WORLD7

smed PIONEER 720x100ใจฟู720x100pxgpf 720x100 66

ร่างเอกสารผลลัพธ์การประชุมผู้นำกรอบความร่วมมือลุ่มน้ำโขงกับญี่ปุ่น ครั้งที่ 11

GOV 3ร่างเอกสารผลลัพธ์การประชุมผู้นำกรอบความร่วมมือลุ่มน้ำโขงกับญี่ปุ่น ครั้งที่ 11

     คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบตามที่กระทรวงการต่างประเทศเสนอ ดังนี้

  1. เห็นชอบต่อร่างเอกสารผลลัพธ์ของการประชุม 2 ฉบับ ได้แก่ (1) ร่างถ้อยแถลงร่วมการประชุมผู้นำกรอบความร่วมมือลุ่มน้ำโขงกับญี่ปุ่น ครั้งที่ 11 และ (2) ร่างข้อริเริ่มลุ่มน้ำโขงกับญี่ปุ่นเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน ค.ศ. 2030
  2. ให้นายกรัฐมนตรีหรือผู้ได้รับมอบหมาย ร่วมให้การรับรองร่างเอกสารผลลัพธ์ของการประชุมดังกล่าว

       ทั้งนี้ หากมีความจำเป็นต้องปรับปรุงแก้ไขร่างเอกสารผลลัพธ์ของการประชุมที่ไม่ใช่สาระสำคัญหรือไม่ขัดต่อผลประโยชน์ของไทย ให้กระทรวงการต่างประเทศดำเนินการได้โดยไม่ต้องนำเสนอคณะรัฐมนตรีเพื่อพิจารณาอีกครั้ง

สาระสำคัญร่างเอกสารผลลัพธ์ฯ 2 ฉบับ

  1.      ร่างถ้อยแถลงร่วมการประชุมผู้นำกรอบความร่วมมือลุ่มน้ำโขงกับญี่ปุ่น ครั้งที่ 11 เป็นเอกสารแสดงเจตนารมณ์ทางการเมืองของผู้นำประเทศสมาชิกในการขับเคลื่อนกรอบความร่วมมือลุ่มน้ำโขงกับญี่ปุ่น โดยร่างถ้อยแถลงฯ ให้ความสำคัญกับประเด็น เช่น 1) การติดตามความคืบหน้าของการดำเนินโครงการความร่วมมือภายใต้ยุทธศาสตร์กรุงโตเกียว ค.ศ. 2018 เพื่อความร่วมมือลุ่มน้ำโขงกับญี่ปุ่น 2) การขับเคลื่อนกรอบความร่วมมือให้สอดคล้องกับทิศทางความร่วมมือตาม 3 แนวทาง ได้แก่ (1) เป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน (2) ยุทธศาสตร์อินโด – แปซิฟิกที่เสรีและเปิดกว้าง และ (3) การดำเนินการตามแผนแม่บท ACMECS ระยะ 5 ปี (ค.ศ. 2019 - 2019) และ 3) การหารือประเด็นภูมิภาคและโลกที่ส่งผลต่อเสถียรภาพ ความมั่นคง และผลประโยชน์ของอนุภูมิภาคลุ่มน้ำโขงกับญี่ปุ่น
  2. ร่างข้อริเริ่มลุ่มน้ำโขงกับญี่ปุ่นเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน ค.ศ. 2030 เป็นเอกสารที่จะนำมาใช้แทนแผนปฏิบัติการทศวรรษที่มุ่งสู่การเป็นภูมิภาคลุ่มน้ำโขงสีเขียวซึ่งได้รับการรับรองเมื่อปี ค.ศ. 2009 โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อกำหนดแนวทางในการส่งเสริมความร่วมมือเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืนในอนุภูมิภาคลุ่มน้ำโขง โดยร่างข้อริเริ่มฯ ให้ความสำคัญกับประเด็น เช่น 1) การบูรณการการทำงานทุกภาคส่วนเพื่อรับมือกับความท้าทายที่อนุภูมิภาคกำลังเผชิญในปัจจุบัน ได้แก่ ปัญหามลพิษ การเปลี่ยนสภาพภูมิอากาศ การใช้ประโยชน์จากทรัพยากรธรรมชาติที่มีประสิทธิภาพและยั่งยืน และการเจริญเติบโตที่ครอบคลุม 2) การแสวงหาแนวทางในการขับเคลื่อนโครงการความร่วมมือให้มีประสิทธิภาพ ได้แก่ (1) แนวทางความร่วมมือระดับภูมิภาค (Region-wide Approach) (2) แนวทางความร่วมมือที่เปิดกว้าง (Open Approach) และ (3) แนวทางความร่วมมือระหว่างภาครัฐและเอกชน (Public-Private Cooperative Approach) 3) การสร้างกลไกติดตามและประเมินผลการดำเนินโครงการ

ที่มา: ที่ประชุมคณะรัฐมนตรีชุด พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา (นายกรัฐมนตรี) วันที่ 29 ตุลาคม 2562

สำนักโฆษก   สำนักเลขาธิการนายกรัฐมนตรี โทร. 0 2288-4396

******************************************

โลโก้เส้นพูดเบาและรวดเร็วไลค์ 1 แชร์ 3ถูกใจ 1 คนแชร์ 1กด  L Ike - แบ่งปัน  เพจเวลา Corehoon-Powerเพื่อติดตามเคล็ดลับข่าวสารเทรนด์และ บทวิเคราะห์ดีๆอัพเดตทุกวันคัดสรรมาเพื่อท่านนักลงทุนโดยเฉพาะ  

 คลิกบริจาคเว็บสนับสนุน

ais 790x90GC 790x90

sme 720x90banpu 720x90 new1 1

apm

 

 

Facebook

5 ข่าวฮอตนิวส์!