WORLD7

smed PIONEER 720x100ใจฟู720x100pxgpf 720x100 66

ร่างระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรี ว่าด้วยการบริหารทรัพยากรน้ำแห่งชาติ พ.ศ. ....

GOV2ร่างระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรี ว่าด้วยการบริหารทรัพยากรน้ำแห่งชาติ พ.ศ. ....

 

      คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบในหลักการร่างระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรี ว่าด้วยการบริหารทรัพยากรน้ำแห่งชาติ พ.ศ. .... ตามที่สำนักงานทรัพยากรน้ำแห่งชาติเสนอ และให้ส่งคณะกรรมการตรวจสอบร่างกฎหมายและ ร่างอนุบัญญัติที่เสนอคณะรัฐมนตรีตรวจพิจารณา โดยให้รับความเห็นของสำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติไปประกอบการพิจารณาด้วย แล้วดำเนินการต่อไปได้

 

สาระสำคัญของร่างระเบียบ

ปรับปรุงระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรี ว่าด้วยการบริหารทรัพยากรน้ำแห่งชาติ พ.ศ. 2550 ดังนี้

1. กำหนดบทนิยามคำว่า'ทรัพยากรน้ำ'ให้ครอบคลุมน้ำในบรรยากาศน้ำบนผิวดิน และน้ำใต้ดิน รวมถึงสิ่งอื่นที่ใช้เพื่อการบริหารจัดการทรัพยากรน้ำ รวมทั้งกำหนดบทนิยามอื่น ๆ เช่น “การบริหารทรัพยากรน้ำ” “ลุ่มน้ำ” “องค์การผู้ใช้น้ำ” เป็นต้น

2. ปรับปรุงองค์ประกอบของ กนช. ดังนี้

2.1 นายกรัฐมนตรีเป็นประธานกรรมการ จากเดิมนายกรัฐมนตรีหรือรองนายกรัฐมนตรี ที่นายกรัฐมนตรีมอบหมายเป็นประธานกรรมการ

2.2 รองนายกรัฐมนตรีที่นายกรัฐมนตรีมอบหมายเป็นรองประธานกรรมการ จากเดิมรัฐมนตรีว่าการกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม เป็นรองประธานกรรมการคนที่หนึ่ง รัฐมนตรีว่า การกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เป็นรองประธานกรรมการคนที่สอง และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี เป็นรองประธานกรรมการคนที่สาม

2.3 กรรมการ ประกอบด้วย รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย ปลัดกระทรวงคมนาคม ปลัดกระทรวงพลังงาน ปลัดกระทรวงมหาดไทย ปลัดกระทรวงอุตสาหกรรม ผู้อำนวยการสำนักงบประมาณ เลขาธิการคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ เลขาธิการคณะกรรมการพิเศษเพื่อประสานงานโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริ เลขาธิการมูลนิธิปิดทองหลังพระสืบสานแนวพระราชดำริ อธิบดีกรมชลประทาน อธิบดีกรมทรัพยากรน้ำ อธิบดีกรมทรัพยากรน้ำบาดาล อธิบดีกรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย อธิบดีกรมอุตุนิยมวิทยา และผู้อำนวยการสถาบันสารสนเทศทรัพยากรน้ำและการเกษตร (องค์การมหาชน) และกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิซึ่งนายกรัฐมนตรีแต่งตั้งจำนวนสามคน จากเดิมผู้แทนส่วนราชการและผู้ทรงคุณวุฒิซึ่งนายกรัฐมนตรีแต่งตั้งเป็นกรรมการ

3. กำหนดหน้าที่และอำนาจของ กนช. เช่น การกำหนดลุ่มน้ำเพื่อประโยชน์ในการบริหารจัดการทรัพยากรน้ำตามสภาพอุทกวิทยา สภาพภูมิศาสตร์ และวัตถุประสงค์ในการบริหาร พิจารณาให้ความเห็นชอบการผันน้ำระหว่างลุ่มน้ำ และการผันน้ำจากแหล่งน้ำระหว่างประเทศหรือต่างประเทศ เป็นต้น

4. กำหนดให้ สทนช. ทำหน้าที่เป็นสำนักงานเลขานุการของ กนช. จากเดิมกรมทรัพยากรน้ำ ทส. เป็นสำนักงานเลขานุการของ กนช.

5. ปรับปรุงองค์ประกอบของคณะกรรมการลุ่มน้ำ ประกอบด้วย

(1) กรรมการลุ่มน้ำโดยตำแหน่ง ได้แก่ ผู้ว่าราชการจังหวัด ผู้แทนสำนักงาน และผู้แทนหน่วยงานของรัฐ

(2) กรรมการลุ่มน้ำผู้แทนองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น

(3) กรรมการลุ่มน้ำผู้แทนองค์กรผู้ใช้น้ำที่มาจากภาคส่วนต่าง ๆ

(4) กรรมการลุ่มน้ำผู้ทรงคุณวุฒิที่มีความรู้และประสบการณ์เกี่ยวกับการบริหารทรัพยากรน้ำ โดยให้ผู้ว่าราชการจังหวัดตาม (1) เลือกกันเองเพื่อประธานกรรมการลุ่มน้ำ และให้คณะกรรมการลุ่มน้ำเลือกกรรมการลุ่มน้ำอีกสองคนเป็นรองประธานกรรมการลุ่มน้ำ ทั้งนี้ การเลือกประธานกรรมการลุ่มน้ำ และรองประธานกรรมการลุ่มน้ำให้กระทำทุกสี่ปี่ และให้ กนช. แต่งตั้งข้าราชการของ สทนช. เป็นกรรมการและเลขานุการ และผู้ช่วยเลขานุการได้ตามความจำเป็น จากเดิม คณะกรรมการลุ่มน้ำ ประกอบด้วย ผู้แทนส่วนราชการ ผู้แทนองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ผู้แทนองค์กรผู้ใช้น้ำ และผู้ทรงคุณวุฒิที่มีความรู้และประสบการณ์เกี่ยวกับการบริหารทรัพยากรน้ำเป็นกรรมการ โดยให้แต่งตั้งประธานกรรมการจากกรรมการใน ลุ่มน้ำนั้น และให้ผู้อำนวยการสำนักงานทรัพยากรน้ำภาค ซึ่งปฏิบัติหน้าที่ในพื้นที่ลุ่มน้ำที่รับผิดชอบ เป็นกรรมการและเลขานุการ และให้ผู้อำนวยการสำนักงานทรัพยากรน้ำภาคแต่งตั้งผู้ช่วยเลขานุการได้ตามความจำเป็น

     6. กำหนดให้ สทนช. ทำหน้าที่เป็นสำนักงานเลขานุการของคณะกรรมการลุ่มน้ำ ในพื้นที่ลุ่มน้ำ ที่รับผิดชอบ จากเดิมสำนักงานทรัพยากรน้ำภาค กรมทรัพยากรน้ำ ทส. เป็นสำนักงานเลขานุการของคณะกรรมการลุ่มน้ำในพื้นที่ลุ่มน้ำที่รับผิดชอบ

     ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา (นายกรัฐมนตรี) วันที่ 4 กันยายน 2561

apm

 

 

Facebook

5 ข่าวฮอตนิวส์!