WORLD7

smed PIONEER 720x100ใจฟู720x100pxgpf 720x100 66

ผลการประชุมรัฐภาคีอนุสัญญาบาเซลว่าด้วยการควบคุมการเคลื่อนย้ายข้ามแดนของของเสียอันตรายและการกำจัด สมัยที่ 14 การประชุมรัฐภาคี

GOV 7ผลการประชุมรัฐภาคีอนุสัญญาบาเซลว่าด้วยการควบคุมการเคลื่อนย้ายข้ามแดนของของเสียอันตรายและการกำจัด สมัยที่ 14 การประชุมรัฐภาคี

      ผลการประชุมรัฐภาคีอนุสัญญาบาเซลว่าด้วยการควบคุมการเคลื่อนย้ายข้ามแดนของของเสียอันตรายและการกำจัด สมัยที่ 14 การประชุมรัฐภาคี อนุสัญญารอตเตอร์ดัมว่าด้วยกระบวนการแจ้งข้อมูลสารเคมีล่วงหน้าสำหรับสารเคมีอันตรายและสารเคมีป้องกันกำจัดศัตรูพืชและสัตว์บางชนิดในการค้าระหว่างประเทศ สมัยที่ 9 และการประชุมรัฐภาคีอนุสัญญาสตอกโฮล์มว่าด้วยสารพิษที่ตกค้างยาวนาน สมัยที่ 9

     คณะรัฐมนตรีรับทราบผลการประชุมรัฐภาคีอนุสัญญาบาเซลว่าด้วยการควบคุมการเคลื่อนย้ายข้ามแดนของของเสียอันตรายและการกำจัด สมัยที่ 14 การประชุมรัฐภาคี อนุสัญญารอตเตอร์ดัมว่าด้วยกระบวนการแจ้งข้อมูลสารเคมีล่วงหน้าสำหรับสารเคมีอันตรายและสารเคมีป้องกันกำจัดศัตรูพืชและสัตว์บางชนิดในการค้าระหว่างประเทศ สมัยที่ 9 และการประชุมรัฐภาคีอนุสัญญาสตอกโฮล์มว่าด้วยสารพิษที่ตกค้างยาวนาน สมัยที่ 9 ตามที่กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมเสนอ โดยมอบหมายหน่วยงานที่เกี่ยวข้องดำเนินการตามมติข้อตัดสินใจที่สำคัญในการประชุมรัฐภาคีของ 3 อนุสัญญาดังกล่าว ดังนี้

1) ให้กระทรวงอุตสาหกรรม (อก.) โดยกรมโรงงานอุตสาหกรรมดำเนินการ ดังนี้

      1.1 ในฐานะหน่วยงานผู้มีอำนาจ (Competent Authority : CA) ภายใต้อนุสัญญา บาเซล ฯ เตรียมความพร้อมเกี่ยวกับการแก้ไขเพิ่มเติมรายการของเสียอันตราย ภายใต้ขอบเขตการปฏิบัติงานตามกฎหมายภายในประเทศ กล่าวคือ พระราชบัญญัติวัตถุอันตราย พ.ศ. 2535 และแก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 4 ) พ.ศ. 2562 เพื่อให้การดำเนินงานสอดคล้องกับการแก้ไขภาคผนวก 2 ภาคผนวก 8 และ ภาคผนวก 9 ของอนุสัญญาบาเซลฯ ในส่วนที่เกี่ยวข้องกับขยะพลาสติก

       1.2 ในฐานะหน่วยงานผู้มีอำนาจของรัฐ (Designated National Authority :DNA) ด้านสารเคมีอุตสาหกรรม ภายใต้อนุสัญญารอตเตอร์ดัมฯดำเนินการแจ้งท่าทีตอบรับนำเข้า (import response) สำหรับ hexabromocyclododecane ที่ได้รับการบรรจุเพิ่มเติมในภาคผนวกที่ 3 ของอนุสัญญารอตเตอร์ดัมฯ เพื่อให้เป็นไปตามพันธกรณีในข้อบทที่ 10 ของอนุสัญญารอตเตอร์ดัม

             1.3 ควบคุมสาร PFOA, its salts and PFOA –related compounds ภายใต้พระราชบัญญัติวัตถุอันตราย พ.ศ 2535 เพื่อให้เป็นไปตามพันธกรณีในข้อบทที่ 3 ของอนุสัญญาสตอกโฮล์มฯ

2) มอบหมายให้กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ (กษ.) โดยกรมวิชาการเกษตรดำเนินการ ดังนี้

         2.1 ในฐานะหน่วยงานผู้มีอำนาจรัฐ ด้านสารเคมีป้องกันศัตรูพืชและสัตว์ ภายใต้อนุสัญญารอตเตอร์ดัมฯ ดำเนินการแจ้งท่าทีตอบรับนำเข้าสำหรับสาร phorate เพื่อให้เป็นไปตามพันธกรณีในข้อบทที่ 10 ของอนุสัญญารอตเตอร์ดัมฯ

       2.2 ยกระดับการควบคุมสาร dicofol เป็นวัตถุอันตรายชนิดที่ 4 ภายใต้พระราชบัญญัติวัตถุอันตราย พ.ศ. 2535 เพื่อให้เป็นไปตามพันธกรณีในข้อบทที่ 3 ของอนุสัญญาสตอกโฮลม์ฯ

สาระสำคัญ

        คณะผู้แทนไทย ประกอบด้วยอธิบดีควบคุมมลพิษ ในฐานะหัวหน้าคณะผู้แทนไทย ผู้แทนจาก ทส. อก. กษ. กระทรวงสาธารณสุข กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.) และกระทรวงต่างประเทศ (กต.) รวมทั้งประธานและผู้ทรงคุณวุฒิในคณะอนุกรรมการอนุสัญญา ฯ ภายใต้คณะกรรมการสิ่งแวดล้อมแห่งชาติได้เข้าร่วมการประชุมรัฐภาคีอนุสัญญาบาเซลฯ สมัยที่ 14 การประชุมรัฐภาคีอนุสัญญารอตเตอร์ดัมฯ สมัยที่ 9 และการประชุมรัฐภาคีอนุสัญญาสตอกโฮล์มฯ สมัยที่ 9 ในระหว่างวันที่ 29 เมษายน -10 พฤษภาคม 2562 ณ นครเจนีวา สมาพันธรัฐสวิส โดยหัวข้อของการประชุมเน้นเรื่องโลกสะอาดมนุษย์มีสุขภาพดีด้วยการจัดการสารเคมีและของเสียอย่างเหมาะสม (Clean Planet, Healthy People : Sound Management of Chemical and Waste) รายละเอียดสรุปได้ดังนี้

ที่มา: ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา (นายกรัฐมนตรี) วันที่ 3 ธันวาคม 2562

******************************************

โลโก้เส้นพูดเบาและรวดเร็วไลค์ 1 แชร์ 3ถูกใจ 1 คนแชร์ 1กด  L Ike - แบ่งปัน  เพจเวลา Corehoon-Powerเพื่อติดตามเคล็ดลับข่าวสารเทรนด์และ บทวิเคราะห์ดีๆอัพเดตทุกวันคัดสรรมาเพื่อท่านนักลงทุนโดยเฉพาะ  

 คลิกบริจาคเว็บสนับสนุน

ais 790x90GC 790x90

sme 720x90banpu 720x90 new1 1

          สำนักโฆษก   สำนักเลขาธิการนายกรัฐมนตรี โทร. 0 2288-4396

apm

 

 

Facebook

5 ข่าวฮอตนิวส์!