WORLD7

smed PIONEER 720x100ใจฟู720x100pxgpf 720x100 66

วันที่ 12 พฤศจิกายน พ.ศ. 2557 ปีที่ 24 ฉบับที่ 8750 ข่าวสดรายวัน


บิ๊กตู่ปลื้ม คุย'โอบามา-ปูติน' 
วิปสนช.ยอมยืดให้ปู 15 วัน เลื่อนถกถอดถอน 28 พย. พท.บุกจี้สำนวน'คดีปรส.'ปปช.แถลงยัน-ไม่มีแล้ว

ปลูกต้นไม้ - พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกฯ ร่วมปลูกต้นไม้กับผู้นำประเทศต่างๆ ภายหลังการเข้าร่วมประชุมผู้นำเขตเศรษฐกิจเอเปก ครั้ง ที่ 22 ที่กรุงปักกิ่ง สาธารณรัฐประชาชนจีน เมื่อวันที่ 11 พ.ย.

        'บิ๊กตู่'ร่วมถกสุดยอดผู้นำอาเซียนต่อหลังเสร็จภารกิจประชุมร่วมผู้นำเอเปก ปลื้มได้พูดคุยกับประธานาธิบดีโอบามา-ประธานาธิบดีปูติน ในงานเลี้ยง สอบถามสถานการณ์ในประเทศ ไทยซึ่งบอกไปว่าขอเวลาปฏิรูปก่อน เผยพร้อมร่วมมือผุดรถไฟ 3 สาย มติวิปสนช.เลื่อนวาระพิจารณาถอดถอนยิ่งลักษณ์ออกไปอีก 15 วันเป็น 28 พ.ย. ด้านสปช.ได้ครบประธานอนุกรรมาธิการทั้ง 18 คณะ 'สมบัติ-กปปส.'เฉือนชนะ'ชัย ชิดชอบ'เพียงคะแนนเดียว กลุ่มกปปส.-สปช.จังหวัดช่วยล็อบบี้ให้ กมธ.ยกร่างรัฐธรรมนูญนัดเปิดเวทีรับฟังความ คิดเห็นจากพรรคการเมือง นปช.-พันธมิตร-กปปส.ด้วย ด้านป.ป.ช.แถลงยืนยันไม่มีคดีปรส.เหลือให้พิจารณาแล้ว

'บิ๊กตู่'ปลูกต้นไม้กับผู้นำเอเปก
    เมื่อวันที่ 11 พ.ย. ผู้สื่อข่าวรายงานภารกิจของพล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกฯ และหัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) ระหว่างเข้าร่วมประชุมผู้นำเขตเศรษฐกิจเอเปก ครั้งที่ 22 และการประชุมอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง ระหว่างวันที่ 9-11 พ.ย. ที่กรุงปักกิ่ง สาธารณรัฐประชาชนจีน ว่า นายกฯ มีกำหนด การเข้าร่วมประชุมผู้นำเอเปก ช่วงที่ 1 ภายใต้ประเด็นการก้าวสู่การรวมกลุ่มทางเศรษฐกิจในภูมิภาค 
   จากนั้นเวลา 11.35 น. ตามเวลาท้องถิ่น นายกฯ ถ่ายภาพหมู่ร่วมกับผู้นำเขตเศรษฐกิจเอเปก จากนั้นผู้นำเอเปกปลูกต้นไม้ร่วมกันที่สวนซัมเมอร์ การ์เดน เวลา 12.15 น. นายกฯ เข้าร่วมการหารือระหว่างอาหารกลางวัน ภายใต้ ประเด็นการเสริมสร้างความเชื่อมโยงอย่างครอบคลุมและการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐาน และช่วงบ่ายเป็นการประชุมผู้นำเอเปกช่วงที่ 2 ภายใต้ประเด็นการส่งเสริมการพัฒนาอย่างมีนวัตกรรม การปฏิรูปเศรษฐกิจและการเจริญเติบโต
    หลังเสร็จการประชุม นายกฯ และคณะออกเดินทางจากท่าอากาศยานนานาชาติกรุงปักกิ่ง โดยเครื่องบินของกองทัพอากาศ ไปยังกรุงเนปิดอว์ สาธารณรัฐแห่งสหภาพเมียน มาร์ เพื่อเข้าร่วมการประชุมสุดยอดอาเซียน ครั้งที่ 25

ปลื้มได้คุยกับ'โอบามา-ปูติน'
    ที่กรุงปักกิ่ง พล.อ.ประยุทธ์ให้สัมภาษณ์ถึงการร่วมงานเลี้ยงผู้นำเขตเศรษฐกิจเอเปก เมื่อคืนวันที่ 10 พ.ย. ว่า ได้พบผู้นำทุกประเทศ รวมถึงได้พูดคุยกับประธานาธิบดีบารัก โอบามา แห่งสหรัฐ และประธานาธิบดีนายวลาดิเมียร์ ปูติน แห่งรัสเซีย ทุกประเทศสอบ ถามถึงสถานการณ์ในประเทศไทยว่ามีความสุขกันหรือยัง ซึ่งบอกไปว่าบรรยากาศดีแล้วแต่ขอเวลาปฏิรูปประเทศระยะหนึ่งก่อน
    "ได้พูดกับประธานาธิบดีโอบามาด้วย เขาแสดงความเป็นห่วง ผมก็ขอบคุณที่เป็นห่วงและยืนยันจะทำให้ดีที่สุด ได้พบกับประธานา ธิบดีปูติน ก็ถามว่าประเทศไทยเป็นไง เรียบร้อยหรือยัง ผมก็บอกเรียบร้อยดี ขอเวลาเราระยะหนึ่ง ทุกคนก็ให้เกียรติซึ่งกันและกัน ไม่ได้พูดเรื่องความขัดแย้ง ผมบอกทุกประเทศว่าประเทศไทยสงบสุขพอสมควรแล้ว การท่องเที่ยวก็ดีขึ้น ได้เชิญชวนให้ทุกประเทศมาเที่ยวเมืองไทยด้วย ซึ่งนายกฯ ญี่ปุ่นและจีนบอกว่าจะยกเลิกประกาศเตือนเพื่อให้คนมาเที่ยว ทุกประเทศกล่าวขวัญถึงประเทศไทยในทางที่ดีหมด"พล.อ.ประยุทธ์กล่าว

ถกจีน-ลุยสร้างรถไฟเพิ่ม 3 สาย
    พล.อ.ประยุทธ์ กล่าวถึงการประชุมผู้นำเขตเศรษฐกิจเอเปกครั้งนี้ ว่าได้เข้าหารือทวิภาคีกับนายหลี่ เค่อเฉียง นายกฯ สาธารณรัฐ ประชาชนจีน และนายสี จิ้นผิง ประธานาธิบดีสาธารณ รัฐประชาชนจีน โดยจีนมีความต้องการรื้อฟื้นเส้นทางสายไหม ผู้นำจีนรู้สึกว่าไทยกับจีน น่าจะร่วมกันตรงนี้เพราะเป็น การเชื่อมโยงระหว่างไทยกับจีน เส้นทางก็ทำเชื่อมกันอยู่แล้วในปัจจุบัน มีการปรับปรุง ขยายเส้นทางกันอยู่แล้วในแต่ละประเทศ ประเด็นสำคัญคือเรื่องการขนส่งสินค้าต้องมีความเชื่อมโยงกัน 
    "จึงตกลงกันว่า จะร่วมมือกันในเรื่องการทำทางรถไฟ ขนาด 1.435 เมตร เป็นทางรถไฟที่รางกว้างกว่าปกติ คือกว้าง 1 เมตร ก็สอดคล้องกันพอดี ทางจีนบอกว่าพร้อมจะร่วมมือและสนับสนุนไทยทุกอย่างในการก่อสร้างเส้นทางนี้ และเกิดประโยชน์ทั้งไทยและอาเซียน และจีน ก็ถือว่าน่าจะเป็นจุดเริ่มต้นที่ดีในด้านการพัฒนาการขนส่ง ทั้งสินค้าและประชาชน"พล.อ.ประยุทธ์กล่าว
    นายกฯ กล่าวว่า รัฐบาลมีแผนพัฒนารถไฟหลายเส้นทาง ที่พูดคุยกับทางการจีนและตกลงที่จะร่วมมือกันแบบรัฐต่อรัฐ คือ เส้นทางกรุงเทพฯ-หนองคาย, กรุงเทพฯ-มาบตาพุด และแยกที่แก่งคอย จ.สระบุรี ถ้าไม่ทำวันนี้จะไม่ทันการณ์ และราคาจะแพงขึ้นเรื่อยๆ ยืนยันว่าเราต้องไม่เสียเปรียบ

ลั่นสร้างรถไฟความเร็วกลางปี 58
    "วันนี้เราจะเริ่มต้นรถไฟในประเทศ เริ่มทำทางคู่ รางกว้าง 1 เมตรส่วนหนึ่งก่อน ซึ่งมีจำนวนมากพอสมควร เพื่อจะเพิ่มระยะทางทางรถไฟให้มากขึ้น และรถไฟความเร็วสูง 160 กิโลเมตรต่อชั่วโมง รางกว้าง 1.435 เมตร ส่วนรถไฟความเร็วสูง 250 กิโลเมตรต่อชั่วโมง ต้องศึกษาเรื่องความคุ้มค่าอีกครั้ง เราจะดำเนินการรถไฟทางคู่ รถไฟความเร็วปานกลาง ถือว่าเป็นของขวัญให้คนไทยในปี 2558" พล.อ.ประยุทธ์กล่าว
    พล.อ.ประยุทธ์ กล่าวว่า ยืนยันว่าจะทำให้ทุกอย่างโปร่งใสที่สุด เป็นไปเพื่อผลประโยชน์ ของชาติอย่างแท้จริง เป็นการสร้างสัมพันธ์ที่ดีกับประเทศที่เป็นมิตรกับเราด้วย อย่ากังวล ตนไม่เอาประเทศไทยเป็นเบี้ยล่างให้ใคร ตนมาทุกครั้งเอาเกียรติยศของคนไทยมาด้วย ยืนยันว่าจะต้องไม่มีการทุจริตในทุกโครงการ และโครงการจะต้องเกิด ไม่เช่นนั้นความไว้วางใจจะไม่เกิดขึ้น ชื่อเสียงประเทศไทยเสียหายมากเรื่องนี้ ส่วนเรื่องการทำสัญญา ตนจะให้ทำตามกฎหมาย
    นายกรัฐมนตรี กล่าวด้วยว่า อีกประเด็นที่มีการพูดคุยกัน คือจีนจะให้ความช่วยเหลือเรื่องสินค้าเกษตร โดยจะรับซื้อข้าวจากไทย นอกจากนี้ยังได้พูดคุยในเรื่องความร่วมมือไทย-จีนด้วย

แถลงร่วม-ย้ำข้อตกลงโบกอร์ 2020
      หลังประชุมเอเปกเสร็จสิ้น ที่ประชุมออกแถลงการณ์ร่วมในโอกาสก่อตั้งเอเปกครบ 25 ปี สร้างอนาคตด้วยความเป็นหุ้นส่วนของเอเชีย-แปซิฟิก ระบุการทำงานตลอด 25 ปี ประสบความสำเร็จหลายด้าน การเปิดเสรีและอำนวยความสะดวกด้านการค้าการลงทุน และลดความไม่เท่าเทียมกันทางเศรษฐกิจระหว่างเขตเศรษฐกิจ เอเปกและเขตเศรษฐกิจเอเชีย-แปซิฟิก กำลังอยู่ในจุดเริ่มต้นสำคัญของประวัติศาสตร์ และกำลังเผชิญกับโอกาสและความท้าทายที่ไม่เคยเกิดขึ้นมาก่อน 
      การรวมตัวกันวันนี้ เป็นการให้คำมั่นที่จะสร้างความต่อเนื่องจากความสำเร็จในอดีตของเอเปก และสร้างอนาคตด้วยความเป็นหุ้นส่วนของเอเชีย-แปซิฟิก ด้วยความเชื่อมั่นซึ่งกันและกัน ความครอบคลุมรอบด้านอย่างมี นวัตกรรม โดยความร่วมมือที่ได้ประโยชน์ทุกฝ่าย ยืนยันจะบรรลุข้อตกลงโบกอร์ภายในปี พ.ศ.2563 และจัดึกษาความเป็นไปได้เพื่อมุ่งสู่เป้าหมายการก่อตั้งเขตการค้าเสรีเอเชีย-แปซิฟิกภายในปี พ.ศ.2568 และมุ่งมั่นจะปฏิบัติตามพิมพ์เขียวด้านการสร้างความเชื่อมโยง และบรรลุเป้าหมายที่ครอบคลุมในการเสริมสร้างความแข็งแกร่ง เชื่อว่าความพยายามต่างๆจะนำพาเอเชีย-แปซิฟิกสู่อนาคตอันสดใส เกิดการรวมกลุ่มทางเศรษฐกิจ ที่แน่นแฟ้นขึ้น มีการเจริญเติบโตที่ยั่งยืนอันเกิดจากนวัตกรรมและการปฏิรูป และจะทำหน้าที่เป็นผู้ขับเคลื่อนเศรษฐกิจโลกต่อไป

