการส่งเสริมพหุวัฒนธรรมและเศรษฐกิจชุมชนในจังหวัดชายแดนภาคใต้

        คณะรัฐมนตรีมีมติรับทราบเรื่องการส่งเสริมพหุวัฒนธรรมและเศรษฐกิจชุมชนในจังหวัดชายแดนภาคใต้ตามที่กระทรวงวัฒนธรรมเสนอดังนี้

 สาระสำคัญ

     กระทรวงวัฒนธรรมได้ขับเคลื่อนการดำเนินงานการส่งเสริมพหุวัฒนธรรมและเศรษฐกิจชุมชน เพื่อสนับสนุนการแก้ไขปัญหาและพัฒนาจังหวัดชายแดนภาคใต้ตามยุทธศาสตร์พระราชทาน ‘เข้าใจ เข้าถึง พัฒนา’โดยใช้มิติทางศาสนา ศิลปะและวัฒนธรรมเป็นกลไกและเครื่องมือในการดำเนินงาน โดยส่งเสริมการศึกษา แลกเปลี่ยน และเรียนรู้ทางวัฒนธรรม นำไปสู่ความเข้าใจและยอมรับในความหลากหลายทางวัฒนธรรม ความเชื่อและวิถีชีวิตของชุมชนทุกระดับในพื้นที่ ส่งเสริมการดำเนินวิถีชีวิตและการปฏิบัติตามหลักศาสนาทุกศาสนา ขจัดการเลือกปฏิบัติทางวัฒนธรรม ทำความเข้าใจและยอมรับในวิถีชีวิตและวัฒนธรรม เพื่อทำให้ประชาชนรู้สึกถึงการเป็นส่วนหนึ่งของสังคมไทย

     ซึ่งสอดคล้องกับวิสัยทัศน์นโยบายการบริหารและการพัฒนาจังหวัดชายแดนภาคใต้ พ.ศ. 2560-2562 ที่มุ่งให้ ‘สังคมจังหวัดชายแดนภาคใต้มีความปลอดภัย ปราศจากเงื่อนไข ความรุนแรง วิถีชีวิตของทุกคนได้รับการปกป้อง พัฒนาบนพื้นฐานสังคมพหุวัฒนธรรมและมีส่วนร่วมในกระบวนการเสริมสร้างสันติสุขอย่างยั่งยืน’โดยบูรณาการความร่วมมือกับภาคส่วน และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องจัดทำแนวทางการส่งเสริมพหุวัฒนธรรมและเศรษฐกิจชุมชนในจังหวัดชายแดนภาคใต้ โดยกำหนดประเด็นการพัฒนา 3 ด้าน ดังนี้

      ประเด็นที่ 1 ส่งเสริมวิถีชีวิตและสังคมพหุวัฒนธรรมที่เข้มแข็ง โดยส่งเสริมกิจกรรมเพื่อสนับสนุนการแก้ไขปัญหา การป้องกัน และการส่งเสริมความมั่นคงยั่งยืนในการแก้ไขปัญหาและพัฒนาจังหวัดชายแดนภาคใต้ ประกอบด้วย 1) การสร้างความรู้ เช่น จัดทำงานวิจัยพฤติกรรมเยาวชนชายแดนใต้กับความมั่นคง, จัดทำองค์ความรู้ทางประวัติศาสตร์และโบราณคดี, พัฒนาแหล่งเรียนรู้ และพัฒนาศักยภาพบุคลากรและเครือข่ายทางวัฒนธรรม

2) การเสริมความเข้าใจ เช่น เทิดทูนสถาบันพระมหากษัตริย์ในวาระสำคัญ, ใช้องค์ความรู้และแหล่งเรียนรู้เพื่อเสริมสร้างความเข้มแข็งของชุมชนพหุวัฒนธรรม, จัดกิจกรรมส่งเสริมการอยู่ร่วมกันในสังคมพหุวัฒนธรรม, ฟื้นฟูขนบธรรมเนียมประเพณีศิลปวัฒนธรรมและจัดงานพหุวัฒนธรรมตามความต้องการของพื้นที่

