WORLD7

smed PIONEER 720x100ใจฟู720x100pxgpf 720x100 66

ข้อเสนอการปรับปรุงอัตราและหลักเกณฑ์การจ่ายค่าตอบแทนรายเดือนและเบี้ยประชุมกรรมการรัฐวิสาหกิจและกรรมการอื่นในคณะกรรมการชุดย่อย คณะอนุกรรมการ หรือคณะทำงานอื่น

GOV9ข้อเสนอการปรับปรุงอัตราและหลักเกณฑ์การจ่ายค่าตอบแทนรายเดือนและเบี้ยประชุมกรรมการรัฐวิสาหกิจและกรรมการอื่นในคณะกรรมการชุดย่อย คณะอนุกรรมการ หรือคณะทำงานอื่น

        เรื่อง ข้อเสนอการปรับปรุงอัตราและหลักเกณฑ์การจ่ายค่าตอบแทนรายเดือนและเบี้ยประชุมกรรมการรัฐวิสาหกิจและกรรมการอื่นในคณะกรรมการชุดย่อย คณะอนุกรรมการ หรือคณะทำงานอื่น

 

คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบตามที่กระทรวงการคลัง (กค.) เสนอดังนี้

       1. เห็นชอบร่างอัตราและหลักเกณฑ์การจ่ายค่าตอบแทนรายเดือนและเบี้ยประชุมกรรมการรัฐวิสาหกิจ และกรรมการอื่นในคณะกรรมการชุดย่อย คณะอนุกรรมการ หรือคณะทำงานอื่น (ร่างอัตราและหลักเกณฑ์) เพื่อให้ กค. ดำเนินการแจ้งเวียน และสร้างความรู้ความเข้าใจให้กับรัฐวิสาหกิจเพื่อถือปฏิบัติต่อไป โดยให้รัฐวิสาหกิจปฏิบัติตามร่างอัตราและหลักเกณฑ์ฯ

        2. ยกเลิกมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 2 กรกฎาคม 2556 เรื่อง ผลการประชุมของคณะกรรมการกำกับนโยบายด้านรัฐวิสาหกิจ (กนร.) ในคราวประชุมครั้งที่ 4/2556 เมื่อวันที่ 17 มิถุนายน 2556 ในส่วนของอัตราและหลักเกณฑ์การจ่ายค่าตอบแทนและเบี้ยประชุมกรรมการรัฐวิสาหกิจ

 

สาระสำคัญของเรื่อง

กค. รายงานว่า

1. ปัจจุบันกรรมการรัฐวิสาหกิจได้รับค่าตอบแทนรายเดือนและเบี้ยประชุมตามมติคณะรัฐมนตรี เมื่อวันที่ 2 กรกฎาคม 2556 โดยมีสิทธิได้รับค่าตอบแทนใน 3 ส่วนด้วยกัน ซึ่งประกอบด้วย

(1) ค่าตอบแทนรายเดือนซึ่งมีวัตถุประสงค์เพื่อตอบแทนการได้รับแต่งตั้งเป็นกรรมการรัฐวิสาหกิจ

(2) เบี้ยประชุมกรรมการรัฐวิสาหกิจซึ่งมีวัตถุประสงค์เพื่อตอบแทนการเข้าร่วมและการปฏิบัติหน้าที่ในการประชุมกรรมการรัฐวิสาหกิจและ

