โครงการพัฒนากำลังคนด้านวิศวกรรมศาสตร์ เทคโนโลยีและนวัตกรรมสนับสนุนการลงทุนและเพิ่มขีดความสามารถภาคอุตสาหกรรมในประเทศและภูมิภาค
- Details
- Category: มติ ครม.
- Published: Sunday, 16 December 2018 21:14
- Hits: 1604
โครงการพัฒนากำลังคนด้านวิศวกรรมศาสตร์ เทคโนโลยีและนวัตกรรมสนับสนุนการลงทุนและเพิ่มขีดความสามารถภาคอุตสาหกรรมในประเทศและภูมิภาค
เรื่อง โครงการพัฒนากำลังคนด้านวิศวกรรมศาสตร์ เทคโนโลยีและนวัตกรรมสนับสนุนการลงทุนและเพิ่มขีดความสามารถภาคอุตสาหกรรมในประเทศและภูมิภาค
คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบ ดังนี้
1. เห็นชอบการปรับเปลี่ยนรายละเอียดโครงการเพิ่มศักยภาพกำลังคนด้านเทคโนโลยีและนวัตกรรมสนับสนุนการลงทุนและเพิ่มขีดความสามารถภาคอุตสาหกรรมในประเทศและภูมิภาค เป็นโครงการพัฒนากำลังคนด้านวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและนวัตกรรมสนับสนุนการลงทุนและเพิ่มขีดความสามารถภาคอุตสาหกรรมในประเทศและภูมิภาค โดยให้สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐานและสถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีเป็นผู้รับผิดชอบโครงการ ตามที่กระทรวงศึกษาธิการเสนอ
2. สำหรับเงินงบประมาณในการดำเนินการ จำนวน 800 ล้านบาท เพื่อดำเนินงานโครงการ ประมาณการงบดำเนินการรายปีในลักษณะงบเงินอุดหนุนการศึกษาของนักศึกษาในสถาบันไทยโคเซ็นและ งบดำเนินงานของสำนักงานโครงการจัดตั้งสถาบันไทยโคเซ็น จำนวน 1,200 ล้านบาท และเงินนอกงบประมาณ จำนวน 2,700 ล้านบาท จากองค์การความร่วมมือระหว่างประเทศของญี่ปุ่น (JICA) สำหรับการดำเนินงานโครงการ ให้เป็นไปตามความเห็นสำนักงบประมาณ โดยดำเนินการตามขั้นตอนของกฎหมาย ระเบียบ ข้อบังคับและ มติคณะรัฐมนตรีที่เกี่ยวข้องให้ถูกต้องครบถ้วนด้วย
3. ให้กระทรวงศึกษาธิการดำเนินการเพิ่มเติม ดังนี้
3.1 พิจารณาทบทวนองค์ประกอบคณะกรรมการบริหารโครงการจัดตั้งสถาบันไทยโคเซ็น ตามความเห็นของกระทรวงอุตสาหกรรม
3.2 พิจารณาทบทวนการจัดตั้งสำนักงานโครงการจัดตั้งสถาบันไทยโคเซ็น ตามความเห็นของกระทรวงอุตสาหกรรม สำนักงาน ก.พ.ร. และสำนักงบประมาณ ทั้งนี้ ให้กระทรวงศึกษาธิการดำเนินการ ตามขั้นตอนของกฎหมาย ระเบียบ ข้อบังคับ และมติคณะรัฐมนตรีที่เกี่ยวข้องด้วย
3.3 รับความเห็นของกระทรวงการคลัง กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี กระทรวงอุตสาหกรรม สำนักงาน ก.พ. สำนักงาน ก.พ.ร. และสำนักงบประมาณไปพิจารณาดำเนินการต่อไป
สาระสำคัญของเรื่อง
กระทรวงศึกษาธิการ (ศธ.) รายงานว่า
