WORLD7

smed PIONEER 720x100ใจฟู720x100pxgpf 720x100 66

การให้ความช่วยเหลือทางการเงินแก่สาธารณรัฐแห่งสหภาพเมียนมา สำหรับโครงการพัฒนาเมืองภายใต้ระเบียงเศรษฐกิจอนุภูมิภาคลุ่มแม่น้ำโขง ระยะที่ 3

GOV 7การให้ความช่วยเหลือทางการเงินแก่สาธารณรัฐแห่งสหภาพเมียนมา สำหรับโครงการพัฒนาเมืองภายใต้ระเบียงเศรษฐกิจอนุภูมิภาคลุ่มแม่น้ำโขง ระยะที่ 3 ในส่วนของเมืองเมียวดี (การปรับปรุงระบบน้ำประปา และการพัฒนาระบบบริหารจัดการขยะ)      

                                               

         คณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติตามที่กระทรวงการคลังเสนอดังนี้                                                                 

  1. อนุมัติให้สำนักงานความร่วมมือพัฒนาเศรษฐกิจกับประเทศเพื่อนบ้าน (องค์การมหาชน) (สพพ.) ดำเนินการให้ความช่วยเหลือทางการเงินแก่สาธารณรัฐแห่งสหภาพเมียนมา (เมียนมา) เพื่อเป็นค่าใช้จ่ายสำหรับโครงการพัฒนาเมืองภายใต้ระเบียงเศรษฐกิจอนุภูมิภาคลุ่มแม่น้ำโขง ระยะที่ 3 ในส่วนของเมืองเมียวดี (การปรับปรุงระบบน้ำประปา และการพัฒนาระบบบริหารจัดการขยะ) (โครงการพัฒนาเมืองเมียวดีฯ) ในรูปแบบเงินกู้เงื่อนไขผ่อนปรนทั้งจำนวน วงเงินรวม 777,770,000 บาท
  2.      อนุมัติให้สำนักงบประมาณ (สงป.) จัดสรรเงินงบประมาณแผ่นดินเป็นรายปี โดยเริ่มตั้งแต่ปีงบประมาณ พ.ศ. 2564 – 2566 รวมระยะเวลา 3 ปี รวมวงเงินที่จะขอรับการจัดสรรเงินงบประมาณทั้งสิ้นเท่ากับ 388,885,000 บาท
  3.       มอบหมาย สพพ. ดำเนินการกู้เงินจำนวน 388,885,000 บาท ตามรูปแบบและเงื่อนไขที่กำหนด                                             

       สำหรับ กรณีเมียนมาผิดนัดชำระหนี้ เห็นควรให้ สพพ. พิจารณาใช้เงินสะสมของหน่วยงานในการชำระต้นเงินและดอกเบี้ยคืนแหล่งเงินกู้ในกรณีเมียนมาผิดนัดชำระหนี้ เป็นลำดับแรกก่อน  เพื่อให้เป็นไปในแนวทางเดียวกับการให้ความช่วยเหลือทางการเงินแก่ สปป. ลาว ตามนัยมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 18 กันยายน 2561 [เรื่อง การให้ความช่วยเหลือทางการเงินแก่สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว สำหรับ โครงการพัฒนาถนนหมายเลข 11 (R11) ช่วงครกข้าวดอ - บ้านโนนสะหวัน-สานะคาม - บ้านวัง - บ้านน้ำสัง] ตามความเห็นของสำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรี                                                                    

