WORLD7

smed PIONEER 720x100ใจฟู720x100pxgpf 720x100 66

มาตรการและข้อเสนอแนะเพื่อป้องกันการทุจริต

GVO มาตรการและข้อเสนอแนะเพื่อป้องกันการทุจริต

 

       คณะรัฐมนตรีมีมติรับทราบผลการพิจารณาข้อเสนอแนะของคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ เรื่อง มาตรการและข้อเสนอแนะเพื่อป้องกันการทุจริตตามที่กระทรวงการคลัง (กค.) เสนอและแจ้งให้คณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติทราบต่อไปด้วย

 

สาระสำคัญของเรื่อง

          กค. รายงานว่า ตามที่คณะกรรมการ ป.ป.ช. ได้มีข้อเสนอมาตรการหรือข้อเสนอแนะเพื่อป้องกันการทุจริตเสนอต่อคณะรัฐมนตรี และคณะรัฐมนตรีมีมติให้ กค. เป็นหน่วยงานหลักรับข้อเสนอของคณะกรรมการ ป.ป.ช. ไปพิจารณาร่วมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง รวมทั้งมีมติเร่งรัด กค. ให้ดำเนินการให้แล้วเสร็จและแจ้งผลการดำเนินการให้สำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรีทราบโดยด่วน นั้น กค. ได้พิจารณามาตรการและข้อเสนอดังกล่าวแล้ว ขอเรียน ดังนี้

 

ข้อเสนอมาตรการหรือข้อเสนอแนะเพื่อป้องกันการทุจริตของคณะกรรมการ ป.ป.ช.

      1. ข้อเสนอแนะเพื่อให้มีการปรับปรุงการปฏิบัติราชการเพื่อป้องกันหรือปราบปรามการทุจริต เรื่อง “การบูรณาการป้องกันการทุจริตของโครงการภาครัฐ (โดยการติดตามประเมินผลการดำเนินงาน)” ซึ่งประกอบด้วย 3 ขั้นตอน คือ (1) การประเมินผลขั้นตอนวางแผนก่อนดำเนินโครงการ: เน้นการพิจารณาความเหมาะสมในการวางแผนโครงการว่ามีการวางกระบวนการ/กิจกรรมเพื่อลดความเสี่ยงต่อการทุจริตประพฤติมิชอบได้แค่ไหนเพียงใด ก่อนอนุมัติ (2) การประเมินผลขั้นการดำเนินงาน: เน้นการติดตามความก้าวหน้าของโครงการว่าได้ดำเนินการอย่างเหมาะสมเพียงใด และดำเนินการตามแผนบริหารความเสี่ยงที่กำหนดไว้หรือไม่เพียงใด และ (3) การประเมินผลขั้นสรุปผลหลังการดำเนินโครงการ: เน้นที่ผลของการดำเนินงานของโครงการว่ามีความเหมาะสมเพียงใด โดยประเมินผลกระทบและผลสำเร็จของงานว่าเป็นไปตามเป้าหมายการป้องกันการทุจริตหรือไม่ และมีการยกระดับพฤติกรรมของการดำเนินงานของโครงการและหน่วยงานเพียงไร โดยเห็นควรให้นำหลักการในข้อเสนอแนะดังกล่าวกำหนดส่วนหนึ่งของกระบวนการจัดซื้อจัดจ้างในระเบียบสำนักนายกรัฐมนตีว่าด้วยการพัสดุ พ.ศ. 2535 และที่แก้ไขเพิ่มเติมที่อยู่ระหว่างการพิจารณายกฐานะให้เป็นพระราชบัญญัติการจัดซื้อจัดจ้างภาครัฐด้วย

 

ข้อชี้แจงของ กค.