1. โครงการพัฒนากำลังคนด้านวิทยาศาสตร์ฯ มีวัตถุประสงค์เพื่อจัดตั้งสถาบันไทยโคเซ็น (Thai KOSEN) จำนวน 2 วิทยาเขต ได้แก่ สถาบันโคเซ็นแห่งสถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง (KOSEN KMITL) และสถาบันโคเซ็นแห่งมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี (KOSEN KMUTT) และพัฒนาหลักสูตรที่มีความชำนาญเฉพาะด้านการผลิต วิศวกรนักปฏิบัติ นักเทคโนโลยีและนวัตกรที่มีทักษะความเชี่ยวชาญสูงในการสร้างและพัฒนานวัตกรรม และสามารถเป็นผู้นำในการพัฒนาด้านวิศวกรรมและเทคโนโลยีของประเทศ สนับสนุนการต่อยอดกลุ่มอุตสาหกรรมเดิมและการเพิ่มเติมอุตสาหกรรมแห่งอนาคต จัดทำหลักสูตรด้านวิศวกรรมศาสตร์ และจัดให้มีทุนการศึกษาวิจัยและพัฒนา ฝึกอบรมเกี่ยวกับการเรียนการสอนวิทยาศาสตร์ คณิตศาสตร์ เทคโนโลยีและวิศวกรรมศาสตร์แก่นักศึกษาในหลักสูตรโคเซ็น 4 ประเภท โดยมีระยะเวลาดำเนินการ 13 ปี (ปีงบประมาณ พ.ศ. 2562 – 2574) งบประมาณที่ใช้จ่ายภายใต้โครงการทั้งสิ้น 3,500 ล้านบาท ประกอบด้วยเงินนอกงบประมาณ 2,700 ล้านบาท และเงินงบประมาณของประเทศไทย วงเงิน 800 ล้านบาท (ไม่รวม งบดำเนินงานที่ขอรับการสนับสนุนแยกต่างหากอีก 1,200 ล้านบาท (13 ปี))
2. โครงการพัฒนากำลังคนด้านวิศวกรรมศาสตร์ เทคโนโลยีและนวัตกรรมสนับสนุนการลงทุนและเพิ่มขีดความสามารถภาคอุตสาหกรรมในประเทศและภูมิภาค มีรายละเอียดการปรับเปลี่ยนจากโครงการเพิ่มศักยภาพกำลังคนด้านเทคโนโลยีและนวัตกรรมสนับสนุนการลงทุนและเพิ่มขีดความสามารถภาคอุตสาหกรรมในประเทศและภูมิภาค ซึ่งคณะรัฐมนตรีอนุมัติในหลักการโครงการฯ เมื่อวันที่ 27 มีนาคม 2561 ดังนี้
รายการ
โครงการเพิ่มศักยภาพกำลังคนด้านเทคโนโลยีและนวัตกรรมสนับสนุนการลงทุนและเพิ่มขีดความสามารถภาคอุตสาหกรรมในประเทศและภูมิภาค (คณะรัฐมนตรีอนุมัติในหลักการ เมื่อวันที่ 27 มีนาคม 2561)
โครงการพัฒนากำลังคนด้านวิศวกรรมศาสตร์ เทคโนโลยี และนวัตกรรมสนับสนุนการลงทุนและเพิ่มขีดความสามารถภาคอุตสาหกรรมในประเทศและภูมิภาค (ศธ.เสนอขอปรับเปลี่ยนในครั้งนี้)
จัดตั้งสถานศึกษา
1. ปรับปรุงพื้นที่และก่อสร้างสถานศึกษา จำนวน 2 แห่ง คือ วิทยาลัยเทคนิคราชสิทธารามและวิทยาลัยเทคนิคมีนบุรี
2. จัดตั้งศูนย์ผลิตและพัฒนาสมรรถนะกำลังคนอาชีวศึกษา และ Career Development Center จัดตั้งสถาบันไทยโคเซ็น (Thai KOSEN) จำนวน 2 วิทยาเขต ได้แก่ สถาบันโคเซ็นแห่งสถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง และสถาบันโคเซ็นแห่งมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี
พัฒนาหลักสูตร