สาระสำคัญของเรื่อง                                                        

กค. รายงานว่า                                                               

  1.      ธนาคารพัฒนาเอเชีย (Asian Development Bank: ADB) ได้ให้ความช่วยเหลือทางวิชาการแก่เมียนมา สำหรับการศึกษาความเป็นไปได้และการวางแผนพัฒนาเมือง โครงการพัฒนาเมืองภายใต้ระเบียงเศรษฐกิจอนุภูมิภาคลุ่มแม่น้ำโขง ระยะที่ 3 (Third Greater Mekong Subregion (GMS) Corridor Town Development Project) ใน 3 เมือง ประกอบด้วย (1) เมืองเมาะลำไย รัฐมอญ (2) เมืองผะอัน รัฐกะเหรี่ยง และ (3) เมืองเมียวดี รัฐกะเหรี่ยง อย่างไรก็ดี เนื่องจากโครงการดังกล่าวเป็นโครงการขนาดใหญ่ที่ต้องใช้แหล่งเงินลงทุนจำนวนมาก ADB จึงได้ประสานมายัง สพพ. อย่างไม่เป็นทางการ เพื่อขอให้พิจารณาในการร่วมมือให้ความช่วยเหลือทางการเงินในรูปแบบคู่ขนาน (Parallel-financing)สำหรับโครงการพัฒนาเมืองเมียวดีฯ ในส่วนของโครงการพัฒนาเมืองอีก 2 เมือง ADB จะเป็นผู้ให้ความช่วยเหลือทางการเงินกับเมียนมา
  2.      โครงการพัฒนาเมืองเมียวดีฯ เป็นการสนับสนุนโครงการพัฒนาชุมชนเมืองและพื้นที่เศรษฐกิจพิเศษบนเส้นทางคมนาคมที่สำคัญตามแนวระเบียงเศรษฐกิจในอนุภูมิภาคลุ่มแม่น้ำโขงตลอดจนมุ่งลดผลกระทบเชิงสังคมอันเนื่องมาจากการพัฒนาทางเศรษฐกิจเพื่อพัฒนาเส้นทางดังกล่าวให้เป็นแนวระเบียงเศรษฐกิจอย่างเต็มรูปแบบและมีความยั่งยืน ซึ่งภารกิจดังกล่าวสอดคล้องกับแผนงานการพัฒนาแนวระเบียงเศรษฐกิจในอนุภูมิภาคลุ่มแม่น้ำโขง 6 ประเทศ ในยุทธศาสตร์ที่ 10 ความร่วมมือระหว่างประเทศเพื่อการพัฒนาของแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 12 (พ.ศ. 2560-2564)
  3. ปัญหาและแนวทางการแก้ไขอย่างเร่งด่วนของเมืองเมียวดีเพื่อปรับปรุงคุณภาพชีวิตของประชาชน และรักษาสิ่งแวดล้อมของเมืองให้เกิดความยั่งยืน มีดังต่อไปนี้           

                                                           

ปัญหา   แนวทางแก้ไข                                        

- การผลิตและการจ่ายน้ำประปาที่ไม่ เพียงพอต่อปริมาณความต้องการใช้น้ำประปาของประชาชน

การปรับปรุงระบบน้ำประปา                                                           

- การไม่มีระบบน้ำประปาสาธารณะและอ่างเก็บน้ำของรัฐส่งผลให้เกิดปัญหาการขาดแคลนน้ำ ปัญหาสุขภาพอนามัยของประชาชนและอุปสรรคต่อการพัฒนาทาง

เศรษฐกิจ              

- การก่อสร้างสถานีสูบน้ำดิบ                                             

 - การจ่ายน้ำประปาโดยบริษัทเอกชน 2 ราย ที่มีลักษณะทับซ้อนกัน และครอบคลุมเฉพาะพื้นที่ทางทิศตะวันตก (เขต 4 และเขต 5) ส่งผลให้ประชาชนที่อาศัยอยู่ในพื้นที่ทางทิศตะวันออก (เขต 1 ถึง เขต 3) ไม่ได้รับการจัดสรรน้ำประปาจากบริษัทเอกชนดังกล่าว ประชาชนจึงจำเป็นต้องสูบน้ำบาดาลและนำน้ำจากแม่น้ำเมยมาใช้สำหรับการอุปโภคบริโภค           

- การก่อสร้างโรงบำบัดน้ำเสีย                                                           

- การขาดการวางแผนอย่างเป็นระบบในการบริหารจัดการขยะมูลฝอยจากครัวเรือนภาคอุตสาหกรรม และขยะมูลฝอยติดเชื้อจากโรงพยาบาล     

- การก่อสร้างอ่างเก็บน้ำ                                                    

- ครัวเรือน: มีการรวบรวมขยะมูลฝอยจาก ทุกพื้นที่และนำไปเทกองรวมบริเวณริมแม่น้ำเมย ประชาชนมักปล่อยสิ่งปฏิกูลลงสู่แหล่งน้ำโดยตรงซึ่งส่งผลให้เกิดปัญหาด้านมลพิษและสิ่งแวดล้อมในแม่น้ำเมย                  

