WORLD7

smed PIONEER 720x100ใจฟู720x100pxgpf 720x100 66

ขออนุมัติดำเนินโครงการระบบรถไฟชานเมือง (สายสีแดง) ช่วงตลิ่งชัน - ศาลายา และสถานีเพิ่มเติม 3 สถานี

GOV2 copyขออนุมัติดำเนินโครงการระบบรถไฟชานเมือง (สายสีแดง) ช่วงตลิ่งชัน - ศาลายา และสถานีเพิ่มเติม 3 สถานี

      เรื่อง ขออนุมัติดำเนินโครงการระบบรถไฟชานเมือง (สายสีแดง) ช่วงตลิ่งชัน - ศาลายา และสถานีเพิ่มเติม 3 สถานี (สถานีพระราม 6 สถานีบางกรวย - กฟผ. และสถานีบ้านฉิมพลี) และช่วงรังสิต – มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ศูนย์รังสิต

      คณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติตามที่กระทรวงคมนาคม (คค.) เสนอให้การรถไฟแห่งประเทศไทย (รฟท.) ดำเนินโครงการระบบรถไฟชานเมือง (สายสีแดง) รวม 2 โครงการ ดังนี้

               1. โครงการระบบรถไฟชานเมือง (สายสีแดง) ช่วงตลิ่งชัน - ศาลายา และสถานีเพิ่มเติม 3 สถานี

               1.1 อนุมัติให้ รฟท. ดำเนินโครงการระบบรถไฟชานเมือง (สายสีแดง) ช่วงตลิ่งชัน - ศาลายา และสถานีเพิ่มเติม 3 สถานี ได้แก่ สถานีพระราม 6 สถานีบางกรวย - การไฟฟ้าฝ่ายผลิต (กฟผ.) และสถานีบ้านฉิมพลี ในกรอบวงเงิน 10,202.18 ล้านบาท (รวมภาษีมูลค่าเพิ่มร้อยละ 7) ระยะเวลาดำเนินการ 5 ปี โดยดำเนินการประกวดราคาจ้างก่อสร้างด้วยวิธีการทางอิเล็กทรอนิกส์ (e – Auction) ตามระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยการพัสดุด้วยวิธีการทางอิเล็กทรอนิกส์ พ.ศ. 2549 หรือด้วยวิธีการทางอิเล็กทรอนิกส์ (e – bidding) หรือที่ประกาศใช้ล่าสุด

               1.2 ให้รัฐบาลรับภาระค่าใช้จ่ายในการดำเนินโครงการทั้งสิ้น โดยให้สำนักงบประมาณ (สงป.) จัดสรรงบประมาณรายปี และหรือกระทรวงการคลัง (กค.) จัดหาแหล่งเงินกู้และค้ำประกันเงินกู้ภายในประเทศให้ตามความเหมาะสม เพื่อเป็นค่าใช้จ่ายในการดำเนินโครงการ ทั้งนี้ ให้ รฟท. กู้เงินได้ตามพระราชบัญญัติการรถไฟแห่งประเทศไทย พ.ศ. 2494 มาตรา 39 (4)

               2. โครงการระบบรถไฟชานเมืองสายสีแดงเข้ม ช่วงรังสิต-มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ (มธ.) ศูนย์รังสิต

               2.1 อนุมัติให้ รฟท. ดำเนินโครงการระบบรถไฟชานเมืองสายสีแดงเข้ม ช่วงรังสิต - มธ. ศูนย์รังสิต ในกรอบวงเงิน 6,570.40 ล้านบาท (รวมภาษีมูลค่าเพิ่ม ร้อยละ 7) ระยะเวลาดำเนินการ 5 ปี โดยดำเนินการประกวดราคาจ้างก่อสร้างด้วยวิธีการทางอิเล็กทรอนิกส์ (e – Auction) ตามระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยการพัสดุด้วยวิธีการทางอิเล็กทรอนิกส์ พ.ศ. 2549 หรือด้วยวิธีการทางอิเล็กทรอนิกส์ (e – bidding) หรือที่ประกาศใช้ล่าสุด

               2.2 ให้รัฐบาลรับภาระค่าใช้จ่ายในการดำเนินโครงการทั้งสิ้น โดยให้ สงป. จัดสรรงบประมาณรายปี หรือ กค. จัดหาแหล่งเงินกู้และค้ำประกันเงินกู้ภายในประเทศให้ตามความเหมาะสม เพื่อเป็นค่าใช้จ่ายในการดำเนินโครงการ ทั้งนี้ ให้ รฟท. กู้เงินได้ตามพระราชบัญญัติการรถไฟแห่งประเทศไทย พ.ศ. 2494 มาตรา 39 (4)

               2.3 อนุมัติหลักการร่างพระราชกฤษฎีกากำหนดเขตที่ดินในบริเวณที่ที่จะเวนคืนโครงการระบบรถไฟชานเมืองสายสีแดงเข้ม ช่วงรังสิต - มธ. ศูนย์รังสิต ตามที่ คค. เสนอและให้ส่งสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาตรวจพิจารณาแล้วดำเนินการต่อไปได้   