ฟังความเห็น-อาจเว้นอัยการศึก
    ที่รัฐสภา นายเทียนฉาย กีระนันทน์ ประธาน สปช. นำสมาชิกถ่ายภาพหมู่ครั้งแรกบริเวณลานหน้าศาลพระสยามเทวาธิราช พระเสื้อเมือง พระทรงเมือง โดยสมาชิกส่วนใหญ่เข้าร่วม ขาดเพียงนายชิงชัย หาญเจนลักษณ์ นายมนู เลียวไพโรจน์ นายธวัชชัย ยงกิตติกุล และน.ส.อรพินท์ สพโชคชัยเท่านั้น
    จากนั้น นายเทียนฉายให้สัมภาษณ์ว่าหากได้กรรมาธิการครบทั้ง 18 คณะจะเดินหน้ายกร่างกรอบที่จะนำเสนอต่อกรรมาธิการยกร่างรัฐธรรมนูญได้ทันที อย่างไรก็ตาม ต้องรอตั้งวิป สปช.ก่อนเพื่อกำหนดองค์ประกอบที่มา ภารกิจ หน้าที่ของกรรมาธิการอีก 5 คณะ อาทิ กรรมาธิการรับฟังความคิดเห็นและการมีส่วนร่วม และกรรมาธิการกิจการประชาสัมพันธ์ ฯลฯ แล้วจึงจะเสร็จกระบวนการ 
    เมื่อถามถึงการจัดเวทีรับฟังความเห็นที่บางพื้นที่ประกาศกฎอัยการศึก ได้ขอความร่วมมือ คสช.และรัฐบาลหรือไม่ นายเทียนฉายกล่าวว่า ยังไม่มีการหารือ ต้องรอให้มีคณะกรรมาธิการการมีส่วนร่วมและรับฟังคิดความเห็นก่อน แต่คงไม่ต้องทำหนังสืออย่างเป็นทางการ แค่ไปพูดคุยกับ คสช.ก็พอ อย่างไรก็ตาม บรรยากาศขณะนี้ถือว่าไม่มีผลกระทบ ไม่มีความขัดแย้ง ไม่จำเป็นต้องขอยกเว้นการประกาศกฎอัยการศึกบางพื้นที่ แต่จะใช้กระบวนการรับฟังความเห็นในรูปแบบ ที่หลากหลาย เช่น เปิดโอกาสให้ประชาชนส่งความเห็นมายังสปช.โดยตรง ผ่านตู้ปณ. หรือช่องทางอื่น 

สปช.รับทราบตั้ง 36 กมธ.ยกร่างฯ
    เมื่อเวลา 09.30 น. มีประชุมสภาปฏิรูปแห่งชาติ (สปช.) นายบวรศักดิ์ อุวรรณโณ รองประธานสปช. คนที่ 1 เป็นประธาน ที่ประชุมรับทราบการแต่งตั้งคณะกรรมาธิการยกร่างรัฐธรรมนูญทั้ง 36 คน จากนั้นรับรองรายชื่อสมาชิกที่เป็นกรรมาธิการวิสามัญประจำ สปช.ทั้ง 18 คณะ ตามที่คณะกรรมาธิการสามัญสรรหาผู้ที่จะดำรงตำแหน่งในคณะกรรมาธิการวิสามัญประจำสภาพิจารณาเสร็จแล้ว จากนั้น นายบวรศักดิ์แจ้งกรรมาธิการ วิสามัญฯ ทั้ง 18 คณะแยกย้ายกันไปประชุมเลือกประธาน รองประธาน และตำแหน่งอื่นๆ พร้อมทั้งให้แต่ละคณะเลือกตัวแทน 1 คน เข้าเป็นคณะกรรมาธิการกิจการ สปช. (วิป สปช.) ซึ่งวิป สปช.มี 29 คน 
   เวลา 14.15 น. ที่ประชุม สปช. กลับมาประชุมอีกครั้ง มีนายเทียนฉายทำหน้าที่ประธาน ที่ประชุมเสนอรายชื่อตัวแทนจากคณะกรรมาธิการวิสามัญประจำ สปช.ทั้ง 18 คณะ คณะละ 1 คน เป็นวิป สปช. และเลือกจากที่ประชุมอีก 8 คน โดยวิป สปช.มีทั้งหมด 29 คน รวมประธาน สปช. รองประธาน 2 คน และนายจเร พันธุ์เปรื่อง เลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร ปฏิบัติหน้าที่เลขาธิการ สปช. เป็นวิปสปช.โดยตำแหน่ง จากนั้น นายเทียนฉายนัดวิป สปช. ประชุมวันที่ 12 พ.ย. เวลา 13.30 น. ส่วนวันที่ 17 พ.ย. นัดประชุม สปช. เวลา 09.30 น. ก่อนสั่งปิดการประชุมในเวลา 15.50 น. 

เปิดรายชื่อปธ.กมธ.สปช. 18 คณะ
    สำหรับ รายชื่อประธานกมธ.วิสามัญประจำ สปช. 18 คณะ มีดังนี้ 1.กมธ.ปฏิรูปการเมือง นายสมบัติ ธำรงธัญญวงศ์ 2.กมธ.ปฏิรูปการกีฬา พล.อ.ยุทธศักดิ์ ศศิประภา 3.กมธ.ปฏิรูปค่านิยมศิลปะวัฒนธรรม จริยธรรมและการศาสนา นายเนาวรัตน์ พงษ์ไพบูลย์ 4.กมธ.ปฏิรูปวิทยาศาสตร์เทคโนโลยี วิจัย นวัตกรรม และทรัพย์สินทางปัญญา นายศักรินทร์ ภูมิรัตน 5.กมธ.ปฏิรูปการแรงงาน พล.ท.เดช ปุญญบาล 6.กมธ.ปฏิรูปการคุ้มครองผู้บริโภค น.ส.สารี อ๋องสมหวัง 7.กมธ.ปฏิรูปการศึกษา และพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ นายพารณ อัครเสนา ณ อยุธยา 8.กมธ.ปฏิรูปป้องกันและปราบปรามการทุจริตและประพฤติมิชอบ นายประมนต์ สุธีวงศ์ 9.กมธ.ปฏิรูปเศรษฐกิจการเงินและการคลัง นายสมชัย ฤชุพันธุ์ 10.กมธ.ปฏิรูปการท้องถิ่น นายพงศ์โพยม วาศภูติ 
    11.กมธ.ปฏิรูปการบริหารราชการแผ่นดิน นายธีรยุทธ์ หล่อเลิศรัตน์ 12.กมธ.ปฏิรูปพลังงาน นายทองฉัตร หงส์ลดารมย์ 13.กมธ.ปฏิรูปการเกษตร อุตสาหกรรม พาณิชย์ การท่องเที่ยวและบริการ นายเกริกไกร จีระแพทย์ 14.กมธ.ปฏิรูปสาธารณสุข นางพรพันธุ์ บุณยรัตพันธุ์ 15.กมธ.ปฏิรูปทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม นายปราโมทย์ ไม้กลัด 16.กมธ.ปฏิรูปการสื่อสารและเทคโนโลยีสารสนเทศ นายจุมพล รอดคำดี 17.กมธ.ปฏิรูปสังคม ชุมชน เด็ก เยาวชน สตรี ผู้สูงอายุ ผู้พิการ และผู้ด้อยโอกาส นายอำพล จินดาวัฒนา และ 18.กมธ.ปฏิรูปกฎหมายและกระบวนการยุติธรรม นายเสรี สุวรรณภานนท์ 

กมธ.ปฏิรูปการเมือง-ขอตั้งอนุ
     ด้านนายสมบัติ ในฐานะประธานกมธ.ปฏิรูปการเมือง กล่าวว่า หลังจากประชุมลงคะแนนลับเลือกประธาน กมธ.เสร็จสิ้น ช่วงบ่ายคณะกมธ.แต่ละด้านเรียกประชุมอย่างไม่เป็นทางการเป็นครั้งแรก ซึ่งกมธ.ปฏิรูปการเมืองกำหนดกรอบการทำงานเบื้องต้น 4 กรอบ คือ การปฏิรูปโครงสร้างทางการเมือง และองค์กรอิสระ 2.ปฏิรูประบบพรรคการ เมือง 3.ปฏิรูปกลไกและระบบการเลือกตั้ง และ 4.ปฏิรูปกลไกการมีร่วมทางการเมือง 
     นายสมบัติ กล่าวต่อว่าหลังจากนี้จะต้องตั้งอนุ กมธ. ขึ้นมา 4 คณะเพื่อมาทำงานตามกรอบทั้ง 4 ด้าน ตนมอบหมายให้ พล.ท. ฐิติวัจน์ กำลังเอก สมาชิก สปช.ในฐานะเลขา นุการคณะกมธ.ไปประสาน กมธ.แต่ละคนว่าต้องการเข้ามาทำงานในด้านใดบ้าง ขณะเดียวกัน อนุ กมธ. ทั้ง 4 คณะจะเปิดโอกาสให้คนนอกเข้ามาร่วมเป็น อนุ กมธ. ได้ ซึ่งต้องมีการพูดคุยกันอีกครั้งว่าจะเลือกบุคคลใดที่สามารถจะให้ข้อมูลที่ กมธ.ต้องการได้ ช่วงเวลาจากนี้ให้ กมธ.แต่ละคนไปทำการบ้านเพื่อนำเสนอความเห็น โดยจะนัดประชุมอีกครั้งวันที่ 17 พ.ย.นี้ เวลา 10.30 น. 

