ร่างแผนปฏิบัติการระดับชาติว่าด้วยธุรกิจกับสิทธิมนุษยชน ระยะที่ 1 (พ.ศ. 2562 – 2565)
- Details
- Category: มติ ครม.
- Published: Sunday, 24 November 2019 23:12
- Hits: 1220
ร่างแผนปฏิบัติการระดับชาติว่าด้วยธุรกิจกับสิทธิมนุษยชน ระยะที่ 1 (พ.ศ. 2562 – 2565)
คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบตามที่กระทรวงยุติธรรม (ยธ.) เสนอ ดังนี้
- เห็นชอบให้ ยธ. ได้รับการยกเว้นการปฏิบัติตามมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 4 ธันวาคม 2560 เรื่อง แนวทางการเสนอแผนเข้าสู่การพิจารณาของคณะรัฐมนตรี
- เห็นชอบร่างแผนปฏิบัติการระดับชาติว่าด้วยธุรกิจกับสิทธิมนุษยชน ระยะที่ 1 (พ.ศ. 2562 – 2565) [ร่างแผนปฏิบัติการฯ] โดยหากจำเป็นต้องแก้ไขปรับปรุงร่างแผนปฏิบัติการดังกล่าว โดยไม่ขัดกับหลักการที่คณะรัฐมนตรีได้ให้ความเห็นชอบไว้ ให้ ยธ. ดำเนินการได้ โดยนำเสนอคณะรัฐมนตรีทราบในภายหลัง
- มอบหมายหน่วยงานที่เกี่ยวข้องตามที่กำหนดไว้ในร่างแผนปฏิบัติการฯ ดำเนินการให้บรรลุ ผลตามแผนปฏิบัติการฯ ต่อไป
สาระสำคัญของเรื่อง
กระทรวงยุติธรรมเสนอคณะรัฐมนตรีพิจารณาให้ความเห็นชอบต่อร่างแผนปฏิบัติการระดับชาติว่าด้วยธุรกิจกับสิทธิมนุษยชน ระยะที่ 1 (พ.ศ. 2562 – 2565) [ร่างแผนปฏิบัติการฯ] และมอบหมายหน่วยงานที่เกี่ยวข้องในร่างแผนปฏิบัติการฯ ดำเนินการให้บรรลุตามแผนปฏิบัติการฯ ต่อไป ซึ่งร่างแผนปฏิบัติการฯ จัดทำขึ้นตามหลักการชี้แนะของสหประชาชาติว่าด้วยธุรกิจกับสิทธิมนุษยชน (United Nations Guiding Principles on Business and Human Rights: UNGPs) ของคณะทำงานสหประชาชาติว่าด้วยธุรกิจกับสิทธิมนุษยชน โดยประกอบไปด้วยหลักการพื้นฐาน 3 เสาหลัก ได้แก่ (1) การคุ้มครอง (Protect) (2) การเคารพ (Respect) และ (3) การเยียวยา (Remedy)
ทั้งนี้ การจัดทำร่างแผนปฏิบัติการฯ ของประเทศไทยอยู่ภายใต้การกำกับดูแลของคณะกรรมการกำหนดแนวทาง จัดทำ ติดตาม และประเมินผลตามแผนปฏิบัติการระดับชาติว่าด้วยธุรกิจกับสิทธิมนุษยชน โดยร่างแผนปฏิบัติการฯ มีกรอบระยะเวลาดำเนินการ 4 ปี (พ.ศ. 2562 – 2565) ซึ่งมีประเด็นที่สำคัญ ดังนี้
ประเด็น กิจกรรม ตัดชี้วัด หน่วยงานที่รับผิดชอบ
1) แผนปฏิบัติการด้านแรงงาน เช่น
1) การขจัดการเลือกปฏิบัติในการจ้างงาน/ทำงานส่งเสริมอาชีพและการจ้างงานให้กับคนพิการในสถานประกอบการและหน่วยงานของรัฐ โดยจัดให้มีเจ้าหน้าที่ประสานงานระหว่างผู้ประกอบการกับคนพิการพร้อมทั้งมีระบบคัดกรองความสามารถคนพิการเพื่อจัดหางานให้อย่างเหมาะสม เชิงปริมาณ
- คนพิการมีงานทำ จำนวน 1,750 คน
เชิงคุณภาพ
- คนพิการมีงานทำไม่น้อยกว่าร้อยละ 62
- คนพิการมีงานทำในหน่วยงานภาครัฐ 88 คน
- ส่งเสริมให้คนพิการทำงานในหน่วยงานรัฐในอัตราส่วนตามที่กฎหมายกำหนด 100:1 - กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ (พม.)
- กระทรวงแรงงาน
2) การปฎิบัติตามกฎหมายแรงงานมาตรฐานแรงงานและหลักการสิทธิมนุษยชน ภาครัฐวิสาหกิจและธุรกิจต้องดำเนินการตามมาตรฐานแรงงานไทย เคารพและปฏิบัติตามกฎหมายเกี่ยวกับแรงงานอย่างเคร่งครัด -
(*ไม่มีการระบุตัวชี้วัดสำหรับภาคเอกชนและรัฐวิสาหกิจ เนื่องจากเป็นการขอความร่วมมือในการปฏิบัติตามแผนปฏิบัติการฯ) - ภาครัฐวิสาหกิจและธุรกิจที่เกี่ยวข้อง
3) การเยียวยา กำหนดให้มีกลไกเยียวยาทั้งจากภาครัฐและภาคเอกชนในระดับท้องถิ่น ทั้งนี้ การเยียวยาควรสอดคล้องกับความต้องการของประชาชนและชุมชนที่ได้รับผลกระทบ - จำนวนสิทธิประโยชน์หรือหลักเกณฑ์ที่ได้มีการทบทวนหรือปรับปรุง - กระทรวงมหาดไทย (มท.) กรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น)
- กระทรวงยุติธรรม (ยธ.)
