รายงานการขับเคลื่อนการดำเนินงานของศูนย์บริหารแรงงานเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก (EEC Labour Administration Centre)
- Details
- Category: มติ ครม.
- Published: Saturday, 28 December 2019 20:47
- Hits: 1683
รายงานการขับเคลื่อนการดำเนินงานของศูนย์บริหารแรงงานเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก (EEC Labour Administration Centre)
คณะรัฐมนตรีมีมติรับทราบตามที่กระทรวงแรงงาน (รง.) เสนอรายงานการขับเคลื่อนการดำเนินงานของศูนย์บริหารแรงงานเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก (EEC Labour Administration Centre) ซึ่งนายกรัฐมนตรีได้มีข้อสั่งการในคราวประชุมคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 11 เมษายน 2560 ให้ รง. จัดทำฐานข้อมูลแรงงานที่มีอยู่ในปัจจุบันและประมาณการความต้องการแรงงานในสาขาต่างๆ ของอุตสาหกรรมเป้าหมายในพื้นที่เขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก (Eastern Economic Corridor : EEC) และต่อมาคณะรัฐมนตรีได้มีมติ (19 มีนาคม และ 25 มิถุนายน 2562) รับทราบรายงานการขับเคลื่อนการดำเนินงานของศูนย์บริหารแรงงาน EEC ด้วยแล้ว ทั้งนี้ รง. ได้ขับเคลื่อนศูนย์บริหารแรงงานเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก สรุปสาระสำคัญได้ดังนี้
- ผลการดำเนินงานในรอบ 12 เดือน (1 ตุลาคม 2561 - 30 กันยายน 2562) และแผนการดำเนินงานในปีงบประมาณ พ.ศ. 2563 (1 ตุลาคม 2562 – 30 กันยายน 2563) สรุปได้ดังนี้
หน่วย : คน
ภารกิจ ผลรอบ 12 เดือน แผนปี 63
(เป้าหมาย)
เป้าหมาย ผลการดำเนินการ
ด้านการจัดหางาน
- จัดหางานให้กลุ่มอุตสาหกรรมปัจจุบัน 28,809 29,262
(ร้อยละ 101.58) 28,000
- แนะแนวอาชีพให้นักเรียน นักศึกษา 41,513 43,617
(ร้อยละ 105.07) 130,800
- ตรวจลงตราและออกใบอนุญาตทำงาน 9,750 19,928
(ร้อยละ 204.39) 10,500
- จัดหางานให้กับกลุ่มอุตสาหกรรมที่จะเปิดรับในอนาคต - - 92,618
ด้านการพัฒนาฝีมือแรงงาน
- ฝึกอบรมและทดสอบมาตรฐานฝีมือแรงงาน 7,580 9,244
(ร้อยละ 121.96) 10,000
- ส่งเสริมสถานประกอบการยกระดับทักษะแรงงาน 575,361 668,000
(ร้อยละ116.11) 600,000
ด้านสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน
- ตรวจแรงงานในระบบ - 42,500 คน
- 1,305 แห่ง - 81,961 คน
(ร้อยละ 192.85)
- 1,354 แห่ง
(ร้อยละ 103.76) - 43,000 คน
- 1,400 แห่ง
- ตรวจและกำกับสถานประกอบการตามมาตรฐานกฎหมายความปลอดภัย - 52,700 คน
- 870 แห่ง - 146,859 คน
(ร้อยละ 279)
- 891 แห่ง
(ร้อยละ 102.42) - 64,800 คน
- 900 แห่ง
ด้านประกันสังคม
- แนะนำสิทธิประโยชน์ด้านประกันสังคมและกองทุนเงินทดแทน 2,393,700 2,567,785
(ร้อยละ 107.28) 2,513,000
- ขึ้นทะเบียนผู้ประกันตน 53,589 150,155
(ร้อยละ 280.20) 58,850
- ส่งเสริม e-Service และ e–Payment 32,114 50,350
(ร้อยละ 156.78) 35,300
- รง. โดยกรมพัฒนาฝีมือแรงงานได้จัดตั้งสถาบันพัฒนาบุคลากรสาขาเทคโนโลยีอัตโนมัติและหุ่นยนต์ เมื่อวันที่ 9 ตุลาคม 2562 ณ สถาบันพัฒนาฝีมือแรงงาน 3 ชลบุรี จังหวัดชลบุรี เพื่อยกระดับฝีมือแรงงานไทยให้เป็นแรงงานฝีมือชั้นสูงรองรับการขับเคลื่อนเศรษฐกิจ EEC และพื้นที่จังหวัดภาคตะวันออก เพิ่มผลิตภาพแรงงานและลดต้นทุนของผู้ประกอบการในการรองรับการใช้เครื่องจักรกลอัตโนมัติและหุ่นยนต์ในการผลิตทดแทนการใช้แรงงาน รวมทั้งสร้างผู้ฝึกสอน (Trainer) และครูฝึกต้นแบบด้านเครื่องจักรอัตโนมัติ (Automation) ที่ทันสมัย โดยมีแผนการดำเนินงาน ดังนี้
แผน แนวทางดำเนินการ
แผนระยะที่ 1
(ปีงบประมาณ พ.ศ. 2563) - สร้างหลักสูตร สร้างครูต้นแบบ ฝึกอบรมร่วมกับภาคเอกชนทั้งในและนอกสถานที่
- เป้าหมายการฝึกอบรมในปี 2563 จำนวน 1,100 คน 5 สาขา ได้แก่ สาขาเทคโนโลยีอัตโนมัติ จำนวน 440 คน สาขาหุ่นยนต์อุตสาหกรรม จำนวน 220 คน สาขาการเขียนโปรแกรมด้านการผลิต จำนวน 200 คน สาขาเทคโนโลยีการผลิต จำนวน 140 คน และสาขาการบริหารการผลิต จำนวน 100 คน รวมงบประมาณดำเนินการทั้งสิ้น 3,520,000 บาท
แผนระยะที่ 2
(ปีงบประมาณ พ.ศ. 2564 – 2565) สร้างเครือข่ายการพัฒนาฝีมือแรงงาน พัฒนาหลักสูตรที่สอดคล้องกับความต้องการของตลาดแรงงานเพิ่มเติม
แผนระยะที่ 3
(ปีงบประมาณ พ.ศ. 2566 – 2567) ดำเนินงานเต็มรูปแบบ พัฒนาระบบทดสอบมาตรฐานฝีมือแรงงาน พัฒนาระบบการฝึกอบรมทั้งแบบ Online และ Offline ร่วมกับหน่วยงานภาคการศึกษา หน่วยงานภาครัฐและเอกชน
ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา (นายกรัฐมนตรี) วันที่ 17 ธันวาคม 2562
สำนักโฆษก สำนักเลขาธิการนายกรัฐมนตรี โทร. 0 2288-4396
******************************************
กด Like - Share เพจ Corehoon-Power Time เพื่อติดตามเคล็ดลับ ข่าวสาร เทรนด์ และบทวิเคราะห์ดีๆ อัพเดตทุกวัน คัดสรรมาเพื่อท่านนักลงทุนโดยเฉพาะ
Click Donate Support Web