WORLD7

smed PIONEER 720x100ใจฟู720x100pxgpf 720x100 66

ร่างพระราชบัญญัติสิทธิบัตร (ฉบับที่ ..) พ.ศ. ....

GOV 5 ร่างพระราชบัญญัติสิทธิบัตร (ฉบับที่ ..) พ.ศ. ....

 

       คณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติและรับทราบ ดังนี้

         1. อนุมัติหลักการร่างพระราชบัญญัติสิทธิบัตร (ฉบับที่ ..) พ.ศ. .... ตามที่กระทรวงพาณิชย์เสนอ และให้ส่งสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาตรวจพิจารณา แล้วส่งให้คณะกรรมการประสานงานสภานิติบัญญัติแห่งชาติพิจารณา ก่อนเสนอสภานิติบัญญัติแห่งชาติต่อไป

         2. รับทราบแผนในการจัดทำกฎหมายลำดับรอง กรอบระยะเวลา และกรอบสาระสำคัญของกฎหมายลำดับรองที่ต้องออกตามร่างพระราชบัญญัติดังกล่าว ตามที่กระทรวงพาณิชย์เสนอ

สาระสำคัญของร่างพระราชบัญญัติ

ประเด็น / รายละเอียด/เหตุผล

1. เพิ่มเติมบทนิยาม

         'ทรัพยากรพันธุกรรม''สารพันธุกรรมอนุพันธ์'ภูมิปัญญาท้องถิ่น' ระหว่างบทนิยามคำว่า'แบบผลิตภัณฑ์' และคำว่า 'ผู้ทรงสิทธิบัตร'เพื่อรองรับหลักการเปิดเผยแหล่งที่มาของทรัพยากรพันธุกรรม (Genetic Resources: GRs) และภูมิปัญญาท้องถิ่น (Traditional Knowledge: TK) และการเป็นจุดตรวจสอบภายใต้พิธีสารนาโงยาฯ รวมทั้งอนุสัญญาความหลากหลายทางชีวภาพ (Convention on Biological Diversity : CBD) ซึ่งไทยเป็นสมาชิกแล้ว

2. ปรับปรุงแก้ไขหลักเกณฑ์การพิจารณางานที่ปรากฏอยู่แล้ว

         กำหนดเพิ่มเติมกรณีที่มีการยื่นคำขอรับสิทธิบัตรครั้งแรกไม่ว่าจะในหรือนอกราชอาณาจักร ให้ถือว่าวันยื่นคำขอครั้งแรกนั้นเป็นวันยื่นคำขอรับสิทธิบัตรซึ่งสอดคล้องกับหลักการ Claim Priority ซึ่งถือเป็นหลักการสากล

3. เพิ่มเติมสิ่งที่ขอรับสิทธิบัตรไม่ได้

         กำหนดเพิ่มเติมให้ ศัลยกรรม และวิธีการดำเนินธุรกิจ เป็นสิ่งที่ไม่สามารถขอรับสิทธิบัตรได้ เพื่อให้ถ้อยคำครบถ้วนตาม TRIPS Art 27 ข้อ 3 (a) ซึ่งมีคำว่า “surgical methods” และกำหนดให้ชัดเจนว่าวิธีการดำเนินธุรกิจ (Business Method) เป็นสิ่งที่ไม่สามารถขอรับสิทธิบัตรได้ เพราะไม่ใช่การประดิษฐ์ไม่ว่าจะเป็นผลิตภัณฑ์หรือกรรมวิธี

4. เพิ่มเติมบทบัญญัติเพื่อรองรับการใช้ทรัพยากรพันธุกรรม หรือภูมิปัญญาท้องถิ่น

         กำหนดให้ผู้ขอรับสิทธิบัตรระบุแหล่งที่มา และยื่นเอกสารที่เกี่ยวข้องกับการขออนุญาตก่อนการเข้าใช้ และข้อตกลงแบ่งปันผลประโยชน์มาพร้อมคำขอด้วย เพื่อรองรับหลักการเปิดเผยแหล่งที่มาของทรัพยากรพันธุกรรม (Genetic Resources: GRs) และภูมิปัญญาท้องถิ่น (Traditional Knowledge: TK)

5. ปรับปรุงแก้ไขขั้นตอนการตรวจสอบคำขอรับสิทธิบัตรการประดิษฐ์ให้มีความชัดเจนและรวดเร็วขึ้น

         - กำหนดระยะเวลาในการดำเนินการขอรับการจดสิทธิบัตรใหม่ให้รวดเร็วยิ่งขึ้น และสอดคล้องกับหลักสากล เช่น ลดระยะเวลาแยกคำขอรับสิทธิบัตร กรณีคำขอรับสิทธิบัตรมีการประดิษฐ์หลายอย่าง จากเดิม 120 วัน เป็น 90 วัน ลดระยะเวลาการขอให้ตรวจสอบสิ่งประดิษฐ์จาก 5 ปีเป็น 3 ปี เป็นต้น

         - กำหนดองค์ประกอบรายงานการตรวจสอบคำขอรับสิทธิบัตรเบื้องต้นใหม่เพื่อให้ชัดเจน และเข้าใจง่าย

         - ปรับปรุงกระบวนการคัดค้านการขอรับสิทธิบัตรให้มีประสิทธิภาพมากขึ้น โดยย้ายการคัดค้านก่อนการตรวจสอบการประดิษฐ์มาไว้ภายหลังจากตรวจสอบการประดิษฐ์ แต่ก่อนการรับจดทะเบียน

         - กำหนดหลักเกณฑ์และผลของการถอนคำขอรับสิทธิบัตรให้ชัดเจน เพื่อให้ผู้ขอมีสิทธิเลือกที่จะไม่ขอรับสิทธิบัตรหรืออนุสิทธิบัตรต่อไป

