WORLD7

smed PIONEER 720x100ใจฟู720x100pxgpf 720x100 66

ร่างพระราชบัญญัติการประกันภัยทางทะเล พ.ศ. ....

GOV1 copyร่างพระราชบัญญัติการประกันภัยทางทะเล พ.ศ. ....

 

      คณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติหลักการร่างพระราชบัญญัติการประกันภัยทางทะเล พ.ศ. .... ตามที่กระทรวงการคลังเสนอ และให้ส่งสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาตรวจพิจารณา โดยให้รับความเห็นของ สำนักงานศาลยุติธรรมไปประกอบการพิจารณาด้วย แล้วส่งให้คณะกรรมการประสานงานสภานิติบัญญัติแห่งชาติพิจารณาก่อนเสนอสภานิติบัญญัติแห่งชาติต่อไป

 

สาระสำคัญของร่างพระราชบัญญัติ

     เป็นการกำหนดให้มีกฎหมายว่าด้วยการประกันภัยทางทะเลเป็นกฎหมายเฉพาะ โดยกำหนดให้สอดคล้องกับหลักสากลที่นานาประเทศใช้อยู่ในปัจจุบัน (Marine Insurance Act 1906 และ Insurance Act 2015 ของประเทศอังกฤษ) ดังนี้

1. หมวด 1 สัญญาประกันภัยทางทะเล กำหนดให้สัญญาประกันภัยทางทะเลใช้แก่การประกันภัยทางทะเลทั้งภายในประเทศและระหว่างประเทศ และกำหนดให้คู่สัญญาสามารถตกลงใช้กฎหมายนี้กับการประกันภัยในการขนส่งแบบอื่น คือ ทางบกและทางอากาศด้วย

2. หมวด 2 การเปิดเผยข้อความจริงและคำแถลง กำหนดหลักการเรื่องความสุจริตอย่างยิ่งระหว่างคู่สัญญา และผลของการละเมิดหลักสุจริตที่จะทำให้สัญญาตกเป็นโมฆียะ รวมทั้งเพิ่มหลักการเรื่องการเรียกร้องค่าสินไหมทดแทนโดยทุจริต Fraudulent Claim ซึ่งปรับปรุงมาจาก Case Law และ Insurance Act 2015

3. หมวด 3 ส่วนได้ส่วนเสียอันสามารถเอาประกันภัยได้ กำหนดหลักการเรื่องส่วนได้ส่วนเสียว่า ผู้เอาประกันภัยต้องคาดหมายว่าจะได้มาซึ่งส่วนได้เสียขณะขอเอาประกันภัย มิฉะนั้นสัญญาจะตกเป็นโมฆะ

4. หมวด 4 มูลค่าอันสามารถประกันภัยได้ กำหนดวิธีการคำนวณมูลค่าอันเอาประกันภัยได้ Insurable Interest ในการประกันภัยตัวเรือ สินค้า ค่าระวาง เพื่อการจัดทำประกันภัยให้เหมาะสม

5. หมวด 5 กรมธรรม์ประกันภัย

5.1 กำหนดวิธีการออกกรมธรรม์ประกันภัย และการลงลายมือชื่อ การประทับตรา การเปิดช่องสำหรับวิธีการอิเล็กทรอนิกส์ และวิธีการอื่นที่อาจพัฒนาขึ้นในอนาคต

5.2 กำหนดนิยามกรมธรรม์ประกันภัยแบบรายเที่ยว ซึ่งคุ้มครองในเส้นทางที่ตกลงกัน จากสถานที่แห่งหนึ่งไปยังสถานที่แห่งอื่น เมื่อไปถึงความคุ้มครองก็จะสิ้นสุด

5.3 กำหนดนิยามกรมธรรม์ประกันภัยแบบกำหนดระยะเวลา ซึ่งระยะเวลาคุ้มครองเริ่มต้นและสิ้นสุดตามวันเวลาที่ระบุหน้าตารางกรมธรรม์ประกันภัย

5.4 กำหนดนิยามกรมธรรม์ประกันภัยแบบกำหนดมูลค่า กรณีเกิดความเสียหายสิ้นเชิง จะชดใช้ตามมูลค่าที่ตกลงโดยไม่ต้องนำสืบความเสียหายที่แท้จริง

5.5 กำหนดนิยามกรมธรรม์ประกันภัยแบบไม่กำหนดมูลค่า กรณีเกิดความเสียหายสิ้นเชิง จะชดใช้ตามความเสียหายที่แท้จริงตามสูตรในหมวด 10

