WORLD7

smed PIONEER 720x100ใจฟู720x100pxgpf 720x100 66

'นายกฯ'จัดระเบียบวาระประชุมครม.ใหม่ เพื่อให้เกิดความรัดกุม และโปร่งใส

'นายกฯ'จัดระเบียบวาระประชุมครม.ใหม่ เพื่อให้เกิดความรัดกุม และโปร่งใส

   ผู้สื่อข่าวรายงานว่า ที่หน้าเว็บไซต์ของสำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรี(สลค.) ได้เผยแพร่หนังสือด่วนที่สุด ลงวันที่ 12 ก.ย. ลงนามโดยนายอำพน กิตติอำพน เลขาธิการคณะรัฐมนตรี ส่งถึงรัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี กระทรวงและกรมต่างๆ ในเรื่อง'การกําหนดขั้นตอนการเสนอเรื่องต่อครม.'พร้อมกับแนบ 1.แบบหนังสือส่วนราชการเสนอเรื่องต่อครม. และ 2.แบบหนังสือรองนายกรัฐมนตรีเห็นชอบให้เสนอครม.

     เนื้อหาในหนังสือหนังสือดังกล่าวระบุว่า "ด้วยนายกรัฐมนตรีได้มีนโยบายให้การประชุมครม.และการเสนอเรื่องต่อครม.ของส่วนราชการมีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น โดยให้ส่วนราชการเสนอเรื่องให้รองนายกรัฐมนตรีที่กํากับการบริหารราชการ ได้พิจารณาเรื่องที่จะเสนอต่อครม. ในเบื้องต้น เพื่อให้มีการบูรณาการการทํางานของส่วนราชการ ที่เกี่ยวข้องกับเรื่องนั้นๆ ก่อนเสนอต่อครม."

    ทั้งนี้ จากการตรวจสอบเนื้อหาพบว่า เป็นแบบฟอร์มใหม่ที่หน่วยงานจะต้องใช้ในการนำเสนอเรื่องเข้าสู่ที่ประชุมครม. โดยมีรายละเอียดที่กำหนดขึ้นใหม่ คือ รายงานการวิเคราะห์หรือศึกษาตามกฎหมาย ที่ต้องศึกษาวิเคราะห์ในเรื่องนี้ก่อนดำเนินการให้สรุปผลการศึกษาและเสนอรายงานการศึกษามาด้วย, ผลกระทบ ซึ่งต้องระบุผลกระทบของเรื่องที่มีต่อสภาวะทางเศรษฐกิจ สังคม การเมืองหรือด้านอื่นๆ, ค่าใช้จ่ายและแหล่งที่มา ให้ระบุจำนวนเงินและแหล่งที่มาของเงิน ให้ระบุหมวดของงบประมาณที่เสนอขอมาให้ชัดเจน

    สำหรับ รายละเอียดส่วนอื่นๆ จะเหมือนแบบฟอร์มเดิม เช่น เหตุผลความจำเป็นที่ต้องเสนอ, ความเร่งด่วนของเรื่อง, สาระสำคัญ ข้อเท็จจริงและข้อกฎหมาย, ความเห็นหรือความเห็นชอบ/อนุมัติของหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง, ข้อกฎหมายและมติคณะรัฐมนตรีที่เกี่ยวข้อง และข้อเสนอของส่วนราชการเจ้าของเรื่อง สำหรับกรณีการขอให้มีการทบทวนมติต้องระบุให้ชัดเจนว่าจะขอยกเลิกหรือแก้ไขเปลี่ยนแปลงหรือเพิ่มเติมมติจากเดิมเป็นอย่างไร

     รายงานข่าวจากสำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรี เปิดเผยว่า แบบฟอร์มดังกล่าวเป็นแบบฟอร์มใหม่ ที่เป็นการสั่งการจาก พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรีและหัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ ที่ต้องการเพิ่มขึ้นมาเพื่อให้เกิดความรัดกุม และโปร่งใสตรวจสอบได้ในมติครม. โดยส่วนที่เพิ่มคือ ส่วนของ 'รายงานการวิเคราะห์หรือศึกษาตามกฎหมาย''ผลกระทบ'และ"ค่าใช้จ่ายและแหล่งที่มา'เพราะที่ผ่านมาเวลาครม.มีมติในโครงการใหญ่มักจะมีช่องโหว่ใน 3 ส่วนนี้

สำนักข่าวอีไฟแนนซ์ไทย

apm

 

 

Facebook

5 ข่าวฮอตนิวส์!