WORLD7

smed PIONEER 720x100ใจฟู720x100pxgpf 720x100 66

ขอความเห็นชอบการเข้าเป็นภาคีอนุสัญญาระหว่างประเทศว่าด้วยการช่วยเหลือกู้ภัยทางทะเล ค.ศ. 1989

GOV1 copyขอความเห็นชอบการเข้าเป็นภาคีอนุสัญญาระหว่างประเทศว่าด้วยการช่วยเหลือกู้ภัยทางทะเล ค.ศ. 1989

      คณะรัฐมนตรีอนุมัติการเข้าเป็นภาคีอนุสัญญาระหว่างประเทศว่าด้วยการช่วยเหลือกู้ภัยทางทะเล ค.ศ. 1989 โดยขอตั้งข้อสงวนตามข้อ 30 (เอ) ในเรื่องขอบเขตการใช้บังคับให้อนุสัญญา ฯ ไม่ใช้บังคับบริเวณน่านน้ำภายในของประเทศไทย  ทั้งนี้ เพื่อให้เป็นไปตามมาตรา 5 (1) ของพระราชบัญญัติว่าด้วยการช่วยเหลือกู้ภัยทางทะเล พ.ศ. 2550  และมอบหมายให้กระทรวงการต่างประเทศ (กต.) ดำเนินการยื่นตราสาร  การภาคยานุวัติ (Instrument of Accession) อนุสัญญาระหว่างประเทศว่าด้วยการช่วยเหลือกู้ภัยทางทะเล ค.ศ. 1989 ต่อเลขาธิการองค์การทางทะเลระหว่างประเทศ ตามข้อ 28 ของอนุสัญญาฯ ต่อไป  หลังจากที่รับความเห็นชอบจากคณะรัฐมนตรีแล้ว ตามที่กระทรวงคมนาคมเสนอ

[คาดว่าจะมีการยื่นตราสารภาคยานุวัติเพื่อเข้าร่วมเป็นภาคีอนุสัญญา ฯ ในช่วงการประชุมสมัชชาสมัยสามัญ ครั้งที่ 31 ขององค์การทางทะเลระหว่างประเทศ (International Maritime Organization : IMO) ระหว่างวันที่ 25 พฤศจิกายน – 5 ธันวาคม 2562 ซึ่งรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงคมนาคม (นายอธิรัฐ รัตนเศรษฐ) จะทำหน้าที่หัวหน้าคณะผู้แทนไทยเข้าร่วมการประชุมดังกล่าว]     

     อนุสัญญา ฯ มีวัตถุประสงค์เพื่อส่งเสริมให้เกิดการช่วยเหลือกู้ภัยโดยกำหนดหน้าที่ให้แก่ผู้ช่วยเหลือกู้ภัย เจ้าของเรือ และนายเรือ  และกำหนดมาตรการจูงใจเป็นเงินตอบแทนให้แก่ผู้ช่วยเหลือกู้ภัย เพื่อมุ่งหวังให้การปฏิบัติการช่วยเหลือกู้ภัยเกิดประสิทธิภาพสูงสุด อันจะนำไปสู่ความสามารถในการลดความสูญเสียที่จะเกิดแก่ชีวิต ตลอดจนบรรเทาความเสียหายที่จะเกิดแก่สิ่งแวดล้อมได้  ในส่วนของการดำเนินการเพื่อให้เป็นไปตามบทบัญญัติของอนุสัญญาฯ ประเทศไทยได้ตราพระราชบัญญัติว่าด้วยการช่วยเหลือกู้ภัยทางทะเล พ.ศ. 2550 เพื่อวางหลักเกณฑ์เกี่ยวกับการช่วยเหลือกู้ภัยทางทะเล การปฏิบัติหน้าที่ในการช่วยเหลือกู้ภัยและสิทธิในการได้รับเงินตอบแทนของ ผู้ช่วยเหลือกู้ภัยทางทะเล เพื่อให้สอดคล้องตามหลักการของอนุสัญญาฯ  โดยพระราชบัญญัติดังกล่าวได้ประกาศในราชกิจจานุเบกษาเมื่อวันที่ 1 สิงหาคม 2550 แล้ว