        เนื่องจากกรณีนี้ได้มีพระราชบัญญัติการจัดซื้อจัดจ้างและการบริหารพัสดุภาครัฐ พ.ศ. 2560 ซึ่งมีผลบังคับใช้เมื่อวันที่ 23 สิงหาคม 2560 โดยพระราชบัญญัติดังกล่าวได้มีมาตรการกีดกันหรือปราบปรามการทุจริตของโครงการภาครัฐ เช่น

- มาตรา 8 บัญญัติให้การจัดซื้อจัดจ้างและการบริหารพัสดุของหน่วยงานของรัฐต้องก่อให้เกิดประโยชน์สูงสุดแก่หน่วยงานของรัฐ และต้องสอดคล้องกับหลักการคุ้มค่า โปร่งใส และมีประสิทธิภาพและประสิทธิผลและต้องตรวจสอบได้

- มาตรา 11 บัญญัติให้หน่วยงานของรัฐจัดทำแผนการจัดซื้อจัดจ้างประจำปี และประกาศเผยแพร่ในระบบเครือข่ายสารสนเทศของกรมบัญชีกลางและหน่วยงานของรัฐตามวิธีการที่กรมบัญชีกลางกำหนด และให้ปิดประกาศโดยเปิดเผย ณ สถานที่ปิดประกาศของหน่วยงานของรัฐนั้น

- มาตรา 66 บัญญัติให้หน่วยงานของรัฐประกาศผลผู้ชนะการจัดซื้อจัดจ้างหรือผู้ได้รับการคัดเลือกและเหตุผลสนับสนุนในระบบเครือข่ายสารสนเทศของกรมบัญชีกลางและของหน่วยงานของรัฐตามวิธีการที่กรมบัญชีกลางกำหนดและให้ปิดประกาศโดยเปิดเผย ณ สถานที่ปิดประกาศของหน่วยงานของรัฐนั้น

       ประกอบกับพระราชบัญญัติดังกล่าวยังได้บัญญัติให้ภาคประชาชนผู้ประกอบการมีส่วนร่วมในการป้องกันการทุจริตโดยการจัดทำข้อตกลงคุณธรรม ตลอดจนยังกำหนดให้มีการอุทธรณ์ผลการจัดซื้อจัดจ้าง และมีการเปิดเผยข้อมูลการจัดซื้อจัดจ้างในทุกขั้นตอน ทำให้ประชาชนสามารถเข้าตรวจสอบกระบวนการจัดซื้อจัดจ้างภาครัฐได้จากเว็บไซต์ของกรมบัญชีกลาง (www.gprocurement.go.th) จากหลักการดังกล่าวทำให้การทุจริตเป็นไปได้โดยยากยิ่งขึ้น

 

ข้อเสนอมาตรการหรือข้อเสนอแนะเพื่อป้องกันการทุจริตของคณะกรรมการ ป.ป.ช.

           2. มาตรการป้องกันการทุจริตจากการใช้ระบบการจัดซื้อจ้างด้วยวิธีการทางอิเล็กทรอนิกส์ (e-Auction) โดยที่คณะกรรมการ ป.ป.ช. พิจารณาแล้วเห็นว่า แม้กรมบัญชีกลางจะมีหนังสือ ด่วนที่สุด ที่ กค0421.3/247 ลงวันที่ 14 กรกฎาคม 2553 แจ้งเวียนให้ส่วนราชการ รัฐวิสาหกิจ องค์การมหาชน และหน่วยงานของรัฐถือปฏิบัติเกี่ยวกับการพิจารณาประเภทสินค้าและบริการหรืองานโครงการที่ไม่ต้องดำเนินการจัดซื้อจัดจ้างด้วยวิธีการตามระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยการพัสดุด้วยวิธีการทางอิเล็กทรอนิกส์ พ.ศ. 2549 ถ้าสินค้าและบริการหรืองานโครงการนั้น เป็นสินค้าและบริการที่มีความซับซ้อน มีเทคนิคเฉพาะ หากดำเนินการโดยวิธีการทางอิเล็กทรอนิกส์แล้วอาจไม่ได้ผลดี ได้สินค้าและบริการที่ไม่มีคุณภาพ แต่ข้อเท็จจริงในทางปฏิบัติผู้เข้าร่วมเสนอราคามักอ้างเหตุผลว่างานก่อสร้างของทางราชการแทบทุกประเภทจะมีรูปแบบของการก่อสร้างที่เป็นมาตรฐาน ไม่มีความซับซ้อน ซึ่งผู้เข้าร่วมเสนอราคาสามารถเข้าใจในรูปแบบของการก่อสร้างได้เป็นอย่างดี

