WORLD7

smed PIONEER 720x100ใจฟู720x100pxgpf 720x100 66

โครงการติดตั้งระบบมิเตอร์อัจฉริยะ (Advanced Metering Infrastructure : AMI) สำหรับผู้ใช้ไฟฟ้ารายใหญ่

GOV6โครงการติดตั้งระบบมิเตอร์อัจฉริยะ (Advanced Metering Infrastructure : AMI) สำหรับผู้ใช้ไฟฟ้ารายใหญ่

 

คณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติและเห็นชอบตามที่กระทรวงมหาดไทย (มท.) เสนอ ดังนี้

            1. อนุมัติให้การไฟฟ้าส่วนภูมิภาค (กฟภ.) ดำเนินโครงการติดตั้งระบบมิเตอร์อัจฉริยะ (Advanced Metering Infrastr1ucture : AMI) สำหรับผู้ใช้ไฟฟ้ารายใหญ่วงเงินลงทุนรวม 1,810 ล้านบาท โดยใช้เงินกู้ในประเทศ จำนวน 1,357 ล้านบาท (ร้อยละ 75) และเงินรายได้ กฟภ. จำนวน 453 ล้านบาท (ร้อยละ 25)

            2. เห็นชอบให้ กฟภ. กู้เงินในประเทศ ภายในกรอบวงเงิน 1,357 ล้านบาท เพื่อเป็นเงินลงทุนของโครงการดังกล่าว โดย กฟภ. จะทยอยดำเนินการกู้เงินตามความจำเป็นจนกว่างานจะแล้วเสร็จ

 

สาระสำคัญของเรื่อง

มท. รายงานว่า

1. ปัจจุบันโครงการพัฒนาการอ่านหน่วยไฟฟ้าอัตโนมัติ (AMR) ระยะที่ 2 ให้กับผู้ใช้ไฟฟ้ารายใหญ่ จำนวน 50,000 ราย ได้ดำเนินการเสร็จสิ้นเป็นที่เรียบร้อย แต่ยังมีผู้ใช้ไฟฟ้ารายใหญ่ที่เกิดใหม่เพิ่มขึ้นทุกปี และระบบมิเตอร์การอ่านหน่วยไฟฟ้าอัตโนมัติ (AMR) มีการใช้งานมาแล้วประมาณ 10 ปี ทำให้เกิดข้อจำกัดในการใช้งาน ได้แก่ ความจุของฐานข้อมูลไม่สามารถรองรับการเก็บข้อมูลได้เพียงพอ ส่งผลให้การใช้งานต่าง ๆ ทำงานได้ช้าลง จำเป็นต้องตัดการทำงานบางส่วนออกไป และระบบพัฒนาการอ่านหน่วยไฟฟ้าอัตโนมัติ (AMR) ปัจจุบันรองรับการทำงานของมิเตอร์จากผู้ผลิตรายเดียว ส่งผลให้การจัดซื้อมิเตอร์เพื่อทดแทนมิเตอร์เดิมที่ชำรุดต้องจัดซื้อด้วยวิธีเฉพาะเจาะจง ดังนั้น กฟภ. จึงได้จัดทำโครงการติดตั้งระบบมิเตอร์อัจฉริยะ (AMI) สำหรับผู้ใช้ไฟฟ้ารายใหญ่

โดยใช้โปรโตคอลกลางในการเชื่อมต่อระหว่างระบบกับมิเตอร์ที่เป็นไปตามมาตรฐานสากล ทำให้สามารถใช้งานร่วมกับมิเตอร์ได้หลายผู้ผลิต นอกจากนี้ในส่วนของระบบคอมพิวเตอร์ยังถูกออกแบบให้สามารถรองรับการทำงานของมิเตอร์ได้ถึง 300,000 ชุด ทำให้สามารถรองรับมิเตอร์ทั้งหมดของโครงการติดตั้งระบบมิเตอร์อัจฉริยะ (AMI) และโครงการพัฒนาการอ่านหน่วยไฟฟ้าอัตโนมัติ (AMR) ระยะที่ 1 และระยะที่ 2 (จำนวน 95,250 ชุด) ทั้งยังรองรับผู้ใช้ไฟฟ้ารายใหม่ที่เกิดขึ้นในอนาคต พร้อมทั้งได้จัดทำรายงานการศึกษาความเหมาะสมของโครงการดังกล่าว

2. สาระสำคัญของโครงการติดตั้งระบบมิเตอร์อัจฉริยะ (AMI) สำหรับผู้ใช้ไฟฟ้ารายใหญ่

2.1 วัตถุประสงค์ เพื่อขยายผลและติดตั้งระบบมิเตอร์อัจฉริยะ (AMI) สำหรับผู้ใช้ไฟฟ้ารายใหญ่ให้ครอบคลุมทั่วประเทศ และสร้างความมั่นใจ และพึงพอใจในการอ่านหน่วยไฟฟ้าที่ถูกต้อง แม่นยำ รวดเร็ว อีกทั้งเป็นการสร้างภาพลักษณ์ด้านความโปร่งใส การปฏิบัติงานที่ดี และด้านการบริหารงานที่ดีของ กฟภ.

