WORLD7

smed PIONEER 720x100ใจฟู720x100pxgpf 720x100 66

การเปลี่ยนสถานะของมูลนิธิศูนย์เตรียมความพร้อมป้องกันภัยพิบัติแห่งเอเชีย (Asian Disaster Preparedness Center – ADPC) เป็นองค์กรระหว่างประเทศ

GOV 5การเปลี่ยนสถานะของมูลนิธิศูนย์เตรียมความพร้อมป้องกันภัยพิบัติแห่งเอเชีย (Asian Disaster Preparedness Center – ADPC) เป็นองค์กรระหว่างประเทศ

 

      เรื่อง การเปลี่ยนสถานะของมูลนิธิศูนย์เตรียมความพร้อมป้องกันภัยพิบัติแห่งเอเชีย (Asian Disaster Preparedness Center – ADPC) เป็นองค์กรระหว่างประเทศ (ร่างพระราชบัญญัติคุ้มครองการดำเนินงานของศูนย์เตรียมความพร้อมป้องกันภัยพิบัติแห่งเอเชีย พ.ศ. ....)

        คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบร่างพระราชบัญญัติคุ้มครองการดำเนินงานของศูนย์เตรียมความพร้อมป้องกันภัยพิบัติแห่งเอเชีย พ.ศ. .... ที่สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาตรวจพิจารณาแล้ว ตามที่กระทรวง การต่างประเทศ (กต.) เสนอ และให้ส่งคณะกรรมการประสานงานสภานิติบัญญัติแห่งชาติพิจารณา ก่อนเสนอ สภานิติบัญญัติแห่งชาติต่อไป

      ทั้งนี้ มอบหมายให้ กต. จัดทำสัตยาบันสารเพื่อให้กฎบัตรฯ มีผลผูกพันต่อไป โดยให้ยื่นสัตยาบันสารเมื่อร่างพระราชบัญญัติฯ ได้ประกาศใช้บังคับเป็นกฎหมายแล้ว และมอบหมายให้ กต. รับความเห็นของสำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติไปพิจารณาดำเนินการร่วมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องต่อไปด้วย

 

สาระสำคัญของเรื่อง

       1. กฎบัตรของศูนย์เตรียมความพร้อมป้องกันภัยพิบัติแห่งเอเชีย มีสาระสำคัญเป็นการกำหนดให้มีการจัดตั้งศูนย์เตรียมความพร้อมป้องกันภัยพิบัติแห่งเอเชีย เรียกโดยย่อว่า “ADPC” เป็นองค์การระดับภูมิภาคที่เป็นอิสระ ไม่แสวงหาผลกำไร มีสถานะเป็นองค์การระหว่างประเทศ มีการจัดการ การจัดสรรเจ้าหน้าที่ และการดำเนินการที่ไม่เกี่ยวข้องกับการเมือง โดยมีความมุ่งหมายในด้านวิทยาศาสตร์ การศึกษา การพัฒนา และมนุษยธรรมและให้ ADPC มีที่ตั้งอยู่ในประเทศไทย ซึ่งมีวัตถุประสงค์เพื่อเป็นศูนย์กลางเตรียมความพร้อมสำหรับการป้องกันภัยพิบัติทางธรรมชาติ และเพื่อลดผลกระทบจากภัยพิบัติที่มีต่อชุมชนในภูมิภาคเอเชียและแปซิฟิก โดยกำหนดให้ภาคีผู้ลงนามกฎบัตรฯ (ซึ่งประกอบด้วย ไทย กัมพูชา จีน ปากีสถาน บังกลาเทศ เนปาล ศรีลังกา ฟิลิปปินส์ และอินเดีย) เป็นสมาชิกผู้ก่อตั้ง ADPC โดยสมาชิกไม่ต้องจ่ายค่าสมาชิก แต่อาจบริจาคให้กองทุนของ ADPC โดยสมัครใจ ทั้งนี้ กฎบัตรฯ จะยังไม่มีผลใช้บังคับจนกว่ารัฐภาคีผู้ลงนามก่อตั้งจะให้สัตยาบันครบทุกประเทศ (ขณะนี้เหลือเพียงประเทศไทยที่ยังมิได้ให้สัตยาบัน) และเมื่อกฎบัตรฯ มีผลใช้บังคับ ศูนย์ฯ จึงจะสามารถเปลี่ยนสถานะเป็นองค์การระหว่างประเทศ

               2. ร่างพระราชบัญญัติคุ้มครองการดำเนินงานของศูนย์เตรียมความพร้อมป้องกันภัยพิบัติแห่งเอเชีย พ.ศ. ....

               2.1 กำหนดให้พระราชบัญญัตินี้มีผลใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป

               2.2 กำหนดให้ยอมรับนับถือว่าศูนย์เตรียมความพร้อมป้องกันภัยพิบัติแห่งเอเชีย มีฐานะเป็นนิติบุคคล และให้ถือว่ามีภูมิลำเนาในประเทศไทย

        2.3 ให้ศูนย์ทรัพย์สินหรือสินทรัพย์ของศูนย์ฯ ตลอดจนเจ้าหน้าที่ของศูนย์และผู้เชี่ยวชาญชาวต่างประเทศที่ศูนย์แต่งตั้งให้ปฏิบัติหน้าที่ หรือได้รับเชิญอย่างเป็นทางการให้มาปฏิบัติงานให้แก่ศูนย์ได้รับเอกสิทธิ์ และความคุ้มกันตามที่ระบุไว้ในกฎบัตรของศูนย์เตรียมความพร้อมป้องกันภัยพิบัติแห่งเอเชีย ซึ่งทำขึ้นเมื่อวันที่ 28 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2548 รวมทั้งความตกลงในเรื่องเอกสิทธิ์และความคุ้มกันที่จะทำกันต่อไประหว่างรัฐบาลไทยกับศูนย์ฯ ภายใต้กรอบแห่งกฎบัตรของศูนย์เตรียมความพร้อมป้องกันภัยพิบัติแห่งเอเชียดังกล่าวและให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศเป็นผู้รักษาการตามพระราชบัญญัตินี้

               ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา (นายกรัฐมนตรี) วันที่ 20 กุมภาพันธ์ 2561

apm

 

 

Facebook

5 ข่าวฮอตนิวส์!