(3) โบนัสในฐานะกรรมการซึ่งเป็นการตอบแทนการทำหน้าที่เป็นกรรมการ (หลักเกณฑ์การจัดสรรโบนัสให้กับกรรมการ ให้รัฐวิสาหกิจไปถือปฏิบัติตามกฎ ระเบียบ และมติคณะรัฐมนตรีที่เกี่ยวข้อง) อย่างไรก็ดี การใช้อัตราและหลักเกณฑ์การจ่ายค่าตอบแทนดังกล่าวปรากฏข้อจำกัดบางประการจนเป็นเหตุให้มีข้อหารือจากรัฐวิสาหกิจอย่างต่อเนื่อง เช่น การบังคับใช้มติคณะรัฐมนตรีกับบริษัทลูกของรัฐวิสาหกิจ เป็นต้น ประกอบกับปัจจุบันมีรัฐวิสาหกิจหลายแห่งที่ต้องปรับเปลี่ยนหรือเพิ่มบทบาทในการจัดทำบริการสาธารณะตามภารกิจหน้าที่ และ ตามนโยบายของรัฐบาล หรือดำเนินกิจการในอุตสาหกรรมที่สภาพการแข่งขันมีความเปลี่ยนแปลงและความเข้มข้นมากขึ้น รวมทั้งมีรัฐวิสาหกิจที่อยู่ในระหว่างการฟื้นฟูกิจการ จึงจำเป็นต้องอาศัยความรู้ความสามารถของกรรมการรัฐวิสาหกิจในการกำกับดูแลกิจการเป็นพิเศษอย่างใกล้ชิด ซึ่งอัตราค่าตอบแทนและเบี้ยประชุมกรรมการรัฐวิสาหกิจในปัจจุบันยังไม่สามารถดึงดูดบุคคลที่มีความรู้ความสามารถจากภาคเอกชนได้ ดังนั้น กค. (สคร.) จึงได้ดำเนินการจัดทำข้อเสนอการปรับปรุงอัตราและหลักเกณฑ์การจ่ายค่าตอบแทนรายเดือนและเบี้ยประชุมกรรมการรัฐวิสาหกิจและกรรมการอื่นในคณะกรรมการชุดย่อย คณะอนุกรรมการ หรือคณะทำงานอื่น ให้ชัดเจนและสอดคล้องเหมาะสมกับบทบาทหน้าที่และความรับผิดชอบของคณะกรรมการรัฐวิสาหกิจ โดย คนร. ในคราวประชุม ครั้งที่ 1/2562 เมื่อวันที่ 17 มกราคม 2562 มีมติเห็นชอบร่างอัตราและหลักเกณฑ์ฯ ตามที่ กค. (สคร.) เสนอ

2. ร่างอัตราและหลักเกณฑ์ดังกล่าว (ตามข้อ 1) ใช้บังคับรัฐวิสาหกิจทุกแห่ง (รัฐวิสาหกิจภายใต้ การกำกับดูแลของ กค. และกระทรวงเจ้าสังกัดโดยตรง ทั้งที่ได้เคยรับยกเว้นการปฏิบัติตามมติคณะรัฐมนตรีในอดีตหรือที่จัดตั้งขึ้นก่อนหรือหลังอัตราและหลักเกณฑ์ดังกล่าวที่มีผลใช้บังคับ) และให้มีผลใช้บังคับในเดือนถัดไปหลังจากวันที่คณะรัฐมนตรีได้มีมติเห็นชอบ รวมทั้งให้ กค. กำกับดูแลรัฐวิสาหกิจประเภทบริษัทให้ถือปฏิบัติตามหลักเกณฑ์นี้ตามสิทธิของผู้ถือหุ้น

2.1 รายชื่อรัฐวิสาหกิจที่แบ่งกลุ่มสำหรับการจ่ายค่าตอบแทนรายเดือนและเบี้ยประชุมกรรมการ

 

กลุ่ม 1 รัฐวิสาหกิจที่จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ฯ

1. ธนาคารกรุงไทย จำกัด (มหาชน)

2. บริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน)

3. บริษัท การบินไทย จำกัด (มหาชน)**

4. บริษัท ท่าอากาศยานไทย จำกัด (มหาชน)

5. บริษัท อสมท จำกัด มหาชน

กลุ่ม 2 รัฐวิสาหกิจประเภทสถาบันการเงิน

1. ธนาคารออมสิน

2. ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร

3. ธนาคารอาคารสงเคราะห์

4. ธนาคารพัฒนาวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมแห่งประเทศไทย

5. ธนาคารเพื่อการส่งออกและนำเข้าแห่งประเทศไทย

6. บรรษัทประกันสินเชื่ออุตสาหกรรมขนาดย่อม

7. บรรษัทตลาดรองสินเชื่อที่อยู่อาศัย

8. ธนาคารอิสลามแห่งประเทศไทย*

 

