WORLD7

smed PIONEER 720x100ใจฟู720x100pxgpf 720x100 66

วันที่ 10 ธันวาคม พ.ศ. 2557 เวลา 12:58 น.  ข่าวสดออนไลน์    

201 อาจารย์ร่อนจม.เปิดผนึกถึงประธานที่ประชุมทปอ.จี้ปกป้องเสรีภาพทางวิชาการ

     เมื่อวันที่ 10 ธ.ค. กลุ่มคณาจารย์มหาวิทยาลัย 201 คน ร่วมลงชื่อในหนังสือเปิดผนึกถึงประธานที่ประชุมอธิการบดีแห่งประเทศไทย เพื่อเรียกร้องให้คุ้มครองเสรีภาพทางวิชาการที่กำลังถูกคุกคามในรั้วมหาวิทยาลัย

    ระบุว่า ในช่วงเวลาที่ประเทศกำลังเผชิญกับการเปลี่ยนผ่านทางการเมือง มหาวิทยาลัยมีบทบาทสาคัญในฐานะเป็นแหล่งปัญญาของประเทศ และเป็นสถานที่แลกเปลี่ยนเรียนรู้ ทั้งนี้ก็เพื่อสร้างหลักประกันให้กับอนาคตที่ยั่งยืนและเป็นธรรมสำหรับประชาชนทั้งประเทศ มหาวิทยาลัยต้องเป็นพื้นที่ปลอดภัยสาหรับผู้คนที่ห่วงใยในอนาคตบ้านเมือง จะสามารถแสดงความคิดเห็นที่แตกต่างได้อย่างเปิดเผย โดยไม่ต้องหวาดกลัว โดยเฉพาะอย่างยิ่งเมื่อประเทศกำลังก้าวเข้าสู่บรรยากาศของการปฏิรูป กระบวนการปฏิรูปต้องมาจากเสียงที่หลากหลายไม่ใช่จากฝ่ายหนึ่งฝ่ายใดเท่านั้น

   แม้ว่า ผู้บริหารประเทศในขณะนี้จะกล่าวอ้างถึงการให้ประชาชนมีส่วนร่วมในกระบวนการปฏิรูป แต่ในทางปฏิบัติไม่ได้เป็นเช่นนั้น ผู้บริหารประเทศกลับใช้อำนาจคุกคามเสรีภาพทางวิชาการ สั่งมหาวิทยาลัยห้ามจัดกิจกรรมทางวิชาการอย่างต่อเนื่อง และเพิ่มระดับมากขึ้นเรื่อยๆ จนกล่าวได้ว่า ไม่มีครั้งไหนในประวัติศาสตร์ของประเทศไทยที่มหาวิทยาลัยถูกคุกคามเสรีภาพมากเท่าในปัจจุบัน

   ในระยะที่ผ่านมา มีการคุกคามเสรีภาพทางวิชาการในมหาวิทยาลัยในหลายรูปแบบ อาทิ ในเดือนกันยายน 2557 ทหารสั่งให้นักศึกษาและคณาจารย์ที่จัดการประชุมทางวิชาการที่มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ วิทยาเขตรังสิต ยุติการประชุมทางวิชาการ พร้อมเชิญนักวิชาการและนักศึกษาจำนวนหนึ่งไป'ปรับทัศนคติ'และสั่งให้คนเหล่านั้นลงชื่อยืนยันว่าจะไม่ร่วมหรือมีการกระทำใดๆ ที่เกี่ยวข้องกับการเมืองอีก ต่อมามีการสลายการรวมตัวของนักศึกษาที่คัดค้านการสร้างเขื่อนแม่วงก์ บริเวณมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ และการที่จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ไม่อนุญาตให้จัดกิจกรรมเสวนาในวันที่ 15 และ 22 พฤศจิกายน 2557 รวมไปถึงการที่ทหารเข้าไปแสดงอำนาจในเครื่องแบบพร้อมอาวุธในสถานศึกษาบางแห่ง เช่น มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ยิ่งไปกว่านั้น การที่ทหารสามารถข่มขู่ทั้งอาจารย์และนักศึกษาและผู้ปกครองนักศึกษากลุ่มดาวดินว่า ‘จะสั่งให้มหาวิทยาลัยลบชื่อออกจากการเป็นนักศึกษา’ แสดงให้เห็นว่า นอกจากมหาวิทยาลัยไม่สามารถใช้กระบวนการที่เป็นไปตามหลักเกณฑ์ในการให้นักศึกษาพ้นสภาพนักศึกษาอันถือเป็นกระบวนการยุติธรรมในมหาวิทยาลัยตามที่ควรเป็น