        ประโยชน์ที่ไทยจะได้รับจากการเข้าเป็นภาคีอนุสัญญา ฯ คือ การก่อให้เกิดความมั่นใจแก่ผู้ช่วยเหลือกู้ภัยทางทะเลและจูงใจให้เกิดการช่วยเหลือกู้ภัยทางทะเล ลดความเสียหายที่จะเกิดแก่เรือ ทรัพย์สิน บุคคลบนเรือ โดยเฉพาะอย่างยิ่งความเสียหายต่อสิ่งแวดล้อม อันจะเป็นการช่วยลดความสูญเสียที่อาจจะเกิดขึ้นแก่ระบบเศรษฐกิจ และยกระดับความน่าเชื่อถือต่อกฎหมายพาณิชนาวีของไทยได้อย่างมีประสิทธิภาพ นอกจากนี้ การเข้าเป็นภาคีอนุสัญญาฯ  จะเป็นการเสริมสร้างบทบาทของประเทศไทยในเวทีนานาชาติ  ซึ่งจะมีส่วนช่วยสนับสนุนในการหาเสียงเลือกตั้งคณะมนตรีขององค์การทางทะเลระหว่างประเทศ (IMO)  อีกสมัยหนึ่งในช่วงการประชุมสมัชชาของ IMO เดือนพฤศจิกายน 2562  

      และจากการที่ประเทศไทยมีพระราชบัญญัติว่าด้วยการช่วยเหลือกู้ภัยทางทะเล  พ.ศ. 2550 ใช้บังคับอยู่และสอดคล้องกับข้อผูกพันตามอนุสัญญาฯ แล้ว  จึงสามารถดำเนินการเข้าเป็นภาคีอนุสัญญา ฯ โดยไม่ต้องออกกฎหมายเพื่อรองรับการเป็นภาคีของอนุสัญญาดังกล่าว อย่างไรก็ดี ประเทศไทยจะขอตั้งข้อสงวนตามข้อ 30 (เอ) ในเรื่องขอบเขตการใช้บังคับให้อนุสัญญาฯ ไม่ใช้บังคับบริเวณน่านน้ำภายในของประเทศไทย  (จะใช้บังคับตั้งแต่ทะเลอาณาเขตในระยะ 12 ไมล์ทะเลออกไปจากเส้นฐานเท่านั้น) เพื่อให้เป็นไปตามมาตรา 5 (1) ของพระราชบัญญัติว่าด้วยการช่วยเหลือกู้ภัยทางทะเล พ.ศ. 2550 ซึ่งสามารถกระทำได้ในขณะที่ยื่นภาคยานุวัติสาร

ที่มา: ที่ประชุมคณะรัฐมนตรีชุด พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา (นายกรัฐมนตรี) 19 พฤศจิกายน 2562

สำนักโฆษก   สำนักเลขาธิการนายกรัฐมนตรี โทร. 0 2288-4396

******************************************

โลโก้เส้นพูดเบาและรวดเร็วไลค์ 1 แชร์ 3ถูกใจ 1 คนแชร์ 1กด  L Ike - แบ่งปัน  เพจเวลา Corehoon-Powerเพื่อติดตามเคล็ดลับข่าวสารเทรนด์และ บทวิเคราะห์ดีๆอัพเดตทุกวันคัดสรรมาเพื่อท่านนักลงทุนโดยเฉพาะ  

 คลิกบริจาคเว็บสนับสนุน

ais 790x90GC 790x90

sme 720x90banpu 720x90 new1 1

apm

 

 

Facebook

5 ข่าวฮอตนิวส์!