2) ด้านชุมชน ที่ดิน ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม เช่น
1) เขตเศรษฐกิจพิเศษ (Special Economic Zone : SEZ) พิจารณาจัดทำแนวทาง/มาตรการกำกับให้ผู้ปฏิบัติงานใน SEZ และระเบียงเศรษฐกิจพิเศษภาคตะวันออก (Eastern Economic Corridor : EEC) ทั้งภาครัฐและภาคเอกชนปฏิบัติตามมาตรฐานสูงสุดเรื่องธรรมาภิบาลและแนวปฏิบัติของบรรษัท โดยความมุ่งมั่นในการนำหลักการ UNGPs ไปใช้ควรจะปรากฏอยู่ในวิธีการจัดตั้งและบริหารจัดการในพื้นที่ดังกล่าวด้วย มีแนวทาง/มาตรการกำกับให้ SEZ รวมถึง EEC ปฏิบัติตามมาตรฐานสูงสุดเรื่อง ธรรมาภิบาล และ UNGPs - สำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศช.)
- กระทรวงพาณิชย์
- กระทรวงอุตสาหกรรม
- มท. (กรมโยธาธิการและผังเมือง)
2) การจัดทำรายงานวิเคราะห์ผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อม (Environmental Impact Assessment Report : EIA)
ภาครัฐวิสาหกิจและธุรกิจควรดำเนินการประเมิน EIA และรายงานการวิเคราะห์ผลกระทบสิ่งแวดล้อมและสุขภาพ ตามแนวทางที่กำหนดไว้ในกฎหมาย/ระเบียบ/มาตรการที่เกี่ยวข้อง - ภาครัฐวิสาหกิจและธุรกิจที่เกี่ยวข้อง
3) ด้านนักปกป้องสิทธิมนุษยชน เช่น
1) การคุ้มครองนักปกป้องสิทธิมนุษยชน กำหนดหรือทบทวนนโยบาย กลไก กระบวนการ มาตรการคุ้มครองนักปกป้องสิทธิมนุษยชน ซึ่งรวมถึงนักปกป้องสิทธิมนุษยชนที่เป็นผู้หญิง เพื่อให้ทำงานได้อย่างปลอดภัย และอบรม ส่งเสริมให้หน่วยงานบังคับใช้กฎหมายปฏิบัติได้จริง - มีการกำหนด ทบทวน หรือปรับปรุงนโยบายกลไก กระบวนการ หรือ มาตรการคุ้มครองนักปกป้องสิทธิมนุษยชน ซึ่งรวมถึงนักปกป้องสิทธิมนุษยชนที่เป็นผู้หญิง
- อบรมนโยบาย กลไก กระบวนการหรือมาตรการฯ ให้กับหน่วยงานบังคับใช้กฎหมาย - ยธ.
- สำนักงานตำรวจแห่งชาติ
- สำนักงานอัยการสูงสุด
2) การจัดทำมาตรการคุ้มครองนักปกป้องสิทธิมนุษยชน ภาครัฐวิสาหกิจและธุรกิจควรเข้ามามีส่วนร่วมกับหน่วยงานภาครัฐในการจัดทำมาตรการคุ้มครองนักปกป้องสิทธิมนุษยชน ทำความเข้าใจเกี่ยวกับบทบาทการทำงานของนักปกป้องสิทธิมนุษยชน - ภาครัฐวิสาหกิจและธุรกิจที่เกี่ยวข้อง
4) ด้านการลงทุนระหว่างประเทศและบรรษัทข้ามชาติ เช่น
1) การปฏิบัติตามกฎหมาย มาตรฐาน และหลักการสิทธิมนุษยชนที่เกี่ยวกับการลงทุนระหว่างประเทศและบรรษัทข้ามชาติ ภาครัฐวิสาหกิจและธุรกิจต้องปฏิบัติตามกฎหมาย กฎระเบียบ มาตรฐานเกี่ยวกับสิทธิมนุษยชน การกำกับดูแลธุรกิจและการลงทุนทั้งของประเทศไทยในกรณีที่ลงทุนในประเทศไทยและของประเทศที่ทำการลงทุนในกรณีการลงทุนระหว่างประเทศ - ภาครัฐวิสาหกิจและธุรกิจที่เกี่ยวข้อง
2) การช่วยเหลือทางการเงิน/ เยียวยา พิจารณาความเป็นไปได้ในการจัดตั้งกองทุนเพื่อเยียวยาและฟื้นฟูผู้ได้รับผลกระทบทั้งในด้านอาชีพ วิถีชีวิต สังคม วัฒนธรรม สุขภาพ สิ่งแวดล้อม และทรัพยากรทางธรรมชาติ มีการประชุมเพื่อพิจารณาความเป็นไปได้ในการจัดตั้งกองทุนดังกล่าว
กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
ที่มา: ที่ประชุมคณะรัฐมนตรีชุด พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา (นายกรัฐมนตรี) วันที่ 29 ตุลาคม 2562
สำนักโฆษก สำนักเลขาธิการนายกรัฐมนตรี โทร. 0 2288-4396
******************************************
กด L Ike - แบ่งปัน เพจเวลา Corehoon-Powerเพื่อติดตามเคล็ดลับข่าวสารเทรนด์และ บทวิเคราะห์ดีๆอัพเดตทุกวันคัดสรรมาเพื่อท่านนักลงทุนโดยเฉพาะ
คลิกบริจาคเว็บสนับสนุน