WORLD7

smed PIONEER 720x100ใจฟู720x100pxgpf 720x100 66

ร่างพระราชบัญญัติการตอบโต้การทุ่มตลาดและการอุดหนุนซึ่งสินค้าจากต่างประเทศ (ฉบับที่ ..) พ.ศ. ....

GOV1 copy copyร่างพระราชบัญญัติการตอบโต้การทุ่มตลาดและการอุดหนุนซึ่งสินค้าจากต่างประเทศ (ฉบับที่ ..) พ.ศ. ....

           

คณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติหลักการและรับทราบ ดังนี้

      1. อนุมัติหลักการร่างพระราชบัญญัติการตอบโต้การทุ่มตลาดและการอุดหนุนซึ่งสินค้าจากต่างประเทศ (ฉบับที่ ..) พ.ศ. .... ตามที่กระทรวงพาณิชย์ (พณ.) เสนอ และให้ส่งสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาตรวจพิจารณารวมกับร่างพระราชบัญญัติการตอบโต้การทุ่มตลาดและการอุดหนุนซึ่งสินค้าจากต่างประเทศ (ฉบับที่ ..) พ.ศ. .... ตามมติคณะรัฐมนตรี (9 สิงหาคม 2559) ที่อยู่ระหว่างการตรวจพิจารณา แล้วส่งให้คณะกรรมการประสานงานสภานิติบัญญัติแห่งชาติพิจารณา ก่อนเสนอสภานิติบัญญัติแห่งชาติต่อไป

      2. ให้กระทรวงพาณิชย์รับความเห็นของสำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติไปพิจารณาดำเนินการต่อไปด้วย

      3. รับทราบแผนในการจัดทำกฎหมายลำดับรอง กรอบระยะเวลาและกรอบสาระสำคัญของกฎหมายลำดับรองที่ออกตามร่างพระราชบัญญัติดังกล่าว

 

พณ. เสนอว่า

      1. เนื่องจากบทบัญญัติในส่วนของการอุดหนุนตามพระราชบัญญัติการตอบโต้การทุ่มตลาดและการอุดหนุน พ.ศ. 2542 มีโครงสร้างที่ไม่สอดคล้องกับความตกลงว่าด้วยการอุดหนุนและมาตรการตอบโต้การอุดหนุนภายใต้ WTO ส่งผลให้ต้องมีการพิสูจน์เงื่อนไขเพื่อใช้มาตรการตอบโต้การอุดหนุน (Countervailing Measures: CVD) มากกว่าที่ความตกลงว่าด้วยการอุดหนุนและมาตรการตอบโต้การอุดหนุนภายใต้ WTO กำหนด เป็นภาระต่ออุตสาหกรรมภายในผู้ได้รับความเสียหายและต่อหน่วยงานไต่สวนของไทย ดังนั้น สมควรแก้ไขเพิ่มเติมพระราชบัญญัติการตอบโต้การทุ่มตลาดและการอุดหนุน พ.ศ. 2542 ในส่วนที่เกี่ยวกับหมวดการอุดหนุน ให้สอดคล้องกับความตกลงว่าด้วยการอุดหนุนและมาตรการตอบโต้การอุดหนุนภายใต้ WTO ดังนี้

      1.1 แก้ไขเพิ่มเติมลักษณะของการอุดหนุนที่มีลักษณะเจาะจงตามมาตรา 64 ให้รวมถึง 1) การให้การอุดหนุนแก่การส่งออก และ 2) การให้การอุดหนุนเพื่อให้มีการใช้สินค้าในประเทศมากกว่าสินค้านำเข้า เนื่องจาก Article 2 (2.3) ของความตกลงว่าด้วยการอุดหนุนและมาตรการตอบโต้การอุดหนุนภายใต้ WTO กำหนดให้การอุดหนุนทั้ง 2 ลักษณะเป็นการอุดหนุนที่เจาะจงโดยไม่ต้องพิสูจน์เงื่อนไข (deemed to be specific)