เรืองไกร ร้องถอนวาระถอด'ปู'
    ที่รัฐสภา นายเรืองไกร ลีกิจวัฒนะ คณะทำงานฝ่ายกฎหมายพรรคเพื่อไทย เข้ายื่นหนังสือต่อนางนรรัตน์ พิมพ์เสน เลขาธิการวุฒิสภา ปฏิบัติหน้าที่เลขาฯ สนช. ขอให้สนช.ถอนระเบียบวาระการประชุมวันที่ 12 พ.ย. ที่จะพิจารณาการถอดถอนน.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร ในกรณีจำนำข้าวออกไปก่อน 
     นายเรืองไกร กล่าวภายหลังยื่นหนังสือว่า ที่ขอให้ สนช.ถอนวาระดังกล่าวออกไปเนื่อง จากเห็นว่า การที่สนช.อ้างบทบัญญัติของรัฐธรรมนูญชั่วคราว 2557 ในมาตรา 6 ว่ามีอำนาจถอดถอนนั้นไม่สามารถกระทำได้ เพราะไม่มีบทบัญญัติเฉพาะให้ถอดถอน และเมื่อพิจารณารัฐธรรมนูญ 2550 จะเห็นได้ชัดเจนว่ามาตรา 270 ถึง 274 มีบทบัญญัติ ที่ให้อำนาจวุฒิสภาเรื่องการถอดถอนไว้ แต่รัฐธรรมนูญฉบับชั่วคราว ปี 2557 ไม่มีบทบัญญัติ เฉพาะให้มีการถอดถอนแต่อย่างใด อีกทั้งการอ้างอำนาจตามรัฐธรรมนูญฉบับดังกล่าวในมาตรา 13 วรรคสอง โดยตีความคำว่า 'กิจการอื่น' แปลว่า มีอำนาจถอดถอนได้ด้วยนั้น ย่อมเป็นการส่อว่าจงใจใช้อำนาจขัดรัฐธรรมนูญ และถือว่าการตราข้อบังคับ การประชุม สนช. 2557 จึงมิชอบ นอกจากนี้เรื่องดังกล่าวตนได้ยื่นให้ผู้ตรวจการแผ่นดินทำความเห็นให้ศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัยแล้ว 

มติวิปสนช.เลื่อนพิจารณาไป 27 พ.ย.
     ที่รัฐสภา นายสุรชัย เลี้ยงบุญเลิศชัย รองประธาน สนช. ให้สัมภาษณ์กรณีทีมทนายน.ส.ยิ่งลักษณ์ขอให้สนช.เลื่อนการพิจารณากระบวนการถอดถอนออกไป 30 วัน ว่า ประเด็นอยู่ที่ว่าจะอนุญาตให้เลื่อนได้ตามที่ขอมา 30 วันหรือไม่ เพราะกฎหมายให้เลื่อนได้เพียง 15 วัน แต่ยืนยันว่าไม่ได้เร่งรัด สนช.เปิดโอกาสให้ทุกฝ่าย การอ้างว่าเพิ่งกลับจากต่างประเทศแล้วยังไม่ได้รับเอกสารนั้น สามารถ ฟังได้ แต่ขออย่าประวิงเวลา เพราะกระบวน การถูกออกแบบไว้ให้ดำเนินการด้วยความรวดเร็ว เพื่อคุ้มครองสิทธิผู้ถูกกล่าวหา
     เวลา 15.00 น. นพ.เจตน์ ศิรธรานนท์ สมาชิก สนช. ในฐานะโฆษกกมธ.วิสามัญกิจการสนช. หรือวิปสนช. ให้สัมภาษณ์กรณีการพิจารณาถอดถอนน.ส.ยิ่งลักษณ์ว่า วิปสนช.มีมติเลื่อนการพิจารณาถอดถอนจากเดิมที่จะพิจารณาวันที่ 12 พ.ย.ออกไปก่อน วิปสนช.ได้รับรายงานจากเจ้าหน้าที่สำนักงานเลขาธิ การวุฒิสภา ปฏิบัติหน้าที่เลขาธิการสนช.ว่าได้ส่งหนังสือถึงน.ส.ยิ่งลักษณ์ ไปเมื่อวันที่ 7 พ.ย. ซึ่งตามข้อบังคับต้องส่งสำนวนไปยัง ผู้ถูกร้องภายใน 15 วัน ซึ่งจะตรงกับวันที่ 22 พ.ย. แต่เนื่องจากเป็นวันเสาร์-อาทิตย์ จึงต้องเลื่อนการพิจารณาเป็นวันที่ 27 พ.ย. 

ติดเปิดคดี 2 อดีตปธ.-เลื่อน 28 พ.ย.
     นพ.เจตน์ กล่าวว่า แต่ที่ประชุมสนช.ต้องพิจารณาเรื่องถอดถอนนายสมศักดิ์ เกียรติ สุรนนท์ อดีตประธานรัฐสภา และนายนิคม ไวยรัชพานิช อดีตประธานวุฒิสภา ดังนั้น เพื่อความเป็นธรรมและเพื่อให้ถูกต้องตามข้อบังคับ วิปสนช.จึงมีมติเลื่อนการพิจารณาออกไปเป็นวันที่ 28 พ.ย. ซึ่งถือเป็นการพิจารณานัดแรก เพื่อกำหนดวันแถลงเปิดคดี อย่างไรก็ตามในวันที่ 12 พ.ย. จะเปิดโอกาสให้ทีมทนายความของน.ส.ยิ่งลักษณ์ มาขอคัดสำเนาของสำนวนเพื่อไปศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ ขณะเดียวกัน การประชุมสนช.วันดังกล่าว วิปสนช.จะแจ้งมติให้ที่ประชุมสนช.รับรองการเลื่อนพิจารณาคดีถอดถอนน.ส.ยิ่งลักษณ์ รวมถึงพิจารณากฎหมายอื่นๆ ที่ค้างอยู่ด้วย 
      ส่วนกรณีนายเรืองไกรยื่นหนังสือขอให้ถอดเรื่องดังกล่าวออกจากการพิจารณานั้น นพ.เจตน์กล่าวว่า วิปสนช.มีการพิจารณาประเด็นดังกล่าวแล้ว และเห็นว่านายเรืองไกรไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับคดีนี้ 

'อ๋อย'ย้ำถอดถอนไม่ชอบธรรม
    วันเดียวกัน นายจาตุรนต์ ฉายแสง แกนนำพรรคเพื่อไทย โพสต์เฟซบุ๊กถึงกรณีสนช.มีมติรับถอดถอนนายสมศักดิ์และนายนิคมว่า สนช.หรือองค์กรใดๆ ในปัจจุบันไม่มีอำนาจถอดถอนอดีตส.ส. ส.ว. อดีตประธานสภา หรืออดีตนายกฯ เนื่องจากรัฐธรรมนูญที่ให้อำนาจถอดถอนถูกยกเลิกไปแล้ว จึงไม่มีบทบัญญัติแห่งกฎหมายใดให้อำนาจดังกล่าว รวมถึงไม่สามารถออกกฎหมายใหม่ให้อำนาจถอดถอนแก่สนช.หรือใครก็ตามด้วย เพราะเท่ากับออกกฎหมายย้อนหลังไปให้โทษแก่บุคคล กรณีสนช.มีมติรับเรื่องจากป.ป.ช.เพื่อดำเนินการนั้น ไม่ทำให้สนช.มีอำนาจถอด ถอนขึ้นได้ แม้จะออกพ.ร.บ.ให้ตนเองมีอำนาจก็ทำไม่ได้ เนื่อง จากไม่ชอบด้วยหลักนิติธรรม อีกทั้งการลงมติเกี่ยวกับข้อบังคับซึ่งเป็นเรื่องภายในของสนช.เอง ไม่ทำให้สนช.มีอำนาจถอดถอนด้วย ดังนั้นกระบวนการต่อไปนี้จึงเป็นเรื่องไม่ชอบด้วยกฎหมาย หากมีการลงมติจริง ไม่ว่าผลจะออกมาอย่างไร ถือว่าสนช.ร่วมกระทำผิดกฎหมายเป็นความผิดสำเร็จแล้ว 
     นายจาตุรนต์ กล่าวว่า สาเหตุหนึ่งที่สังคมไทยขัดแย้งแตกแยก เพราะมีการใช้กฎหมายให้โทษแก่ฝ่ายใดฝ่ายหนึ่ง โดยขัดต่อหลักนิติธรรม เลือกปฏิบัติในการบังคับใช้กฎหมาย หากต้องการปรองดองต้องไม่ให้เกิดการละเมิด หลักนิติธรรมและเกิดการเลือกปฏิบัติไปให้โทษแก่ฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งอีก ทั้งนี้ไม่มีใครห้ามลงโทษคนผิด เพียงแต่การลงโทษต้องเป็นไปตามหลักนิติธรรมอย่างเท่าเทียมกันทุกฝ่าย แต่ถ้าสนช.จะถอดถอนบุคคลจำนวนมากโดยไม่เป็นไปตามหลักนิติธรรม ไม่ชอบด้วยกฎหมาย มีแต่จะสร้างความแตกแยกในสังคมให้เลวร้ายยิ่งขึ้น หากต้องการการปรองดอง ต้องอย่าลุแก่อำนาจ อย่าละเมิดหลักนิติธรรม

'มาร์ค'อ้างลำบากใจกรณี 2 ปธ.
      ด้านนายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ หัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ กล่าวถึงการถอดถอนนาย สมศักดิ์และนายนิคมว่า รู้สึกลำบากใจ เพราะการถอดถอนเป็นการลงโทษทางการเมือง และกำลังจะลงโทษนักการเมืองที่มีที่มาตามรัฐธรรมนูญ พ.ศ.2550 แต่เรากำลังจะเอาบุคคลหรือกลุ่มบุคคลที่ไม่ได้มาตามรัฐธรรม นูญ ปี 2550 มาพิจารณาเรื่องนี้ ซึ่งกระบวนการที่บัญญัติไว้ในปี 2550 มีหลักว่าท่านเหล่านี้เป็นนักการเมืองซึ่งมาจากการเลือกตั้ง คือมาจากประชาชน ดังนั้นคนที่จะถอดถอนจึงต้องยึดโยงกับประชาชน จึงให้วุฒิสภาเป็นผู้ถอด ถอน ไม่ได้ให้ศาลเป็นผู้ถอดถอน เพราะศาลพิจารณา เชิงกฎหมายแต่เรากำลังพูดถึงการลงโทษทางการเมือง จึงเกิดภาวะที่ตนก็รู้สึกกระอักกระอ่วนใจ 
    นายอภิสิทธิ์ กล่าวว่า ถ้ามองในเชิงความชอบธรรมทางการเมืองพูดได้เลยว่าคนที่มาจากระบบการแต่งตั้งแบบนี้สมควรหรือที่จะมาเป็นผู้พิจารณา ขณะเดียวกันถ้ามองในแง่พฤติกรรม ก็ต้องบอกว่าถ้าพฤติกรรมอย่างนี้ถ้าไม่มีโทษทางการเมืองเลยก็เป็นการส่งสัญญาณที่ผิด เรากำลังจะปฏิรูปประเทศ ปฏิรูปการเมือง ดังนั้น ในอนาคตอย่าให้เกิดเหตุการณ์แบบนี้ในสภาอีก ถ้าตนจำเป็นต้องเขียนรัฐธรรมนูญชั่วคราว ก็อาจต้องเขียนทางออกเป็นทางที่ 3 ก็ได้ว่าเรื่องแบบนี้อาจต้องรอสภาที่มาจากการเลือกตั้งมาจัดการ

ระบุกรณียิ่งลักษณ์ถอดถอนได้
    ส่วนการถอดถอนน.ส.ยิ่งลักษณ์นั้น นายอภิสิทธิ์อ้างว่า มีความชัดเจนกว่ากรณีของนายสมศักดิ์และนายนิคม เพราะความผิดของน.ส.ยิ่งลักษณ์ เป็นความผิดต่อกฎหมายที่ยังบังคับใช้อยู่ คือกฎหมายคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ (ป.ป.ช.) หรืออาจเป็นประมวลกฎหมายอาญาด้วยซ้ำ ส่วนประเด็นทางการเมืองก็คงไม่ต่างกัน เกี่ยวกับการทำหน้าที่ของ สนช. ตนเห็นว่าโครงการจำนำข้าวสร้างความเสียหายอย่างมาก หากบอกว่าความเสียหายแบบนี้ไม่ต้องมีความรับผิดชอบทางการเมือง และทางกฎหมาย หากวันข้างหน้าเกิดเรื่องแบบนี้อีก คำถามคือเราปฏิรูปประเทศอย่างไร