    ด้วยหลักการที่มหาวิทยาลัยต้องดำรงความเป็นอิสระทางปัญญา การตรวจสอบกิจกรรมทางวิชาการทาได้ตามหลักของจริยธรรมทางวิชาการเท่านั้น มหาวิทยาลัย จึงต้องถูกสงวนให้เป็นพื้นที่ปลอดจากการใช้อาวุธและกาลังบังคับ มหาวิทยาลัยเป็นพื้นที่สุดท้ายที่เหลืออยู่ในเวลานี้ ที่จะเยียวยาและฟื้นฟูความไว้วางใจทางสังคมที่ ตกต่ำอย่างมากจากเหตุการณ์อันเลวร้ายที่ผ่านมา หากปราศจากความเชื่อมั่นของผู้คนในสังคมแล้ว การปฏิรูปไม่อาจจะไปสู่จุดหมายปลายทางที่แท้จริงได้

    พวกเราในฐานะกลุ่มคณาจารย์ นักศึกษา และบุคลากร ในสถาบันอุดมศึกษามีความห่วงใยเป็นอย่างยิ่งที่ไม่สามารถรักษาความเป็นอิสระของพื้นที่แห่งปัญญาเอาไว้ได้ และรู้สึกถึงหน้าที่ที่จะต้องยืนยันในหลักการสาคัญที่มหาวิทยาลัยจะต้องยึดมั่น นั่นคือ

     1. เสรีภาพในการแสดงความคิดเห็นทางวิชาการในฐานะสิทธิขั้นพื้นฐานที่นักศึกษา นักวิชาการทุกคนมี ประกอบด้วย เสรีภาพทางความคิดและในการแสดงออก เสรีภาพในการรวมตัว เสรีภาพในการศึกษา เสรีภาพในการสอน เสรีภาพในการวิจัยและเสรีภาพในการเข้าถึงข้อมูลข่าวสาร เสรีภาพในการตีพิมพ์ และเสรีภาพในการจัดกิจกรรมทางวิชาการนอกห้องเรียน อันเป็นแนวทางสำคัญในการสร้างบุคลากรที่รับผิดชอบต่อสังคม

     2. เสรีภาพทางวิชาการ เป็นทั้งเป้าหมายโดยตัวมันเอง และเป็นปัจจัยที่สาคัญยิ่งของสถาบันการศึกษาที่จะให้การบริการกับสังคมเพื่อประโยชน์ส่วนรวม ผ่านทางการเรียนการสอน การเผยแพร่ความรู้ความเข้าใจ และการสร้างความคิดที่เป็นอิสระและการแสดงออกให้แก่นักศึกษาและนักวิชาการ

     3. รัฐมีหน้าที่คุ้มครองและส่งเสริมสิทธิมนุษยชนรวมถึงเสรีภาพทางวิชาการ และเป็นองค์กรที่ต้องปฏิบัติตามกฎหมายที่สอดคล้องกับมาตรฐานสากลว่าด้วยสิทธิมนุษยชน

