WORLD7

smed PIONEER 720x100ใจฟู720x100pxgpf 720x100 66

ขอความเห็นชอบต่อร่างเอกสารสุดท้ายของการประชุมกลุ่มประเทศไม่ฝักใฝ่ฝ่ายใด ระดับรัฐมนตรี ครั้งที่ 18 และร่างปฏิญญากรุงบากู

GOV Vขอความเห็นชอบต่อร่างเอกสารสุดท้ายของการประชุมกลุ่มประเทศไม่ฝักใฝ่ฝ่ายใด ระดับรัฐมนตรี ครั้งที่ 18 และร่างปฏิญญากรุงบากู

 

      คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบตามที่กระทรวงการต่างประเทศ (กต.) เสนอ ดังนี้

      1. เห็นชอบร่างเอกสารสุดท้าย (Draft Final Document) ของการประชุมกลุ่มประเทศไม่ฝักใฝ่ฝ่ายใดระดับรัฐมนตรี ครั้งที่ 18 (18thMid-Term Ministerial Meeting of the Non-Aligned Movement - NAM) และร่างปฏิญญากรุงบากู (Draft Baku Declaration) และให้ กต. ร่วมรับรองร่างเอกสารทั้งสองฉบับในการประชุมดังกล่าวที่จะจัดขึ้นระหว่างวันที่ 36 เมษายน 2561 ณ กรุงบากู สาธารณรัฐอาเซอร์ไบจาน

      2. หากถ้อยคำเรื่องทะเลจีนใต้ในเอกสารสุดท้ายของการประชุมฯ ไม่สอดคล้องกับข้อเสนอของกลุ่มอาเซียนให้รัฐมนตรีว่ากระทรวงการต่างประเทศร่วมลงนามในหนังสือแจ้งข้อสงวน (reservation) ต่อถ้อยคำดังกล่าวในเอกสารสุดท้ายฯ เช่นเดียวกับรัฐมนตรีต่างประเทศอาเซียนอื่น ๆ ทั้งนี้ เพื่อให้สอดคล้องกับแนวปฏิบัติของรัฐมนตรีต่างประเทศอาเซียนต่อเอกสารสุดท้ายของการประชุมสุดยอด NAM ครั้งที่ 17 ณ เกาะมาร์การิตา สาธารณรัฐ โบลีวาร์ เวเนซุเอลา เมื่อปี 2559

      3. หากถ้อยคำเกี่ยวกับสถานการณ์ในรัฐยะไข่ที่ถูกบรรจุในเอกสารสุดท้ายของการประชุมฯ ไม่สอดคล้องกับท่าทีไทย แสดงท่าทีเชิงลบ หรือมีถ้อยคำรุนแรงประณาม สาธารณรัฐแห่งสหภาพเมียนมาให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศมีหนังสือแจ้งข้อสงวนของไทย (reservation) หรือแสดงท่าทีที่อธิบายอย่างระมัดระวังถึงเหตุผลของไทย ซึ่งทำให้ไม่อาจมีส่วนเกี่ยวข้องกับถ้อยคำดังกล่าวได้

     4. หากมีการแก้ไขร่างเอกสารทั้งสองฉบับดังกล่าวที่มิใช่สาระสำคัญหรือขัดต่อผลประโยชน์ของประเทศไทย ให้ กต. ใช้ดุลยพินิจในการเจรจาและดำเนินการแก้ไขโดยไม่ต้องขอความเห็นชอบจากคณะรัฐมนตรีเพื่อพิจารณาอีก และให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศมีหนังสือแจ้งข้อสงวนของไทย (reservation) ด้วย หากพิจารณาแล้วเห็นว่ามีถ้อยคำที่อาจไม่สอดคล้องกับผลประโยชน์และท่าทีของไทยโดยรวมในสาระสำคัญ

 

สาระสำคัญของร่างเอกสารฯ และร่างปฏิญาฯ มีดังนี้

        1. ร่างเอกสารสุดท้ายฯ เน้นให้ประเทศสมาชิกยึดมั่นในพันธกิจและวัตถุประสงค์ของ NAM กฎบัตรสหประชาชาติ และกฎหมายระหว่างประเทศ เช่น การไม่แทรกแซงกิจการภายใน การเคารพในสิทธิมนุษยชนและเสรีภาพขั้นพื้นฐาน การปลดปล่อยอาณานิคม การงดเว้นการใช้กำลังในความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ และการระงับข้อพิพาทโดยสันติวิธี เป็นต้น เพื่อยับยั้งความพยายามในการชี้นำหรือครอบงำของประเทศพัฒนาแล้ว และมุ่งเน้นการปกป้องผลประโยชน์ของประเทศกำลังพัฒนา โดยพยายามสร้างสมดุลระหว่างประเทศกำลังพัฒนาและพัฒนาแล้วในทุกมิติ และให้กลุ่ม NAM มีบทบาทในการปฏิรูปสหประชาชาติร่างเอกสารแบ่งเป็น 3 บท คือ (1) ประเด็นระหว่างประเทศ (2) ประเด็นการเมืองภูมิภาคและอนุภูมิภาค และ (3) ประเด็นด้านการพัฒนา สังคม และสิทธิมนุษยชน

      2. ร่างปฏิญากรุงบากู เน้นย้ำถึงหลักการต่าง ๆ ที่กลุ่ม NAM ให้ความสำคัญ เช่น การเคารพในอำนาจอธิปไตย สิทธิการกำหนดใจตนเองของประชาชน (Self-Determination คือ สิทธิของประชาชนในการกำหนดสถานะทางการเมือง เศรษฐกิจ และสังคมของตนเอง มักใช้กับกรณีการเลือกที่จะปกครองตนเองของชนกลุ่มน้อย) การระงับกรณีพิพาทโดยสันติ การงดเว้นจากการคุกคามและใช้กำลัง การพัฒนาที่ยั่งยืน การคุ้มครองและส่งเสริมสิทธิมนุษยชน เป็นต้น อย่างไรก็ตาม ร่างปฏิญญากรุงบากูยังอยู่ระหว่างการเจรจาปรับถ้อยคำและหากประเทศสมาชิกตกลงได้ จะเสนอให้ที่ประชุมฯ รับรองต่อไป ในส่วนของไทย คณะผู้แทนถาวรไทยประจำสหประชาชาติ ณ นครนิวยอร์กแจ้งว่า หลักการของเอกสารดังกล่าวไม่ขัดกับท่าทีและผลประโยชน์ของไทย จึงสามารถยอมรับเอกสารดังกล่าวได้

       ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา (นายกรัฐมนตรี) วันที่ 27 มีนาคม 2561

apm

 

 

Facebook

5 ข่าวฮอตนิวส์!