กมธ.ยกร่างรับฟังพรรคการเมือง
      วันเดียวกัน นายคำนูณ สิทธิสมาน โฆษก กมธ.ยกร่างรัฐธรรมนูญ แถลงว่า ที่ประชุม กมธ.ยกร่างฯ จะจัดการรับฟังความเห็นข้อเสนอแนะจากพรรคการเมืองและกลุ่มที่เคลื่อนไหวทางการเมืองต่างๆ หัวข้อ'จะยกร่างรัฐธรรมนูญอย่างไรเพื่อให้สังคมไทยมีอนาคตที่ดีเพื่อส่งมอบให้ลูกหลาน' วันที่ 17-25 พ.ย. เวลา 10.00-12.00 น. โดยวันที่ 17 พ.ย. พรรคเพื่อไทย, 18 พ.ย. พรรคประชา ธิปัตย์, 19 พ.ย. พรรคภูมิใจไทยและชาติไทยพัฒนา, 20 พ.ย. พรรคชาติพัฒนาและพรรคพลังชล, 21 พ.ย. พรรคมาตุภูมิและพรรครักประเทศไทย ส่วนวันที่ 24 พ.ย. กลุ่ม นปช., และ 25 พ.ย. กลุ่ม กปปส. และกลุ่มพันธมิตร หวังว่าจะได้รับความร่วมมือจากทุกฝ่าย ส่งตัวแทนร่วมแสดงความเห็นคณะละ 5 คน โดย กมธ.อาจเชิญมาให้ความเห็นหลายรอบก็ได้ หากตัวแทนไม่สะดวกเดินทาง สามารถส่งเอกสารเสนอความเห็นได้
      นายคำนูณ กล่าวว่า การเชิญพรรคการเมืองและกลุ่มต่างๆ ครั้งนี้ เป็นการรับฟังความเห็นทั่วไป ยังไม่เจาะจงหรือกำหนดรูปแบบ กมธ.ยกร่างฯ ทุกคนพร้อมรับฟังทุกกลุ่มทุกพรรค ก่อนนำข้อมูลไปสังเคราะห์เพื่อเป็นแนวทางยกร่างรธน.ต่อไป 
      ผู้สื่อข่าวรายงานว่า การประชุมเริ่มเวลา 13.30 น. ก่อนประชุมนายบวรศักดิ์ขอร้องสื่อว่าอย่าเข้าฟัง แต่อนุญาตให้เข้าไปบันทึกภาพบรรยากาศได้ชั่วครู่ ก่อนปิดห้องประชุมลับ แล้วมอบหมายโฆษก กมธ.ยกร่างฯ แถลงข่าวแทนทุกวันในเวลา 12.00 น. และ 15.00 น. สำหรับการประชุมครั้งนี้ นายบวรศักดิ์เปิดให้กมธ.ทั้ง 36 คนอภิปรายความเห็นที่เกี่ยวข้องกับการยกร่างคนละ 10 นาที ซึ่งมีการอภิปรายกันอย่างกว้างขวาง 

กปปส.ลั่นเข้าร่วม-นปช.ก็พร้อม
      วันเดียวกัน นายเอกนัฏ พร้อมพันธุ์ โฆษก กปปส. กล่าวว่า ยินดีร่วมมือกมธ.ยกร่างฯ ที่เชิญไปแสดงความเห็นในวันที่ 25 พ.ย. โดยจะเสนอเรื่องการแก้ไขระบบเลือกตั้ง ทำอย่างไรให้พรรคการเมืองเป็นของประชาชน ไม่ใช่ของนายทุน 
     นายถาวร เสนเนียม แกนนำ กปปส. กล่าวว่า ต้องหารือกันก่อนว่าจะเข้าร่วมหรือไม่ ถ้าเข้าร่วมจะส่งใครไป นำเสนอประเด็นใด ที่ผ่านมากปปส.เสนอประเด็นปฏิรูปแล้ว 6 ประเด็น ซึ่งปรากฏอยู่ในรายละเอียดการปฏิรูป 11 ด้านของสปช. 
    ขณะที่นายจตุพร พรหมพันธุ์ ประธาน นปช. กล่าวว่า เบื้องต้นกมธ.ยกร่างฯ ควรหาตัวตนให้เจอก่อน เพราะขณะนี้ต่างคนต่างเสนอสิ่งที่สวนทางความรู้สึกประชาชน ขัดหลักการประชาธิปไตย ซึ่งเลยเถิดและจะไม่เป็นประโยชน์ต่อการร่างรัฐธรรมนูญ แต่นปช.พร้อมพูดคุย แม้ไม่ได้คาดหวังว่าข้อเสนอจะได้รับการตอบสนอง 
     นายสนธยา คุณปลื้ม หัวหน้าพรรคพลังชล กล่าวว่า พรรคพร้อมร่วมมือ ส่วนจะส่งใครเป็นตัวแทนต้องหารือกันก่อน

ชูวิทย์ ไม่ไป-ภท.ส่งคนแกนนำถก
     นายสมศักดิ์ ปริศนานันทกุล ที่ปรึกษาหัวหน้าพรรคชาติไทยพัฒนา กล่าวว่า พรรคยังไม่สามารถตัดสินใจใดๆ ได้ เพราะติดปัญหาไม่สามารถประชุมพรรคการเมืองได้ตามประกาศ คสช. คงต้องรอหนังสืออย่างเป็นทางการก่อนว่า มีรายละเอียดและวัตถุ ประสงค์อย่างไรบ้าง จากนั้นพรรคจะหารือและตัดสินใจอีกครั้ง โดยคิดให้รอบคอบและดูองค์ประกอบหลายๆ อย่างประกอบกัน เพราะก่อนหน้านี้พรรคเคยประกาศว่าจะไม่ส่งตัวแทนเป็นสมาชิก สปช. 
     นายชูวิทย์ กมลวิศิษฎ์ หัวหน้าพรรครักประเทศไทย กล่าวว่า ตนไม่ไป เพราะไม่เคยเชื่อว่าการร่างรธน.ฉบับใหม่จะแก้ไขวงจรอุบาทว์ได้ โดยเฉพาะการอ้างทุจริตคดโกงหรือความขัดแย้ง เพราะปัญหาจริงๆ คือกลุ่มอำนาจที่ล้มล้างรัฐธรรมนูญซึ่งกมธ.ยกร่างฯ ไม่กล้าแตะ ดังนั้นตนพูดไปก็ไร้ประโยชน์ อย่างไรก็ตาม เห็นด้วยที่เอากลุ่มขัดแย้งมาพูดคุยกัน แต่คนที่ตบโต๊ะหรือล้มโต๊ะได้ไม่มีใครกล้า ขอให้นายบวรศักดิ์ช่วยตราในรัฐธรรม นูญให้ชัดถึงอำนาจที่ 4 คือ ทหาร ไม่ใช่อภิรัฐมนตรีอย่างที่ตีปี๊บกัน
    ผู้สื่อข่าวรายงานว่า สำหรับพรรคภูมิใจไทยนั้น แกนนำระบุว่าพรรคพร้อมร่วมมือ โดยจะส่งนายสรอรรถ กลิ่นประทุม ประธานที่ปรึกษาพรรค และนายศุภชัย ใจสมุทร รองเลขาธิการพรรค เป็นตัวแทนแสดงความคิดเห็น ขณะที่นายอนุทิน ชาญวีรกูล หัวหน้าพรรค ติดภารกิจต่างประเทศ 

ปชป.พร้อมส่ง'มาร์ค'ไปร่วม
      ด้านนายนิพิฏฐ์ อินทรสมบัติ รองหัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ กล่าวถึงกรณีกมธ.ยกร่างรัฐธรรมนูญเชิญพรรคการเมืองร่วมให้ความเห็นว่า พรรคประชาธิปัตย์พร้อมให้ความ ร่วมมือ คาดว่านายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ หัวหน้า พรรค จะเดินทางไปให้ความเห็นด้วยตนเอง พรรคมีกรอบประเด็นอยู่แล้วทั้งการเข้าสู่อำนาจ การถอนทุน องค์กรอิสระ เพราะทุกเรื่องเรามีคำตอบให้หมด และไม่มีใครเข้าใจประเด็นได้ดีเท่านายอภิสิทธิ์ การเปิดรับฟังความเห็นจากพรรคการเมืองของกมธ.ยกร่างถือว่ามาถูกทางแล้ว แต่จะเป็นประโยชน์ต่อการยกร่างหรือไม่ขึ้นอยู่กับว่าเขาจะเลือกฟังใคร
    นายนิพิฏฐ์ กล่าวว่า หากต้องการรู้ว่าการร่างรัฐธรรมนูญครั้งนี้จะออกมาเป็นอย่างไรให้ จับตาดูท่าทีของนายวิษณุ เครืองาม รองนายกฯ ซึ่งเป็นตัวจริง ส่วนนายบวรศักดิ์ อุวรรณโณ ประธานกมธ.ยกร่างฯ นั้นเป็นแค่ตัวหลอก หรือเป็นเครื่องมือเท่านั้น และเชื่อว่าจะไม่มีระบบเลือกนายกฯ โดยตรง เพราะนายวิษณุส่งสัญญาณมาแล้ว ดังนั้นคนที่ออกมาพูด เรื่องนี้ควรหยุดได้แล้ว รวมถึงข้อเสนอให้มีอภิรัฐมนตรี ก็เป็นเรื่องเลอะเทอะ ร้อนวิชาของคนในสถาบันพระปกเกล้า

พท.จี้ปปช.แจงความคืบหน้าคดีปรส.
     วันเดียวกัน ที่สำนักงานคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ (ป.ป.ช.) นายพร้อมพงศ์ นพฤทธิ์ อดีตส.ส.เพื่อไทย และนายเรืองไกร ลีกิจวัฒนะ ทีมกฎหมายพรรคเพื่อไทย ยื่นหนังสือถึงนายปานเทพ กล้าณรงค์ราญ ประธาน ป.ป.ช. ขอติดตามตรวจสอบและขอทราบผลการพิจารณา คดีปรส. มีนายศักดิ์ชัย เมทินีพิศาลกุล ผู้ช่วยเลขาธิการ ป.ป.ช. รับหนังสือแทน 
     นายพร้อมพงศ์ กล่าวว่า ปรส.ตั้งขึ้นในฐานะนิติบุคคล จัดตั้งขึ้นโดย พ.ร.ก.ปฏิรูปสถาบันการเงิน พ.ศ.2540 ทำหน้าที่กำกับดูแลสถาบันการเงินที่ถูกระงับการดำเนินกิจการ จำนวน 58 แห่ง เพื่อให้ความคุ้มครองแก่ผู้ฝากเงินและเจ้าหนี้สุจริต รวมทั้งการชำระบัญชีของสถาบันการเงิน ปรส.ไม่ได้แยกหนี้ดีและหนี้เสียออกจากกัน จนทำให้ทรัพย์สินของสถาบันการเงินที่ถูกปิดกิจการมูลค่าประมาณ 851,000 ล้านบาท ถูกประมูลขายไปเพียง 190,000 ล้านบาท สร้างความเสียหายจำนวนมหาศาล เรื่อง ดังกล่าวนำไปสู่การสอบสวนของป.ป.ช.

ห่วงมวยล้ม-เหลือ 20 วันหมดอายุ
      นายพร้อมพงศ์กล่าวว่า คดีดังกล่าวค้างอยู่ที่ป.ป.ช.มานานกว่า 10 ปีแล้ว และมีผู้ติดตามทวงถามตลอดมา ด้วยเหตุผลคดีจะขาดอายุความ สำนักงานป.ป.ช.เคยชี้แจงว่าอายุความคดีอาญาเรื่องนี้จะขาดอายุความวันที่ 30 พ.ย.นี้ เพื่อป้องกันความเสียหายต่อประเทศชาติและป้องกันมิให้ผู้กระทำผิดหลุดพ้นคดีดังกล่าวโดยไม่มีเหตุอันควร โดยเฉพาะเรื่องอายุความ จึงขอทราบผลดำเนินการพิจารณาคดี และเป็นการแจ้งเตือนการพิจารณาคดีดังกล่าวให้เรียบร้อยก่อนจะขาดอายุความ
     นายพร้อมพงศ์ กล่าวว่า คดีนี้เกิดขึ้นในรัฐบาลของนายชวน หลีกภัย มีผู้เกี่ยวข้องจำนวนมาก ทั้งตัวใหญ่ตัวเล็ก ห่วงว่าสุดท้ายจะเหลือแต่ปลาซิวปลาสร้อยที่อาจถูกฟ้อง และอายุความเหลืออีกแค่ 20 วัน จึงน่าเป็นห่วงว่าคดีนี้เป็นคดีใหญ่ครึกโครมทำไมป.ป.ช. จึงไม่แถลงรายละเอียด จึงมายื่นหนังสือ เพื่อให้ป.ป.ช.ได้รายงานประชาชนด้วย ถ้าคดีปรส. หมดอายุความลงจะทำให้ปลาใหญ่ หรือรัฐ บาลในอดีตรวมถึงคนที่เกี่ยวข้องทั้งหมดหลุดไปก็เป็นเรื่องที่น่าเสียดาย เพราะคดีปรส.เป็นการล้มบนฟูก ทำให้ประชาชนเสียภาษี ไม่ได้ประโยชน์ แต่คนที่ได้ประโยชน์คือไอ้โม่งที่อยู่เบื้องหลัง ซึ่งต่างจากคดีจำนำข้าว ที่ป.ป.ช.มีการเร่งคดีนี้ ตรวจสอบอย่างเร่งด่วนต่างจากคดีปรส. แม้แต่เรื่องนายถวิล เปลี่ยนศรี ที่มีการร้องเอาผิดน.ส.ยิ่งลักษณ์และครม.อีก หรือแม้แต่ในรัฐบาลนายอภิสิทธิ์ คดีโรงพักทดแทนที่มีความเสียหายเกิดขึ้นเกือบ 8 พันล้านบาท คดีนี้ไม่ไปถึงไหน