กลุ่ม 3 รัฐวิสาหกิจขนาดใหญ่

1. การไฟฟ้าส่วนภูมิภาค

2. การไฟฟ้านครหลวง

3. การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย

4. บริษัท ทีโอที จำกัด (มหาชน)**

5. บริษัท กสท โทรคมนาคม จำกัด (มหาชน)**

6. การประปาส่วนภูมิภาค

7. การประปานครหลวง

8. การรถไฟแห่งประเทศไทย**

9. องค์การเภสัชกรรม

10. การเคหะแห่งชาติ

11. การรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งปรเทศไทย

12. การทางพิเศษแห่งประเทศไทย

13. การท่าเรือแห่งประเทศไทย

14. การยาสูบแห่งประเทศไทย

15. บริษัท วิทยุการบินแห่งประเทศไทย จำกัด

16. บริษัท ไปรษณีย์ไทย จำกัด

17. การนิคมอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย

18. การยางแห่งประเทศไทย*

 

กลุ่ม 4 รัฐวิสาหกิจขนาดกลาง

1. สำนักงานสลากกินแบ่งรัฐบาล

2. การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย

3. บริษัท ขนส่ง จำกัด

4. องค์การขนส่งมวลชนกรุงเทพ**

5. องค์การส่งเสริมกิจการโคนมแห่งประเทศไทย

6. องค์การตลาดเพื่อเกษตรกร

7. สถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งประเทศไทย

8. การกีฬาแห่งประเทศไทย

9. องค์การอุตสาหกรรมป่าไม้

10. สำนักงานธนานุเคราะห์กรมพัฒนาสังคมและสวัสดิการ

11. องค์การสุรา กรมสรรพสามิต

12. องค์การพิพิธภัณฑ์วิทยาศาสตร์แห่งชาติ

13. องค์การคลังสินค้า

14. บริษัท ธนารักษ์พัฒนาสินทรัพย์ จำกัด*

 

กลุ่ม 5 รัฐวิสาหกิจขนาดเล็ก

1. บริษัทอู่กรุงเทพ กำกัด

2. องค์การสวนสัตว์

3. องค์การจัดการน้ำเสีย

4. องค์การสะพานปลา

5. องค์การตลาด

6. สถาบันการบินพลเรือน

7. โรงพิมพ์ตำรวจ สำนักงานตำรวจแห่งชาติ

8. องค์การสวนพฤกษศาสตร์

9. โรงงานไพ่ กรมสรรพสามิต

10. บริษัท สหโรงแรมไทยและการท่องเที่ยว จำกัด*

11. บริษัทบริหารสินทรัพย์ ธนาคารอิสลาม แห่งประเทศไทย จำกัด*

*รัฐวิสาหกิจที่ไม่ปรากฏชื่อในมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 2 กรกฎาคม 2556 ได้แก่ บริษัท ธนารักษ์ พัฒนาสินทรัพย์ จำกัด บริษัทบริหารสินทรัพย์ธนาคารอิสลามแห่งประเทศไทย จำกัด การยางแห่งประเทศไทย และธนาคารอิสลามแห่งประเทศไทย

**บริษัท การบินไทย จำกัด (มหาชน) บริษัท ทีโอที จำกัด (มหาชน) บริษัท กสท โทรคมนาคม จำกัด (มหาชน) การรถไฟแห่งประเทศไทย และองค์การขนส่งมวลชนกรุงเทพ ปัจจุบันอยู่ในกลุ่มรัฐวิสาหกิจที่ต้องฟื้นฟูกิจการหรือ อยู่ในแผนการแก้ไขปัญหารัฐวิสาหกิจ (27 กุมภาพันธ์ 2562)

2.2 การจ่ายค่าตอบแทนรายเดือนกรรมการฯ

2.2.1 อัตราค่าตอบแทนรายเดือน

 

กลุ่มรัฐวิสาหกิจ / ค่าตอบแทนรายเดือนฯ ไม่เกิน (บาท/เดือน)

1. รัฐวิสาหกิจที่จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ฯ / เป็นไปตามมติที่ประชุมผู้ถือหุ้น

2. รัฐวิสาหกิจประเภทสถาบันการเงิน / 10,000

3. รัฐวิสาหกิจขนาดใหญ่ / 10,000

4. รัฐวิสาหกิจขนาดกลาง / 8,000

5. รัฐวิสาหกิจขนาดเล็ก / 6,000

2.2.2 ให้รัฐวิสาหกิจจ่ายค่าตอบแทนรายเดือนให้กับผู้ที่ดำรงตำแหน่งกรรมการรัฐวิสาหกิจ ตามสัดส่วนระยะเวลาที่ดำรงตำแหน่งเพื่อเป็นการตอบแทนการดำรงตำแหน่งกรรมการรัฐวิสาหกิจ โดยจ่ายให้ประธานกรรมการรัฐวิสาหกิจในอัตรา 2 เท่าของค่าตอบแทนรายเดือนกรรมการรัฐวิสาหกิจ

