WORLD7

smed PIONEER 720x100ใจฟู720x100pxgpf 720x100 66

ขอความเห็นชอบโครงการนำเรือประมงออกนอกระบบเพื่อการจัดการทรัพยากรประมงทะเลที่ยั่งยืน ระยะที่ 1 (ระยะเร่งด่วน)

GOV2 copyขอความเห็นชอบโครงการนำเรือประมงออกนอกระบบเพื่อการจัดการทรัพยากรประมงทะเลที่ยั่งยืน ระยะที่ 1 (ระยะเร่งด่วน)

     เรื่อง ขอความเห็นชอบโครงการนำเรือประมงออกนอกระบบเพื่อการจัดการทรัพยากรประมงทะเลที่ยั่งยืน ระยะที่ 1 (ระยะเร่งด่วน) การชดเชยเยียวยาเจ้าของเรือที่ได้รับผลกระทบจากมาตรการของรัฐ ปี 2558

      คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบและอนุมัติตามที่กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ (กษ.) เสนอ ดังนี้

       1. เห็นชอบโครงการนำเรือประมงออกนอกระบบเพื่อการจัดการทรัพยากรประมงทะเลที่ยั่งยืน ระยะที่ 1 (ระยะเร่งด่วน) การชดเชยเยียวยาเจ้าของเรือที่ได้รับผลกระทบจากมาตรการของรัฐ ปี 2558 เพื่อเป็นเงินค่าชดเชยเรือประมง จำนวน 305 ลำ กรอบวงเงิน 764.454 ล้านบาท

       2. อนุมัติงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2562 งบกลาง รายการเงินสำรองจ่ายเพื่อกรณีฉุกเฉินหรือจำเป็น เพื่อเป็นเงินค่าชดเชยเรือประมง จำนวน 252 ลำ กรอบวงเงิน 469.604 ล้านบาท

 

สาระสำคัญของเรื่อง

       1. กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ (กรมประมง) เสนอคณะรัฐมนตรีพิจารณาให้ความเห็นชอบโครงการนำเรือประมงออกนอกระบบเพื่อการจัดการทรัพยากรประมงทะเลที่ยั่งยืน ระยะที่ 1 (ระยะเร่งด่วน) การชดเชยเยียวยาเจ้าของเรือที่ได้รับผลกระทบจากมาตรการของรัฐ ปี 2558 รวมจำนวน 305 ลำ กรอบวงเงินชดเชย 764.454 ล้านบาท โดยในปี 2562 จะขออนุมัติงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2562 งบกลาง รายการเงินสำรองจ่ายเพื่อกรณีฉุกเฉินหรือจำเป็น เพื่อเป็นเงินค่าชดเชยเรือประมงจำนวน 252 ลำ กรอบวงเงิน 469.604 ล้านบาท สำหรับค่าชดเชยเรือประมงส่วนที่เหลือ 53 ลำ จะเสนอขอตั้งงบประมาณรายจ่ายประจำปี 2563 ต่อไป

       2. โดยที่ประเทศไทยมีปัญหาการทำประมงผิดกฎหมายและได้รับการเตือนจากสหภาพยุโรปให้มีมาตรการในการป้องกัน ยับยั้ง และขจัดการทำการประมงผิดกฎหมาย ขาดการรายงาน และไร้การควบคุม (Illegal, Unreported and Unregulated Fishing : IUU Fishing) ซึ่งต่อมาหัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติได้มีคำสั่งเกี่ยวกับการแก้ไขปัญหาการทำการประมงผิดกฎหมาย จำนวน 4 ฉบับ เพื่อเร่งแก้ไขปัญหาให้การทำการประมงสามารถดำเนินการได้อย่างยั่งยืนและเป็นระบบ ส่งผลให้มีผลกระทบต่อผู้ประกอบการประมงที่จะต้องดำเนินการตามคำสั่งดังกล่าว

       ได้แก่ แจ้งจุดจอดเรือ ตรึงพังงา ทำสัญลักษณ์ แจ้งงดใช้เรือและทำอัตลักษณ์เรือตามที่กรมเจ้าท่ากำหนด และยังทำให้มีเรือประมงที่ไม่สามารถออกทำการประมง ต่อมาคณะกรรมการขับเคลื่อนและปฏิรูปการบริหารราชการแผ่นดิน คณะที่ 5ฯ ได้แต่งตั้งคณะอนุกรรมการกลั่นกรองการนำเรือประมงออกนอกระบบ เพื่อการบริหารจัดการทรัพยากรประมงทะเลที่ยั่งยืน โดยได้เห็นชอบโครงการนำเรือประมงออกนอกระบบเพื่อการจัดการทรัพยากรประมงทะเลที่ยั่งยืน ระยะที่ 1 (ระยะเร่งด่วน) การชดเชยเยียวยาเจ้าของเรือที่ได้รับผลกระทบจากมาตรการของรัฐ ปี 2558 รายละเอียดโครงการ สรุปได้ ดังนี้

