WORLD7

smed PIONEER 720x100ใจฟู720x100pxgpf 720x100 66

ร่างพระราชกฤษฎีกาออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการยกเว้นรัษฎากร (ฉบับที่ ..) พ.ศ. ....

GOV1 copyร่างพระราชกฤษฎีกาออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการยกเว้นรัษฎากร (ฉบับที่ ..) พ.ศ. ....

 

    เรื่อง ร่างพระราชกฤษฎีกาออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการยกเว้นรัษฎากร (ฉบับที่ ..) พ.ศ. .... (มาตรการภาษีเพื่อบรรเทาผลกระทบจากการปรับขึ้นอัตราค่าจ้างขั้นต่ำ)

    คณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติหลักการร่างพระราชกฤษฎีกาออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการยกเว้นรัษฎากร (ฉบับที่ ..) พ.ศ. .... (มาตรการภาษีเพื่อบรรเทาผลกระทบจากการปรับขึ้นอัตราค่าจ้างขั้นต่ำ) ตามที่กระทรวงการคลัง (กค.) เสนอ และให้ส่งสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาตรวจพิจารณาเป็นเรื่องด่วน และดำเนินการต่อไปได้

 

กค. เสนอว่า

    1. ปัจจุบันนายจ้างที่เป็นบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลที่จ่ายค่าจ้างให้แก่ลูกจ้างสามารถนำรายจ่ายค่าจ้างมาหักเป็นรายจ่ายในการคำนวณกำไรสุทธิเพื่อเสียภาษีเงินได้นิติบุคคลได้ตามจำนวนที่จ่ายไปจริง (1 เท่า) เนื่องจากเป็นรายจ่ายที่เกี่ยวข้องโดยตรงกับการประกอบกิจการ สามารถพิสูจน์ตัวตนของผู้รับเงินได้ และไม่เข้าลักษณะเป็นรายจ่ายต้องห้ามตามมาตรา 65 ตรี (9) (13) และ (18) แห่งประมวลรัษฎากร

     2. โดยที่รัฐบาลมีนโยบายปรับขึ้นอัตราค่าจ้างขั้นต่ำเพื่อยกระดับคุณภาพชีวิตของลูกจ้างให้สามารถดำรงชีวิตอยู่ได้ตามสมควร เพื่อให้สอดคล้องและเหมาะสมกับสภาพเศรษฐกิจในแต่ละพื้นที่ และกระตุ้นเศรษฐกิจของประเทศให้ดีขึ้น นโยบายดังกล่าวได้ส่งผลทำให้ต้นทุนการผลิต ค่าใช้จ่ายในการขายและบริการของผู้ประกอบการสูงเพิ่มขึ้น ดังนั้น เพื่อบรรเทาภาระให้กับบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลจากการปรับขึ้นอัตราค่าจ้างขั้นต่ำตามนโยบายของรัฐบาลดังกล่าว จึงสมควรกำหนดมาตรการภาษีเพื่อบรรเทาผลกระทบจากการปรับขึ้นอัตราค่าจ้างขั้นต่ำ โดยให้สามารถนำรายจ่ายค่าจ้างรายวันที่ได้จ่ายให้แก่ลูกจ้างมาหักเป็นรายจ่ายในการคำนวณกำไรสุทธิเพื่อเสียภาษีเงินได้นิติบุคคลได้ เป็นจำนวน 1.15 เท่าของค่าจ้างรายวันที่จ่ายให้แก่ลูกจ้าง สำหรับค่าจ้างรายวันที่จ่ายให้แก่ลูกจ้างไปตั้งแต่วันที่ 1 เมษายน 2561 จนถึงวันที่ 31 ธันวาคม 2561

     3. กค. ได้ดำเนินการวิเคราะห์ผลกระทบของมาตรการในเรื่องนี้ตามมติคณะรัฐมนตรี เมื่อวันที่ 17 พฤศจิกายน 2558 แล้ว ซึ่งมาตรการดังกล่าวข้างต้นจะมีผลกระทบ ดังนี้