2.2 เป้าหมายและพื้นที่ดำเนินการ ติดตั้งระบบมิเตอร์อัจฉริยะ (AMI) สำหรับผู้ใช้ไฟฟ้า รายใหญ่ จำนวน 70,000 ชุด ให้กับผู้ใช้ไฟฟ้ารายใหญ่ทั่วประเทศ ยกเว้นผู้ใช้ไฟฟ้าติดตั้งมิเตอร์ตามโครงการพัฒนาการอ่านหน่วยไฟฟ้าอัตโนมัติสำหรับผู้ใช้ไฟฟ้ารายใหญ่ (AMR) ระยะที่ 1 และ 2 แล้ว

2.3 หลักเกณฑ์การคัดเลือกผู้ใช้ไฟฟ้ารายใหญ่เข้าร่วมโครงการ

1) กลุ่มผู้ใช้ไฟฟ้าในเขตนิคมอุตสาหกรรมทุกรายเป็นลำดับแรก

2) กลุ่มผู้ใช้ไฟฟ้าประเภทธุรกิจและอุตสาหกรรม นอกนิคมอุตสาหกรรม ที่ติดตั้งหม้อแปลงขนาด 100 KVA ขึ้นไป

3) กลุ่มผู้ใช้ไฟฟ้าประเภทุรกิจและอุตสาหกรรม นอกนิคมอุตสาหกรรม ที่มีการใช้ไฟฟ้าตั้งแต่ 30 kW ขึ้นไป

4) กลุ่มผู้ใช้ไฟฟ้ารายใหม่ ที่ยังไม่ได้ติดตั้งมิเตอร์ตามโครงการพัฒนาการอ่านหน่วยไฟฟ้าอัตโนมัติสำหรับผู้ใช้ไฟฟ้ารายใหญ่ (AMR) ระยะที่ 1 และ 2

2.4 ปริมาณงาน

1) ติดตั้งมิเตอร์อัจฉริยะและอุปกรณ์ประกอบ 70,000 ชุด

2) ติดตั้งระบบคอมพิวเตอร์ 1 ระบบ

3) ติดตั้งระบบโครงข่ายสื่อสาร 1 ระบบ

2.5 ระยะเวลาดำเนินการ 5 ปี (พ.ศ. 2562 – 2566)

2.6 แผนการดำเนินงาน ตามแผนงานโครงการจะดำเนินการระหว่างปี 2562 – 2566 โดยปีแรกจะเป็นการเตรียมดำเนินการ ส่วน 4 ปีหลังจะเป็นการดำเนินการติดตั้งระบบมิเตอร์อัจฉริยะ (AMI) จำนวน 70,000 ราย และประเมินผลโครงการ

1) การบริหารโครงการ กฟภ. จะเป็นผู้รับผิดชอบในการดำเนินงานตามโครงการ โดยจะจัดตั้งสำนักงานโครงการซึ่งจะประสานกับฝ่ายต่าง ๆ และการไฟฟ้าจังหวัดที่เกี่ยวข้อง เพื่อทำการออกแบบระบบมิเตอร์อัจฉริยะ (AMI) กำหนดรายละเอียด และดำเนินการติดตั้งมิเตอร์อัจฉริยะตามโครงการ

2) การจัดซื้อ กฟภ. จะดำเนินการประกวดราคาภายในประเทศ (Local Competition Bidding) โดยปฏิบัติตามข้อกำหนดในการจัดซื้อของ กฟภ. และมติคณะรัฐมนตรีที่เกี่ยวข้อง

2.7 ผลตอบแทนของโครงการ โดยศึกษาผลตอบแทนทางการเงิน (ตลอดายุโครงการ 5 ปี) ด้านค่าใช้จ่าย ด้านผลตอบแทน (รายได้ และมูลค่าทรัพย์สินคงเหลือ) และศึกษาผลตอบแทนทางเศรษฐศาสตร์ (Economic Benefit) ได้แก่ การลดค่าใช้จ่าย การจดหน่วยพลังงานไฟฟ้า ลดการสูญเสียจากการละเมิดการใช้ไฟฟ้า และการลดความต้องการกำลังไฟฟ้าสูงสุด มูลค่าทางเศรษฐศาสตร์ ต้นทุนทางเศรษฐศาสตร์ (Economic Costs)

3. ผลกระทบด้านสังคมและสิ่งแวดล้อม พื้นที่สำหรับการดำเนินการตามแผนงานฯ ไม่ต้องจัดทำรายงานการวิเคราะห์ผลกระทบสิ่งแวดล้อม (Environment Impact Assessment : EIA) และรายงานการวิเคราะห์ผลกระทบสิ่งแวดล้อมเบื้องต้น (Initial Environment Examination : IEE) เพื่อให้การดำเนินงานบรรลุตามแผนงานที่ตั้งไว้ กฟภ. จะเร่งดำเนินการติดตั้งมิเตอร์อย่างรอบคอบ และประชาสัมพันธ์ให้ผู้ใช้ไฟฟ้าทราบอย่างทั่วถึงก่อนการดำเนินงาน

            ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา (นายกรัฐมนตรี) วันที่ 5 กุมภาพันธ์ 2562

Click Donate Support Web

ais 790x90

GC 950x120

sme 720x90SIAM790x90

apm

 

 

Facebook

5 ข่าวฮอตนิวส์!