    4. ผู้บริหารของสถาบันอุดมศึกษาแต่ละแห่ง มีหน้าที่คุ้มครอง และปกป้องเสรีภาพจากการถูกคุกคามและแทรกแซงใดๆ การที่นักศึกษา อาจารย์ บุคลากรในมหาวิทยาลัย และมหาวิทยาลัยเอง ต้องขออนุมัติจัดกิจกรรมที่ คสช. เห็นว่าเป็น “ภัยต่อความมั่นคงและนาไปสู่ความขัดแย้ง” โดยไม่มีเหตุผลเพียงพอ เป็นสิ่งที่ยอมรับไม่ได้ เพราะการจัดกิจกรรมใดๆ เป็นดุลยพินิจและการตัดสินใจบนหลักการพื้นฐานเป็นของมหาวิทยาลัยเอง ฉะนั้นมหาวิทยาลัยต้องมีความกล้าหาญที่จะไม่ใช้มาตรการจากัดตนเอง (Self-Censorship)

    5. การที่นักศึกษาและนักวิชาการบางกลุ่มริเริ่มกิจกรรมทางสังคม ให้ความช่วยเหลือชุมชนที่ไม่ได้รับความเป็นธรรม ถือเป็นการทำหน้าที่รับผิดชอบทางสังคมของมหาวิทยาลัยอันเป็นธรรมเนียมปฏิบัติที่ดีตามความคาดหวังของสังคม มิได้มีนัยของการเป็นปฏิปักษ์ต่อการปฏิรูปประเทศแต่อย่างใด ในทางตรงกันข้าม การแปลงให้ความคับข้องใจของสังคมที่กาลังขยายตัวออกไปทุกเมื่อ มาสู่การพูดคุยด้วยเหตุผล เพื่อแสวงหาทางออกนั้น เป็นส่วนหนึ่งของการปฏิรูปประเทศในตัวเอง

     พวกเราที่ลงนามในหนังสือฉบับนี้ ขอเรียกร้องให้ที่ประชุมอธิการบดีแห่งประเทศไทยและผู้บริหารสถาบันอุดมศึกษาทุกแห่ง ดำเนินการดังนี้

     1. แสดงความกล้าหาญทางจริยธรรม โดยการยืนยันในหลักการเสรีภาพทางวิชาการทั้งของสถาบันและของบุคลากร

     2. ปกป้องไม่ให้มีการแทรกแซงและคุกคามโดยไร้เหตุผลจากผู้ถืออำนาจรัฐในขณะนี้

     3. เรียกร้องให้ คสช. ยอมรับความเป็นอิสระในการตัดสินใจของมหาวิทยาลัยในกิจกรรมทางวิชาการของบุคลากรและนักศึกษา โดยไม่จำ

    เป็นต้องยอมรับการออกคำสั่ง ของ คสช. ที่ทำให้นักศึกษาและบุคคลากรในมหาวิทยาลัยตกอยู่ภายใต้ความหวาดกลัว

    4. ส่งเสริมให้นักศึกษาและคณาจารย์รวมถึงบุคลากรในสถาบันการศึกษาได้ใช้เสรีภาพทางวิชาการอย่างเต็มที่เพื่อประโยชน์ของสังคมโดยรวม ไม่ใช่กลุ่มอานาจใดๆ โดยเฉพาะ

    5. การแสดงจุดยืนทางการเมืองของ ทปอ. และผู้บริหารมหาวิทยาลัย ไม่ควรส่งผลไปถึงการใช้มาตรการปิดกั้นเสรีภาพในการแสดงความคิดเห็นทางวิชาการที่แตกต่างหลากหลายของนักศึกษาและบุคลากรในมหาวิทยาลัย

     พวกเราหวังเป็นอย่างยิ่งว่าประเด็นสาคัญเหล่านี้จะได้รับการพิจารณาอย่างจริงจัง

     ขอแสดงความนับถือ

 

รายชื่อผู้ลงนามในจดหมายเปิดผนึกถึงประธานที่ประชุมอธิการบดีแห่งประเทศไทย

1. กนกรัตน์ เลิศชูสกุล คณะรัฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

2.กนกรัตน์ กิตติวิวัฒน์ คณะสังคมวิทยาและมานุษยวิทยา มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์

3.กนกวรรณ มะโนรมย์ คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี

4.กรรณิการ์ บางสายน้อย ข้าราชการเกษียณ สธ.