เรืองไกรชี้เสียหายถึง 1.2 ล้านล้าน
     นายศักดิ์ชัย เมทินีพิศาลกุล ผู้ช่วยเลขาธิการ คณะกรรมการป.ป.ช. กล่าวในขณะที่รับหนังสือ ว่า คดีที่เกี่ยวกับปรส.นั้นทางป.ป.ช. ได้ชี้มูลความผิดไปหมดทุกคดีแล้ว เรื่องอยู่ที่อสส.และก็ยังมีความเห็นว่ามีข้อไม่สมบูรณ์อยู่
   นายเรืองไกร ให้สัมภาษณ์ว่า ผู้แทนป.ป.ช. ที่เป็นคนรับหนังสือระบุว่าเรื่องนี้ป.ป.ช.ชี้มูลความผิดไปหมดแล้ว เรื่องอยู่ที่อัยการ แต่ที่เราเป็นห่วงคือคดีนี้จะหมดอายุความวันที่ 30 พ.ย. นี้ ดังนั้น ป.ป.ช.ควรใช้อำนาจหน้าที่ฟ้องร้องเอง เพื่อให้อายุความสะดุดหยุดลง ไม่ใช่ปล่อยเรื่องแล้วผลักภาระให้อัยการสูงสุด เพราะความเสียหายที่เกิดจากคดีนี้มีสูงมากถึง 8 แสนกว่าล้านและรวมดอกเบี้ยประมาณ 1.2 ล้านล้านบาท อยู่ในหนี้สาธารณะ ซึ่งตกเป็นความรับผิดชอบของเราทุกคน ใช้กัน 50 ปีก็ไม่หมด ป.ป.ช.ต้องแสดงความรับผิดชอบต่อเรื่องนี้ออกมา อย่าอ้างว่าสำนวนอยู่กับใคร เพราะเป็นองค์กรอิสระก็ต้องทำให้ชัดว่าจะทำอย่างไรเพื่อให้อายุความสะดุดหยุดลงให้ได้

ปปช.เผยไม่มีมูล-ตกไป 3 เรื่อง
      ด้านนายสรรเสริญ พลเจียก เลขาธิการป.ป.ช. กล่าวกรณีนายพร้อมพงศ์และนายเรืองไกรยื่นหนังสือติดตามและขอทราบผลการพิจารณาคดี ปรส. ของคณะกรรมการป.ป.ช. ว่า กรณีร้องเรียนกรรมการและผู้บริหาร ปรส. ได้แก่ นายธารินทร์ นิมมานเหมินทร์ นายอมเรศ ศิลาอ่อน นายจุลสิงห์ วสันตสิงห์ นางวชิรา ณ ระนอง นางวิวรรณ ธาราหิรัญโชติ นางเกษรี ณรงค์เดช นางจันทรา อาชวานันทกุล นางนงนาท สนธิสุวรรณ และนายมนตรี เจนวิทย์การ รวม 6 เรื่องนั้น ป.ป.ช.ได้แต่งตั้งอนุกรรมการไต่สวนข้อเท็จจริงทั้ง 6 เรื่อง ผลการไต่สวนพบว่าข้อกล่าวหาไม่มีมูล จึงมีมติให้ข้อกล่าวหาตกไป 3 เรื่อง และมีมติ ไม่ยกขึ้นพิจารณา เนื่องจากเป็นกรณีที่ศาลประทับรับฟ้องไว้แล้ว และอยู่ระหว่างการพิจารณาของศาล 1 เรื่อง

อ้างไม่มีคดีปรส.เหลือในปปช.แล้ว
      นายสรรเสริญ กล่าวว่า อีก 2 เรื่อง เป็นกรณีกล่าวหานายมนตรี เจนวิทย์การ เลขาธิ การปรส.ขณะนั้นว่าจำหน่ายสินทรัพย์ให้กองทุนรวมแกมม่าแคปปิตอล และกรณีจำหน่ายสินทรัพย์ให้บริษัท เงินทุนเกียรตินาคิน จำกัด (มหาชน) โดยมิชอบ เอื้อประโยชน์ให้กับผู้ซื้อ เป็นเหตุให้รัฐได้รับความเสียหาย ป.ป.ช.พิจารณาแล้วเห็นว่าการกระทำของนายมนตรีมีความผิดทางวินัย ไม่ปฏิบัติหน้าที่การงานด้วยความซื่อสัตย์สุจริต ตามข้อบังคับขององค์การเพื่อการปฏิรูประบบสถาบันการเงินว่าด้วยการพนักงาน พ.ศ.2540 และมีมูลความผิดทางอาญาฐานเป็นพนักงานปฏิบัติหรือละเว้นการปฏิบัติหน้าที่โดยมิชอบ เพื่อให้เกิดความเสียหายแก่ผู้หนึ่งผู้ใด หรือปฏิบัติหรือละเว้นการปฏิบัติหน้าที่โดยทุจริต ตาม พ.ร.บ. ว่าด้วยความผิดของพนักงานในองค์กรหรือหน่วยงานของรัฐ พ.ศ.2502 มาตรา 11 ส่วนผู้กล่าวหารายอื่นๆ เห็นว่าข้อกล่าวหาไม่มีมูล จึงมีมติให้ข้อกล่าวหาตกไป 
    นายสรรเสริญ กล่าวว่า ป.ป.ช.ส่งสำนวนให้ผู้บังคับบัญชาพิจารณาโทษทางวินัยและให้อัยการสูงสุดพิจารณาฟ้องคดีต่อศาลที่มีเขตอำนาจ โดยอัยการสูงสุดยื่นฟ้องคดีนายมนตรีต่อศาลอาญากรุงเทพใต้ทั้ง 2 คดีแล้วเมื่อวันที่ 22 พ.ค.2557 อยู่ระหว่างการพิจารณาคดีของศาล ปัจจุบันจึงไม่มีคดีกล่าวหากรรมการหรือผู้บริหารปรส. ที่อยู่ระหว่างการดำเนินการของป.ป.ช.แต่อย่างใด

เคาะถอด 39 ส.ว.แก้รธน.-13 พ.ย.
     นายสรรเสริญ ยังให้สัมภาษณ์กรณี สนช.เตรียมพิจารณาคดีถอดถอนนายนิคม และนายสมศักดิ์และกรณีน.ส.ยิ่งลักษณ์ ว่า เบื้องต้นสำนักงานป.ป.ช.เตรียมทีมที่จะเข้าให้ข้อมูลในการแถลงเปิดคดีถอดถอนทั้ง 2 คดีไว้เรียบร้อยแล้ว เป็นทีมชุดเก่าที่เคยปฏิบัติหน้าที่ในส่วนนี้มาก่อน ซึ่งทีมดังกล่าวคงต้องมีการประชุมหารือกันอย่างเป็นทางการอีกครั้งก่อนที่จะเดินทางไปเบิกความ 
     นายสรรเสริญ กล่าวว่า สำหรับกรณีถอด ถอน 39 ส.ว. ปมแก้ไขรัฐธรรมนูญที่มาของส.ว.โดยมิชอบ จะรายงานเรื่องดังกล่าวเข้าสู่ที่ประชุมคณะกรรมการ ป.ป.ช.ชุดใหญ่ วันพฤหัสบดีที่ 13 พ.ย.นี้ เพื่อให้ที่ประชุมพิจารณา ว่าจะมีมติส่งเรื่องดังกล่าวให้ สนช.พิจารณาถอดถอนหรือไม่ 

เผยเบื้องหลังสมบัตินั่งปธ.กมธ.
      ผู้สื่อข่าวรายงานว่า ประธานคณะกรรมา ธิการปฏิรูปทั้ง 18 คณะ ส่วนใหญ่วางตัวประธานเรียบร้อยแล้ว ยกเว้นกรรมาธิการปฏิรูปการเมืองที่ขับเคี่ยวกันดุเดือดกันระหว่างนายชัยกับนายสมบัติ ก่อนหน้านี้นายชัยเดินเกมขอเสียงสนับสนุนจากกรรมาธิการปฏิรูปการเมืองอย่างหนัก ทำให้มีคะแนนนำนายสมบัติอยู่เล็กน้อย กระทั่งบ่ายวันที่ 11 พ.ย. ที่มีการประชุมกรรมาธิการปฏิรูปการเมือง นายชัยและนายสมบัติยังแย่งตำแหน่งประธานกันอยู่ ไม่ยอมหลีกทางให้กัน ในที่สุดที่ประชุม ต้องลงคะแนนลับ โดยมีกรรมาธิการร่วมโหวต 25 คน จากทั้งหมด 27 คน บรรยากาศนับคะแนนสูสี ผลัดกันนำ ผลัดกันตาม เมื่อนับคะแนนไปได้ 24 ใบ ทั้งคู่มีคะแนนเสมอกัน 12-12 ต้องมาลุ้นใบสุดท้าย ปรากฏว่าเป็นคะแนนของนายสมบัติ จึงชนะไปอย่างหวุด หวิด 13-12 คะแนน ส่วนนายชัยหลุดไปเป็นประธานที่ปรึกษากมธ.แทน

กมธ.ปฏิรูปพลังงานก็แข่งดุ
      ผู้สื่อข่าวรายงานว่าสาเหตุที่นายสมบัติพลิกกลับมาชนะนายชัย เนื่องจากกรรมาธิการบางคน เช่น นายประสาร มฤคพิทักษ์ นายอลงกรณ์ พลบุตร และนายประชา เตรัตน์ ช่วยขอคะแนนเสียงจากสมาชิกให้เลือกนายสมบัติในโค้งสุดท้าย ขณะเดียวกันกรรมา ธิการการเมืองหลายคนเคยร่วมเคลื่อนไหวกับกลุ่มกปปส. ทำให้คะแนนนายสมบัติพลิกกลับมาแซงชนะนายชัย 
      นอกจากนี้ กรรมาธิการปฏิรูปพลังงาน ยังมีการแย่งตำแหน่งประธานกันระหว่างนายทองฉัตร กับ นายอลงกรณ์สุดท้ายต้องโหวตตัดสิน ปรากฏว่านายทองฉัตรชนะนายอลงกรณ์ 17-10 คะแนน โดยคะแนนที่สนับสนุนนายทองฉัตรมาจากกรรมาธิการที่เป็นกลุ่มคนที่เกี่ยวข้องกับปตท. เนื่องจากนายทองฉัตรเคยเป็นอดีตผู้ว่าฯ ปตท.มาก่อน ขณะที่คะแนนสนับสนุนนายอลงกรณ์มาจากกลุ่มเอ็นจีโอ และสปช. ซึ่งมีสัดส่วนน้อยกว่าในกรรมาธิการ

บิ๊กตู่แจง'โอบามา-ปูติน' ยันไทยดีขึ้น สงบสุข-ขอเวลาปฏิรูป แข่งเดือดปธ.การเมือง สมบัติแซงปู่ชัยเข้าวิน 18กมธ.สปช.ครบแล้ว วิษณุไม่ขัด'ประชามติ' เลื่อนถอด'ปู'ไป 28 พย.

