WORLD7

smed PIONEER 720x100ใจฟู720x100pxgpf 720x100 66

กรอบเจรจาการประชุมคณะกรรมการร่วมระหว่างรัฐว่าด้วยทรัพย์สินทางปัญญาทรัพยากรพันธุกรรม ภูมิปัญญาท้องถิ่น และการแสดงออกทางวัฒนธรรมดั้งเดิม (WIPO IGC)

GOV กรอบเจรจาการประชุมคณะกรรมการร่วมระหว่างรัฐว่าด้วยทรัพย์สินทางปัญญาทรัพยากรพันธุกรรม ภูมิปัญญาท้องถิ่น และการแสดงออกทางวัฒนธรรมดั้งเดิม (WIPO IGC)

 

          เรื่อง กรอบเจรจาการประชุมคณะกรรมการร่วมระหว่างรัฐว่าด้วยทรัพย์สินทางปัญญาทรัพยากรพันธุกรรม ภูมิปัญญาท้องถิ่น และการแสดงออกทางวัฒนธรรมดั้งเดิม (WIPO IGC) ภายใต้กรอบองค์การทรัพย์สินทางปัญญาโลก

          คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบต่อร่างกรอบเจรจาการประชุมคณะกรรมการร่วมระหว่างรัฐว่าด้วยทรัพย์สินทางปัญญาทรัพยากรพันธุกรรม ภูมิปัญญาท้องถิ่น และการแสดงออกทางวัฒนธรรมดั้งเดิม [WIPO (World Intellectual Property Organization) Intergovernmental Committee on Intellectual Property and Genetic Resources, Traditional Knowledge and Folklore : WIPO IGC] เพื่อให้คณะผู้แทนเจรจาของไทยสามารถใช้เป็นพื้นฐานในการเจรจาการประชุม WIPO IGC หรือจนกว่าจะสรุปผลการเจรจา WIPO IGC ได้ หรือจะมีการเปลี่ยนแปลงสาระสำคัญของการเจรจาอย่างมีนัยสำคัญ ตามที่กระทรวงพาณิชย์ (พณ.) เสนอ

 

สาระสำคัญของเรื่อง

            การประชุมคณะกรรมการร่วมระหว่างรัฐว่าด้วยทรัพย์สินทางปัญญา ทรัพยากรพันธุกรรม ภูมิปัญญาท้องถิ่น และการแสดงออกทางวัฒนธรรมดั้งเดิม (WIPO IGC) จัดขึ้นเพื่อหารือเกี่ยวกับการคุ้มครองภูมิปัญญาท้องถิ่นประเภทต่าง ๆ ซึ่งมีลักษณะแตกต่างจากนวัตกรรมที่ได้รับความคุ้มครองทรัพย์สินทางปัญญาทั่วไป และนำไปสู่ความตกลงหรือการจัดทำกฎเกณฑ์ระหว่างประเทศที่เกี่ยวกับความคุ้มครองทรัพยากรพันธุกรรม ภูมิปัญญาท้องถิ่น และการแสดงออกทางวัฒนธรรมดั้งเดิมภายใต้องค์การทรัพย์สินทางปัญญาโลกโดยกรอบเจรจา WIPO IGC ที่คณะรัฐมนตรีมีมติให้ความเห็นชอบเมื่อวันที่ 9 กุมภาพันธ์ 2559 เป็นพื้นฐานในการเจรจา ภายใต้อาณัติการทำงานของ WIPO IGC ปี 2559 – 2560 ได้สิ้นสุดลงแล้ว แต่ยังไม่สามารถหาข้อสรุปได้ เนื่องจากประเทศที่เข้าร่วมเจรจามีแนวคิดและผลประโยชน์ที่แตกต่างกันอย่างมาก

          ที่ประชุมสมัชชาใหญ่องค์การทรัพย์สินทางปัญญาโลก ครั้งที่ 57 เมื่อวันที่ 2 – 11 ตุลาคม 2560 มีมติเห็นชอบให้มีการต่ออาณัติและแผนการทำงานของ WIPO IGC ต่อไปอีก 2 ปี (2561 – 2562) ประกอบกับร่างข้อบทการเจรจา WIPO IGC ที่ผ่านมา มีการปรับปรุงโครงสร้างของข้อบทการเจรจา กรอบเจรจาเดิมที่คณะรัฐมนตรีได้เคยมติเห็นชอบเมื่อวันที่ 9 กุมภาพันธ์ 2559 ไม่ครอบคลุมประเด็นการเจรจาที่ใช้ในการประชุมปัจจุบัน กระทรวงพาณิชย์จึงได้ประชุมร่วมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเมื่อวันที่ 2 กุมภาพันธ์ 2561 เพื่อพิจารณาปรับร่างกรอบเจรจา WIPO IGC โดยใช้กรอบเจรจาเดิมที่คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบดังกล่าวเป็นพื้นฐาน คงหลักการและสาระสำคัญของกรอบเจรจาเดิมมีการแก้ไขเพียงเล็กน้อย โดยจัดลำดับความสำคัญเพื่อให้เกิดความชัดเจน เพิ่มข้อบทให้สอดคล้องกับร่างข้อบทปัจจุบัน เช่น ด้านทรัพยากรพันธุกรรม เพิ่มข้อบทเกี่ยวกับ

         (1) วัตถุประสงค์และหลักการในการให้ความคุ้มครองทรัพยากรพันธุกรรมระดับประเทศและระหว่างประเทศ

                    (2) เนื้อหา สาระ คำจำกัดความ และประเภทของทรัพยากรพันธุกรรมที่ควรคุ้มครอง และ

                    (3) ข้อจำกัดและข้อยกเว้นสำหรับทรัพยากรพันธุกรรม และภูมิปัญญาท้องถิ่นที่เกี่ยวข้องกับทรัพยากรพันธุกรรม และขอเสนอคณะรัฐมนตรีพิจารณาให้ความเห็นชอบต่อร่างกรอบเจรจา WIPO IGC ดังกล่าวเพื่อให้คณะผู้แทนเจรจาของไทยสามารถใช้เป็นพื้นฐานในการเจรจาการประชุม WIPO IGC หรือจนกว่าจะสรุปผลการเจรา WIPO IGC ได้ หรือจะมีการเปลี่ยนแปลงสาระสำคัญของการเจรจาฯ อย่างมีนัยสำคัญ ซึ่งได้ผ่านการพิจารณาจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้องแล้ว ทั้งนี้ จะมีการประชุม WIPO IGC ครั้งที่ 35 ระหว่างวันที่ 19 – 23 มีนาคม 2561 ณ สำนักงานใหญ่องค์การทรัพย์สินทางปัญญาโลก นครเจนีวา สมาพันธรัฐสวิส

                              ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา (นายกรัฐมนตรี) วันที่ 13 มีนาคม 2561

apm

 

 

Facebook

5 ข่าวฮอตนิวส์!