          ทั้งที่ในความเป็นจริงงานก่อสร้างแต่ละประเภทมีความซับซ้อนและมีเทคนิคเฉพาะ จนบางครั้งเป็นผลให้ไม่มีผู้เข้ายื่นเสนอราคาหรือยื่นเสนอราคาแล้วแต่ขาดหรือไม่ตรงตามคุณสมบัติจนทำให้ต้องขอยกเลิกการจัดจ้าง แล้วขออนุมัติต่อคณะกรรมการว่าด้วยการพัสดุด้วยวิธีการทางอิเล็กทรอนิกส์ (กวพ.อ.) แทน เพื่อดำเนินการจัดจ้างด้วยวิธีพิเศษตามระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยการพัสดุ พ.ศ. 2535 และที่แก้ไขเพิ่มเติม ซึ่งจะมีช่องโอกาสของการทุจริตและการสมยอมกันเสนอราคากันได้สูง ดังนั้น เพื่อป้องกันมิให้เกิดปัญหาในทางปฏิบัติและป้องกันการแอบอ้างและการใช้ดุลพินิจในการพิจารณาของเจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้องในการจัดจ้างด้วยวิธีการตามระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยการพัสดุด้วยวิธีการทางอิเล็กทรอนิกส์ พ.ศ. 2549 มาใช้อ้างในการป้องกันตนเอง หรืออาศัยการดำเนินการตามระเบียบดังกล่าวเพื่อแสวงหาประโยชน์ให้กับตนเองหรือผู้อื่น จึงเห็นควรยกเว้นมิให้นำการจัดจ้างด้วยวิธีการตามระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยการพัสดุด้วยวิธีการทางอิเล็กทรอนิกส์ พ.ศ. 2549 มาใช้ในงานก่อสร้างทุกประเภท ไม่ว่างานก่อสร้างนั้นจะมีลักษณะของงานซับซ้อนหรือมีเทคนิคเฉพาะหรือไม่ก็ตาม

 

ข้อชี้แจงของ กค.

         ระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยการพัสดุด้วยวิธีการทางอิเล็กทรอนิกส์ พ.ศ. 2549 ได้ถูกยกเลิกตามความในมาตรา 3 แห่งพระราชบัญญัติการจัดซื้อจัดจ้างและการบริหารพัสดุภาครัฐ พ.ศ. 2560 แล้วซึ่งกรมบัญชีกลางได้พัฒนาระบบจัดซื้อจัดจ้างภาครัฐด้วยอิเล็กทรอนิกส์ (e-GP) ระยะที่ 3 โดยพัฒนาระบบตลาดกลางการซื้อขายสินค้าและบริการภาครัฐด้วยอิเล็กทรอนิกส์ (e-market) และการประกวดราคาอิเล็กทรอนิกส์ (e-bidding) ทุกขั้นตอนต้องดำเนินการผ่านระบบอิเล็กทรอนิกส์ การดาวน์โหลดเอกสารและการเสนอราคาจะดำเนินการผ่านเว็บไซต์ระบบ e-GP อันเป็นการเพิ่มประสิทธิภาพการจัดซื้อจัดจ้างของหน่วยงานของรัฐให้มีความทันสมัย ทัดเทียมมาตรฐานสากล เพิ่มความโปร่งใส ลดโอกาสในการสมยอมราคากันในการเสนอราคาของผู้ค้า

