WORLD7

smed PIONEER 720x100ใจฟู720x100pxgpf 720x100 66

การกำหนดโทษทางอาญาในกฎหมายเพื่อให้สอดคล้องกับมาตรา 77 ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย

GVO1การกำหนดโทษทางอาญาในกฎหมายเพื่อให้สอดคล้องกับมาตรา 77 ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย

           

     คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบในหลักการกรอบแนวทางการศึกษาและปรับปรุงกฎหมายเพื่อป้องกัน มิให้มีการใช้ประโยชน์จากโทษอาญาที่ไม่สอดคล้องกับเจตนารมณ์ของกฎหมาย รวม 3 ประการ คือ

      (1) หลักเกณฑ์ในการกำหนดโทษอาญาสำหรับกฎหมายที่จะตราขึ้นในอนาคต

     (2) การดำเนินการกับกฎหมายที่มีโทษทางอาญาในปัจจุบันเพื่อให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์ในการกำหนดโทษอาญาที่กำหนดในข้อ (1) และ

     (3) ข้อเสนอแนะอื่นเพิ่มเติม ที่คณะอนุกรรมการดำเนินการศึกษาและปรับปรุงกฎหมายเพื่อป้องกันมิให้มีการใช้ประโยชน์จากโทษอาญาตามกฎหมายที่ไม่สอดคล้องกับเจตนารมณ์ของกฎหมายจัดทำ ตามที่สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา (สคก.) เสนอดังนี้

       1. ให้ส่วนราชการที่จะเสนอกฎหมายใหม่หรือที่ต้องทบทวนกฎหมายตามพระราชกฤษฎีกาการทบทวนความเหมาะสมของกฎหมาย พ.ศ. 2558 นำหลักเกณฑ์ในการกำหนดโทษอาญาสำหรับกฎหมายที่จะตราขึ้นในอนาคต ทั้ง 3 ประการ ตามข้อ (1) ของข้อ 3.2 ไปใช้ในการดำเนินการร่างกฎหมายหรือทบทวนกฎหมาย

      2. เห็นชอบให้ สคก. โดยคณะอนุกรรมการฯ ในคณะกรรมการพัฒนากฎหมาย ดำเนินการกับกฎหมายที่มีโทษทางอาญาในปัจจุบันเพื่อให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์ในการกำหนดโทษอาญาตามข้อ

(1) ของข้อ 3.2 ตามแนวทางที่เสนอให้ข้อ

(2) ของข้อ 3.2 แล้วนำเสนอคณะรัฐมนตรีเพื่อพิจารณาต่อไป

3. มอบหมายให้คณะกรรมการพิจารณาปรับปรุงประมวลกฎหมายอาญาในสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา ดำเนินการพิจารณาทบทวนสัดส่วนอัตราโทษสำหรับความผิดในประมวลกฎหมายอาญาและการพิจารณาแยกโทษสำหรับนิติบุคคลจากโทษสำหรับบุคคลธรรมดา ตามข้อเสนอแนะเพิ่มเติมในข้อ (3) ของข้อ 3.2 แล้วนำเสนอคณะรัฐมนตรีเพื่อพิจารณาต่อไป

 

สาระสำคัญของเรื่อง

      กรอบแนวทางการศึกษาและปรับปรุงกฎหมายเพื่อป้องกันมิให้มีการใช้ประโยชน์จากโทษอาญาที่ไม่สอดคล้องกับเจตนารมณ์ของกฎหมาย ที่อนุกรรมการเสนอฯ เนื่องจากเห็นว่า การกำหนดโทษอาญาในการตรากฎหมายตามที่มาตรา 77 ของรัฐธรรมนูญฯ กำหนดกรอบแนวทางไว้นั้น เป็นการสะท้อนสภาพปัญหาของการมีกฎหมายอาญาเฟ้อและไม่เป็นไปตามเจตนารมณ์ของกฎหมาย ก่อให้เกิดผลกระทบหลายประการ เช่น ทำให้กฎหมายอาญาขาดประสิทธิภาพในการบังคับใช้กับพฤติกรรมที่เป็นภัยคุกคามอย่างแท้จริง ทำให้เกิดปัญหาการบริหารงานยุติธรรมทางอาญาซึ่งต้องมีขนาดค่อนข้างใหญ่เพื่อรองรับปริมาณคดีจำนวนมากและให้มีค่าใช้จ่ายสูงมาก ทำให้เกิดปัญหาคดีล้นศาลและนักโทษล้นเรือนจำ รวมไปถึงการรับผิดทางอาญาที่ไม่เหมาะสม ทำให้ผู้กระทำความผิดที่รับโทษอาญาโดยที่ไม่สมควรได้รับ จะได้รับผลกระทบไปถึงการประกอบอาชีพหรือการดำรงชีพในหลายเรื่อง เนื่องจากมีประวัติอาชญากรติดตัว (criminal record)

      ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา (นายกรัฐมนตรี) วันที่ 13 กุมภาพันธ์ 2561

apm

 

 

Facebook

5 ข่าวฮอตนิวส์!