 - การติดตั้งโครงข่ายการจ่ายน้ำประปา                                                           

 - ภาคอุตสาหกรรมและขยะมูลฝอยติดเชื้อจากโรงพยาบาล: มีการรวบรวมและนำไปเทกองในหลุมฝังกลบขยะบริเวณชานเมือง และบริเวณที่อยู่ใกล้กับเขตอุตสาหกรรมเมียวดี ซึ่งส่งผลให้เกิดปัญหามลพิษในสิ่งแวดล้อม

                                                                          

การพัฒนาระบบบริหารจัดการขยะ                                     

               - การจัดหาเครื่องมือสำหรับจัดเก็บขยะ                                                           

               - การก่อสร้างเตากำจัดขยะมูลฝอยติดเชื้อ จากโรงพยาบาล              

               - การก่อสร้างโรงงานผลิตปุ๋ยจากขยะ                                                

               - การปรับปรุงกระบวนการฝังกลบขยะ                                               

  1.       เมื่อวันที่ 4 มิถุนายน 2561 สพพ. ได้รับหนังสือจากกรมเอเชียตะวันออก กระทรวงการต่างประเทศ (กต.) แจ้งว่า กต. เมียนมามีหนังสือขอรับการสนับสนุนทางการเงินจาก สพพ. เพื่อเป็นค่าใช้จ่ายสำหรับโครงการพัฒนาเมืองเมียวดีฯ ซึ่งคณะกรรมการบริหารสำนักงานความร่วมมือพัฒนาเศรษฐกิจกับประเทศเพื่อนบ้าน (คพพ.)ได้พิจารณาเรื่องดังกล่าวในคราวการประชุมครั้งที่ 6/2562 เมื่อวันที่ 22 พฤษภาคม 2562 และได้มีมติอนุมัติการให้ความช่วยเหลือทางการเงินแก่เมียนมา โดยมีเงื่อนไขการให้ความช่วยเหลือ รูปแบบวิธีการ และแหล่งที่มาของเงินทุนในการให้ความช่วยเหลือทางการเงินดังนี้         
  2.                                                    

4.1 เงื่อนไขและรูปแบบการให้ความช่วยเหลือทางการเงิน                                                              

  1. เงื่อนไขการให้ความช่วยเหลือทางการเงิน

1.1 อัตราดอกเบี้ย                                         ร้อยละ 1.50 ต่อปี         

1.2 อายุสัญญา                                             30 ปี (รวมระยะเวลาปลอดหนี้ 10 ปี)          

1.3 ค่าธรรมเนียมบริหารจัดการของ สพพ.            ร้อยละ 0.15 ของวงเงินให้ความช่วยเหลือทั้งหมด

1.4 การใช้สินค้าและบริการจากประเทศไทย          ไม่น้อยกว่าร้อยละ 50 ของมูลค่าสัญญา

1.5 ผู้รับเหมาก่อสร้างและที่ปรึกษา                     นิติบุคคลสัญชาติไทย

1.6 กฎหมายที่ใช้บังคับสำหรับสัญญาเงินกู้            กฎหมายไทย                                                                  

  1. รูปแบบการให้ความช่วยเหลือทางการเงิน

2.1 เป็นรูปแบบเงินกู้เงื่อนไขผ่อนปรน (Soft Loan)ทั้งจำนวน รวมวงเงินกู้ทั้งสิ้น 777,770,000 บาท                                                             

2.2 แหล่งเงินที่ใช้ประกอบด้วย                                                                        

          - เงินงบประมาณ (ร้อยละ 50 ของมูลค่าโครงการ)รวมวงเงิน 388,885,000 บาทโดยเริ่มตั้งแต่ปีงบประมาณ พ.ศ. 2564-2566 รวมระยะเวลา 3 ปี                   

                                            

ปีงบประมาณ      การจัดสรรเงินงบประมาณให้ สพพ. (บาท)                                      

2564                      19,444,250                                                        

2565                      213,886,750                                                      

2566                      155,554,000                                                      

รวมทั้งสิ้น          388,885,000                   

                       

       - เงินกู้จากสถาบันการเงินภายในประเทศ (ร้อยละ 50 ของมูลค่าโครงการ)รวมวงเงิน 388,885,000 บาทสพพ. จะกู้เงินมีระยะเวลา 5 ปี โดยใช้วิธีการประมูลเพื่อหาผู้เสนอเงื่อนไขที่ดีที่สุด โดยในช่วง 5 ปีแรก จะใช้ประมาณการอัตราดอกเบี้ยเงินกู้ร้อยละ 2.62 ต่อปี ซึ่งภายหลังจะดำเนินการปรับโครงสร้างหนี้โดยการออกพันธบัตรระยะยาวทดแทน โดยใช้ประมาณการอัตราดอกเบี้ยที่ร้อยละ 3.67 ต่อปี ซึ่งแนวทางดังกล่าว สพพ. ได้หารือกับ สงป. แล้ว        