2.3 การจ่ายเบี้ยประชุมกรรมการฯ

2.3.1 อัตราค่าเบี้ยประชุม

 

กลุ่มรัฐวิสาหกิจ / เบี้ยประชุมกรรมการฯ ไม่เกิน (บาท/เดือน)

1. รัฐวิสาหกิจที่จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ฯ / เป็นไปตามมติที่ประชุมผู้ถือหุ้น

2. รัฐวิสาหกิจประเภทสถาบันการเงิน / 20,000

3. รัฐวิสาหกิจขนาดใหญ่ / 20,000

4. รัฐวิสาหกิจขนาดกลาง / 16,000

5. รัฐวิสาหกิจขนาดเล็ก / 12,000

2.3.2 ให้รัฐวิสาหกิจจ่ายเบี้ยประชุมให้ประธานในที่ประชุมในอัตราเพิ่มขึ้นร้อยละ 25 ของเบี้ยประชุมกรรมการ

2.3.3 กรณีการประชุมคณะกรรมการชุดย่อย คณะอนุกรรมการ หรือคณะทำงานอื่น ที่แต่งตั้งโดยบทบัญญัติแห่งกฎหมาย ระเบียบ มติคณะรัฐมนตรี หรือคณะกรรมการรัฐวิสาหกิจ ให้รัฐสาหกิจจ่ายเฉพาะเบี้ยประชุมให้กับกรรมการรัฐวิสาหกิจและกรรมการอื่นที่เข้าร่วมประชุมเป็นจำนวนเท่ากัน ในอัตรา 0.5 เท่าของเบี้ยประชุมกรรมการรัฐวิสาหกิจ ตามหลักเกณฑ์ที่กำหนด

2.3.4 กรณีการประชุมคณะกรรมการรัฐวิสาหกิจ ให้รัฐวิสาหกิจจ่ายเบี้ยประชุมกรรมการรัฐวิสาหกิจในคณะกรรมการแต่ละคณะเป็นรายครั้ง เดือนละ 1 ครั้ง ทั้งนี้ ในกรณีมีเหตุสมควร อาจพิจารณาจ่ายเบี้ยประชุมได้เกินกว่า 1 ครั้งต่อเดือน แต่ต้องไม่เกิน 15 ครั้งต่อปี

2.3.5 กรณีการประชุมคณะกรรมการชุดย่อย คณะอนุกรรมการ หรือคณะทำงานอื่นฯ ให้รัฐวิสาหกิจจ่ายเบี้ยประชุมให้กับกรรมการรัฐวิสาหกิจและกรรมการอื่นที่ไม่ใช่บุคลากรของรัฐวิสาหกิจที่เข้าร่วมประชุมเป็นจำนวนเท่ากัน รวมแล้วไม่เกิน 2 คณะ คณะละไม่เกิน 1 ครั้งต่อเดือน เว้นแต่กฎหมาย ระเบียบหรือมติคณะรัฐมนตรี ได้กำหนดอัตราหรือหลักเกณฑ์ในการจ่ายประโยชน์ตอบแทนเป็นอย่างอื่น

2.3.6 หากกรรมการอื่นนั้นเป็นบุคลากรของรัฐวิสาหกิจ และการประชุมนั้นในทางปฏิบัติของรัฐวิสาหกิจถือได้ว่าเป็นการปฏิบัติงานในหน้าที่ของบุคลากรนั้น บุคลากรนั้นไม่ได้รับเบี้ยประชุมเนื่องจากเป็นการปฏิบัติงานในหน้าที่