  โดยในส่วนของกรอบวงเงินโครงการและการรับภาระค่าใช้จ่ายของทั้ง 2 โครงการ ให้เป็นไปตามความเห็นของกระทรวงคลัง (กค.) และสำนักงบประมาณ (สงป.) ซึ่งมีความเห็นสอดคล้องกัน ดังนี้

 

หน่วย : ล้านบาท

รายการ (1. ตลิ่งชั่น –ศาลายา / 2. รังสิต – มธ. ศูนย์รังสิต)

1. กรอบวงเงินโครงการฯ แบ่งเป็น 10,202.18 / 6,570.40

1.1 รัฐบาล รับภาระค่างานก่อสร้างโครงสร้างพื้นฐาน แบ่งเป็น 7,670.82 / 4,373.23

1.1.1. สงป. จัดสรรงบฯ ประจำปี เพื่อเป็นค่าใช้จ่าย ดังนี้

- เวนคืนที่ดิน 10 / 310

- ค่าจ้างที่ปรึกษาประกวดราคา

- ค่าจ้างที่ปรึกษาช่วยเวนคืนที่ดิน         -         295

1.1.2 กค. จัดหาแหล่งเงินกู้ให้ การรถไฟแห่งประเทศไทย (รฟท.) กู้ต่อ โดย สงป. จัดสรรงบฯ ให้ รฟท. ชำระเงินกู้ เพื่อเป็นค่าใช้จ่าย ดังนี้ 10 / 10

- ค่าก่อสร้างงานโยธา - / 5

- ค่าจ้างที่ปรึกษาควบคุมงานก่อสร้าง 7,660.82 / 4,063.23

- ค่าจ้างที่ปรึกษาวิศวกรอิสระ

1.2 รฟท. รับภาระค่างานระบบไฟฟ้าและเครื่องกล

โดยให้ กค. ค้ำประกันเงินกู้ 7,358.65 / 3874.29

271.98 / 166.97

30.19 / 21.97

2,531.36 / 2,197.17

2. รวมใช้เงินกู้ 10,192.18 / 6,260.40

3. รวมใช้งบประมาณ 10 / 310

หมายเหตุ : การรับภาระค่าใช้จ่ายข้างต้น เป็นไปในแนวทางเดียวกันกับโครงการระบบรถไฟฟ้าชานเมือง สายสีแดงอ่อน ช่วงบางซื่อ – พญาไท – มักกะสัน – หัวหมาก และสายสีแดงเข้ม ช่วงบางซื่อ – หัวลำโพง ตามนัยมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 26 กรกฎาคม 2559

 

สาระสำคัญของเรื่อง

      1. โครงการระบบรถไฟชานเมือง (สายสีแดง) ทั้ง 2 โครงการ เป็นโครงการที่อยู่ภายใต้ยุทธศาสตร์การพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานด้านคมนาคมขนส่งของไทย พ.ศ. 2558 – 2565 และได้รับการบรรจุอยู่ภายใต้แผนปฏิบัติการด้านคมนาคมขนส่งระยะเร่งด่วน พ.ศ. 2560 (Action plan) ที่คณะรัฐมนตรีได้มีมติเมื่อวันที่ 27 มีนาคม 2558 และ 13 ธันวาคม 2559 เห็นชอบและรับทราบแผนดังกล่าวตามลำดับแล้ว อีกทั้งคณะกรรมการการรถไฟแห่งประเทศไทยได้ให้ความเห็นชอบทั้ง 2 โครงการแล้ว โดยทั้ง 2 โครงการเป็นส่วนต่อขยายของรถไฟชานเมืองสายสีแดงทางฝั่งทิศเหนือ และทิศตะวันตกของกรุงเทพมหานคร ซึ่งจะช่วยเชื่อมต่อการเดินทางกับระบบรถไฟทางไกล และระบบรถไฟฟ้าขนส่งมวลชน ทำให้ประชาชนสามารถเดินทางเข้าออกพื้นที่กรุงเทพมหานครชั้นในได้อย่างสะดวกมากขึ้น

    2. กระทรวงคมนาคมแจ้งว่า ทั้ง 2 โครงการ เป็นการก่อสร้างทางรถไฟเลียบไปตามแนวเขตทางรถไฟทางไกลของการรถไฟแห่งประเทศไทย (รฟท.) โดยจะเป็นรางขนาด 1 เมตร เดินรถด้วยระบบไฟฟ้าที่จ่ายเหนือหัว (OCS) แรงดันไฟฟ้า AC 25 กิโลโวลต์ รถไฟมีความเร็วสูงสุด 160 กิโลเมตรต่อชั่วโมง มีระบบไฟฟ้าและเครื่องกล ประกอบด้วย ระบบอาณัติสัญญาณและควบคุมรถไฟ ระบบสื่อสาร ระบบเก็บค่าโดยสารอัตโนมัติ ระบบไฟฟ้ากำลัง และแม้ว่าตามข้อเสนอของกระทรวงคมนาคมจะกำหนดระยะเวลาดำเนินโครงการ 5 ปี แต่กระทรวงคมนาคมยืนยันว่าจะสามารถเปิดให้บริการในปี 2565 โดยแต่ละโครงการมีวงเงินโครงการ ระยะทาง และจำนวนสถานี สรุปได้ ดังนี้