    1.2 แก้ไของค์ประกอบของการอุดหนุนที่ตอบโต้ได้ตามมาตรา 65 ให้ประกอบด้วย (1) การให้อุดหนุนที่มีลักษณะเจาะจงตามมาตรา 64 และ (2) การให้การอุดหนุนที่มีผลเสียต่อประโยชน์ของประเทศที่ก่อให้เกิดความเสียหายต่ออุตสาหกรรมภายใน เพื่อให้สอดคล้องกับหลักเกณฑ์การพิจารณาใช้มาตรการตอบโต้ การอุดหนุนตามความตกลงว่าด้วยการอุดหนุนและมาตรการตอบโต้การอุดหนุนภายใต้ WTO

     2. การแก้ไขเพิ่มเติมบทบัญญัติดังกล่าวข้างต้น จะทำให้เกิดความชัดเจนในทางปฏิบัติ ลดปัญหาและอุปสรรคให้กับอุตสาหกรรมภายในและหน่วยงานไต่สวนของไทย อีกทั้งสามารถนำไปใช้แก้ปัญหาความเสียหายของอุตสาหกรรมภายในประเทศที่เกิดจากสินค้าต่างประเทศที่ได้รับการอุดหนุนจากรัฐบาลของประเทศผู้ผลิตหรือผู้ส่งออก ซึ่งการแก้ไขเพิ่มเติมดังกล่าวจะทำให้การปฏิบัติภายใต้พระราชบัญญัติดังกล่าวเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ และสอดคล้องกับพันธกรณีภายใต้ความตกลงว่าด้วยการอุดหนุนและมาตรการตอบโต้การอุดหนุนภายใต้ WTO

       3. พณ. โดยกรมการค้าต่างประเทศ ได้ดำเนินการรับฟังความคิดเห็นของผู้ที่เกี่ยวข้องกับร่างพระราชบัญญัตินี้ผ่านระบบเทคโนโลยีสารสนเทศของกรมการค้าต่างประเทศ www.dft.go.th และของกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม www.lawamendment.go.th โดยได้มีการวิเคราะห์ผลการรับฟังความคิดเห็นและวิเคราะห์ผลกระทบที่อาจเกิดขึ้นจากกฎหมายดังกล่าว โดยได้นำผลการวิเคราะห์นั้นเผยแพร่ผ่านระบบเทคโนโลยีสารสนเทศของกรมการค้าต่างประเทศ ตามแนวทางของมติคณะรัฐมนตรี (4 เมษายน 2560) เรื่อง แนวทางการจัดทำและการเสนอร่างกฎหมายตามบทบัญญัติมาตรา 77 ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยด้วยแล้ว

 

สาระสำคัญของร่างพระราชบัญญัติ

       1. แก้ไขเพิ่มเติมลักษณะการอุดหนุนที่เจาะจงตามมาตรา 64 ให้รวมถึงลักษณะการอุดหนุนอีก 2 ลักษณะ คือ การให้การอุดหนุนแก่การส่งออกไม่ว่าโดยทางนิตินัย หรือโดยทางพฤตินัยตามลักษณะที่กำหนดในกฎกระทรวง และการให้การอุดหนุนเพื่อให้มีการใช้สินค้าที่ผลิตในประเทศมากกว่าสินค้านำเข้า

      2. แก้ไของค์ประกอบของการอุดหนุนที่ตอบโต้ได้ตามมาตรา 65 ให้ประกอบด้วย

      2.1 การให้การอุดหนุนที่มีลักษณะเจาะจงตามมาตรา 64

      2.2 การให้การอุดหนุนที่มีผลเสียต่อประโยชน์ของประเทศ ซึ่งหมายความรวมถึง

               (ก) ก่อให้เกิดความเสียหายแก่อุตสาหกรรมภายใน

               (ข) ทำให้ผลประโยชน์ทั้งในทางตรงและทางอ้อมของประเทศต้องสูญสิ้น หรือเสื่อมเสียโดยเฉพาะผลประโยชน์ของข้อลดหย่อนที่ผูกพันไว้ตามข้อตกลงขององค์การการค้าโลก หรือ

               (ค) ผลกระทบอย่างร้ายแรงต่อประโยชน์ของประเทศตามลักษณะที่กำหนดในกฎกระทรวงและกำหนดให้การใช้บทบัญญัติตามมาตรานี้กับสินค้าเกษตรเป็นไปตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่กำหนดในกฎกระทรวง

       ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา (นายกรัฐมนตรี) วันที่ 27 มีนาคม 2561

apm

 

 

Facebook

5 ข่าวฮอตนิวส์!