พิธีสารแก้ไขเพิ่มเติมความตกลงว่าด้วยการลงทุนอาเซียน (ฉบับที่ 4) (Fourth Protocol to Amend the ASEAN Comprehensive Agreement)
- Details
- Category: มติ ครม.
- Published: Sunday, 06 October 2019 21:19
- Hits: 2322
พิธีสารแก้ไขเพิ่มเติมความตกลงว่าด้วยการลงทุนอาเซียน (ฉบับที่ 4) (Fourth Protocol to Amend the ASEAN Comprehensive Agreement)
คณะรัฐมนตรีมีมติให้ความเห็นชอบพิธีสารแก้ไข้เพิ่มเติมความตกลงว่าด้วยการลงทุนอาเซียน ฉบับที่ 4 ที่รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ลงนามแล้ว ตามที่สำนักคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุนเสนอ และให้ส่งคณะกรรมการประสานงานสภาผู้แทนราษฎรพิจารณาแล้วเสนอรัฐสภาพิจารณาให้ความเห็นชอบฯ ก่อนแสดงเจตนาให้มีผลผูกพันต่อไป โดยให้กระทรวงต่างประเทศดำเนินการมอบสัตยาบันสารหรือสารของพิธีสารแก้ไขเพิ่มเติม ความตกลงว่าด้วยการลงทุนอาเซียน ฉบับที่ 4 ให้แก่เลขาธิการอาเซียนเมื่อรัฐสภาให้ความเห็นชอบพิธีสารดังกล่าวแล้ว
สาระสำคัญของพิธีสารฯ
- กำหนดเกี่ยวกับการห้ามรัฐกำหนดเงื่อนไขให้นักลงทุนปฏิบัติ (PPR) ในพิธีสารฯได้แก่
ระดับของเงื่อนไข
- การห้ามรัฐกำหนดเงื่อนไขให้นักลงทุนปฏิบัติ เท่ากับที่ผูกพันไว้ภายใต้ความตกลงว่าด้วยมาตรการการลงทุนที่เกี่ยวกับการค้า (TRIMs) ขององค์การการค้าโลก (WTO) ซึ่งเป็นระดับที่ผูกพันไว้ในความตกลง ACIA เดิม
ห้ามรัฐกำหนด
1) ระดับหรือร้อยละในการส่งออกสินค้า
2) ระดับหรือร้อยละของการใช้วัตถุดิบภายในประเทศ
3) ให้นักลงทุนซื้อ ใช้ หรือให้สิทธิพิเศษแก่สินค้าที่ผลิตในประเทศหรือซื้อสินค้าจากบุคคลหรือองค์กรอื่นใดในประเทศ
4) ผูกโยงปริมาณหรือมูลค่าการนำเข้ากับปริมาณหรือมูลค่าการส่งออก หรือกับจำนวนการไหลเข้าของเงินตราต่างประเทศที่เกี่ยวข้องกับการลงทุนของนักลงทุน
ระดับของเงื่อนไข
- การห้ามรัฐกำหนดเงื่อนไขให้นักลงทุนปฏิบัติที่มีระดับเกินกว่าที่ผูกพันไว้ภายใต้ความตกลง TRIMs ซึ่งเป็นส่วนที่เพิ่มเติมขึ้นใหม่ในร่างพิธีสารนี้
ห้ามรัฐกำหนด
1) จำกัดการขายสินค้าในประเทศที่การลงทุนของนักลงทุนผลิตหรือจัดหามา โดยผูกโยงการขายดังกล่าวกับปริมาณ มูลค่าการส่งออกหรือรายได้ที่เป็นเงินตราต่างประเทศของผู้ลงทุน
2) จำกัดการจัดส่งสินค้าที่มีการลงทุนผลิตในประเทศ ไปยังตลาดภูมิภาคใดภูมิภาคหนึ่งโดยเฉพาะ หรือไปยังตลาดโลก
- กำหนดให้ประเทศสมาชิกอาเซียนจะต้องประเมินและทบทวนข้อบท PPR เพื่อพิจารณาเงื่อนไขหรือองค์ประกอบเพิ่มเติม เมื่อมีความจำเป็นเกิดขึ้น รวมถึงเรื่องการห้ามรัฐกำหนดเงื่อนไขให้นักลงทุนต้องตั้งสำนักงานใหญ่ของตนสำหรับภูมิภาคใดโดยเฉพาะ หรือสำหรับตลาดโลกในประเทศที่จะต้องมีการพิจารณาเป็นรายปีในที่ประชุมคณะมนตรีเขตการลงทุนอาเซียน
- กำหนดให้ประเทศสมาชิกสามารถจัดทำรายการข้อสงวนได้ หากมีข้อกังวลว่ามาตรการของรัฐมาตรการใดจะขัดต่อข้อบท PPR โดยประเทศสมาชิกจะต้องหารือเรื่องการจัดทำรายการข้อสงวนดังกล่าวให้เสร็จสิ้นภายใน 5 ปี นับจากวันที่พิธีสารฯ นี้ มีผลใช้บังคับเว้นแต่บรรดาสมาชิกจะตกลงเป็นอย่างอื่น
- กำหนดให้ข้อบท PPR ในความตกลง ACIA จะไม่มีการเชื่อมโยงกับข้อบทว่าด้วยการระงับข้อพิพาทระหว่างรัฐและเอกชน (Invertor State Dispute Settlement) ซึ่งหมายความว่านักลงทุนไม่สามารถฟ้องร้องรัฐได้ หากรัฐทำผิดเงื่อนไขในข้อบท PPR
- กำหนดว่าพิธีสารฯ จะเป็นส่วนหนึ่งของความตกลง ACIA และจะมีผลบังคับใช้หลังจากรัฐสมาชิกทุกรัฐได้แจ้งความสมบูรณ์ของกระบวนการภายในของตนโดยการยื่นสัตยาบันสารหรือสารให้ความยอมรับแก่เลขาธิการอาเซียนทั้งนี้ สาระสำคัญเป็นการกำหนดเงื่อนไขเพิ่มเติมของข้อบทการห้ามรัฐกำหนดเงื่อนไขให้นักลงทุนปฏิบัติ (Prohibition of Performance Requirements : PPR) เช่นกำหนดให้ใช้วัตถุดิบในประเทศกำหนดสัดส่วนปริมาณหรือมูลค่าของการนำเข้าและส่งออก หรือการกำหนดปริมาณเงินตราต่างประเทศที่นำเข้ามาลงทุน ห้ามรัฐกำหนดเงื่อนไขให้นักลงทุนปฏิบัติที่มีระดับเกินกว่าที่ผูกพันไว้ภายใต้ความตกลงว่าด้วยมาตรการการลงทุนที่เกี่ยวกับการค้า (Agreement on Trade –Related Investment Measures: TRIMs) ขององค์การการค้าโลก ซึ่งจะช่วยยกระดับความตกลงให้มีมาตรฐานที่สูงและเป็นสากลมากขึ้น
ที่มา: ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา (นายกรัฐมนตรี) วันที่ 17 กันยายน 2562
******************************************
กด Like - Share เพจ Corehoon-Power Time เพื่อติดตามเคล็ดลับ ข่าวสาร เทรนด์ และบทวิเคราะห์ดีๆ อัพเดตทุกวัน คัดสรรมาเพื่อท่านนักลงทุนโดยเฉพาะ
Click Donate Support Web