WORLD7

smed PIONEER 720x100ใจฟู720x100pxgpf 720x100 66

ร่างกรอบการเจรจาความตกลงการค้าเสรี (เพิ่มเติม) สำหรับการจัดทำความตกลงการค้าเสรี ไทย-ปากีสถาน และ ไทย-ตุรกี

GVOร่างกรอบการเจรจาความตกลงการค้าเสรี (เพิ่มเติม) สำหรับการจัดทำความตกลงการค้าเสรี ไทย-ปากีสถาน และ ไทย-ตุรกี

     คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบร่างกรอบการเจรจาความตกลงการค้าเสรี (Free Trade Agreement : FTA) (เพิ่มเติม) ไทย – ปากีสถาน และ FTA (เพิ่มเติม) ไทย – ตุรกี ตามที่กระทรวงพาณิชย์ (พณ.) เสนอ เพื่อใช้เป็นแนวทางในการเจรจาจัดทำ FTAไทย – ปากีสถาน และไทย – ตุรกี ต่อไป

 

สาระสำคัญของร่างกรอบการเจรจา มีดังนี้

1. ร่างกรอบการเจรจา FTA (เพิ่มเติม) ไทย – ปากีสถาน และไทย – ตุรกีมีเป้าหมายการเจรจา ได้แก่

1) เจรจาให้ได้ประโยชน์ในภาพรวมสูงสุดกับประเทศ

2) คำนึงถึงระดับการพัฒนา หลักการพัฒนาประเทศแบบยั่งยืน มีภูมิคุ้มกัน และความพร้อมของกฎหมายภายใน และ

3) ให้ความสำคัญกับภาคการผลิตของไทยที่อาจได้รับผลกระทบจากการเปิดเสรีทางการค้า เพื่อให้มีระยะเวลาในการปรับตัวและสามารถจัดเตรียมมาตรการรองรับผลกระทบที่อาจเกิดขึ้นได้อย่างมีประสิทธิภาพ

2. ร่างกรอบการเจรจา FTA (เพิ่มเติม) ดังกล่าวครอบคลุม 11 ประเด็น ได้แก่

1. การค้าบริการ

2. การลงทุน

3. ทรัพย์สินทางปัญญา

4. การแข่งขัน

5. พาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์

6. การจัดซื้อจัดจ้างโดยรัฐ

7. สิ่งแวดล้อม

8. แรงงาน

9. ความร่วมมือ

10. การคุ้มครองผู้บริโภค และ

11. เรื่องอื่นๆ

       ทั้งนี้ ปากีสถานเสนอเป็นเจ้าภาพการประชุมเจรจาจัดทำ FTA ไทย – ปากีสถานครั้งที่ 10 ภายในปี 2561 และไทยจะเป็นเจ้าภาพการเจรจาจัดทำ FTA ไทย – ตุรกี ครั้งที่ 4 ในช่วงไตรมาสสุดท้ายของปี 2561

       ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา (นายกรัฐมนตรี) วันที่ 27 มิถุนายน 2561

apm

 

 

Facebook

5 ข่าวฮอตนิวส์!