WORLD7

smed PIONEER 720x100ใจฟู720x100pxgpf 720x100 66

รายงานผลการจัดระดับประเทศไทยในรายงานการค้ามนุษย์ของสหรัฐอเมริกาประจำปี 2562 (พม.)

GVO รายงานผลการจัดระดับประเทศไทยในรายงานการค้ามนุษย์ของสหรัฐอเมริกาประจำปี 2562 (พม.)

     คณะรัฐมนตรีมีมติรับทราบตามที่กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ (พม.) รายงานว่า กระทรวงการต่างประเทศสหรัฐอเมริกาได้เผยแพร่รายงานการค้ามนุษย์ หรือ Trafficking in Persons Report (TIP Report) ประจำปี 2562 เมื่อวันที่ 20 มิถุนายน 2562 โดยจัดระดับประเทศต่างๆ ทั่วโลก รวม 187 ประเทศ มีสาระสำคัญสรุปได้ ดังนี้

     1. ประเทศไทยยังไม่สามารถขจัดปัญหาการค้ามนุษย์ได้ตามมาตรฐานขั้นต่ำของกฎหมายสหรัฐอเมริกา แต่ได้เพิ่มความพยายามอย่างสำคัญในการแก้ไขปัญหาการค้ามนุษย์โดยรวมมากยิ่งขึ้นเมื่อเทียบกับ ช่วงการรายงานที่ผ่านมา ดังนั้น ประเทศไทยจึงยังคงถูกจัดระดับอยู่ในระดับ 2 (Tier 2) เช่นเดียวกับปี 2561 (ประเทศในอาเซียนที่อยู่ในระดับ Tier 2 คือ สิงคโปร์และอินโดนีเซีย)

    2. การดำเนินงานที่สำคัญของประเทศไทยที่แสดงให้เห็นถึงความพยายามที่เพิ่มขึ้น เช่น การกำหนดบทลงโทษผู้กระทำความผิดฐานค้ามนุษย์อย่างเข้มงวดด้วยการจำคุกเป็นเวลานานและตัดสินลงโทษเจ้าหน้าที่รัฐที่มีส่วนเกี่ยวข้องกับการค้ามนุษย์ด้วยการให้ออกจากราชการ การพัฒนาคู่มือการทำงานต่าง ๆ ร่วมกับหุ้นส่วนใน ภาคประชาสังคม การวางมาตรฐานด้านการฝึกอบรมต่อต้านการค้ามนุษย์ นอกจากนี้ ได้ดำเนินการคัดแยกและ ส่งต่อผู้เสียหายไปยังทีมสหวิชาชีพเป็นครั้งแรก ส่งผลให้สามารถคัดกรองผู้เสียหายจากการค้ามนุษย์ด้านแรงงานได้

     3. ประเทศไทยยังไม่สามารถบรรลุมาตรฐานขั้นต่ำในหลายประเด็นที่สำคัญ เช่น การดำเนินคดีและตัดสินลงโทษผู้ค้ามนุษย์มีจำนวนลดลง และสามารถไต่สวนคดีค้ามนุษย์ด้านแรงงานได้เพียง 43 คดี รัฐบาลจำกัด การเดินทางและช่องทางการสื่อสารของผู้เสียหายจากการค้ามนุษย์ที่อยู่ในสถานคุ้มครองของรัฐ การทุจริตของเจ้าหน้าที่รัฐยังเป็นอุปสรรคต่อความพยายามในการแก้ไขปัญหาการค้ามนุษย์และเจ้าหน้าที่ยังไม่สามารถคัดแยกคดีค้ามนุษย์อย่างได้มาตรฐาน สม่ำเสมอ โดยเฉพาะอย่างยิ่งกรณีการค้ามนุษย์ด้านแรงงาน ดังนั้น กระทรวงการต่างประเทศสหรัฐอเมริกาจึงได้มีข้อเสนอแนะนำที่สำคัญ เช่น พัฒนาศักยภาพของผู้บังคับใช้กฎหมายเพื่อดำเนินการเชิงรุกในการดำเนินคดีและตัดสินโทษผู้ค้ามนุษย์ด้านแรงงาน และการคัดแยกผู้เสียหายจากการค้ามนุษย์ด้านแรงงาน สอบสวน

      และดำเนินคดีในเชิงรุกกับเจ้าหน้าที่รัฐที่มีส่วนเกี่ยวข้องกับการค้ามนุษย์รวมทั้งตัดสินและลงโทษผู้กระทำความผิดด้วยบทลงโทษที่เด็ดขาด สร้างความเชื่อมั่นว่าสถานคุ้มครองของรัฐและองค์การนอกภาครัฐจะดูแลผู้เสียหายโดยคำนึงถึงผลกระทบจากบาดแผลทางจิตใจอย่างเหมาะสม รวมถึงการให้ความช่วยเหลือด้านกฎหมายและ การเยียวยาสภาพจิตใจ ทั้งนี้ พม. จะได้จัดประชุมคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการค้ามนุษย์เพื่อพิจารณาข้อแนะนำที่สำคัญดังกล่าวและมอบเจ้าภาพหลักรับผิดชอบในแต่ละประเด็น และใช้ในการติดตามผลการขับเคลื่อนการดำเนินงานของทุกหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง รวมทั้งใช้เป็นกรอบในการจัดทำรายงานของประเทศไทยในปีต่อไป

       ประชุมคณะรัฐมนตรี พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา (นายกรัฐมนตรี) วันที่ 9 กรกฎาคม 2562

Click Donate Support Web

ais 790x90

GC 950x120

sme 720x90

banpu 720x90 new1 1

apm

 

 

Facebook

5 ข่าวฮอตนิวส์!