ช่วยกันปลูก - พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกฯ ร่วมกิจกรรมปลูกต้นไม้กับบรรดาผู้นำประเทศต่างๆ ระหว่างการประชุมสุดยอดผู้นำเอเปค บริเวณภายนอกศูนย์ประชุมนานาชาติ ใกล้ทะเลสาบเยี่ยนชี ทางตอนเหนือของกรุงปักกิ่ง ประเทศจีน เมื่อวันที่ 11 พฤศจิกายน



เลื่อนคดี"ปู" - นายพรเพชร วิชิตชลชัย ประธาน สนช.ประชุมวิป สนช.หารือเรื่องที่ทนาย น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร อดีตนายกฯ ขอเลื่อนการเปิดคดีถอดถอนจากเดิมวันที่ 12 พฤศจิกายน โดยที่ประชุมมีมติให้เลื่อนเป็นวันที่ 28 พฤศจิกายน ที่อาคารรัฐสภา 2 เมื่อวันที่ 11 พฤศจิกายน



      วิป สนช.ลงมติเลื่อนถอดถอน'ปู' ยืดไป 28 พ.ย. 'บิ๊กตู่'เผย'โอบามา-ปูติน'รุมซักสถานการณ์ในไทย แจงบรรยากาศดีแล้ว ขอเวลาปฏิรูปก่อน 'สมบัติ' ปาดหน้า 'ปู่ชัย' นั่งปธ.กมธ.การเมือง

@ 'บิ๊กตู่'เผยผู้นำหลายปท.ห่วงไทย

    เมื่อวันที่ 11 พฤศจิกายน ที่กรุงปักกิ่ง สาธารณรัฐประชาชนจีน พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรีและหัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) กล่าวถึงการร่วมงานเลี้ยงผู้นำเขตเศรษฐกิจเอเปค ครั้งที่ 22 เมื่อวันที่ 10 พฤศจิกายน ว่า ได้พบผู้นำทุกประเทศ รวมถึงได้คุยกับนายบารัค โอบามา ประธานาธิบดีสหรัฐ 

     นายวลาดิมีร์ ปูติน ประธานาธิบดีรัสเซีย ทุกประเทศสอบถามถึงสถานการณ์ในประเทศไทยว่ามีความสุขกันหรือยัง ได้บอกไปว่าบรรยากาศดีแล้ว แต่ขอเวลาปฏิรูปประเทศระยะหนึ่งก่อน

     "ได้พูดกับประธานาธิบดีโอบามา เขาแสดงความเป็นห่วง ผมก็ขอบคุณที่เป็นห่วงพร้อมยืนยันจะทำให้ดีที่สุด ได้พบกับประธานาธิบดีปูติน ก็ถามว่าประเทศไทยเป็นไง เรียบร้อยหรือยัง ผมก็บอกเรียบร้อยดี ขอเวลาเราระยะหนึ่ง ทุกคนให้เกียรติซึ่งกันและกัน ไม่ได้พูดเรื่องความขัดแย้ง ผมบอกทุกประเทศว่าประเทศไทยสงบสุขพอสมควรแล้ว การท่องเที่ยวดีขึ้น พร้อมเชิญชวนให้ทุกประเทศมาเที่ยวเมืองไทยด้วย ซึ่งนายกรัฐมนตรีญี่ปุ่นและจีนบอกว่าจะยกเลิกประกาศเตือนเพื่อให้คนมาเที่ยว ทุกประเทศกล่าวขวัญถึงประเทศไทยในทางที่ดีหมด" พล.อ.ประยุทธ์กล่าว

@ 'เทียนฉาย'เชื่อกมธ.ทุกคนมีสปิริต

     ขณะที่นายเทียนฉาย กีระนันทน์ ประธาน สปช. นำสมาชิก สปช.ถ่ายภาพหมู่ร่วมกันเป็นครั้งแรก เมื่อเวลา 08.30 น. ที่รัฐสภาบริเวณลานหน้าศาลพระสยามเทวาธิราช พระเสื้อเมือง พระทรงเมือง โดยมีสมาชิก สปช.ร่วมอย่างพร้อมเพรียง ขาดเพียงนายชิงชัย หาญเจนลักษณ์ นายมนู เลียวไพโรจน์ นายธวัชชัย ยงกิตติกุล และ น.ส.อรพินท์ สพโชคชัย 

   นายเทียนฉาย ให้สัมภาษณ์ถึงกรณีการตั้งคณะกรรมาธิการ (กมธ.) วิสามัญประจำสภา 18 คณะ ที่มีบางคณะยังไม่ลงตัวว่า อย่ามองว่าเป็นความขัดแย้ง ถ้ามีสมาชิกประสงค์ร่วมกันทำงานถือเป็นของดี เพราะเป็นกระบวนการที่เป็นรากฐานประชาธิปไตย ซึ่งสมาชิกสามารถใช้วิจารณญาณโดยอิสระ เชื่อว่าจะได้ กมธ.แต่ละคณะ และตำแหน่งต่างๆ ครบโดยไม่มีปัญหาหรืออุปสรรคใดๆ

    "หากได้ กมธ.ครบทั้ง 18 คณะ เดินหน้ายกร่างกรอบที่จะนำเสนอต่อ กมธ.ยกร่างรัฐธรรมนูญได้ทันที แต่ขณะนี้ยังไม่ใช่ขั้นตอนสุดท้าย เพราะคณะกรรมาธิการกิจการ สปช. (วิป สปช.) จะได้มาจากผู้แทนทั้ง 18 คณะ รวมถึงตัวแทนจาก สปช.อีก 8 คน ที่ต้องเลือก จากนั้นวิป สปช.จะเป็นผู้กำหนดองค์ประกอบที่มา ภารกิจ หน้าที่ของกรรมาธิการอีก 5 คณะ อาทิ กมธ.รับฟังความคิดเห็นและการมีส่วนร่วม และกรรมาธิการกิจการประชาสัมพันธ์ เป็นต้น" นายเทียนฉายกล่าว และว่า ทุกคนทราบดีว่ากำลังทำอะไร ยืนยันว่าทุกคนมีสปิริตที่ดีเยี่ยมที่จะเดินหน้าทำงานอย่างมั่นคงและมั่นใจ 

@ คลื่นใต้น้ำไม่กระทบฟังความเห็น

     ผู้สื่อข่าวถามว่า ได้ขอความร่วมมือ คสช. และรัฐบาลในการจัดเวทีรับฟังความคิดเห็นหรือไม่ เนื่องจากยังมีการประกาศกฎอัยการศึกอยู่ในพื้นที่ต่างๆ นายเทียนฉายกล่าวว่า ยังไม่มีการหารือ เพราะอยู่ระหว่างเตรียมการ ต้องรอให้มี กมธ.การมีส่วนร่วม และรับฟังความคิดความเห็นก่อน 

    "เบื้องต้นทาง สปช.คงจะใช้รูปแบบการพูดคุยกับ คสช.เกี่ยวกับเรื่องดังกล่าวโดยไม่ต้องทำหนังสือแบบเป็นทางการไปยัง คสช. ซึ่งบรรยากาศขณะนี้ถือว่าไม่มีผลกระทบ ไม่มีความขัดแย้ง จึงไม่จำเป็นต้องขอยกเว้นการประกาศกฎอัยการศึกในบางพื้นที่ แต่จะใช้กระบวนการรับฟังความเห็นในรูปแบบที่มีความหลากหลาย เช่น การเปิดโอกาสให้ประชาชนส่งความเห็นมายัง สปช.โดยตรง ผ่านตู้ ปณ.หรือช่องทางอื่น" นายเทียนฉายกล่าว 

    เมื่อถามว่า อาจมีคนบางกลุ่มใช้โอกาสนี้ในการรวมตัวหรือไม่ เนื่องจากทางรัฐบาลยอมรับว่ายังมีคลื่นใต้น้ำที่ยังเคลื่อนไหวอยู่ นายเทียนฉายกล่าวว่า คงไม่เป็นเช่นนั้น เพราะการรวมตัวเพื่อให้ความเห็นที่ดีกับอนาคตของประเทศที่จะปรากฏในรัฐธรรมนูญ ไม่มีอะไรขัดกฎหมาย มั่นใจมากว่าการรับฟังความเห็นจะประสบความสำเร็จ แม้ว่ามีคลื่นใต้น้ำก็ไม่เป็นไร เพราะ สปช.อยู่บนน้ำ อยากขอให้ทุกคนเอาใจช่วยเพื่อให้การทำภารกิจเพื่อประเทศประสบความสำเร็จ

@ สปช.รับรองชื่อกมธ.18 คณะ

     เวลา 09.30 น. ที่รัฐสภา ในการประชุม สปช. มีนายบวรศักดิ์ อุวรรณโณ รองประธาน สปช.คนที่ 1 เป็นประธานประชุม ที่ประชุมได้รับทราบการแต่งตั้ง กมธ.ยกร่างรัฐธรรมนูญทั้ง 36 คน จากนั้นที่ประชุมได้มีรับรองรายชื่อ สปช.ที่เป็น กมธ.วิสามัญประจำ สปช.ทั้ง 18 คณะ ตามที่ กมธ.สามัญสรรหาผู้ที่จะดำรงตำแหน่งใน กมธ.วิสามัญประจำสภา ได้พิจารณาเสร็จแล้ว 

     มี น.ส.ทัศนา บุญทอง รองประธาน สปช.คนที่ 2 ในฐานะประธาน กมธ.สามัญสรรหาฯ เป็นผู้กล่าวรายงาน ทั้งนี้ นายบวรศักดิ์ได้แจ้งให้ กมธ.วิสามัญฯทั้ง 18 คณะแยกย้ายกันไปประชุมเพื่อเลือกตำแหน่ง ประธาน รองประธาน เลขาธิการ โฆษก และตำแหน่งอื่นๆ พร้อมทั้งให้แต่ละคณะเลือกตัวแทนคณะละ 1 คน เข้าเป็นวิป สปช. ซึ่งวิป สปช.จะต้องมีจำนวนทั้งหมด 25 คน ดังนั้น นอกเหนือจากตัวแทนคณะละ 1 คนแล้ว ที่เหลือขอให้สมาชิกที่แสดงความจำนงต้องการเป็นวิป สปช.ให้ลงชื่อได้โดยไม่จำกัดว่าเป็น กมธ.ชุดใด 

     นายบวรศักดิ์ แจ้งให้สมาชิกไปคัดเลือก กมธ.วิสามัญทั้ง 5 ด้าน ตามข้อบังคับที่ 84 เพื่อให้วิป สปช.พิจารณาอีกครั้งหนึ่ง จากนั้นได้สั่งพักการประชุมในเวลา 10.45 น. เพื่อให้สมาชิกไปเลือกตำแหน่งต่างๆ ให้เสร็จสิ้น แล้วนำกลับมาเสนอต่อที่ประชุมอีกครั้งในเวลา 14.15 น.

@ ประชุมวิปสปช.นัดแรก 12 พ.ย.

      จากนั้นเวลา 14.15 น. ที่ประชุม สปช.กลับมาประชุมอีกครั้ง โดยมีนายเทียนฉายทำหน้าที่เป็นประธานในที่ประชุม ที่ประชุมได้เสนอรายชื่อตัวแทนจากคณะกรรมาธิการวิสามัญประจำ สปช.ทั้ง 18 คณะ คณะละ 1 คน เป็นวิป สปช. และเลือกจากที่ประชุมอีกจำนวน 8 คน โดยวิป สปช.มีทั้งหมด 29 คน รวมประธาน สปช. รองประธาน 2 คน และนายจเร พันธุ์เปรื่อง เลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร เป็นวิป สปช. โดยตำแหน่ง ทั้งนี้ ก่อนสั่งปิดการประชุมในเวลา 15.50 น. นายเทียนฉายได้แจ้งให้วิป สปช.ทั้งหมดไปประชุมในวันที่ 12 พฤศจิกายน เวลา 13.30 น. ที่ห้อง 219 วันที่ 17 พฤศจิกายน นัดประชุม สปช.เวลา 09.30 น.

@ เปิดชื่อ 18 ปธ.กมธ.สปช.