2.4 กรณีที่รัฐวิสาหกิจประสบปัญหาและต้องอยู่ในแผนการแก้ไขปัญหารัฐวิสาหกิจ ตามมติ คนร. หรือโดยความเห็นชอบของคณะรัฐมนตรีให้รัฐวิสาหกิจจ่ายค่าตอบแทนรายเดือนและเบี้ยประชุมกรรมการรัฐวิสาหกิจ ตามข้อ 2.2 และ 2.3 ทั้งนี้ ในการประชุมคณะกรรมการรัฐวิสาหกิจให้รัฐวิสาหกิจจ่ายเบี้ยประชุมกรรมการรัฐวิสาหกิจเดือนละไม่เกิน 2 ครั้งต่อเดือน และในการประชุมคณะกรรมการชุดย่อย คณะอนุกรรมการ หรือคณะทำงานอื่น ให้รัฐวิสาหกิจจ่ายเบี้ยประชุมกรรมการ รวมแล้วไม่เกิน 2 คณะ คณะละไม่เกิน 2 ครั้งต่อเดือน เมื่อ คนร. หรือคณะรัฐมนตรี หรือ คนร. โดยความเห็นชอบของคณะรัฐมนตรี แล้วแต่กรณี มีมติให้รัฐวิสาหกิจพ้นจากแผนการแก้ไขปัญหารัฐวิสาหกิจแล้วให้รัฐวิสาหกิจจ่ายค่าตอบแทนรายเดือนและเบี้ยประชุมกรรมการตามหลักเกณฑ์ในข้อ 2.2 และ 2.3 ในเดือนถัดไปนับจากวันที่ได้มีมติ

2.5 กรณีบริษัทลูกหรือบริษัทในเครือของรัฐวิสาหกิจ ให้รัฐวิสาหกิจพิจารณาอัตราและหลักเกณฑ์การจ่ายค่าตอบแทนรายเดือนและเบี้ยประชุมนี้

2.6 กรณีรัฐวิสาหกิจที่จัดตั้งขึ้นใหม่เป็นการเฉพาะโดยกฎหมายหรือจัดตั้งเป็นบริษัทซึ่ง กค. ถือหุ้นเกินกว่าร้อยละ 50 ให้ กค. กำหนดกลุ่มให้กับรัฐวิสาหกิจเพื่อให้รัฐวิสาหกิจถือปฏิบัติตามอัตราและหลักเกณฑ์ดังกล่าวนี้

2.7 หากรัฐวิสาหกิจแห่งใดจะไม่ถือปฏิบัติตามหลักเกณฑ์นี้หรือจะเปลี่ยน กลุ่มรัฐวิสาหกิจจากที่กำหนดไว้ จะต้องขอความเห็นชอบจาก กค. หรือต้องดำเนินการตามหลักเกณฑ์การเปลี่ยนกลุ่มรัฐวิสาหกิจตามที่ กค. กำหนด แล้วแต่กรณี ก่อนดำเนินการตามกฎหมายจัดตั้งรัฐวิสาหกิจหรือกฎหมายที่เกี่ยวข้องต่อไป

2.8 อัตราข้างต้นเป็นอัตราขั้นสูงสุดในการพิจารณากำหนดและปรับปรุงค่าตอบแทนรายเดือนและเบี้ยประชุมคณะกรรมการรัฐวิสาหกิจฯ ซึ่งรัฐวิสาหกิจแต่ละแห่งจะต้องพิจารณาถึงฐานะการเงินและความสามารถในการจ่ายขององค์กรเป็นหลักโดยเฉพาะอย่างยิ่งรัฐวิสาหกิจที่ใช้เงินงบประมาณ ขอให้พิจารณาถึงความเหมาะสมของภาระของงบประมาณประกอบด้วย เพื่อมิให้มีผลกระทบต่อฐานะการเงินขององค์กร ทั้งนี้ การพิจารณากำหนดและปรับปรุงค่าตอบแทนรายเดือนและเบี้ยประชุมตามอัตราและหลักเกณฑ์นี้จะไม่มีผลใช้บังคับจนกว่าจะได้ดำเนินการที่จำเป็นตามกฎหมายที่เกี่ยวข้องแล้ว

2.9 กรณีมีปัญหาการตีความการใช้บังคับอัตราและหลักเกณฑ์นี้ให้รัฐวิสาหกิจเสนอเรื่องมายัง กค. เพื่อวินิจฉัยชี้ขาด

        ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา (นายกรัฐมนตรี) วันที่ 24 เมษายน 2562

Click Donate Support Web

ais 790x90

GC 950x120

sme 720x90

banpu 720x90 new1 1

apm

 

 

Facebook

5 ข่าวฮอตนิวส์!