WORLD7

smed PIONEER 720x100ใจฟู720x100pxgpf 720x100 66

การประชุมรัฐภาคีกรอบอนุสัญญาสหประชาชาติว่าด้วยการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ สมัยที่ 25 (COP 25)

GOV8 copyการประชุมรัฐภาคีกรอบอนุสัญญาสหประชาชาติว่าด้วยการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ สมัยที่ 25 (COP 25) การประชุมรัฐภาคีพิธีสารเกียวโต สมัยที่ 15 (CMP 25) การประชุมรัฐภาคีความตกลงปารีส สมัยที่ 2 (CMA 2) และการประชุมอื่นที่เกี่ยวข้อง

      คณะรัฐมนตรีมีมติรับทราบองค์ประกอบคณะผู้แทนของประเทศไทยในการประชุมรัฐภาคีกรอบอนุสัญญาสหประชาชาติว่าด้วยการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศสมัยที่ 25 (COP 25)การประชุมรัฐภาคีพิธีสารเกียวโต สมัยที่ 15 (CMP) การประชุมรัฐภาคีความตกลงปารีส สมัยที่ 2  (CMA2)และการประชุมอื่นที่เกี่ยวข้อง

    โดยเห็นชอบต่อกรอบท่าทีเจรจาของไทยในการประชุมกรอบอนุสัญญาสหประชาชาติว่าด้วยการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ ประจำปี พ.ศ. 2562-2563  ทั้งนี้ หากมีความจำเป็นต้องปรับปรุงแก้ไขกรอบท่าทีเจรจาของไทยที่มิใช่สาระสำคัญหรือไม่ขัดต่อผลประโยชน์ของประเทศไทย ให้กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม พิจารณาดำเนินการโดยไม่ต้องเสนอคณะรัฐมนตรีพิจารณาอีก ตามที่ กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม เสนอ

สาระสำคัญ

     องค์ประกอบคณะผู้แทนของประเทศไทยในการประชุมรัฐภาคีกรอบอนุสัญญาฯ สมัยที่ 25 (COP 25) การประชุมรัฐภาคีพิธีสารเกียวโต สมัยที่ 15 (CMP15) การประชุมรัฐภาคีความตกลงปารีสสมัยที่ 2  (CMA2) และการประชุมอื่นที่เกี่ยวข้อง ประกอบด้วย รัฐมนตรีว่าการกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม เป็นหัวหน้าคณะผู้แทนไทย รวมทั้งปลัดกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ผู้ทรงคุณวุฒิและผู้แทนจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง

    กรอบท่าทีเจราจาของไทยในการประชุมกรอบอนุสัญญาฯ ประจำปี พ.ศ. 2562-2563 มีเนื้อหาครอบคลุมหลักการภายใต้กรอบอนุสัญญาฯ ที่ประเทศไทยให้ความสำคัญ เช่น ความเป็นธรรมและความรับผิดชอบร่วมกันในระดับที่แตกต่างโดยคำนึงถึงขีดความสามารถของแต่ละประเทศ เรียกร้องให้ประเทศพัฒนาแล้วเร่งยกระดับการดำเนินงานจนถึงสิ้นปี ค.ศ 2020 อย่างจริงจัง ให้การจัดทำและการดำเนินงานตามการมีส่วนร่วมที่ประเทศกำหนด (Nationally Determined Contributions)อยู่ภายใต้หลักการของกรอบอนุสัญญาฯ

และความตกลงปารีส ให้คำนึงถึงผลกระทบด้านเศรษฐกิจ การค้าและสังคมของประเทศกำลังพัฒนาในการกำหนดนโยบายหรือมาตรการด้านการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ ส่งเสริมบทบาทของภาคป่าไม้และพิจารณาการใช้ประโยชน์ที่ดินให้เหมาะสม

               การกำหนดแนวทางและกลไกความร่วมมือเกี่ยวกับกลไกตลาดและไม่ใช้ตลาดต้องมีความยืดหยุ่นและไม่เป็นภาระเพิ่มเติมเกินจำเป็นแก่ประเทศต่างๆให้มีการสนับสนุนด้านองค์ความรู้ การวิจัย การเงิน การถ่ายทอดเทคโนโลยี และเสริมสร้างขีดความสามารถในภาคเกษตร ให้ประเทศพัฒนาแล้วเป็นผู้นำ  และยกระดับการสนับสนุนทางการเงินแก่ประเทศกำลังพัฒนาสนับสนุนการพัฒนาและถ่ายทอดเทคโนโลยีภายใต้กรอบอนุสัญญาฯ และความตกลงปารีส ให้มีการยกระดับศักยภาพของประเทศกำลังพัฒนาอย่างบูรณาการและยั่งยืน ให้การดำเนินงานภายใต้กรอบความโปร่งใส ในการดำเนินงานและการสนับสนุนเป็นไปอย่างยืดหยุ่นและคำนึงถึงศักยภาพที่แตกต่างกันของประเทศกำลังพัฒนาและประเทศไทยพร้อมจะเป็นประเทศที่ให้และ / หรือ ประสานความช่วยเหลือหรือแลกเปลี่ยนประสบการณ์การดำเนินงานการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศไปยังประเทศกำลังพัฒนาอื่นๆ เป็นต้น

    ในการนี้ หากมีข้อเจรจาใดที่นอกเหนือจากนี้ หากไม่เป็นการขัดกับท่าทีการเจรจาของไทยและไม่มีผลผูกพันทางกฎหมายให้เป็นดุลยพินิจของหัวหน้าคณะผู้แทน ทั้งนี้ กรอบท่าทีเจรจาของไทยในการประชุมกรอบอนุสัญญาฯ ประจำปี 2562-2563 เป็นไปตามหลักการของกรอบอนุสัญญา ฯ สอดคล้องกับยุทธศาสตร์ นโยบาย และแผนของประเทศด้านการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ และไม่ขัดกับนโยบายของรัฐบาลที่ได้แถลงต่อรัฐสภา

      การประชุมรัฐภาคีกรอบอนุสัญญา ฯ สมัยที่ 25(COP 25)การประชุมรัฐภาคีพิธีสาร เกียวโต สมัยที่ 15 (CMP15)การประชุมรัฐภาคีความตกลงปารีสสมัยที่ 2  (CMA2)และการประชุมอื่นที่เกี่ยวข้อง ระหว่างวันที่ 29 พฤศจิกายน -13 ธันวาคม 2562 ณ กรุงมาดริด ราชอาณาจักรสเปน จะมีการรับรองข้อตัดสินใจ ต่าง ๆ

ที่ สำนักโฆษก   สำนักเลขาธิการนายกรัฐมนตรี โทร. 0 2288-4396

******************************************

โลโก้เส้นพูดเบาและรวดเร็วไลค์ 1 แชร์ 3ถูกใจ 1 คนแชร์ 1กด  L Ike - แบ่งปัน  เพจเวลา Corehoon-Powerเพื่อติดตามเคล็ดลับข่าวสารเทรนด์และ บทวิเคราะห์ดีๆอัพเดตทุกวันคัดสรรมาเพื่อท่านนักลงทุนโดยเฉพาะ  

 คลิกบริจาคเว็บสนับสนุน

ais 790x90GC 790x90

sme 720x90banpu 720x90 new1 1

apm

 

 

Facebook

5 ข่าวฮอตนิวส์!