                                                           

4.2 วงเงินสำหรับการให้ความช่วยเหลือ (เงินกู้ทั้งจำนวน) ประกอบด้วย                                                

รายการ                          จำนวนเงิน (บาท)                                             

  1. ค่าก่อสร้าง 676,321,800
  2. ค่าวิศวกรที่ปรึกษา 33,816,100

                                                           

    การออกแบบรายละเอียด                                                          

    การควบคุมงานก่อสร้าง                                                            

  1. ค่าบริหารจัดการของเมียนมา 1,600,500                              
  2. ค่าเผื่อเหลือเผื่อขาด 66,031,600

                                                            777,770,000         

                                            

  1. ประโยชน์ที่จะได้รับจากการดำเนินโครงการมีดังต่อไปนี้

5.1 การปรับปรุงระบบน้ำประปา ซึ่งครอบคลุมการก่อสร้างโครงสร้างพื้นฐานเพื่อการผลิต การกักเก็บ และการวางโครงข่ายส่งน้ำประปาบนพื้นที่ 33.79 เอเคอร์ (ประมาณ 136,745 ตารางเมตร) จะช่วยลดระดับความเหลื่อมล้ำในการเข้าถึงน้ำประปาของประชาชนที่อาศัยอยู่ในพื้นที่ฝั่งตะวันออกของเมืองกว่า 19,303 ครัวเรือน (ร้อยละ 70 ของจำนวนครัวเรือนทั้งหมดในเมืองเมียวดี) 5.2 การพัฒนาระบบบริหารจัดการขยะ ซึ่งครอบคลุมการปิดหลุมฝังกลบเดิมและก่อสร้างหลุมฝังกลบใหม่ที่มีการควบคุม การก่อสร้างเตากำจัดขยะมูลฝอยติดเชื้อจากโรงพยาบาล และการสร้างโรงงานการผลิตปุ๋ยจากขยะบนพื้นที่ 31.00 เอเคอร์ (ประมาณ 125,453 ตารางเมตร) จะสามารถแก้ไขคุณภาพน้ำและน้ำเน่าเสียบริเวณริมแม่น้ำเมยให้ดีขึ้น และช่วยลดความเสี่ยงจากสารเคมีในขยะที่ปนเปื้อนอยู่ในสิ่งแวดล้อม เช่น พื้นที่ชุมชน พื้นที่เศรษฐกิจแหล่งน้ำและอากาศของเมืองเมียวดี และริมแม่น้ำเมยในฝั่งไทยให้ดีขึ้น                       

5.3 การปรับปรุงและการพัฒนาดังกล่าว จะเสริมสร้างบรรยากาศในการประกอบธุรกิจเพื่อดึงดูดผู้ประกอบการไทยไปลงทุนในเมียนมา เพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขัน และกระจายความเจริญในการพัฒนาชุมชนตามแนวระเบียงเศรษฐกิจรวมถึงพื้นที่เชื่อมโยงอื่นภายในประเทศไทย รวมถึงพัฒนาห่วงโซ่การผลิตที่มีประสิทธิภาพ ซึ่งสอดรับกับการส่งเสริมเขตพัฒนาเศรษฐกิจพิเศษตากของไทย และเขตอุตสาหกรรมเมียวดีของเมียนมา ตลอดจนสนับสนุนการพัฒนาเมืองคู่แฝด 'เมียวดี – แม่สอด'            

ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา (นายกรัฐมนตรี) วันที่ 24 ธันวาคม 2562

สำนักโฆษก   สำนักเลขาธิการนายกรัฐมนตรี โทร. 0 2288-4396

******************************************

line logotwitterLike1 Share3Like1 Share1กด Like - Share  เพจ Corehoon-Power Time เพื่อติดตามเคล็ดลับ ข่าวสาร เทรนด์ และบทวิเคราะห์ดีๆ อัพเดตทุกวัน คัดสรรมาเพื่อท่านนักลงทุนโดยเฉพาะ

 Click Donate Support Web

SAM720x100px bgGC 790x90

sme 720x90banpu 720x90 new1 1

apm

 

 

Facebook

5 ข่าวฮอตนิวส์!