หลักสูตรต่อเนื่อง 5 ปี (ระดับ ปวช. และ ปวส.) สาขาอิเล็กทรอนิกส์และสาขาแมคคราทรอนิกส์
หลักสูตรด้านวิศวกรรมศาสตร์สำหรับนักเรียนที่สำเร็จการศึกษาชั้นมัธยมศึกษา ปีที่ 3 ใช้เวลาศึกษา 5 ปี (เทียบเท่าระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย 3 ปี รวมกับอนุปริญญาตรี 2 ปี) และการศึกษาในวิชาชั้นสูง (Advanced Courses) เวลาศึกษา 2 ปี (เทียบเท่าปริญญาตรี) หลักสูตรวิศวกรรมแมคคาทรอนิกส์ และหลักสูตรวิศวกรรมไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์
ทุนการศึกษา
ผลิตช่างเทคนิคและนักเทคโนโลยีระดับพรีเมี่ยม
1. ทุนปริญญาตรี (2 ปี) ณ ประเทศญี่ปุ่น สำหรับผู้สำเร็จการศึกษาที่มีผลการเรียนดี (เพื่อกลับมาเป็นครู) รวม 180 คน
2. ทุนปริญญาตรี (4 ปี) ณ ประเทศญี่ปุ่น สำหรับบุคคลทั่วไป (เพื่อกลับมาเป็นครู) รวม 40 คน
3. ทุนในประเทศไทยจะมีการเปิดสอน 2 สาขา สาขาละ 40 คน โดยมีค่าใช้จ่ายรายหัวนักเรียน 110,000 บาท/คน/ปี การจัดการเรียนการสอนด้วยความร่วมมือกับสถานประกอบการ
4. ทุนฝึกอบรม/อบรมครูในประเทศญี่ปุ่นให้กับสถานศึกษา 20 แห่ง รวม 700 คน
5. ทุนฝึกอบรมในประเทศไทย การพัฒนาหลักสูตร จ้างผู้เชี่ยวชาญศูนย์ผลิตและพัฒนาสมรรถนะกำลังคนอาชีวศึกษา
6. ทุนฝึกอบรมประเทศญี่ปุ่น รวม 60 คน การผลิตและพัฒนาครูอาชีวศึกษา
7. ทุนศึกษาต่อปริญญาโท รวม 44 ทุน
8. ทุนฝึกอบรมในประเทศไทย การพัฒนาหลักสูตร การพัฒนาการเรียนการสอน E-learning โดยมหาวิทยาลัยเครือข่าย จ้างผู้เชี่ยวชาญการผลิตกำลังคนหลักสูตร MONOZUKURI
9. ทุนฝึกอบรมในประเทศไทย การพัฒนาหลักสูตร จ้างผู้เชี่ยวชาญ
10. นักเรียนหลักสูตร MONOZUKURI จำนวน 100 คน ค่าใช้จ่ายรายหัว 500,000 บาท/คน/หลักสูตร
1. ทุนสำหรับนักเรียนโรงเรียนวิทยาศาสตร์จุฬาภรณราชวิทยาลัย (7 ปี เทียบเท่าปริญญาตรี) ประเทศญี่ปุ่น (เพื่อกลับมาเป็นครู) รวม 72 คน
2. ทุนการศึกษาในสถาบันไทยโคเซ็น 2 ปี และในสถาบันโคเซ็นประเทศญี่ปุ่น 3 ปี จำนวน 180 คน
3. ทุนการศึกษาในสถาบันไทยโคเซ็น 5 ปี จำนวน 900 คน (แลกเปลี่ยนประเทศญี่ปุ่น 1 ภาคการศึกษา)
4. ทุนการศึกษาต่อเนื่องสำหรับ Advanced Courses จำนวน 328 คน (แลกเปลี่ยนประเทศญี่ปุ่น 2 ภาคการศึกษา)
(ข้อ 2 – 4 เพื่อกลับมาทำงานหน่วยงานภาครัฐหรือภาคอุตสาหกรรมใน EEC โดยต้องมาปฏิบัติงานสอนแบบไม่เต็มเวลาที่สถาบันไทยโคเซ็นด้วย หรือเป็นครู/บุคลากรในสถาบันไทยโคเซ็น)
งบประมาณดำเนินการ
3,500 ล้านบาท
เงินนอกงบประมาณ 2,700 ล้านบาทและเงินงบประมาณ 800 ล้านบาท
สำหรับดำเนินงานโครงการ 3,500 ล้านบาท
