(ร่าง) นโยบายและยุทธศาสตร์การอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม พ.ศ. 2563-2570 และแผนด้านวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม พ.ศ. 2563 – 2565
- Details
- Category: มติ ครม.
- Published: Saturday, 07 September 2019 13:39
- Hits: 6372
(ร่าง) นโยบายและยุทธศาสตร์การอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม พ.ศ. 2563-2570 และแผนด้านวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม พ.ศ. 2563 – 2565
เรื่อง (ร่าง) นโยบายและยุทธศาสตร์การอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม พ.ศ. 2563-2570 และแผนด้านวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม พ.ศ. 2563 – 2565 กรอบวงเงินงบประมาณ ด้านวิทยาศาสตร์ วิจัย และนวัตกรรมของประเทศ ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2563 และระบบการจัดสรรและบริหารงบประมาณแบบบูรณาการที่มุ่งผลสัมฤทธิ์
คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบและอนุมัติตามที่สภานโยบายการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรมแห่งชาติเสนอ ดังนี้
1. เห็นชอบให้สภานโยบายการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรมแห่งชาติ ได้รับยกเว้นการดำเนินการตามมติคณะรัฐมนตรี เมื่อวันที่ 6 ธันวาคม 2560 เรื่อง แนวทางการเสนอแผนเข้าสู่ การพิจารณาของคณะรัฐมนตรี
2. อนุมัติหลักการ (ร่าง) นโยบายและยุทธศาสตร์การอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม พ.ศ. 2563-2570 และแผนด้านวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม พ.ศ. 2563 – 2565 และให้ส่งสำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ พิจารณาในรายละเอียดต่อไป
สาระสำคัญ
(ร่าง) นโยบายและยุทธศาสตร์การอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม พ.ศ. 2563 – 2570 และแผนด้านวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม พ.ศ. 2563 – 2565 ได้กำหนดเป้าหมายเพื่อการพัฒนาใน 4 มิติ ได้แก่ 1) ความสามารถการแข่งขัน 2) การลดความเหลื่อมล้ำ 3) การพัฒนาอย่างยั่งยืนและสิ่งแวดล้อม และ 4) การสร้างคนและองค์ความรู้ โดยมีกลไกขับเคลื่อนผ่าน 4 แพลตฟอร์ม และ 16 โปรแกรม ประกอบด้วย
1. แพลตฟอร์มที่ 1 การพัฒนากำลังคนและสถาบันความรู้
1) สร้างระบบผลิตและพัฒนากำลังคนให้มีคุณภาพ
2) ผลิตกำลังคนระดับสูงรองรับระเบียงเศรษฐกิจพิเศษภาคตะวันออก (Eastern Economic Corridor)
3) ส่งเสริมการเรียนรู้ตลอดชีวิตและพัฒนาทักษะเพื่ออนาคต
4) ส่งเสริมปัญญาประดิษฐ์เป็นฐานขับเคลื่อนประเทศในอนาคต (AI for All)
5) ส่งเสริมการวิจัยขั้นแนวหน้า และการวิจัยพื้นฐานที่ประเทศไทยมีศักยภาพ
6) พัฒนาโครงสร้างพื้นฐานทางวิทยาศาสตร์ที่สำคัญ
2. แพลตฟอร์มที่ 2 การวิจัยและสร้างนวัตกรรมเพื่อตอบโจทย์ท้าทายของสังคม
7) โจทย์ท้าทายด้านทรัพยากร สิ่งแวดล้อม และการเกษตร
8) สังคมสูงวัย
9) สังคมคุณภาพและความมั่นคง
3. แพลตฟอร์มที่ 3 การวิจัยและสร้างนวัตกรรมเพื่อเพิ่มขีดความสามารถการแข่งขัน
10) ยกระดับความสามารถการแข่งขันและวางรากฐานทางเศรษฐกิจ
11) พัฒนาระบบนิเวศนวัตกรรม และเขตเศรษฐกิจนวัตกรรม
12) โครงสร้างพื้นฐานทางคุณภาพและบริการ
4. แพลตฟอร์มที่ 4 การวิจัยและสร้างนวัตกรรมเพื่อการพัฒนาเชิงพื้นที่และลดความเหลื่อมล้ำ
13) นวัตกรรมสำหรับเศรษฐกิจฐานรากและชุมชนนวัตกรรม
14) ขจัดความยากจนแบบเบ็ดเสร็จและแม่นยำ
15) เมืองน่าอยู่ (Smart/Livable City)
รวมถึงโปรแกรมที่ 16 การปฏิรูประบบการพัฒนาด้านการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนัวตกรรม (อววน.) ซึ่งเป็นประเด็นคาบเกี่ยว (Coss Cutting) ของทั้ง 4 แพลตฟอร์ม
ที่มา: ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา (นายกรัฐมนตรี) วันที่ 27 สิงหาคม 2562
Click Donate Support Web