     3.1 เป็นการยกระดับคุณภาพชีวิตของลูกจ้างให้มีความเป็นอยู่ที่ดีขึ้น ลดความเหลื่อมล้ำทางสังคม และเป็นการส่งเสริมให้แรงงานนอกระบบเข้าสู่ระบบมากขึ้น

     3.2 คาดว่ามาตรการในเรื่องนี้จะทำให้ภาครัฐจะสูญเสียรายได้ประมาณ 5,400 ล้านบาท แต่อย่างไรก็ตาม มาตรการดังกล่าวจะช่วยบรรเทาภาระให้กับบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลที่มีต้นทุนแรงงานเป็นส่วนสำคัญในการประกอบกิจการให้มีศักยภาพในการแข่งขันในประเทศได้อย่างยั่งยืน และจูงใจให้นายจ้างได้มีส่วนร่วมในการดำเนินการตามนโยบายของรัฐบาลในการกระตุ้นเศรษฐกิจให้ดีขึ้น

 

สาระสำคัญของพระราชกฤษฎีกา

     กำหนดให้ยกเว้นภาษีเงินได้นิติบุคคลสำหรับเงินได้เป็นจำนวนร้อยละ 15 ของรายจ่ายที่ได้จ่ายเป็นค่าจ้างรายวันให้แก่ลูกจ้างให้แก่บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลที่มีรายได้จากการขายสินค้าและการให้บริการในรอบระยะเวลาบัญชี ไม่เกิน 100 ล้านบาท และมีการจ้างแรงงานไม่เกิน 200 คน ในรอบระยะเวลาบัญชีที่ได้ใช้สิทธิยกเว้นภาษีเงินได้ ทั้งนี้ สำหรับค่าจ้างรายวันที่จ่ายให้แก่ลูกจ้างไปตั้งแต่วันที่ 1 เมษายน 2561 จนถึงวันที่ 31 ธันวาคม 2561 โดยมีเงื่อนไข ดังนี้

     1. ค่าจ้างรายวัน หมายถึง เงินค่าจ้างที่นายจ้างและลูกจ้างตกลงกันจ่ายเป็นค่าตอบแทนในการทำงานตามสัญญาจ้างสำหรับระยะเวลาการทำงานปกติเป็นรายวัน โดยค่าจ้างรายวันที่จ่ายให้แก่ลูกจ้าง ไม่รวมถึงค่าล่วงเวลา เบี้ยเลี้ยง ประโยชน์อื่นใดที่คำนวณได้เป็นเงินภาษีอากรที่ผู้จ่ายออกแทนให้ ที่ได้รับเนื่องจากการจ้างแรงงาน

     2. บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลที่จะได้รับยกเว้นภาษีเงินได้ จะต้องเป็นไปตามหลักเกณฑ์ และเงื่อนไข ดังนี้

     2.1 อัตราค่าจ้างรายวันที่ได้จ่ายให้แก่ลูกจ้างไปตั้งแต่วันที่ 1 เมษายน 2561 ถึงวันที่ 31 ธันวาคม 2561 ต้องสูงกว่าอัตราค่าจ้างรายวันเดิมที่บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลนั้นได้กำหนดและประกาศให้ทราบเป็นการทั่วไป หรือที่ได้มีการจ่ายค่าจ้างรายวันให้แก่ลูกจ้างก่อนวันที่ 1 เมษายน 2561

     2.2 ต้องไม่เป็นรายจ่ายค่าจ้างที่ได้รับสิทธิประโยชน์ทางภาษีตามพระราชกฤษฎีกาออกตามความในประมวลรัษฎากรว่าด้วยการยกเว้นรัษฎากร

         ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา (นายกรัฐมนตรี) วันที่ 30 มกราคม 2561

apm

 

 

Facebook

5 ข่าวฮอตนิวส์!