WORLD7

smed PIONEER 720x100ใจฟู720x100pxgpf 720x100 66

การรับรองร่างปฏิญญาอูลานบาตอร์และแผนปฏิบัติการกรอบเซนไดของภูมิภาคเอเชียสำหรับการประชุมระดับรัฐมนตรีแห่งเอเชียว่าด้วยการลดความเสี่ยงจากภัยพิบัติ ประจำปี พ.ศ. 2561

GOV2 copyการรับรองร่างปฏิญญาอูลานบาตอร์และแผนปฏิบัติการกรอบเซนไดของภูมิภาคเอเชียสำหรับการประชุมระดับรัฐมนตรีแห่งเอเชียว่าด้วยการลดความเสี่ยงจากภัยพิบัติ ประจำปี พ.ศ. 2561

      เรื่อง การรับรองร่างปฏิญญาอูลานบาตอร์และแผนปฏิบัติการกรอบเซนไดของภูมิภาคเอเชียสำหรับการประชุมระดับรัฐมนตรีแห่งเอเชียว่าด้วยการลดความเสี่ยงจากภัยพิบัติ ประจำปี พ.ศ. 2561 ณ กรุงอูลานบาตอร์ ประเทศมองโกเลีย

คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบและอนุมัติตามที่กระทรวงมหาดไทย (มท.) เสนอ ดังนี้

       1. เห็นชอบในหลักการต่อร่างปฏิญญาอูลานบาตอร์ (Ulaanbaatar Declaration) และร่างแผนปฏิบัติการกรอบเซนไดของภูมิภาคเอเชีย พ.ศ. 2561– 2563 (Action Plan 2018 – 2020: Asia Regional Plan for Implementation of the Sendai Framework for Disaster Risk Reduction 2015 - 2030)

     2. หากมีความจำเป็นต้องแก้ไขปรับปรุงถ้อยคำในเอกสารฯ ในส่วนที่ไม่ใช่สาระสำคัญและไม่ขัดต่อผลประโยชน์ของประเทศไทย ให้ มท. ดำเนินการได้โดยไม่ต้องเสนอคณะรัฐมนตรีเพื่อพิจารณาอีกครั้ง

     3. อนุมัติให้ผู้ช่วยรัฐมนตรีประจำกระทรวงมหาดไทย (ซึ่งได้รับมอบหมายจากรัฐมนตรีว่า การกระทรวงมหาดไทยให้เข้าร่วมการประชุมระดับรัฐมนตรีแห่งเอเชียว่าด้วยการลดความเสี่ยงจากภัยพิบัติประจำปี พ.ศ. 2561 ในฐานะหัวหน้าคณะผู้แทนไทย) เป็นผู้รับรองเอกสารดังกล่าว

 

สาระสำคัญของร่างทั้ง 2 ฉบับ มีดังนี้

       1. ร่างปฏิญญาอูลานบาตอร์ (Ulaanbaatar Declaration) คือ คำประกาศแสดงเจตจำนง ทางการเมืองของประเทศในภูมิภาคเอเชียและแปซิฟิกที่เข้าร่วมการประชุมระดับรัฐมนตรีแห่งภูมิภาคเอเชียประจำปี พ.ศ. 2561 ที่จะร่วมให้การสนับสนุนการดำเนินงานด้านการลดความเสี่ยงจากภัยพิบัติตามกรอบเซนไดเพื่อบรรลุเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืนและสอดคล้องกับนโยบายระหว่างประเทศอื่น ๆ เช่น ความตกลงปารีส ด้วยการเรียกร้องให้รัฐบาลและกลุ่มผู้มีส่วนได้ส่วนเสียดำเนินการ

      2. ร่างแผนปฏิบัติการกรอบเซนไดของภูมิภาคเอเชีย พ.ศ. 2561– 2563 มีวัตถุประสงค์เพื่อให้ประเทศสมาชิกและกลุ่มผู้มีส่วนได้ส่วนเสียในภูมิภาคเอเชียนำไปใช้เป็นแผนที่นำทางสำหรับขับเคลื่อนและดำเนินการตามกรอบเซนไดฯ ซึ่งมีระยะการดำเนินงาน 15 ปี (พ.ศ. 2558 – 2573) ด้วยการกำหนดเป้าหมายร่วมของภูมิภาคที่ควรบรรลุทุก ๆ 2 ปี (Milestones) และจะมีการทบทวนผลการดำเนินงานและปรับเป้าหมายดังกล่าวร่วมกันในการประชุม AMCDRR ทุกครั้ง ในการนี้ ร่างแผนปฏิบัติการกรอบเซนไดของภูมิภาคเอเชีย พ.ศ. 2561 – 2563 ที่จะมีการพิจารณาและรับรองร่วมกันในการประชุม AMCDRR 2018 ระหว่างวันที่ 2 – 6 กรกฎาคม 2561 ณ กรุงอูลานบาตอร์ ประเทศมองโกเลีย จึงเป็นการพัฒนาต่อเนื่องมาจากแผนปฏิบัติการฯ ฉบับก่อน โดยสาระสำคัญของร่างแผนปฏิบัติการฯ ฉบับนี้ ยังคงเป็นการกำหนดเป้าหมายร่วม(Milestones) และจัดลำดับความสำคัญ ของกิจกรรมที่ควรดำเนินการในรอบปี พ.ศ. 2561 – 2563 ที่เป็นไปตามภารกิจและพันธกิจของกรอบเซนได 4 ประการ ดังนี้

      (1) ส่งเสริมให้มีการจัดทำคู่มือและเครื่องมือสำหรับภูมิภาคด้านการประเมินความเสี่ยง ที่ครอบคลุมและสอดคล้องกับความต้องการของกลุ่มผู้มีส่วนได้ส่วนเสียที่เกี่ยวข้อง

     (2) เสริมสร้างความเข้มแข็งให้แก่ความร่วมมือระดับภูมิภาค ด้วยการพัฒนาความเป็นหุ้นส่วนระหว่างรัฐและเอกชน ในการประยุกต์ใช้วิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี และนวัตกรรมด้านการลดความเสี่ยงจากภัยพิบัติ ที่คำนึงถึงความต้องการเฉพาะของกลุ่มคนที่มีความเสี่ยงมากที่สุด

    (3) ส่งเสริมการแลกเปลี่ยนความรู้ในภูมิภาคและให้ความสำคัญกับการสนับสนุนในระดับภูมิภาค

     (4) ส่งเสริมและเสริมสร้างความร่วมมือในการพัฒนาและปรับปรุงระบบการประเมิน ความเสี่ยงแบบบูรณาการที่นำผลการวิเคราะห์ด้านสิ่งแวดล้อมและความสูญเสียมาร่วมการพิจารณา

             ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา (นายกรัฐมนตรี) วันที่ 3 กรกฎาคม 2561

apm

 

 

Facebook

5 ข่าวฮอตนิวส์!