ร่างพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง (ฉบับที่ ..) พ.ศ. ….
- Details
- Category: มติ ครม.
- Published: Sunday, 26 August 2018 22:29
- Hits: 2181
ร่างพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง (ฉบับที่ ..) พ.ศ. ….
เรื่อง ร่างพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง (ฉบับที่ ..) พ.ศ. …. (แก้ไขเพิ่มเติมหลักเกณฑ์การวินิจฉัยปัญหาโดยที่ประชุมใหญ่และที่ประชุมแผนกคดีในศาลชั้นอุทธรณ์และศาลฎีกา) และร่างพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการศาลยุติธรรม (ฉบับที่ ..) พ.ศ. …. (แก้ไขเพิ่มเติมอำนาจหน้าที่ของคณะกรรมการบริหารศาลยุติธรรมเพื่อออกระเบียบกำหนดเบี้ยประชุมสำหรับข้าราชการตุลาการซึ่งเข้าร่วมการประชุมใหญ่ในศาลชั้นอุทธรณ์หรือศาลฎีกา) รวม 2 ฉบับ
คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบและรับทราบ ดังนี้
1. เห็นชอบร่างพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง (ฉบับที่ ..) พ.ศ. …. (แก้ไขเพิ่มเติมหลักเกณฑ์การวินิจฉัยปัญหาโดยที่ประชุมใหญ่และที่ประชุมแผนกคดีในศาลชั้นอุทธรณ์และศาลฎีกา) และร่างพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการศาลยุติธรรม (ฉบับที่ ..) พ.ศ. …. (แก้ไขเพิ่มเติมอำนาจหน้าที่ของคณะกรรมการบริหารศาลยุติธรรมเพื่อออกระเบียบกำหนดเบี้ยประชุมสำหรับข้าราชการตุลาการซึ่งเข้าร่วมการประชุมใหญ่ในศาลชั้นอุทธรณ์หรือศาลฎีกา) รวม 2 ฉบับ ของสำนักงานศาลยุติธรรม ที่สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาตรวจพิจารณาแล้ว และให้ส่งคณะกรรมการประสานงานสภานิติบัญญัติแห่งชาติพิจารณา ก่อนเสนอสภานิติบัญญัติแห่งชาติต่อไป
2. รับทราบแผนในการจัดทำกฎหมายลำดับรอง กรอบระยะเวลาและกรอบสาระสำคัญของกฎหมายลำดับรอง ซึ่งต้องออกตามร่างพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการศาลยุติธรรม (ฉบับที่ ..) พ.ศ. .... (แก้ไขเพิ่มเติมอำนาจหน้าที่ของคณะกรรมการบริหารศาลยุติธรรมเพื่อออกระเบียบกำหนดเบี้ยประชุมสำหรับข้าราชการตุลาการซึ่งเข้าร่วมการประชุมใหญ่ในศาลชั้นอุทธรณ์หรือศาลฎีกา) ตามที่สำนักงานศาลยุติธรรมเสนอ
สาระสำคัญของร่างพระราชบัญญัติ
1. ร่างพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง (ฉบับที่ ..) พ.ศ. ….
1.1 กำหนดให้ภายใต้บทบัญญัติมาตรา 13 ถ้าคำพิพากษาหรือคำสั่งจะต้องทำโดยผู้พิพากษาหลายคน คำพิพากษาหรือคำสั่งนั้นจะต้องบังคับตามความเห็นของฝ่ายข้างมากในศาลชั้นอุทธรณ์หรือศาลฎีกา ประธานศาลชั้นอุทธรณ์หรือศาลฎีกาจะให้มีการวินิจฉัยปัญหาใดในคดีเรื่องใดโดยที่ประชุมใหญ่หรือที่ประชุมแผนกคดีก็ได้ หรือถ้ามีกฎหมายกำหนดให้วินิจฉัยปัญหาใดหรือคดีเรื่องใดโดยที่ประชุมใหญ่หรือที่ประชุมแผนกคดีก็ให้วินิจฉัยได้ แล้วแต่กรณี
ในคดีซึ่งที่ประชุมใหญ่หรือที่ประชุมแผนกคดีได้วินิจฉัยปัญหาแล้ว คำพิพากษาหรือคำสั่งต้องเป็นไปตามคำวินิจฉัยของที่ประชุมใหญ่หรือที่ประชุมแผนกคดี และต้องระบุด้วยว่าปัญหาข้อใดได้วินิจฉัยโดยที่ประชุมใหญ่หรือที่ประชุมแผนกคดีผู้พิพากษาที่เข้าประชุม แม้มิใช่เป็นผู้นั่งพิจารณา ก็ให้มีอำนาจพิพากษาหรือทำคำสั่งในคดีนั้นได้ และเฉพาะในศาลชั้นอุทธรณ์ให้ทำความเห็นแย้งพร้อมเหตุผลไว้ด้วย
1.2 กำหนดบทเฉพาะกาลเพื่อรองรับว่าพระราชบัญญัตินี้ไม่มีผลกระทบถึงกระบวนพิจารณาของศาลที่ได้กระทำไปแล้วก่อนวันที่พระราชบัญญัตินี้ใช้บังคับ
2. ร่างพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการศาลยุติธรรม (ฉบับที่ ..) พ.ศ. …. กำหนดให้คณะกรรมการบริหารศาลยุติธรรมมีอำนาจหน้าที่ในการออกระเบียบกำหนดเบี้ยประชุมสำหรับข้าราชการตุลาการซึ่งเข้าร่วมการประชุมใหญ่ในศาลชั้นอุทธรณ์หรือศาลฎีกา
ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา (นายกรัฐมนตรี) วันที่ 21 สิงหาคม 2561