ขอทบทวนมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 19 ธันวาคม 2560 เรื่อง มาตรการพิเศษเพื่อขับเคลื่อน SMEs สู่ยุค 4.0 (มาตรการด้านการเงิน)
- Details
- Category: มติ ครม.
- Published: Sunday, 30 December 2018 13:55
- Hits: 3704
ขอทบทวนมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 19 ธันวาคม 2560 เรื่อง มาตรการพิเศษเพื่อขับเคลื่อน SMEs สู่ยุค 4.0 (มาตรการด้านการเงิน)
เรื่อง ขอทบทวนมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 19 ธันวาคม 2560 เรื่อง มาตรการพิเศษเพื่อขับเคลื่อน SMEs สู่ยุค 4.0 (มาตรการด้านการเงิน)
คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบในหลักการขยายระยะเวลาและรายละเอียดการดำเนินงานโครงการสินเชื่อเพื่อยกระดับเศรษฐกิจชุมชน (Local Economy Loan) และโครงการ Transformation Loan เสริมแกร่ง (Soft Loan เพื่อปรับเปลี่ยนเครื่องจักร ระยะที่ 2) ภายใต้มาตรการพิเศษเพื่อขับเคลื่อนวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (SMEs) สู่ยุค 4.0 (มาตรการด้านการเงิน) ตามที่กระทรวงอุตสาหกรรม (อก.) เสนอ
สาระสำคัญของเรื่อง
เดิมคณะรัฐมนตรีมีมติเมื่อวันที่ 19 ธันวาคม 2560 เห็นชอบในหลักการโครงการสินเชื่อเพื่อยกระดับเศรษฐกิจชุมชน (Local Economy Loan) และโครงการ Transformation Loan เสริมแกร่ง (Soft Loan เพื่อปรับเปลี่ยนเครื่องจักร ระยะที่ 2) ภายใต้มาตรการพิเศษเพื่อขับเคลื่อน SMEs สู่ยุค 4.0 ตามที่กระทรวงอุตสาหกรรมเสนอ โดยจะสิ้นสุดโครงการในวันที่ 18 ธันวาคม 2561 แต่ยังมีวงเงินโครงการคงเหลืออยู่เนื่องจากที่ผ่านมาธนาคารพัฒนาวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมแห่งประเทศไทย ธนาคารออมสินและหน่วยงานอื่นที่เกี่ยวข้องยังมีข้อจำกัดในการดำเนินการบางประการ เช่น (1) ธนาคารพัฒนาวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมแห่งประเทศไทยต้องดำเนินโครงการฟื้นฟูและเสริมสร้างศักยภาพวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมสำหรับ SMEs – คนตัวเล็ก วงเงิน 8,000 ล้านบาท
ทำให้หน่วยรถม้าเติมทุนและพนักงานประจำหน่วยรถม้าเติมทุนซึ่งทำหน้าที่แสวงหาตลาดเป้าหมายและอำนวยความสะดวกในการขอสินเชื่อ มีจำนวนไม่เพียงพอต่อการให้บริการ (2) สินเชื่อในวงเงิน 15 ล้านบาทต่อราย ไม่เพียงพอต่อความต้องการของผู้ประกอบการ SMEs เนื่องจากการลงทุนปรับเปลี่ยนเครื่องจักร (Transform) ในกลุ่มอุตสาหกรรม S-Curve ส่วนใหญ่มีมูลค่าการลงทุนค่อนข้างสูง ประกอบกับยังมีผู้ประกอบการ SMEs ให้ความสนใจ ดังนั้น กระทรวงอุตสาหกรรมจึงขอความเห็นชอบในหลักการขยายระยะเวลาและการปรับปรุง รายละเอียดการดำเนินงานทั้ง 2 โครงการ โดยสรุปได้ ดังนี้
รายละเอียด / มติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 19 ธันวาคม 2560 / ข้อเสนอของกระทรวงอุตสาหกรรมในครั้งนี้
1. ระยะเวลาดำเนินโครงการ
สิ้นสุดรับคำขอกู้ภายในระยะเวลา 12 เดือน นับตั้งแต่วันที่คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบหรือจนกว่าจะหมดวงเงินสินเชื่อรวมของโครงการ