      ผู้สื่อข่าวรายงานว่า ผลจากการที่คณะกรรมาธิการ 18 คณะ แยกกันประชุมเพื่อเลือกประธาน รองประธาน ปรากฏดังนี้ 1.คณะกรรมาธิการปฏิรูปการเมือง มีนายสมบัติ ธำรงธัญวงศ์ เป็นประธาน 2.คณะกรรมาธิการปฏิรูปการกีฬา มี พล.อ.ยุทธศักดิ์ ศศิประภา เป็นประธาน 3.คณะกรรมาธิการปฏิรูปค่านิยมศิลปวัฒนธรรม จริยธรรม และการศาสนา มีนายเนาวรัตน์ พงษ์ไพบูลย์ เป็นประธาน 4.คณะกรรมาธิการปฏิรูปวิทยาศาสตร์เทคโนโลยี วิจัย นวัตกรรม และทรัพย์สินทางปัญญา มีนายศักดิ์รินทร์ ภูมิรัตน เป็นประธาน 5.คณะกรรมาธิการปฏิรูปการแรงงาน มี พล.ท.เดช ปุญญบาล เป็นประธาน 6.คณะกรรมาธิการปฏิรูปการคุ้มครองผู้บริโภค มี น.ส.สารี อ๋องสมหวัง เป็นประธาน

      7.คณะกรรมาธิการปฏิรูปการศึกษา และพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ มีนายพารณ อิศรเสนา ณ อยุธยา เป็นประธาน 8.คณะกรรมาธิการปฏิรูปป้องกันและปราบปรามการทุจริตและประพฤติมิชอบ มีนายประมนต์ สุธีวงศ์ เป็นประธาน 9.คณะกรรมาธิการปฏิรูปเศรษฐกิจการเงินและการคลัง มีนายสมชัย ฤชุพันธุ์ เป็นประธาน 10.คณะกรรมาธิการปฏิรูปการท้องถิ่น มีนายพงศ์โพยม วาศภูติ เป็นประธาน 11.คณะกรรมาธิการปฏิรูปการบริหารราชการแผ่นดิน มีนายธีรยุทธ์ หล่อเลิศรัตน์ เป็นประธาน 12.คณะกรรมาธิการปฏิรูปพลังงาน มีนายทองฉัตร หงศ์ลดารมภ์ เป็นประธาน 13.คณะกรรมาธิการปฏิรูปการเกษตร อุตสาหกรรม พาณิชย์ การท่องเที่ยวและบริการ มีนายเกริกไกร จีระแพทย์ เป็นประธาน

      14.คณะกรรมาธิการปฏิรูปสาธารณสุข มีนางพรพันธุ์ บุณยรัตพันธุ์ เป็นประธาน 15.คณะกรรมาธิการปฏิรูปทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม มีนายปราโมทย์ ไม้กลัด เป็นประธาน 16.คณะกรรมาธิการปฏิรูปการสื่อสารและเทคโนโลยีสารสนเทศ มีนายจุมพล รอดคำดี เป็นประธาน 17.คณะกรรมาธิการปฏิรูปสังคม ชุมชน เด็กเยาวชน เด็กสตรี ผู้สูงอายุ ผู้พิการ และผู้ด้อยโอกาส นายอำพล จินดาวัฒนา เป็นประธาน และ 18.คณะกรรมาธิการปฏิรูปกฎหมายและกระบวนการยุติธรรม มีนายเสรี สุวรรณภานนท์ เป็นประธาน

@ สมบัติเบียด"ปู่ชัย"นั่งปธ.กมธ.

      ผู้สื่อข่าวรายงานว่า สำหรับประธาน กมธ.ปฏิรูปทั้ง 18 คณะ ส่วนใหญ่มีการวางตัวตำแหน่งประธาน กมธ.ลงตัวเป็นที่เรียบร้อยแล้วว่า ยกเว้น กมธ.ปฏิรูปการเมืองที่มีการแย่งชิงกันเป็นประธานกันอย่างดุเดือด ระหว่างนายชัย ชิดชอบ กับ นายสมบัติ ธำรงธัญวงศ์ ก่อนหน้านี้ นายชัยเดินเกมขอเสียงสนับสนุนจาก กมธ.ปฏิรูปการเมืองอย่างหนัก ทำให้มีคะแนนนำนายสมบัติอยู่เล็กน้อย จนกระทั่งช่วงบ่ายวันที่ 11 พฤศจิกายน ที่มีการประชุม กมธ.ปฏิรูปการเมือง นายชัยและนายสมบัติต่างไม่มีใครถอนตัว ในที่สุดที่ประชุมต้องมีการลงคะแนนลับเพื่อหาตัวประธาน กมธ.การเมือง โดยมี กมธ.ที่เข้าร่วมโหวตทั้งหมด 25 คน จาก 27 คน ซึ่งบรรยากาศการนับคะแนนเป็นไปอย่างคู่คี่สูสี ผลัดกันนำ ผลัดกันตาม เมื่อนับคะแนนไปได้ 24 ใบ ทั้งคู่มีคะแนนเสมอกันอยู่ที่ 12-12 คะแนน ต้องมาลุ้นนับคะแนนกันในใบสุดท้าย ปรากฏว่าเป็นคะแนนของนายสมบัติ ทำให้นายสมบัติชนะไปอย่างหวุดหวิด 13-12 คะแนน เป็นประธาน กมธ.การเมือง ส่วนนายชัยเป็นประธานที่ปรึกษาคณะ กมธ.แทน

      ผู้สื่อข่าวรายงานว่า ส่วนสาเหตุที่นายสมบัติพลิกกลับมาชนะนายชัยได้ เนื่องจากมี กมธ.การเมืองคนอื่นๆ เช่น นายประสาร มฤคพิทักษ์ นายอลงกรณ์ พลบุตร และนายประชา เตรัตน์ ช่วยกันขอคะแนนเสียงจากสมาชิกให้เลือกนายสมบัติในโค้งสุดท้าย โดยเฉพาะนายประชาที่พยายามขอคะแนนจาก สปช.กลุ่มจังหวัดบางส่วนช่วยอีกทาง ขณะเดียวกัน กมธ.การเมืองหลายคนเคยร่วมเคลื่อนไหวกับกลุ่ม กปปส. ทำให้คะแนนของนายสมบัติพลิกกลับมาแซงชนะนายชัย

@'ทองฉัตร'เฉือน'จ้อน'นั่งปธ.

       ผู้สื่อข่าวรายงานว่า กรรมาธิการปฏิรูปพลังงาน มีการแย่งตำแหน่งประธานกันระหว่างนายทองฉัตร หงศ์ลดารมภ์ กับ นายอลงกรณ์ พลบุตร ซึ่งต้องโหวตลงคะแนนตัดสินกันในที่ประชุม กมธ.ปฏิรูปพลังงาน ผลปรากฏว่านายทองฉัตรชนะนายอลงกรณ์ด้วยคะแนน 17-10 คะแนน โดยคะแนนที่สนับสนุนนายทองฉัตรมาจาก กมธ.ที่เป็นกลุ่มคนที่เกี่ยวข้องกับ ปตท. เนื่องจากนายทองฉัตรเคยเป็นอดีตผู้ว่าการ ปตท.มาก่อน ขณะที่คะแนนสนับสนุนนายอลงกรณ์มาจากกลุ่มเอ็นจีโอ และ สปช.ซึ่งมีสัดส่วนน้อยกว่าใน กมธ.

@ กมธ.ยกร่างถกโครงสร้างรธน.

      เวลา 13.30 น. ที่รัฐสภา มีการประชุม กมธ.ยกร่างรัฐธรรมนูญ โดยนายบวรศักดิ์ อุวรรณโณ ประธาน กมธ.ยกร่างรัฐธรรมนูญ ทำหน้าที่เป็นประธานการประชุมนัดที่ 2

      ต่อมานายคำนูณ สิทธิสมาน สปช. ในฐานะโฆษก กมธ.ยกร่างรัฐธรรมนูญ เปิดเผยว่า การประชุมของ กมธ.ยกร่างรัฐธรรมนูญ เพื่อพิจารณากรอบโครงสร้างของรัฐธรรมนูญต่อเนื่องจากการประชุมนัดแรก โดยการประชุมเปิดโอกาสให้ กมธ.ยกร่างรัฐธรรมนูญทั้ง 36 คน ได้แสดงความคิดเห็นในประเด็นว่าบ้านเมืองเรามาติดหล่มตรงจุดนี้ได้อย่างไรและรัฐธรรมนูญที่จะมาแก้ไขให้ประเทศไทยก้าวหลุดพ้นจากหล่มแล้วเดินหน้าไปควรเป็นอย่างไร ก่อนที่จะนำข้อมูลทั้งหมดไปวางกรอบโครงสร้างของรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ ซึ่งคาดว่าภายในวันที่ 14 พฤศจิกายน จะบรรลุกรอบโครงสร้างรัฐธรรมนูญ

@ เปิดเวทีฟังความเห็นทุกกลุ่ม

    นายคำนูณ กล่าวว่า กมธ.ยกร่างรัฐธรรมนูญเตรียมที่จะส่งหนังสือถึงพรรคการเมืองและกลุ่มที่เคลื่อนไหวทางการเมืองให้ส่งตัวแทนฝ่ายละ 5 คน มาเสนอความเห็นและแนวคิดต่างๆ ต่อ กมธ.ยกร่างรัฐธรรมนูญในหัวข้อ จะยกร่างรัฐธรรมนูญอย่างไรเพื่อให้สัมคมไทยมีอนาคตที่ดี ระหว่างวันที่ 17-25 พฤศจิกายน เวลา 10.00-12.00 น.เป็นต้นไป 

     "สำหรับการกำหนดรับฟังความเห็นของพรรคการเมืองในวันที่ 17 พฤศจิกายน จะเป็นพรรคเพื่อไทย (วันที่ 18 พฤศจิกายน พรรคประชาธิปัตย์ วันที่ 19 พฤศจิกายน พรรคภูมิใจไทยและชาติไทยพัฒนา วันที่ 20 พฤศจิกายน พรรคชาติพัฒนาและพรรคพลังชล วันที่ 21 พฤศจิกายน พรรคมาตุภูมิและพรรครักประเทศไทย" นายคำนูณกล่าว และว่า วันที่ 24 พฤศจิกายน ฟังความเห็นกลุ่มแนวร่วมประชาธิปไตยต่อต้านเผด็จการแห่งชาติ (นปช.) และวันที่ 25 พฤศจิกายน คณะกรรมการประชาชนเพื่อการเปลี่ยนแปลงประเทศไทยให้เป็นประชาธิปไตยที่สมบูรณ์อันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข (กปปส.) รวมทั้งกลุ่มพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตย (พธม.) คาดหวังว่าจะได้รับความร่วมมือจากทุกฝ่ายในการส่งตัวแทนเข้าร่วมแสดงความเห็น ซึ่งเบื้องต้นอาจเชิญมาให้ความเห็นหลายรอบ หากตัวแทนไม่สะดวกเดินทางมาก็สามารถส่งเอกสารลายลักษณ์อักษรเสนอความเห็นมาได้

    "กมธ.ทุกคนพร้อมรับฟังความเห็นจากกลุ่มทุกพรรค ก่อนนำข้อมูลที่ได้ไปสังเคราะห์เพื่อเป็นแนวทางยกร่างรัฐธรรมนูญต่อไป" นายคำนูณกล่าว

@ กปปส.พร้อมแสดงความเห็น

    นายถาวร เสนเนียม แกนนำ กปปส. เปิดเผยว่า กลุ่ม กปปส.คงต้องมีการหารือกันก่อนว่าจะเข้าร่วมหรือไม่ และถ้าเข้าร่วมจะส่งใครไป แล้วไปนำเสนอประเด็นอะไร ทั้งนี้ กปปส.ได้นำเสนอประเด็นการปฏิรูปต่างๆ ไปแล้ว 6 ประเด็น ซึ่งได้รวมอยู่ในรายละเอียดหัวข้อการปฏิรูปทั้ง 11 ด้านของทาง สปช. 

    นายเอกนัฏ พร้อมพันธุ์ แกนนำ กปปส. กล่าวว่า ตนยินดีให้ความร่วมมือกับ กมธ.ยกร่างฯที่เชิญไปแสดงความเห็นเกี่ยวกับร่างรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ สิ่งที่จะเสนอจะเน้นไปในเรื่องแก้ไขระบบการเลือกตั้ง โดยเฉพาะทำอย่างไรให้พรรคการเมืองเป็นของประชาชนไม่ใช่ของนายทุน 

@ 'ตู่'ลั่นนปช.พร้อมคุยกมธ.

