WORLD7

smed PIONEER 720x100ใจฟู720x100pxgpf 720x100 66

ผลการดำเนินการตามมาตรา 5/8 แห่งพระราชบัญญัติองค์การมหาชน (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2559 เรื่อง แนวทางการควบคุมดูแลกิจการของคณะกรรมการองค์การมหาชน

GOV4 copy copyผลการดำเนินการตามมาตรา 5/8 แห่งพระราชบัญญัติองค์การมหาชน (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2559 เรื่อง แนวทางการควบคุมดูแลกิจการของคณะกรรมการองค์การมหาชน

 

          คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบตามที่สำนักงาน ก.พ.ร. เสนอ ดังนี้

      1. เห็นชอบให้ยกเลิกแนวทางการบริหารของคณะกรรมการองค์การมหาชนตามมติคณะรัฐมนตรี เมื่อวันที่ 19 พฤษภาคม 2552

       2. เห็นชอบผลการดำเนินการตามมาตรา 5/8 แห่งพระราชบัญญัติองค์การมหาชน (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2559 เรื่อง แนวทางการควบคุมดูแลกิจการของคณะกรรมการองค์การมหาชน และให้องค์การมหาชนที่จัดตั้งโดยพระราชกฤษฎีกาออกตามความในพระราชบัญญัติองค์การมหาชน พ.ศ. 2542 และที่แก้ไขเพิ่มเติม นำไปใช้เป็นแนวปฏิบัติต่อไป

       ทั้งนี้ ในส่วนของการควบคุมค่าใช้จ่ายด้านบุคลากรไม่ให้เกินกว่าร้อยละสามสิบของงบประมาณค่าใช้จ่ายตามแผนการใช้จ่ายเงินที่ได้รับอนุมัติจากคณะกรรมการองค์การมหาชนในปีงบประมาณ ยกเว้นองค์การมหาชนที่มีมติคณะรัฐมนตรีกำหนดไว้เป็นการเฉพาะนั้น ให้สำนักงาน ก.พ.ร. จัดให้มีกลไกในการทบทวนความเหมาะสมของสัดส่วนค่าใช้จ่ายด้านบุคลากรขององค์การมหาชนแต่ละแห่งอย่างต่อเนื่อง โดยคำนึงถึงภารกิจ รายได้ และเงินทุนสะสมของแต่ละองค์การมหาชน รวมทั้งยึดหลักการที่มิให้มีค่าใช้จ่ายด้านบุคลากรเกินกว่าความจำเป็น และไม่เป็นภาระงบประมาณของประเทศ และนำเสนอคณะกรรมการพัฒนาและส่งเสริมองค์การมหาชนเพื่อพิจารณาเป็นประจำทุกปีด้วย เพื่อให้การบริหารทรัพยากรบุคคลขององค์การมหาชนเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ

       สาระสำคัญของแนวทางการควบคุมดูแลกิจการของคณะกรรมการองค์การมหาชน เป็นการปรับปรุงให้มีความสอดคล้องกับอำนาจหน้าที่ของคณะกรรมการตามมาตรา 24 แห่งพระราชบัญญัติองค์การมหาชน พ.ศ. 2542 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติองค์การมหาชน (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2559 และครอบคลุมมติคณะรัฐมนตรีต่าง ๆ ที่ประกาศใช้ในภายหลัง

          ทั้งนี้ แนวทางดังกล่าวมีประเด็นที่ได้กำหนดเพิ่มเติม จำแนกเป็น 2 ประเภท คือ 1) แนวทางที่ต้องปฏิบัติ และ 2) แนวทางที่เป็นคำแนะนำ

      1) แนวทางที่ต้องปฏิบัติ เนื่องจากมีข้อกฎหมายหรือมติคณะกรรมการกำหนดไว้ หรือเป็นแนวทางตามหลักธรรมาธิภบาลของการบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดี ได้แก่ หลักประสิทธิผล หลักประสิทธิภาพ หลักการตอบสนอง หลักภาระรับผิดชอบ หลักความโปร่งใส หลักการมีส่วนร่วม หลักการกระจายอำนาจ หลักนิติธรรม หลักความเสมอภาพ และหลักมุ่งเน้นฉันทามติ

      2) แนวทางที่เป็นคำแนะนำ เป็นการรวบรวมมาจากแนวทางการบริหารของคณะกรรมการรัฐวิสาหกิจ บริษัทจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยและตัวอย่างการบริหารจัดการที่ดีของคณะกรรมการในหน่วยงานภาครัฐและภาคเอกชนอื่น

      ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา (นายกรัฐมนตรี) วันที่ 28 พฤษภาคม 2561

apm

 

 

Facebook

5 ข่าวฮอตนิวส์!