WORLD7

smed PIONEER 720x100ใจฟู720x100pxgpf 720x100 66

การประเมินส่วนราชการตามมาตรการปรับปรุงประสิทธิภาพในการปฏิบัติราชการประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2562

GOV2 copy copyการประเมินส่วนราชการตามมาตรการปรับปรุงประสิทธิภาพในการปฏิบัติราชการประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2562

 

      คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบกรอบการประเมิน เกณฑ์การประเมินและรอบระยะเวลาในการประเมินส่วนราชการและจังหวัด ตามมาตรการปรับปรุงประสิทธิภาพในการปฏิบัติราชการ ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2562 ตามที่สำนักงาน ก.พ.ร. เสนอ ทั้งนี้ ให้สำนักงาน ก.พ.ร. และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องรับความเห็นของกระทรวงการคลัง กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ กระทรวงพาณิชย์ กระทรวงมหาดไทย กระทรวงแรงงาน สำนักงาน ก.พ. และสำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ไปพิจารณาดำเนินการในส่วนที่เกี่ยวข้องต่อไปด้วย

 

สาระสำคัญของเรื่อง

      1. เดิมคณะรัฐมนตรีได้มีมติ (5 เมษายน 2559) เห็นชอบการประเมินมาตรการปรับปรุงประสิทธิภาพในการปฏิบัติราชการ (จัดทำขึ้นตามคำสั่งหัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ ที่ 5/2559 เรื่อง มาตรการปรับปรุงประสิทธิภาพในการปฏิบัติราชการ) ตามที่รองนายกรัฐมนตรี (นายวิษณุ เครืองาม) เสนอ ซึ่งส่วนราชการได้ดำเนินการตามแบบการประเมินดังกล่าวมาตั้งแต่ปีงบประมาณ พ.ศ. 2559 อย่างไรก็ดี การประเมินส่วนราชการตามแบบการประเมินดังกล่าวมีปัญหาและข้อจำกัด เช่น (1) ข้อมูลในหลายตัวชี้วัดไม่สามารถออกผลได้ทันภายในการประเมินรอบที่ 1 (ภายในวันที่ 31 มีนาคม) และเกณฑ์การประเมินรูปแบบเดิม

ทำให้ส่วนราชการที่มีผลการดำเนินงานในองค์ประกอบใดเพียงองค์ประกอบหนึ่งต่ำกว่าเป้าหมาย ถูกจัดอยู่ในระดับที่ต้องปรับปรุง แม้ว่าส่วนราชการนั้นจะมีผลการประเมินในองค์ประกอบที่เป็นภารกิจหลักอยู่ในระดับสูงกว่าเป้าหมายก็ตาม ดังนั้น ในครั้งนี้ สำนักงาน ก.พ.ร. จึงเสนอกรอบการประเมิน เกณฑ์การประเมิน และรอบระยะเวลาในการประเมินส่วนราชการและจังหวัด ตามมาตรการปรับปรุงประสิทธิภาพในการปฏิบัติราชการ ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2562 ซึ่งได้ปรับปรุงจากประเมินรูปแบบเดิมที่คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบไว้ เพื่อแก้ไขปัญหาและข้อจำกัดจากการดำเนินการในช่วงที่ผ่านมา โดยได้ปรับปรุงใน 3 ส่วนหลัก ได้แก่

1. กรอบการประเมิน องค์ประกอบในการประเมินยังคงมี 5 องค์ประกอบเช่นเดียวกับที่คณะรัฐมนตรีได้มีมติเห็นชอบไว้ ซึ่งประกอบด้วย

               (1) ประสิทธิภาพในการดำเนินงานตามภารกิจพื้นฐาน (Functional base)

               (2) ประสิทธิภาพในการดำเนินงานตามภารกิจยุทธศาสตร์หรือภารกิจที่ได้รับมอบหมายเป็นพิเศษ (Adenda base)

               (3) การดำเนินงานตามหลักภารกิจพื้นที่/จังหวัด กลุ่มจังหวัด (Area Base)

               (4) ประสิทธิภาพในการบริหารจัดการและพัฒนานวัตกรรม (Innovation base) และ

               (5) ศักยภาพในการดำเนินการของส่วนราชการตามยุทธศาสตร์ชาติ (Potential base) แต่ได้มีการปรับปรุงประเด็นการประเมินในองค์ประกอบที่ 1 โดยได้เพิ่มเติมประเด็นการประเมินด้านการบูรณาการการดำเนินงานร่วมกันหลายหน่วยงาน เพื่อให้สะท้อนข้อเท็จจริงที่ว่า ในปัจจุบันส่วนราชการหลายแห่งมีการดำเนินงานตามภารกิจหลักโดยบูรณาการการดำเนินงานร่วมกัน

2. เกณฑ์การประเมิน สืบเนื่องจากเกณฑ์การประเมินรูปแบบเดิม ทำให้ส่วนราชการที่มีผลการดำเนินงานในองค์ประกอบใดเพียงองค์ประกอบหนึ่งต่ำกว่าเป้าหมาย ถูกจัดอยู่ในระดับที่ต้องปรับปรุง แม้ว่าส่วนราชการนั้นจะมีผลการประเมินในองค์ประกอบที่เป็นภารกิจหลักอยู่ในระดับสูงกว่าเป้าหมาย ก็ตาม ดังนั้น จึงได้มีการปรับปรุงเกณฑ์การประเมิน เป็นการคำนวณคะแนนเฉลี่ยเป็นร้อยละของทุกองค์ประกอบ และยังคงแบ่งเป็น 3 ระดับเช่นเดียวกับรูปแบบเดิม โดยส่วนราชการที่จะถูกจัดอยู่ในระดับที่ต้องปรับปรุงจะต้องมีคะแนนผลการดำเนินงานในภาพรวมต่ำกว่าร้อยละ 60 ซึ่งจะสะท้อนผลการดำเนินงานของส่วนราชการได้ชัดเจนมากยิ่งขึ้น

3. รอบระยะเวลาในการประเมิน

      การประเมินส่วนราชการตามมติคณะรัฐมนตรีเดิมได้กำหนดให้ส่วนราชการต้องประเมิน ปีละ 2 รอบ (รอบที่ 1 ตั้งแต่วันที่ 1 ตุลาคม – 31 มีนาคม และรอบที่ 2 ตั้งแต่วันที่ 1 เมษายน – 30 กันยายน) แต่ข้อมูลในหลายตัวชี้วัดไม่สามารถออกผลได้ทันภายในการประเมินรอบที่ 1 (ภายในวันที่ 31 มีนาคม) ดังนั้น สำนักงาน ก.พ.ร. จึงได้ปรับปรุงรอบระยะเวลาในการประเมิน โดยกำหนดให้ส่วนราชการและจังหวัดต้องประเมิน ปีละ 1 รอบ (ตั้งแต่วันที่ 1 ตุลาคม – 30 กันยายน)

ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา (นายกรัฐมนตรี) วันที่ 6 พฤศจิกายน 2561

apm

 

 

Facebook

5 ข่าวฮอตนิวส์!