 

วัตถุประสงค์

       ชดเชยเยียวยา และบรรเทาผลกระทบให้กับเจ้าของเรือประมงจากมาตรการแก้ไขปัญหาการทำประมงผิดกฎหมายของภาครัฐ

 

เป้าหมาย

               เจ้าของเรือและเรือประมง รวม 305 ลำ ที่เป็นกลุ่มเรือที่ได้รับผลกระทบจากมาตรการของรัฐที่ไม่สามารถออกทำการประมง และให้ความร่วมมือกับภาครัฐ โดยไม่ขอใบอนุญาตทำการประมงเป็นเหตุให้มีสัตว์น้ำเพื่อใช้ในการบริหารจัดการทรัพยากร และจัดอยู่ในกลุ่มที่ไม่พบการกระทำความผิด (กลุ่มขาว)

คุณสมบัติของเรือประมงที่ได้รับเงินค่าชดเชย

               (1) เป็นเรือประมงที่ได้รับผลกระทบจากคำสั่งหัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติและมาตรการของรัฐในการแก้ไขปัญหาการทำประมงผิดกฎหมาย ระยะที่ 1 (ระยะเร่งด่วน) ทั้งนี้ ต้องเป็นเรือและเจ้าของเรือที่ไม่เคยกระทำผิดกฎหมายว่าด้วยการประมง กฎหมายเจ้าท่า และกฎหมายแรงงานมาก่อน

               (2) เป็นเรือประมงตามบัญชีรายชื่อที่ผ่านการพิจารณาจากคณะทำงานตรวจสอบฯ

               (3) เป็นเรือประมงตามบัญชีรายชื่อที่ผ่านการประเมินราคาสภาพความเป็นจริงรายลำจากคณะทำงานประเมินราคาตามสภาพเรือประมง

               (4) เป็นเรือประมงที่อยู่ในบัญชีรายชื่อพร้อมราคาชดเชยซึ่งได้ผ่านการเห็นชอบของรองนายกรัฐมนตรี (พลเอก ฉัตรชัย สาริกัลยะ)

               (5) ในกรณีที่มีการตรวจพบในภายหลังว่าผู้ที่จะได้รับการเยียวยา มีคุณสมบัติต่าง ๆ ไม่ถูกต้องตามหลักเกณฑ์ข้อ (1) – (4) ให้ถือว่าบุคคลนั้นไม่มีสิทธิได้รับค่าชดเชยของเรือลำนั้นๆ

 

งบประมาณที่รัฐจะชดเชยและแหล่งงบประมาณ764.454 ล้านบาท

[ราคาที่รัฐจะชดเชย = ร้อยละ 50 [ขนาดเรือ (ตันกรอส) x ร้อยละคะแนนความสมบูรณ์ของโครงสร้างเรือ x ราคากลางต่อตันกรอส]

        โดยในปีที่ 1 (มีนาคม – กันยายน 2562) จะชดเชยให้กับจำนวนเรือ 252 ลำ คิดเป็นงบประมาณ 469.604 ล้านบาท โดยเบิกจ่ายจากงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2562 งบกลาง รายการเงินสำรองจ่ายเพื่อกรณีฉุกเฉินหรือจำเป็น

       และในปีที่ 2 (ตุลาคม 2562-กันยายน 2563) จะชดเชยให้กับจำนวนเรือ 53 ลำ คิดเป็นงบประมาณ 294.850 ล้านบาท โดยบรรจุไว้ในคำของบประมาณรายจ่ายประจำปี 2563 ทั้งนี้ หากไม่ได้รับการสนับสนุนงบประมาณ จะดำเนินการขอรับการสนับสนุนงบกลางประจำปี 2563

 

การจ่ายเงินค่าชดเชย

แบ่งการจ่ายเงินออกเป็น 2 งวด ดังนี้

      งวดที่ 1 จำนวนร้อยละ 30 ของจำนวนเงินค่าชดเชย เพื่อเป็นค่าใช้จ่ายในการแยกชิ้นส่วนหรือทำลายเรือประมง

      งวดที่ 2 จำนวนร้อยละ 70 ของจำนวนเงินค่าชดเชย หลังจากเจ้าของเรือประมงได้ดำเนินการแยกชิ้นส่วนหรือทำลายเรือประมงเรียบร้อยแล้ว

      โดยกำหนดเงื่อนไขในการขอรับค่าชดเชยว่า ผู้ที่ได้รับค่าชดเชยจะไม่ไปประกอบอาชีพประมงหรืออื่น ๆ ที่ผิดกฎหมายต่อไปด้วย

      ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา (นายกรัฐมนตรี) วันที่ 5 มีนาคม 2562

Click Donate Support Web

ais 790x90

GC 950x120

sme 720x90SIAM790x90

apm

 

 

Facebook

5 ข่าวฮอตนิวส์!