3) การส่งเสริมพหุสังคมที่เข้มแข็ง เช่น สร้างค่านิยมสังคมพหุวัฒนธรรม, เปิดพื้นที่กลางทางพหุวัฒนธรรมเพื่อให้บริการแก่ชุมชน, สร้างการรับรู้ ความเข้าใจที่ดีในกลุ่มเด็ก เยาวชน ประชาชนที่แตกต่างทางเชื้อชาติ ศาสนา

4) การขยายการรับรู้และเข้าใจทั้งภายในและภายนอก เช่น ขยายการรับรู้และเข้าใจไปยังเด็ก เยาวชน ประชาชนในประเทศและต่างประเทศ, ชุมชนมีภูมิคุ้มกันและสามารถอยู่ร่วมกันกับผู้อื่นในสังคมพหุวัฒนธรรมได้อย่างสันติสุข รวมทั้งส่งเสริมกิจกรรมการปฏิบัติตามหลักศาสนา และกิจกรรมตามขนบธรรมเนียม เทศกาล ประเพณีและอัตลักษณ์ของท้องถิ่น โดยมีกิจกรรมที่สำคัญ อาทิ ส่งเสริมศิลปินพื้นบ้านและการแสดงพื้นบ้าน เช่น โนรา หนังตะลุง รองเง็ง ซัมเปง มะโย่ง ดิเกร์ฮูลู และซิละ เป็นต้น จัดการประกวด/แข่งขันต่างๆ ทางศิลปวัฒนธรรม เช่น งานเขียนเรื่องเล่าจากบ้านเรา เพื่อสะท้อนเรื่องราวของท้องถิ่น ความสำนึกรักบ้านเกิดออกมาในรูปแบบของงานวรรณศิลป์

       ประเด็นที่ 2 นำหลักพลัง “บวร” หรือ “บรม” ส่งเสริมคุณธรรมจริยธรรม เพื่อสร้างคนดี สังคมดี ให้คุณธรรมนำการพัฒนา ตามข้อสั่งการของนายกรัฐมนตรี เมื่อวันที่ 1 ตุลาคม 2562 และมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 12 พฤศจิกายน 2562 ในการนำหลักการพลัง ‘บวร’ : บ้าน วัด โรงเรียน/ราชการ’ หรือ ‘บรม : บ้าน โรงเรียน/ราชการ มัสยิด’ ไปขับเคลื่อนและดำเนินกิจกรรมต่าง ๆ โดยจัดทำแนวทางการส่งเสริมบทบาท ‘บวร’/ ‘บรม’ ให้ขับเคลื่อนการส่งเสริมและพัฒนาชุมชนคุณธรรมให้เป็นศูนย์การในการส่งเสริมคุณธรรมจริยธรรม ผ่านกิจกรรมส่งเสริมและทำนุบำรุงศาสนา รวมถึงให้มีบทบาทและศักยภาพในการบูรณาการกิจกรรมต่างๆ ของทุกกระทรวง หน่วยงาน ที่ลงในพื้นที่ให้เกิดการบูรณาการดำเนินกิจกรรมร่วมกัน อีกทั้งเป็นศูนย์กลาง แกนนำในการประสานและเผยแพร่ข้อมูลข่าวสารที่ถูกต้องเกี่ยวกับนโยบายต่าง ๆ ของรัฐบาลเพื่อประโยชน์ของประชาชน อย่างทั่วถึงและเท่าเทียม