สิ้นสุดรับคำขอกู้ภายในวันที่ 18 ธันวาคม 2562 หรือจนกว่าจะหมดวงเงินสินเชื่อรวมของโครงการ
2. กลุ่มเป้าหมาย
ธุรกิจเกษตรกรแปรรูป ธุรกิจเกี่ยวกับการท่องเที่ยว (หรือธุรกิจท่องเที่ยวชุมชน ธุรกิจเกี่ยวเนื่องการท่องเที่ยว ธุรกิจที่ตั้งอยู่ในหมู่บ้านอุตสาหกรรมสร้างสรรค์) ผู้ประกอบการใหม่หรือมีนวัตกรรม (หรือธุรกิจผลิต หรือบริการอื่น ๆ )
เพิ่มกลุ่มธุรกิจค้าส่ง ค้าปลีก)
3. อัตราดอกเบี้ย
คิดอัตราดอกเบี้ยจากผู้กู้ร้อยละ 3 ต่อปี ใน 3 ปีแรก ปีที่ 4-7 ให้เป็นไปตามอัตราดอกเบี้ยที่ธนาคารฯ กำหนด
- กรณีผู้กู้เป็นบุคคลธรรมดา ปีที่ 1-3 คิดอัตราดอกเบี้ยร้อยละ MLR -1.875 ต่อปี (ปัจจุบัน MLR = 6.875 หรือเท่ากับร้อยละ 5 ต่อปี) ปีที่ 4-7 ให้เป็นไปตามอัตราดอกเบี้ยที่ธนาคารฯ กำหนด
- กรณีผู้กู้เป็นนิติบุคคล ปีที่ 1-3 คิดอัตราดอกเบี้ยร้อยละ MLR – 3.875 ต่อปี (เท่ากับร้อยละ 3 ต่อปี) ปีที่ 4-7 ให้เป็นไปตามอัตราดอกเบี้ยที่ธนาคารฯ กำหนด
โครงการ Transformation Loan เสริมแกร่ง (Soft Loan เพื่อปรับเปลี่ยนเครื่องจักร ระยะที่ 2)
1. ระยะเวลาดำเนินโครงการ
สิ้นสุดรับคำขอกู้ภายในระยะเวลา 12 เดือน นับตั้งแต่วันที่คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบหรือจนกว่าจะหมดวงเงินสินเชื่อรวมของโครงการ
ขยายระยะเวลารับคำขอกู้เพิ่มอีก 12 เดือน นับตั้งแต่วันที่คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบหรือจนกว่าจะหมดวงเงินสินเชื่อรวมในโครงการ และขยายระยะเวลาให้ธนาคารออมสินเบิกจ่ายสินเชื่อให้แล้วเสร็จภายใน 6 เดือน นับตั้งแต่วันสิ้นสุดวันรับ คำขอกู้
2. กลุ่มเป้าหมาย
- เป็นบุคคลธรรมดาและนิติบุคคลจดทะเบียนในประเทศ (สัญญาไทยถือหุ้นเกินกว่าร้อยละ 50 ของทุนจดทะเบียน) ในกลุ่มธุรกิจ S-Curve และมีการยื่นภาษีกับภาครัฐ
- เป็นการให้สินเชื่อใหม่ทั้งลูกค้าเดิมหรือลูกค้าใหม่ และไม่ใช่ลูกหนี้ที่โอนหนี้ (Re-Finance) มาจากสถาบันการเงินอื่น
- เป็นผู้ประกอบการ SMEs ที่มีวงเงินสินเชื่อรวมทุกสถาบันการเงินต่อราย (ไม่รวมกิจการในกลุ่ม) ไม่เกิน 100 ล้านบาท ณ วันยื่นคำขอกู้
ให้ผู้ประกอบการ SMEs ที่เคยได้รับการอนุมัติและใช้วงเงินสินเชื่อ 3 โครงการ สามารถยื่นคำขอกู้ได้ ( 1. โครงการสินเชื่อดอกเบี้ยต่ำเพื่อเป็นเงินทุนหมุนเวียนให้แก่ผู้ประกอบการ SMEs 2. โครงการสินเชื่อดอกเบี้ยต่ำเพื่อเป็นเงินทุนหมุนเวียนให้แก่ผู้ประกอบการ ระยะที่ 2 และ 3. โครงการสินเชื่อดอกเบี้ยต่ำเพื่อปรับเปลี่ยนเครื่องจักรและเพิ่มประสิทธิภาพการผลิต สำหรับ ผู้ประกอบกิจการวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม)
3. วงเงินสินเชื่อต่อราย
15 ล้านบาท
50 ล้านบาทโดยขอขยายวงเงินสูงสุดต่อรายรวมสินเชื่อดอกเบี้ยต่ำ 3 โครงการข้างต้นสูงสุดไม่เกินรายละ 50 ล้านบาท
ทั้งนี้ เป็นการปรับเปลี่ยนรายละเอียดการดำเนินการภายใต้กรอบวงเงินงบประมาณเดิม จำนวน 6,395 ล้านบาท โดยรัฐบาลยังคงชดเชยอัตราดอกเบี้ยในอัตราเดิม
ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา (นายกรัฐมนตรี) วันที่ 18 ธันวาคม 2561
Click Donate Support Web