6. ยกเลิกการให้ผู้ทรงสิทธิบัตรอนุญาตให้บุคคลอื่นใช้สิทธิบัตรแทนตน และกำหนดวิธีการจดแจ้งการอนุญาตให้ใช้สิทธิตามสิทธิบัตร

         - กำหนดให้ยกเลิกการจดทะเบียนอนุญาตให้บุคคลอื่นใช้สิทธิบัตรแทนผู้ทรงสิทธิบัตร เพื่อรองรับระบบการแจ้งการอนุญาตให้ใช้สิทธิตามสิทธิบัตร

         - กำหนดวิธีการจดแจ้งการอนุญาตให้ใช้สิทธิตามสิทธิบัตร โดยเปลี่ยนจากการจดทะเบียนสัญญาอนุญาตให้ใช้สิทธิเป็นการจดแจ้ง เพื่อให้เป็นไปตามมาตรา 77 ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย ที่กำหนดให้มีระบบอนุญาตเพียงเท่าที่จำเป็น

7. ปรับปรุงอำนาจหน้าที่อธิบดีกรณีผู้ทรงสิทธิบัตรไม่ชำระค่าธรรมเนียมรายปี

         กำหนดให้อธิบดีสั่งเพิกถอนสิทธิบัตรที่ไม่ชำระค่าธรรมเนียมรายปีแทนคณะกรรมการสิทธิบัตร เพื่อลดขั้นตอนการดำเนินงาน

8. เพิ่มเติมบทบัญญัติเรื่องการใช้สิทธิตามสิทธิบัตรเพื่อส่งออกเภสัชภัณฑ์ตามมาตรา 31 bis ของ TRIPS Agreement

         กำหนดว่ากรณีหากเกิดความขาดแคลนเภสัชภัณฑ์ในประเทศพัฒนาน้อยที่สุด หรือประเทศสมาชิกองค์การการค้าโลกมีศักยภาพในการผลิตเภสัชภัณฑ์ไม่เพียงพอ และประเทศนั้นได้แจ้งความต้องการที่จะนำเข้าเภสัชภัณฑ์ต่อองค์การการค้าโลกแล้ว กระทรวงอาจใช้สิทธิตามสิทธิบัตรอย่างใดอย่างหนึ่งที่มีผู้ทรงสิทธิบัตรอยู่แล้ว เพื่อผลิตและส่งออกเภสัชภัณฑ์ไปยังประเทศดังกล่าวได้ โดยดำเนินการเองหรือให้บุคคลอื่นดำเนินการแทน รวมทั้งวางกรอบการกำหนดค่าตอบแทน เงื่อนไข และข้อจำกัด สิทธิของกระทรวง เพื่อให้สอดคล้องกับความตกลง TRIPS Art 31 bis

9. เพิ่มเติมหมวด 2/1 การยื่นคำขอระหว่างประเทศภายใต้สนธิสัญญาความร่วมมือด้านสิทธิบัตร (Patent Cooperation Treaty : PCT)

         เพื่ออำนวยความสะดวกให้ผู้มีสิทธิยื่นคำขอสิทธิบัตรสัญชาติไทยหรือมีภูมิลำเนาในไทย สามารถยื่นขอจดสิทธิบัตรระหว่างประเทศต่อกรมทรัพย์สินทางปัญญาได้ ซึ่งเป็นหลักการตามสนธิสัญญาความร่วมมือด้านสิทธิบัตร เดิมกำหนดไว้ในกฎกระทรวงว่าด้วยการขอรับความคุ้มครองการประดิษฐ์ตามสนธิสัญญาความร่วมมือด้านสิทธิบัตร พ.ศ. 2522

10.ปรับปรุงขั้นตอนการตรวจสอบคำขอรับอนุสิทธิบัตร

         แก้ไขกรอบเวลาการเปลี่ยนแปลงประเภทของสิทธิจากสิทธิบัตรเป็นอนุสิทธิบัตร หรือจากอนุสิทธิบัตรเป็นสิทธิบัตรจากเดิม 5 ปีเป็น 3 ปี เพื่อให้สอดคล้องกับระบบการตรวจสอบคำขอรับสิทธิบัตรการประดิษฐ์

11. เพิ่มเติมการดำเนินการทางอิเล็กทรอนิกส์

กำหนดให้การยื่นคำขอและการดำเนินการต่าง ๆ ให้ทำได้ทางอิเล็กทรอนิกส์ หรือวิธีการอื่นที่อธิบดีกำหนดได้

12.ปรับปรุงบัญชีอัตราค่าธรรมเนียมให้เหมาะสมกับสถานการณ์ปัจจุบัน

         - ปรับปรุงค่าธรรมเนียมคำขอต่าง ๆ เช่น คำขอรับสิทธิบัตรหรืออนุสิทธิบัตร เดิม ฉบับละ 1,000 บาท เป็น 2,500 บาท ใบแทนสิทธิบัตรหรืออนุสิทธิบัตร เดิม ฉบับละ 100 บาท เป็น 1,000 บาท เป็นต้น

         - เพิ่มเติมค่าธรรมเนียมคำขอต่าง ๆ ซึ่งเดิมไม่มี เช่น คำขอแยกการประดิษฐ์ ฉบับละ 2,500 บาท คำขอถอนคำขอรับสิทธิบัตรหรือนุสิทธิบัตร ฉบับละ 500 บาท เป็นต้น

            ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา (นายกรัฐมนตรี) วันที่ 29 มกราคม 2562

Click Donate Support Web

ais 790x90

GC 950x120

sme 720x90SIAM790x90

apm

 

 

Facebook

5 ข่าวฮอตนิวส์!