     2.1 ช่วงตลิ่งชัน – ศาลายา และสถานีเพิ่มเติม 3 สถานี (สถานีพระราม 6 สถานีบางกรวย – กฟผ. และสถานีบ้านฉิมพลี) ระยะทาง 14.8 กิโลเมตร เป็นโครงการก่อสร้างทางรถไฟส่วนต่อขยายทางทิศตะวันตกจากโครงการระบบรถไฟชานเมือง (สายสีแดง) ช่วงบางซื่อ – ตลิ่งชัน และก่อสร้างสถานีใหม่ จำนวน 6 สถานี ได้แก่ สถานีสะพานพระราม 6 และสถานีบางกรวย – กฟผ. สถานีบ้านฉิมพลี สถานีกาญจนาภิเษก สถานีศาลาธรรมสพน์ และสถานีศาลายา

     2.2 ช่วงรังสิต – มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ระยะทาง 8.84 กิโลเมตร เป็นโครงการก่อสร้างทางรถไฟส่วนต่อขยายทางทิศเหนือจากโครงการระบบรถไฟชานเมือง (สายสีแดง) ช่วงบางซื่อ – รังสิต ประกอบด้วย 4 สถานี ได้แก่ สถานีคลองหนึ่ง สถานีมหาวิทยาลัยกรุงเทพ สถานีเชียงราก และสถานีมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ศูนย์รังสิต ทั้งนี้ จะต้องมีการเวนคืนพื้นที่เพิ่มเติมประมาณ 14 ไร่ เพื่อนำที่ดินมาสร้างสถานีทั้ง 4 แห่ง

    3. กระทรวงคมนาคมแจ้งว่า ทั้ง 3 โครงการมีผลตอบแทนทางการเงิน (FIRR) และทางเศรษฐกิจ (EIRR) สรุปได้ดังนี้

 

ผลตอบแทน     1. ตลิ่งชัน – ศาลายา     2. รังสิต – ม. ธรรมศาสตร์

FIRR         คุ้มค่าทางการเงิน         ไม่คุ้มค่าทางการเงิน

EIRR         คุ้มค่าทางเศรษฐกิจ         คุ้มค่าทางเศรษฐกิจ

       หมายเหตุ : แม้ว่าโครงการที่ 2. จะไม่มีความคุ้มค่าทางการเงิน แต่กระทรวงคมนาคมคาดว่าจะทำให้ปริมาณผู้โดยสารสายสีแดง

ทั้งระบบเพิ่มขึ้นเมื่อเทียบกับกรณีไม่มีโครงการ (Induced demand) ซึ่งจะทำให้รายได้ค่าโดยสารของสายสีแดงทั้งระบบเพิ่มมากขึ้น

     สำหรับร่างพระราชกฤษฎีกากำหนดเขตที่ดินในบริเวณที่ที่จะเวนคืนโครงการระบบรถไฟชานเมืองสายสีแดงเข้ม ช่วงรังสิต – มธ. ศูนย์รังสิต นั้น เป็นการกำหนดเขตที่ดินในบริเวณที่ที่จะเวนคืน ในท้องที่ตำบลบ้านปทุม อำเภอสามโคก ตำบลบางพูด ตำบลสวนพริกไทย อำเภอเมืองปทุมธานี และตำบลคลองหนึ่ง อำเภอคลองหลวง จังหวัดปทุมธานี เพื่อสร้างทางเชื่อมระหว่างทางหลวงชนบท อย.5042 กับสถานีรถไฟ ทางรถไฟ และย่านสถานีรถไฟ ตามโครงการระบบรถไฟชานเมืองสายสีแดงเข้ม ช่วงรังสิต – มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ศูนย์รังสิต ซึ่งแนวเส้นทางอยู่ในเขตที่ดินของ รฟท. แต่มีบางพื้นที่จำเป็นต้องเวนคืนเพื่อก่อสร้างสถานีและถนนทางเข้าสถานี เพื่อให้เจ้าหน้าที่หรือผู้ซึ่งได้รับมอบหมายจากเจ้าหน้าที่สามารถเข้าดำเนินการสำรวจ และเพื่อทราบข้อเท็จจริงเกี่ยวกับอสังหาริมทรัพย์ที่จะต้องเวนคืนที่แน่นอน อันจะทำให้การสร้างทางเชื่อมระหว่างทางหลวงชนบทสายดังกล่าวเป็นไปตามแผนการที่กำหนดไว้

   ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา (นายกรัฐมนตรี) วันที่ 26 กุมภาพันธ์ 2562

Click Donate Support Web

ais 790x90

GC 950x120

sme 720x90SIAM790x90

apm

 

 

Facebook

5 ข่าวฮอตนิวส์!