       ประเด็นที่ 3 การส่งเสริมเศรษฐกิจชุมชนจากฐานวัฒนธรรม เพื่อพัฒนาต่อยอดทุนทางวัฒนธรรมเศรษฐกิจสร้างสรรค์ โดยพัฒนาศักยภาพและเชื่อมโยงแหล่งเรียนรู้และท่องเที่ยวทางวัฒนธรรม เชื่อมโยง 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ อาทิ พัฒนาพิพิธภัณฑ์เมืองนราธิวาส พิพิธภัณฑ์มรดกวัฒนธรรมอิสลามและศูนย์การเรียนรู้อัลกุรอาน จัดตั้งศูนย์วัฒนธรรมจังหวัดชายแดนใต้ จังหวัดนราธิวาส ศาลเจ้าแม่ลิ้มกอเหนี่ยว วัดช้างไห้ มัสยิดกรือเซะ และมัสยิดกลางจังหวัดปัตตานี วัดถ้ำคูหาภิมุข หมู่บ้านปิยะมิตร จังหวัดยะลา ฯลฯ ส่งเสริมองค์ความรู้ อนุรักษ์ และพัฒนาแหล่งเรียนรู้ทางประวัติศาสตร์ โบราณคดี และวัฒนธรรม เพื่อสร้างความตระหนักให้ประชาชนเห็นถึงความสำคัญของคุณค่าของมรดกทางวัฒนธรรม เสริมสร้างองค์ความรู้เกี่ยวกับการพัฒนาการทางประวัติศาสตร์

     รวมถึงพัฒนาแหล่งเรียนรู้ทางประวัติศาสตร์และวัฒนธรรมที่สำคัญ อาทิ เมืองโบราณยะรัง จังหวัดปัตตานี นอกจากนี้ จะมีการพัฒนาผลิตภัณฑ์วัฒนธรรมไทย (CPOT) ส่งเสริมการนำภูมิปัญญาทางวัฒนธรรมมาพัฒนาเป็นผลิตภัณฑ์ทางวัฒนธรรมผ่านกิจกรรมของดีบ้านฉันชายแดนใต้ กิจกรรมถนนคนเดินและวิถีถิ่น วิถีตานี วิถีอาเซียน นอกจากนี้ยังส่งเสริมการยกระดับเทศกาลประเพณีและส่งเสริมกิจกรรมทางวัฒนธรรมเพื่อส่งเสริมการท่องเที่ยวตามความต้องการของพื้นที่ และนำทุนทางวัฒนธรรมมาออกแบบและพัฒนาผลิตภัณฑ์ทางการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรม รวมถึงจัดตลาดประชารัฐ ตลาดวัฒนธรรม ถนนวัฒนธรรม

       หากทุกภาคส่วนได้ดำเนินการตามแนวทางดังกล่าวอย่างต่อเนื่อง จะส่งผลให้เกิดการมีส่วนร่วมของประชาชนและภาคประชาสังคมในพื้นที่ ในการส่งเสริมสังคมพหุวัฒนธรรมให้เข้มแข็งจนเป็นพลังสำคัญในการปกป้องและแก้ไขปัญหาต่าง ๆ ที่จะเกิดขึ้น พร้อมเสริมสร้างความเข้าใจ ยอมรับ และอยู่ร่วมกันตามแนวทางสันติวิธี ส่งเสริมให้มีการยึดถือคำสอนที่ถูกต้องของศาสนามาเป็นแนวทางในการดำเนินชีวิตรวมถึงจะมีผู้เข้าร่วมกิจกรรมทางศิลปวัฒนธรรมเพิ่มขึ้น ส่งผลให้เกิดส่งเสริมเศรษฐกิจชุมชนและสร้างคุณค่าทางสังคม ในกลุ่มจังหวัดกลุ่มจังหวัดภาคใต้ชายแดน โดยมีรายได้จากการท่องเที่ยว สินค้าและบริการทางวัฒนธรรมเพิ่มขึ้นไม่น้อยกว่าร้อยละ 10 ต่อปี

ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา (นายกรัฐมนตรี) วันที่ 21 มกราคม 2563

สำนักโฆษก   สำนักเลขาธิการนายกรัฐมนตรี โทร. 0 2288-4396

******************************************

line logotwitterLike1 Share3Like1 Share1กด Like - Share  เพจ Corehoon-Power Time เพื่อติดตามเคล็ดลับ ข่าวสาร เทรนด์ และบทวิเคราะห์ดีๆ อัพเดตทุกวัน คัดสรรมาเพื่อท่านนักลงทุนโดยเฉพาะ

 Click Donate Support Web

SAM720x100px bgGC 790x90

sme 720x90banpu 720x90 new1 1

apm

 

 

Facebook

5 ข่าวฮอตนิวส์!