- เงินนอกงบประมาณ 2,700ล้านบาท (จากองค์การความร่วมมือระหว่างประเทศของญี่ปุ่น)
- เงินงบประมาณ 800 ล้านบาท ประมาณการงบดำเนินงานรายปีในลักษณะงบเงินอุดหนุนของนักศึกษาและ งบดำเนินงานของสำนักงานโครงการจัดตั้งสถาบันไทยโคเซ็น 1,200 ล้านบาท (13 ปี) โดยให้ภาคเอกชนและผู้ประกอบการมี ส่วนร่วมในการสนับสนุนงบประมาณ
ระยะเวลาดำเนินการ
10 ปี (พ.ศ. 2562 – 2571)
13 ปี (พ.ศ. 2562 – 2574)
หน่วยงานผู้รับผิดชอบ
สำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา
สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐานและสถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
3. คณะรัฐมนตรีมีมติ (3 มกราคม 2561) เห็นชอบโครงการทุนการศึกษาต่อสำหรับนักเรียนกลุ่มโรงเรียนจุฬาภรณราชวิทยาลัย (โรงเรียนวิทยาศาสตร์ภูมิภาค) ไปศึกษาต่อ ณ National Institute of Technology (KOSEN) ของประเทศญี่ปุ่น จำนวน 2 รุ่น รวม 24 คน ในปีการศึกษา 2561 – 2562 เพื่อกลับมาปฏิบัติราชการหรือปฎิบัติงานราชการในสังกัดกระทรวงศึกษาธิการหรือหน่วยงานรัฐบาลด้านวิศวกรรม ซึ่งเป็นโครงการในลักษณะใกล้เคียงกันกับโครงการพัฒนากำลังคนด้านวิศวกรรมศาสตร์ เทคโนโลยีและนวัตกรรมสนับสนุนการลงทุนและเพิ่มขีดความสามารถภาคอุตสาหกรรมในประเทศและภูมิภาคที่เสนอมาในครั้งนี้ แต่มีระยะเวลาดำเนินการแตกต่างกัน โดยการดำเนินการสนับสนุนทุนการศึกษาสำหรับนักเรียนโรงเรียนวิทยาศาสตร์จุฬาภรณราชวิทยาลัยของโครงการพัฒนากำลังคนด้านวิศวกรรมศาสตร์ฯ ที่เสนอมาในครั้งนี้ จะเริ่มดำเนินงานในปี พ.ศ. 2563
4. โครงการพัฒนากำลังคนด้านวิศวกรรมศาสตร์ เทคโนโลยีและนวัตกรรมสนับสนุนการลงทุนและเพิ่มขีดความสามารถภาคอุตสาหกรรมในประเทศและภูมิภาค เป็นโครงการที่สอดคล้องกับนโยบายประเทศไทย 4.0 โดยสนับสนุนการลงทุนและเพิ่มขีดความสามารถของภาคอุตสาหกรรมในประเทศและภูมิภาค โดยเฉพาะอุตสาหกรรมในเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก (Eastern Economic Corridor : EEC) และการพัฒนากำลังคนด้านวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี และนวัตกรรมให้ที่มีความรู้และศักยภาพสูงจะมีบทบาทสำคัญในการช่วยส่งเสริม กลุ่มอุตสาหกรรมเป้าหมาย 10 อุตสาหกรรม โดยมีการกำหนดแนวทางในการพัฒนาศัยกภาพของทรัพยากรมนุษย์ ซึ่งมีความสอดคล้องกับยุทธศาสตร์การผลิตและพัฒนากำลังคน การวิจัยและนวัตกรรมภายใต้แผนการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2560 – 2579
ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา (นายกรัฐมนตรี) วันที่ 4 ธันวาคม 2561
Click Donate Support Web