5.กรรณิการ์ สาตรปรุง คณะสังคมศาสตร์ ม.นเรศวร

6.กฤษฎา บานชื่น

7.กฤษฎา บุญชัยนักวิชาการอิสระ

8.กษิร ชีพเป็นสุข คณะรัฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

9.กันตพัฒน์ อนุศักดิ์เสถียร คณะสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร

10.กำพล จาปาพันธ์ คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏพระนครศรีอยุธยา

11.กิ่งกาญจน์ สานวนเย็น คณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี

12.กิตติ ลีรัตนรักษ์ ธุรกิจ

13.กิติมา ขุนทอง มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร

14.กุสุมา กูใหญ่ คณะวิทยาการสื่อสาร มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี

15.เกษียร เตชะพีระ คณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์

16.คารินา โชติรวี คณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

17.จตุรงค์ บุณยรัตนสุนทร มหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ

18.จักรกริช สังขมณี คณะรัฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

19.จันจิรา สมบัติพูนศิริ คณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์

20.จันทนี เจริญศรี คณะสังคมวิทยาและมานุษยวิทยา มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์

21.จันทรา ธนะวัฒนาวงศ์ คณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี

22.จิตติภัทร พูนขา คณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์

23.จิตราภรณ์ สมยานนทนากุล วิทยาลัยการเมืองการปกครอง มหาวิทยาลัยมหาสารคาม

24.จิรธร สกุลวัฒนะ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์

25.จิระภา พฤกษ์พาดี ภาควิชารัฐศาสตร์ คณะสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัย ศรีนครินทรวิโรฒ

26.จิราภรณ์ สมิธ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี

27.จุฑามณี สามัคคีนิชย์ คณะสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร

28.จุรีรัตน์ บวรวัฒนุวงศ์ โรงพยาบาลชลบุรี

29.จุฬารัต ผดุงชีวิต คณะสังคมวิทยาและมานุษยวิทยา มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์

30.ฉลอง สุนทราวาณิชย์ คณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

31.ฉันทนา บรรพศิริโชติ คณะรัฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

32.ชนิดา ชิตบัณฑิตย์ คณะสังคมวิทยาและมานุษยวิทยา มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์

33.ชนิดา เผือกสม คณะสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร

34.ชยันต์ วรรธนะภูติ คณะสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่

35.ชลิดาภรณ์ ส่งสัมพันธ์ คณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์

36.ชลิตา บัณฑุวงศ์ ภาควิชาสังคมวิทยาและมานุษยวิทยา คณะสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์

37.ชาญชัย ชัยสุขโกศล ศูนย์จิตตปัญญาศึกษา มหาวิทยาลัยมหิดล

38.ชาญณรงค์ บุญหนุน มหาวิทยาลัยศิลปากร

39.ชาญณวุฒ ไชยรักษา คณะสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร

40.ชาญวิทย์ เกษตรศิริ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์

41.ชำนาญ จันทร์เรือง มหาวิทยาลัยเชียงใหม่

42.ชิดชนก ราฮิมมูลาคณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี

43.ชินฮาโร ทารา คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์

44.เชษฐา ทรัพย์เย็น ศิษย์เก่าคณะรัฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

45.เชาวฤทธิ์ เชาว์แสงรัตน์ คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์

46.โชคชัย วงษ์ตานี

47.ไชยณรงค์ เศรษฐเชื้อ คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม

48.ไชยันต์ ไชยพร คณะรัฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

49.ไชยันต์ รัชชกูล

50.ฐานิดา บุญวรรโณ คณะสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร

51.ณภัค เสรีรักษ์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี

52.ณรุจน์ วศินปิยมงคล คณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี

53.ณัฐ เกียรติระบิล เกษียณ

54.ณัฐกานต์ อัครพงศ์พิศักดิ์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม

55.ณัฐนันท์ คุณมาศ คณะรัฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

56.ณัฐพล ตันตระกูลทรัพย์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

57.ดวงมณี เลาวกุล คณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์

58.ดวงยิหวา อุตรสินธุ์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี

59.ดวงหทัย บูรณเจริญกิจ มหาวิทยาลัยมหิดล

60.ดาริน คงสัจวิวัฒน์ คณะสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร

61.เดชรัต สุขกำเนิด คณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์

62.ตะวัน วรรณรัตน์ คณะอักษรศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร

63.ไตรจักร อินตู คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่

64.ทวีศักดิ์ เผือกสม คณะสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร

65.ทิพสุดา ญาณาภิรัต มหาวิทยาลัยมหาสารคาม

66.ธนะพันธ์ พิบูลย์บรรณกิจ โรงพยาบาลพระมงกุฎ

67.ธนาวิ โชติประดิษ Birkbeck College, University of London

68.ธเนศ อาภรณ์สุวรรณ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์

69.ธวัชชัย ป้องศรี วิทยาลัยการเมืองการปกครอง มหาวิทยาลัยมหาสารคาม

70.ธิกานต์ ศรีนารา คณะสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ

71.นงเยาว์ เนาวรัตน์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่

72.นฤมล กล้าทุกวัน มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์

73.นฤมล ทับจุมพล คณะรัฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

74.นฤมล อรุโณทัย สถาบันวิจัยสังคม จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

75.นลินี ตันธุวณิชย์ คณะสังคมวิทยาและมนุษยวิทยา มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์

76.นิธิ เนื่องจำนงค์ คณะสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร

77.นิพนธ์ ศศิภานุเดช คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์

78.บัณฑิต จันทร์โรจนกิจ คณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยรามคาแหง

79.บุญเลิศ วิเศษปรีชา คณะสังคมวิทยาและมานุษยวิทยา มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์

80.บุญส่ง ชัยสิงห์กานานนท์ คณะอักษรศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร

81.บุรินทร์ ศรีสมถวิล คณะมนุษยศาสตร์และประยุกต์ศิลป์ มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย

82.บุศรินทร์ เลิศชวลิตกุล อิสระ

83.แบ๊งค์ งามอรุณโชติ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้า ธนบุรี

84.ปณิธาน พุ่มบ้านยาง นิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่

85.ประจักษ์ ก้องกีรติ คณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์

86.ประดิษฐ์ ศิลาบุตร มหาวิทยาลัยราชภัฏศรีสะเกษ

87.ประทับจิต นีละไพจิตร สถาบันสิทธิมนุษยชนและสันติศึกษา มหาวิทยาลัยมหิดล

88.ประภาส ปิ่นตบแต่ง คณะรัฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

89.ปฤณ เทพนรินทร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม

90.ปองขวัญ สวัสดิภักดิ์ คณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์

91.ปิติกาญจน์ ประกาศสัจธรรม วิทยาลัยนานาชาติ มหาวิทยาลัยนเรศวร

92.ปิยะพงษ์ บุษบงก์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม

93.ปิยะรัตน์ นิ่มพิทักษ์พงศ์ คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร

94.ปุรินทร์ นาคสิงห์ ภาควิชาสังคมวิทยาและมานุษยวิทยา คณะสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์

95.ผาสุก พงษ์ไพจิตร จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

96.พจนก กาญจนจันทร คณะสังคมวิทยาและมานุษยวิทยา มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์

97.พนัส ทัศนียานนท์ คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์

98.พนิดา อนันตนาคม มหาวิทยาลัยเชียงใหม่

99.พรทิพย์ เนติภารัตนกุล คณะสังคมวิทยาและมานุษยวิทยา มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์

100.พรรณราย โอสถาภิรัตน์ คณะสังคมวิทยาและมานุษยวิทยา มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์

101.พลอยใจ ปิ่นตบแต่ง University of Sussex /คณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่

102.พัชรินทร์ สิรสุนทร คณะสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร

103.พิชญ์ พงษ์สวัสดิ์ คณะรัฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

104.พิพัฒน์ กระแจะจันทร์ คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์

105.พิพัฒน์ สุยะ ภาควิชาปรัชญา คณะอักษรศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร

106.พิศาล มุกดารัศมี สาขาวิชารัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยสุขทัยธรรมาธราช

107.พีระศิน ไชยศร มหาวิทยาลัยรามคาแหง

108.เพียงกมล มานะรัตน์ คณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี

109.แพร จิตติพลังศรี คณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

110.ไพบูลย์ โพธิ์หวังประสิทธิ์ สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าลาดกระบัง วิทยาเขตชุมพร

111.ภัทรภร ภู่ทอง ศูนย์ศึกษาสันติภาพและความขัดแย้ง จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

112.ภาสกร อินทุมาร คณะสังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล

113.ภีศเดช สัมมานันท์ รพ.นครพิงค์

114.ภูริณัฐร์ โชติวรรณ อิสระ

115.มนัส สังข์จันทร์ นิสิตคณะสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร

116.ยงยุทธ เรือนทา มหาวิทยาลัยเชียงใหม่

117.ยศ สันตสมบัติ คณะสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่

118.ยอดพล เทพสิทธา คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร

119.ยุกติ มุกดาวิจิตร คณะสังคมวิทยาและมานุษยวิทยา มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์

120.รัฐศักดิ์ กิติศักดิ์ อิสระ

121.รัตนา โตสกุล คณะสังคมวิทยาและมานุษยวิทยา มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์

122.รุ่งโรจน์ ภิรมย์อนุกูล ภาควิชาประวัติศาสตร์ มหาวิทยาลัยรามคาแหง

123.ลลิตา หาญวงษ์ มหาวิทยามหาสารคาม

124.ลักขณา ปันวิชัย ประชาชน

125.วรวิทย์ เจริญเลิศ คณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่

126.วลักษณ์กมล จ่างกมล คณะวิทยาการสื่อสาร มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี

127.วศิน โกมุท คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี

128. วสันต์ ลิมป์เฉลิม มหาวิทยาลัยราชภัฏธนบุรี

129.วัชรพล พุทธรักษา คณะสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร

130.วัชรพล ศุภจักรวัฒนา คณะสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร

131.วันรัก สุวรรณวัฒนา มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์

132.วาสนา ละอองปลิว มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์

133.วิทยา อาภรณ์ มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์

134.วินัย ผลเจริญ วิทยาลัยการเมืองการปกครอง มหาวิทยาลัยมหาสารคาม

135.วิโรจน์ อาลี คณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์

136.วีรบูรณ์ วิสารทสกุล มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์

137.วีรภัทร บุญมา นิสิตนิเทศศาสตรมหาบัณฑิต จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

138.วุฒิกรณ์ ชูวัฒนานุรักษ์ คณะสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร

139.ศยามล เจริญรัตน์ สถาบันวิจัยสังคม จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

140.ศรัณย์ จิระพงษ์สุวรรณ คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา

141.ศรีประภา เพชรมีศรี สถาบันสิทธิมนุษยชนและสันติศึกษา มหาวิทยาลัยมหิดล

142.ศรีสมภพ จิตต์ภิรมย์ศรี คณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี

143.ศาสตรินทร์ ตันสุน ภาควิชารัฐศาสตร์และรัฐประศาสนศาสตร์ คณะสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์

144.ศิระศักดิ์ คชสวัสดิ์ คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี

145.ศิวาภรณ์ ไชยเจริญ คณะสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร

146.ศุทธิกานต์ มีจั่น วิทยาลัยการเมืองการปกครอง มหาวิทยาลัยมหาสารคาม

147.ศุภลักษณ์ พรกุลวัฒน์ คณะสังคมวิทยาและมานุษยวิทยา มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์

148.ศุภสิทธิ์ ต๊ะนา คณะสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร

149.ษัษฐรัมย์ ธรรมบุษดี วิทยาลัยสหวิทยาการ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์

150.สมพันธ์ เตชะอธิก คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น

151.สมัชชา นิลปัทม์ คณะวิทยาการสื่อสาร มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี

152.สรวิศ ชัยนาม คณะรัฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

153.สร้อยมาศ รุ่งมณี มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์

154.สังกมา สารวัตร มหาวิทยาลัยศิลปากร

155.สันต์ชัย รัตนะขวัญ คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา

156.สันติชัย ปรีชาบุญฤทธิ์ คณะอักษรศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร

157.สามชาย ศรีสันต์ สำนักบัณฑิตอาสาสมัคร มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์

158.สามารถ ทองเฝือ คณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี

159.สายพิณ ศุพุทธมงคล คณะสังคมวิทยาและมานุษยวิทยา มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์

160.สิริไพลิน สิงห์อินทร์ อิสระ

161.สุชาติ เศรษฐมาลินี มหาวิทยาลัยพายัพ

162.สุพรรณี เกลื่อนกลาด คณะสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร

163.สุพัตรา จิตตเสถียร คณะสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร

164.สุรสิทธิ์ อมรวณิชศักดิ์ คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์

165.สุรัสวดี หุ่นพยนต์ ศูนย์ส่งเสริมและประสานงานวิจัยเพื่อการปกครองตนเองของท้องถิ่น

166.สุรางค์รัตน์ จาเนียรพล สถาบันวิจัยสังคม จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

167.สุรินทร์ อ้นพรม ภาควิชาการจัดการป่าไม้ คณะวนศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์

168.สุวิมล รุ่งเจริญ คณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

169.เสฎฐวุฒิ ยุทธาวรกูล นักศึกษาชั้นปีที่ 4 คณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์

170.อนรรฆ พิทักษ์ธานิน นักวิชาการอิสระ

171.อนุสรณ์ ธรรมใจ คณบดีคณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยรังสิต

172.อนุสรณ์ อุณโณ คณะสังคมวิทยาและมานุษยวิทยา มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์

173.อภิชญา โออินทร์ สถาบันสันติศึกษา มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตหาดใหญ่

174.อภิชาต สถิตนิรามัย คณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์

175.อมต จันทรังษี ภาควิชาสังคมวิทยาและมานุษยวิทยา คณะสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์

176.อรไท โสภารัตน์ คณะสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร

177.อรรถจักร สัตยานุรักษ์ คณะสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่

178.อรัญญา ศิริผล คณะสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่

179.อรุณี สัณฐิติวณิชย์ คณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี

180.อลิสา หะสาเมาะ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี

181.อันธิฌา แสงชัย ภาควิชาปรัชญาและศาสนา คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี

182.อัมพร หมาดเด็น มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์

183.อัลเบอท ปอทเจส จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

184.อานันท์ กาญจนพันธ์ คณะสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่

185.อุเชนทร์ เชียงเสน สำนักวิชาศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์

186.อุดมลักษณ์ ฮุ่นตระกูลคณะสังคมวิทยาและมานุษยวิทยา มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์

187.อุบลรัตน์ ศิริยุวศักดิ์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

188.เอกกมล สายจันทน์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่

189.เอกพลณัฐ ณัฐพัทธนันท์ คณะอักษรศาสตร์ ม.ศิลปากร

190.เอกพันธุ์ ปิณฑวณิช สถาบันสิทธิมนุษยชนและสันติศึกษา มหาวิทยาลัยมหิดล

191.เอกรินทร์ ต่วนศิริ คณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์

192.โอฬาร ถิ่นบางเตียว คณะรัฐศาสตร์ ม.บูรพา

193.Elise Bergsson University of Sussex

194.Jantima Angkapanichkit Faculty of liberal arts, Thammasat university

196.Jonathan Hunziker University of Sussex

197.Malcolm Macqueen University of Sussex

198.Michelle Tan มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์

199.Onur Acaro.lu University of Sussex

200.Sho Fukutomi Tokyo University of Foreign Studies

201.Yuko Manabe Ph.D. Student University of Tokyo

apm

 

 

Facebook

5 ข่าวฮอตนิวส์!