      และก่อให้เกิดการแข่งขันอย่างแท้จริง โดยไม่ให้มีการเผชิญหน้าหรือพบกันระหว่างหน่วยงานของรัฐ ผู้จัดซื้อจัดจ้างกับผู้ประกอบการหรือระหว่างผู้ประกอบการด้วยกันเอง และไม่มีการเปิดเผยรายชื่อผู้เสนอราคาระหว่างการจัดซื้อจัดจ้าง นอกจากนี้ยังก่อให้เกิดธรรมาภิบาลและความโปร่งใสมากขึ้น เนื่องจากการเปิดเผยข้อมูลการจัดซื้อจัดจ้างทำให้ประชาชนสามารถเข้าตรวจสอบได้ตลอดเวลา ซึ่งจะนำไปสู่การลดการคอร์รัปชันได้ในที่สุด

 

ข้อเสนอมาตรการหรือข้อเสนอแนะเพื่อป้องกันการทุจริตของคณะกรรมการ ป.ป.ช.

      3. ข้อเสนอแนะจากงานศึกษาวิจัย เรื่อง โครงการศึกษาประเด็นทางกฎหมายที่เป็นช่องทางให้เกิดการทุจริตที่มีผลกระทบในภาพรวมโดยเฉพาะของเอกชน โดยเห็นควรนำข้อเสนอแนะงานวิจัยฉบับนี้เสนอต่อคณะรัฐมนตรีเพื่อประกอบการพิจราณาร่างพระราชบัญญัติจัดซื้อจัดจ้างภาครัฐ ของกรมบัญชีกลาง กค. ต่อไป โดยสามารถสรุปข้อเสนอแนะจากงานศึกษาวิจัยดังกล่าวได้ ดังนี้

        - ข้อเสนอแนะจากปัญหาที่พบ : (1) ควรกำหนดมาตรการเสริมเพื่อป้องกันการทุจริตเชิงนโยบายโดยเฉพาะให้ประชาชนเข้ามามีส่วนร่วมตรวจสอบการจัดซื้อจัดจ้าง (2) ควรเปลี่ยนแปลงการจัดโครงสร้างองค์กรที่ทำหน้าที่จัดซื้อจัดจ้างเป็นลักษณะการกระจายอำนาจ เพื่อให้เกิดการตรวจสอบถ่วงดุลกันระหว่างคณะกรรมการชุดต่าง ๆ และ (3) ควรแก้ไขเพิ่มเติมกฎหมายที่เกี่ยวข้องเพื่อให้การป้องกันและปราบปรามการทุจริตในการจัดซื้อจัดจ้างเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ โดยแบ่งตามช่วงเวลาก่อน ระหว่าง และภายหลังจากกระบวนการจัดซื้อจัดจ้าง

         - ข้อเสนอแนะในมิติของกฎหมาย : ควรร่างกฎหมายในชั้นพระราชบัญญัติว่าด้วยการจัดซื้อจัดจ้างภาครัฐโดยเฉพาะ ซึ่งมีเนื้อหาและโครงร่างเช่นเดียวกับระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยการพัสดุ พ.ศ. 2535 และที่แก้ไขเพิ่มเติม รวมทั้งร่างพระราชกฤษฎีกาว่าด้วยการจัดซื้อจัดจ้างและการบริหารพัสดุภาครัฐ พ.ศ. .... โดยมีการแก้ไขเพิ่มเติมประเด็นต่าง ๆ เพื่อขจัดขัดขวางการกระทำการอันเป็นการทุจริตซึ่งขัดขวางต่อประโยชน์ของราชการและเป้าหมายสูงสุดของการจัดซื้อจัดจ้าง