6. หมวด 6 คำรับรองและข้อกำหนด กำหนดกรณีที่ผู้เอาประกันภัยและผู้รับประกันภัยตกลงยอมรับกันว่า ข้อเท็จจริงใดจะมีอยู่หรือไม่มีอยู่อันเกี่ยวเนื่องกับความเสี่ยงภัย ซึ่งหากผู้เอาประกันภัยไม่ปฏิบัติตามข้อตกลงดังกล่าว ผู้รับประกันภัยอาจหลุดพ้นความรับผิดตามสัญญาในบางกรณี

7. หมวด 7 การเดินทาง กำหนดเกี่ยวกับเส้นทางหรือการเดินทาง ใช้กับกรมธรรม์ประกันภัยแบบรายเที่ยว หลักการเรื่องเส้นทางที่ตกลงกันหรือเส้นทางที่เหมาะสม (Proper Route) ในกรณีที่ไม่มีการตกลง (Agreed Route) และผลกระทบตามความคุ้มครองกรณีที่มีการเดินเรือออกนอกเส้นทาง

8. หมวด 8 เบี้ยประกันภัย กำหนดหลักการเรื่องเบี้ยประกันภัย และหน้าที่ในการชำระเบี้ยประกันภัยของผู้เอาประกันภัย รวมทั้งกำหนดให้กรณีการทำประกันภัยผ่านนายหน้าประกันภัย ความผูกพัน ตามสัญญาประกันภัยระหว่างผู้รับประกันภัยกับผู้เอาประกันภัยอาจเกิดขึ้นสมบูรณ์

9. หมวด 9 ความเสียหาย กำหนดลักษณะความเสียหาย ความเสียหายที่การประกันภัยทางทะเลไม่ให้ความคุ้มครอง การจงใจก่อให้เกิดความเสียหาย ความเสียหายอันเป็นผลโดยตรงจากความล่าช้า ลักษณะของความเสียหายสิ้นเชิงและความเสียหายบางส่วน

10. หมวด 10 การประเมินค่าสินไหมทดแทน กำหนดวิธีการคำนวณจำนวนเงินที่ผู้เอาประกันภัยจะได้รับชดใช้เป็นค่าสินไหมทดแทน ในกรณีที่วัตถุที่เอาประกันภัยเสียหายสิ้นเชิงหรือบางส่วนตามกรมธรรม์ประกันภัยแบบกำหนดมูลค่าและไม่กำหนดมูลค่า

11. หมวด 11 การรับช่วงสิทธิ กำหนดสิทธิให้ผู้รับประกันภัยสามารถรับช่วงสิทธิไล่เบี้ยจากบุคคลภายนอกที่ทำละเมิดเป็นเหตุให้วัตถุที่เอาประกันภัยเสียหาย

12. หมวด 12 การประกันภัยซ้ำซ้อน กำหนดวิธีการชดใช้ในกรณีที่มีการประกันภัยซ้ำซ้อน Double Insurance และจำนวนเงินเอาประกันภัยรวมสูงกว่าความเสียหาย

13. หมวด 13 การประกันภัยต่ำกว่ามูลค่า กำหนดหลักการเรื่องการประกันภัยต่ำกว่ามูลค่า Under Insurance โดยให้ผู้เอาประกันภัยรับประกันภัยตนเองในส่วนที่ขาด Self – Insurance

14. หมวด 14 การประกันภัยแบบสหการ กำหนดนิยามการประกันภัยแบบสหการ คือ กรณีผู้ที่มีความเสี่ยงภัยเหมือน ๆ กัน มาร่วมรับประกันภัยซึ่งกันและกันในความเสี่ยงภัย ซึ่งโดยปกติผู้รับประกันภัยจะไม่รับประกันภัย โดยจัดตั้งเป็นสมาคมประกันภัยแบบสหการของเจ้าของเรือ P&I Club (Protection and Indemnity Club)

15. หมวด 15 อายุความ (ได้เทียบเคียงหลักการมาจาก Limitation Act 1980) กำหนดให้

15.1 การเรียกให้ชดใช้ค่าสินไหมทดแทน มีอายุความสองปีนับแต่วันที่เกิดความเสียหาย

15.2 การเรียกให้ใช้หรือให้คืนเบี้ยประกันภัย มีอายุความสองปีนับแต่วันซึ่งสิทธิจะเรียกให้ใช้หรือคืนเบี้ยประกันภัยถึงกำหนด

15.3 การเรียกให้ชดใช้ค่าสินไหมทดแทนตามสัญญาประกันภัยต่อ มีอายุความหกปีนับแต่วันที่อาจใช้สิทธิเรียกร้องตามสัญญาประกันภัยต่อได้

   ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา (นายกรัฐมนตรี) วันที่ 8 มกราคม 2562

Click Donate Support Web

ais 790x90

GC 950x120

sme 720x90SIAM790x90

apm

 

 

Facebook

5 ข่าวฮอตนิวส์!