WORLD7

smed PIONEER 720x100ใจฟู720x100pxgpf 720x100 66

ร่างพระราชบัญญัติการศึกษาพระปริยัติธรรม พ.ศ. ….

GOV 6ร่างพระราชบัญญัติการศึกษาพระปริยัติธรรม พ.ศ. ….

 

       คณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติและรับทราบ ดังนี้

1. อนุมัติหลักการร่างพระราชบัญญัติการศึกษาพระปริยัติธรรม พ.ศ. …. ตามที่สำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติเสนอ และให้ส่งสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาตรวจพิจารณา โดยให้รับความเห็นของกระทรวงศึกษาธิการไปประกอบการพิจารณาด้วย แล้วส่งให้คณะกรรมการประสานงานสภานิติบัญญัติแห่งชาติพิจารณา ก่อนเสนอสภานิติบัญญัติแห่งชาติต่อไป

2. รับทราบแผนในการจัดทำกฎหมายลำดับรอง กรอบระยะเวลา และกรอบสาระสำคัญของกฎหมายลำดับรองที่ต้องออกตามร่างพระราชบัญญัติดังกล่าว ตามที่สำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติเสนอ

3. ให้สำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติรับความเห็นของสำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรีไปพิจารณาดำเนินการต่อไปด้วย

สาระสำคัญของร่างพระราชบัญญัติ

ร่างพระราชบัญญัติการศึกษาพระปริยัติธรรม พ.ศ. .... มีสาระสำคัญสรุปได้ดังนี้

 

เรื่อง/สาระสำคัญ

1. วัตถุประสงค์

         เพื่อให้การศึกษาและส่งเสริมวิชาการทางพระพุทธศาสนาให้เป็นไปโดยสอดคล้องกับโบราณราชประเพณีและมาตรฐานการจัดการศึกษาของชาติ รวมทั้งเพื่อประโยชน์ต่อการพัฒนาความรู้ของคนในชาติให้มีการนำหลักธรรมทางพระพุทธศาสนาไปประยุกต์ใช้ในการดำรงชีวิต

 

2. กำหนดแผนการศึกษา

กำหนดให้การศึกษาพระปริยัติธรรมมี 3 แผนก ได้แก่

- แผนกบาลีสนามหลวง ศึกษาพระพุทธศาสนา ภาคภาษาบาลี

- แผนกธรรมสนามหลวง ศึกษาพระพุทธศาสนา ภาคภาษาไทย

- แผนกสามัญศึกษา ศึกษาพระพุทธศาสนาทั้งแผนกบาลีสนามหลวงและแผนกธรรมสนามหลวง ควบคู่กับหลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐานของกระทรวงศึกษาธิการ

 

3. การบริหารจัดการการศึกษาพระปริยัติธรรม

- ให้มีคณะกรรมการการศึกษาพระปริยัติธรรม ประกอบด้วยประธานกรรมการรูปหนึ่ง ซึ่งสมเด็จพระสังฆราชทรงแต่งตั้ง โดยความเห็นชอบของมหาเถรสมาคม มีอำนาจและหน้าที่ เช่น กำหนดนโยบายและแผนการจัดการศึกษาพระปริยัติธรรม ควบคุม ดูแลและกำกับการจัดการศึกษาพระปริยัติธรรม ให้เป็นไปตามพระธรรมวินัย โบราณราชประเพณี หรือมาตรฐานการศึกษาของชาติ และกำหนดมาตรฐานการศึกษาพระปริยัติธรรมและการประกันคุณภาพการศึกษา

- ให้ พศ. โดยความเห็นชอบของคณะกรรมการฯ จัดทำแผนยุทธศาสตร์การสร้างเสริม สนับสนุน พัฒนาการจัดการศึกษาพระปริยัติธรรมและแผนงบประมาณเพื่อการจัดการศึกษาพระปริยัติธรรมเสนอต่อมหาเถรสมาคมพิจารณาให้ความเห็นชอบ

- ให้ พศ. เป็นหน่วยงานกลางในการดำเนินการส่งเสริม สนับสนุน ประสานงานการศึกษาพระปริยัติธรรม และเป็นสำนักงานเลขานุการของคณะกรรมการฯ

- ให้รัฐอุดหนุนงบประมาณสำหรับการจัดการศึกษาพระปริยัติธรรม ตามความเหมาะสมและความจำเป็น

- ให้วัดมีสิทธิจัดตั้งสถานศึกษาพระปริยัติธรรมได้ตามหลักเกณฑ์ที่คณะกรรมการกำหนด

4. การเทียบระดับการศึกษาพระปริยัติธรรมและกำหนดวิทยฐานะของผู้สำเร็จการศึกษาพระปริยัติธรรม มีดังนี้

4.1 การศึกษาพระปริยัติธรรมที่ได้จัดให้แก่สามเณรซึ่งเป็นเด็กตามกฎหมายว่าด้วยการศึกษาภาคบังคับ และมีพื้นความรู้ไม่ต่ำกว่าระดับประถมศึกษาปีที่หกหรือเทียบเท่า ซึ่งได้ศึกษาวิชาสามัญเพิ่มเติมตามหลักเกณฑ์และเงื่อนไขที่คณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐานกำหนด โดยคำแนะนำของมหาเถรสมาคม

 

แผนก/เทียบเท่า

4.1.1 ศึกษาแผนกธรรมสนามหลวง ชั้นนักธรรมเอก เทียบเป็นการศึกษาในระดับมัธยมศึกษาตอนต้น

4.1.2 ศึกษาแผนกบาลีสนามหลวง ชั้นเปรียญธรรมสามประโยค เทียบเป็นการศึกษาในระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย

4.1.3 ศึกษาแผนกสามัญศึกษาเทียบเป็นการศึกษาในระดับมัธยมศึกษาตอนต้นและระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย

4.2 ผู้เรียนที่พ้นการศึกษาภาคบังคับแล้ว

 

แผนก/วิทยฐานะ

4.2.1 สำเร็จการศึกษาพระปริยัติธรรม แผนกธรรมสนามหลวง ชั้นนักธรรมเอกให้มีวิทยฐานะระดับมัธยมศึกษาตอนต้น

4.2.2 สำเร็จการศึกษาพระปริยัติธรรม แผนกบาลีสนามหลวง ชั้นเปรียญธรรมสามประโยคให้มีวิทยฐานะระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย

4.2.3 สำเร็จการศึกษาตามหลักสูตรพระปริยัติธรรม แผนกธรรมและแผนกบาลีสนามหลวง ชั้นเปรียญธรรมเก้าประโยคให้มีวิทยฐานะระดับปริญญาตรี เรียกว่า “เปรียญธรรมเก้าประโยค” ใช้อักษรย่อว่า “ป.ธ.9”

4.2.4 สำเร็จการศึกษาพระปริยัติธรรม แผนกบาลีสนามหลวง ที่ได้ทำการศึกษาเพิ่มเติมตามหลักเกณฑ์ที่คณะกรรมการกำหนดให้มีวิทยฐานะระดับใด ๆ โดยความเห็นชอบของมหาเถรสมาคมและตามหลักเกณฑ์ของคณะกรรมการการอุดมศึกษา

            ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา (นายกรัฐมนตรี) วันที่ 26 พฤศจิกายน 2561

Click Donate Support Web

ais 790x90

GC 950x120

SIAM790x90

apm

 

 

Facebook

5 ข่าวฮอตนิวส์!