        - ข้อเสนอแนะในมิติอื่น ๆ : (1) ควรมีการพัฒนาระบบเทคโนโลยีสารสนเทศให้ทันสมัยและรองรับต่อการจัดซื้อจัดจ้างต่าง ๆ (2) ควรจัดให้มีการเผยแพร่ความรู้แก่ผู้ประกอบการเพื่อให้เข้าใจขั้นตอนและกระบวนการในการจัดซื้อจัดจ้าง ตลอดจนสิทธิ หน้าที่ ข้อห้าม และผลของการฝ่าฝืนต่าง ๆ และ (3) ควรมีการจัดทำและเผยแพร่จรรยาบรรณของเจ้าหน้าที่ของรัฐและผู้เกี่ยวข้องในการจัดซื้อจัดจ้างโดยเฉพาะ รวมทั้งจัดให้มีการอบรมเจ้าหน้าที่พัสดุของภาครัฐตลอดจนผู้ประกอบการภาคเอกชนอย่างต่อเนื่อง

 

ข้อชี้แจงของ กค.

          กรมบัญชีกลางได้นำข้อเสนอแนะดังกล่าวมาบัญญัติไว้ในพระราชบัญญัติการจัดซื้อจัดจ้างและการบริหารพัสดุภาครัฐ พ.ศ. 2560 อาทิเช่น

- บททั่วไป หลักและแนวคิดในการจัดซื้อจัดจ้างภาครัฐได้แก่ การคุ้มค่า ความโปร่งใส ความมีประสิทธิผล ความเป็นธรรม และการตรวจสอบได้ ได้วางหลักไว้ในมาตรา 5 โดยบัญญัติให้การจัดซื้อจัดจ้างและการบริหารพัสดุของหน่วยงานของรัฐต้องก่อให้เกิดประโยชน์สูงสุดแก่หน่วยงานของรัฐ และสอดคล้องกับหลักการดังกล่าว

      - การจัดทำแผนการจัดซื้อจัดจ้างประจำปี โดยประชาชนสามารถเข้าสังเกตการณ์และแสดงความคิดเห็นได้ในลักษณะของการประชุมแบบเปิด และกำหนดกระบวนการทบทวนร่างแผนการจัดซื้อจัดจ้างประจำปีก่อนนำไปประกาศใช้ปฏิบัติ โดยในมาตรา 11 ได้วางหลักไว้ให้หน่วยงานของรัฐจัดทำแผนการจัดซื้อจัดจ้างประจำปี และประกาศเผยแพร่ในระบบเครือข่ายสารสนเทศของกรมบัญชีกลางและของหน่วยงานของรัฐตามวิธีการที่กรมบัญชีกลางกำหนด และให้ปิดประกาศโดยเปิดเผย ณ สถานที่ปิดประกาศของหน่วยงานของรัฐนั้น

        - การพิจารณาข้อเสนอ โดยไม่จำเป็นต้องพิจารณาแต่เพียงเกณฑ์ราคาเท่านั้นแต่ให้สามารถใช้เกณฑ์อื่นในการคัดเลือกได้ ซึ่งในมาตรา 65 ได้วางหลักไว้ว่าในการพิจารณาคัดเลือกข้อเสนอให้หน่วยงานของรัฐดำเนินการโดยพิจารณาถึงประโยชน์ของหน่วยงานของรัฐ และวัตถุประสงค์ของการใช้งานเป็นสำคัญโดยให้คำนึงถึงเกณฑ์ราคาและพิจารณาเกณฑ์อื่นประกอบด้วย

      ทั้งนี้ ในกรณีอื่นพระราชบัญญัติการจัดซื้อจัดจ้างและการบริหารพัสดุภาครัฐ พ.ศ. 2560 ได้นำข้อเสนอแนะ จากงานศึกษาวิจัยดังกล่าว บัญญัติไว้ในพระราชบัญัญัติดังกล่าวแล้ว

        ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา (นายกรัฐมนตรี) วันที่ 18 กุมภาพันธ์ 2562

Click Donate Support Web

ais 790x90

GC 950x120

sme 720x90SIAM790x90

apm

 

 

Facebook

5 ข่าวฮอตนิวส์!