     นายจตุพร พรหมพันธุ์ ประธานกลุ่ม นปช. กล่าวว่า การที่ กมธ.ยกร่างฯเชิญไปให้ความเห็นเรื่องการยกร่างรัฐธรรมนูญในวันที่ 24 พฤศจิกายนนั้น ขณะนี้ กมธ.ยกร่างฯควรหาตัวตนตัวเองให้เจอเสียก่อน เพราะต่างคนต่างนำเสนอสิ่งที่สวนความรู้สึกของประชาชนและขัดต่อหลักการประชาธิปไตย

      "เวลานี้เลยเถิดและจะไม่เป็นประโยชน์ต่อการร่างรัฐธรรมนูญ แต่ นปช.พร้อมพูดคุย แม้ไม่ได้คาดหวังว่าข้อเสนอนั้นจะได้รับการตอบสนอง เพราะการร่างรัฐธรรมนูญอยู่ภายใต้ข้อกำหนดในมาตรา 35 ของรัฐธรรมนูญฉบับชั่วคราวทั้งหมด"นายจตุพรกล่าว

@'ปึ้ง'ชี้เชิญให้ความเห็นแค่พิธีกรรม 

       นายสุรพงษ์ โตวิจักษณ์ชัยกุล อดีตรองนายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ ในฐานะคณะกรรมการกิจการพรรคเพื่อไทย (พท.) กล่าวว่า มีข้อจำกัดคือ 1.ตอนนี้ประชุมพรรคการเมืองไม่ได้ จึงหาตัวแทนไม่ได้ 2.ตัวแทนพรรคการเมือง 5 คน มาคุยกับคณะกรรมาธิการ เกิน 5 คน ผิดกฎอัยการศึก แต่ประเด็นสำคัญคือการเชิญพรรคการเมืองมาเป็นเพียงพิธีกรรม สร้างภาพความชอบธรรมหรือไม่ เพราะสุดท้ายฟังก็อาจเหมือนไม่ฟัง มีธงกันไว้แล้ว 

"คนร่างรัฐธรรมนูญรู้ปัญหาดีอยู่แล้ว ถ้าเขียนด้วยใจเป็นธรรม เป็นกลาง ก็จะเป็นผลดีกับประเทศ เขียนให้ชัดๆ ไปเลย อย่าไปเขียนแบบศรีธนญชัย เขียนเลยว่าห้ามฉีกทิ้ง ถ้าฉีกมีโทษประหารชีวิต ชัดๆ ง่ายๆ แบบนี้ไปเลย กรณีมี สปช.บางส่วนเสนอให้ทำประชามติร่างรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ก่อนประกาศใช้นั้น ถ้าร่างรัฐธรรมนูญออกมาไม่ดีแล้วไปทำประชามติ แล้วประชาชนไม่เห็นด้วยก็ต้องมายกร่างกันใหม่ จะถูกใช้เป็นข้ออ้างเพื่อยืดเวลาของ คสช.และรัฐบาลให้อยู่ได้ยาวขึ้น เกรงว่าประชาชนและประเทศไทยกำลังจะก้าวเข้าสู่กับดักทางอำนาจหรือไม่ ขอเสนอให้ สปช.ควรเร่งรัดการปฏิรูปประเด็นที่สร้างความขัดแย้งและปฏิรูปการทำงานขององค์การต่างๆ ที่เป็นบ่อเกิดของความแตกแยกเท่านั้น" นายสุรพงษ์กล่าว

@ ปชป.ส่ง"มาร์ค"ให้ข้อมูลกมธ.

      นายนิพิฏฐ์ อินทรสมบัติ รองหัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ (ปชป.) กล่าวว่า ปชป.พร้อมให้ความร่วมมือ คาดว่านายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ หัวหน้าพรรค ปชป.จะเดินทางไปให้ความเห็นด้วยตนเอง เพราะไม่มีใครเข้าใจประเด็นได้ดีเท่านายอภิสิทธิ์อีกแล้ว ซึ่งพรรคมีกรอบประเด็นอยู่แล้วทั้งการเข้าสู่อำนาจ การถอนทุน องค์กรอิสระ และการเปิดรับฟังความเห็นจากพรรคการเมืองของ กมธ.ยกร่างรัฐธรรมนูญ ถือว่ามาถูกทางแล้ว

      "แต่จะเป็นประโยชน์ต่อการยกร่างรัฐธรรมนูญหรือไม่ ขึ้นอยู่กับว่าเขาจะเลือกฟังใครระหว่างตัวแทนของแต่ละพรรค หรือจะฟังใคร จึงเห็นว่าควรจะฟังคนที่ฟังแล้วได้ประโยชน์ที่สุด" นายนิพิฏฐ์กล่าว 

@ "อ๋อย"ชี้เขียนรธน.ขวางคนถูกถอด

      นายจาตุรนต์ ฉายแสง อดีตรัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ โพสต์ข้อความลงบนเฟซบุ๊กส่วนตัวถึงประเด็นเรื่อง การถอดถอนกับการปรองดอง ว่า ที่มีการตั้งคำถามว่าเมื่อ สนช.จะถอดถอนอดีตประธานสภา 2 ท่าน ต่อด้วย น.ส.ยิ่งลักษณ์ และอาจจะรวมถึงอดีต ส.ส. ส.ว.อีกกว่า 300 คน แล้วจะปรองดองได้อย่างไรนั้น เป็นการตั้งคำถามที่อาจจะรวบรัดและทำให้เกิดความเข้าใจผิดไปได้ว่าการถอดถอนเท่ากับไม่ปรองดอง หากต้องการปรองดอง ต้องไม่ถอดถอน ความจริงถ้าพูดอย่างเป็นเหตุเป็นผลแล้ว 

     "สนช.หรือองค์กรใดๆ ในปัจจุบัน ไม่มีอำนาจถอดถอนอดีต ส.ส. ส.ว. อดีตประธานสภาหรืออดีตนายกรัฐมนตรีแล้วเนื่องจากเมื่อรัฐธรรมนูญที่ให้อำนาจในการถอดถอนได้ถูกยกเลิกไปแล้ว ปัจจุบันจึงไม่มีบทบัญญัติแห่งกฎหมายใดๆ ให้อำนาจใครในการถอดถอนบุคคลเหล่านี้ ครั้นจะออกกฎหมายกันขึ้นมาใหม่เพื่อให้อำนาจในการถอดถอนแก่ สนช.หรือใครก็ตาม ก็ไม่ได้อีก เพราะจะเท่ากับเป็นการออกกฎหมายย้อนหลังไปให้โทษแก่บุคคลเหล่านั้น"นายจาตุรนต์ระบุ 

      นายจาตุรนต์ ระบุอีกว่า ที่ สนช.จะถอดถอนนักการเมืองเป็นเรื่องไม่ชอบด้วยกฎหมาย ไม่เป็นไปตามหลักนิติธรรม ทางออกในเรื่องนี้ไม่ใช่การพยายามหาทางให้เสียงถอดถอนไม่พอ แต่คือการไม่ให้พิจารณาถอดถอนต่อไป หากจะให้เลวร้ายสุดสุดไปเลยก็ถอดถอนให้สำเร็จ แล้วก็ไปเขียนรัฐธรรมนูญกำหนดข้อห้ามเป็น ส.ส. รัฐมนตรีว่าต้องไม่เคยถูกเพิกถอนสิทธิเลือกตั้งหรือเคยถูกถอดถอนออกจากตำแหน่งมาก่อน คือออกกฎหมายย้อนหลังซ้ำแล้วซ้ำอีก

@ "ตือ"ขอหารือก่อนเคาะส่งตัวแทน

     นายสมศักดิ์ ปริศนานันทกุล ที่ปรึกษาหัวหน้าพรรคชาติไทยพัฒนา กล่าวว่า ยังไม่สามารถตัดสินใจใดๆ ได้ทั้งสิ้น เนื่องจากมีปัญหาตรงที่ไม่สามารถประชุมพรรคการเมืองได้ตามข้อห้ามตามประกาศของ คสช. ดังนั้นคงต้องรอหนังสือจากคณะกรรมาธิการยกร่างรัฐธรรมนูญให้มาถึงที่พรรคอย่างเป็นทางการก่อนว่ามีรายละเอียดและวัตถุประสงค์อย่างไรบ้าง จากนั้นทางพรรคคงจะมีการหารือและตัดสินใจอีกครั้ง

      ข่าวแจ้งว่า พรรคภูมิใจไทยนั้นพร้อมให้ความร่วมมือ และส่งตัวแทนเข้าร่วมแสดงความคิดเห็น คือ นายสรอรรถ กลิ่นประทุม ประธานที่ปรึกษาพรรค และนายศุภชัย ใจสมุทร รองเลขาธิการพรรค 

นายสนธยา คุณปลื้ม หัวหน้าพรรคพลังชล กล่าวว่า พรรคพร้อมให้ความร่วมมือกับ กมธ.ยกร่างรัฐธรรมนูญ 

@ "ชูวิทย์"ไม่ร่วมสังฆกรรม

      นายชูวิทย์ กมลวิศิษฎ์ หัวหน้าพรรครักประเทศไทย กล่าวว่า ตนไม่ไป เพราะไม่เคยเชื่อว่าการร่างรัฐธรรมนูญฉบับใหม่นี้จะสามารถแก้ไขวงจรอุบาทว์ได้ คือการอ้างการทุจริตคดโกงหรืออ้างความขัดแย้ง แต่ปัญหาคือกลุ่มอำนาจที่ล้มล้างรัฐธรรมนูญได้คือทหาร ที่ กมธ.ยกร่างฯก็ไม่กล้าพูดถึง ไม่กล้าแตะ ตนพูดไปก็ไร้ประโยชน์ สื่อก็ไม่กล้าลง 

     "แต่เห็นด้วยที่เอากลุ่มขัดแย้งมาพูดคุยกัน แต่คนที่ตบโต้ะหรือล้มโต๊ะได้ไม่มีใครกล้า จึงขอให้นายบวรศักดิ์ช่วยตราในรัฐธรรมนูญให้ชัดถึงอำนาจที่ 4 คือ ทหาร ไม่ใช่อภิรัฐมนตรีอย่างที่ตีปี๊บกัน" นายชูวิทย์กล่าว

@ อจ.แนะให้ความยุติธรรมเท่าเทียม

      นายวิบูลพงศ์ พูนประสิทธิ์ อาจารย์คณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ กล่าวถึงการชูวิสัยทัศน์ภิวัฒน์ไทย ของกลุ่ม สปช. ว่า โดยหลักการแล้วการที่จะให้ประชาชนเข้าไปมีส่วนร่วมนั้นเป็นเรื่องที่ดี เป็นเงื่อนไขที่ดี แต่การที่จะให้ประชาชนเข้าไปมีส่วนร่วมมีด้วยกัน 2 รูปแบบ คือ 1.เข้ามาร่วมตั้งแต่ขั้นตอนแรก คือเขามาร่วมพิจารณาเรื่องต่างๆ ด้วยตั้งแต่แรก ซึ่งยากที่จะทำให้คนทั้งหมดเข้ามามีส่วนร่วม แต่การที่ให้คนเข้ามามีส่วนร่วมในทางอ้อม โดยการให้เขาเข้ามาให้ข้อมูลต่างๆ มาเสนอความคิดเห็น และ 2.ให้เขามีส่วนร่วมโดยการทำประชาพิจารณ์ ซึ่งเป็นสิ่งที่ดีมาก โดยเฉพาะรัฐธรรมนูญ การทำประชาพิจารณ์จะทำให้รัฐธรรมนูญฉบับนั้นๆ มีความชอบธรรมมาก 

    นายวิบูลพงศ์ กล่าวว่า แนวทางที่จะลดความเหลื่อมล้ำ และให้ประชาชนเข้ามาตรวจสอบการทำงานได้แบบองค์กรอิสระก็เป็นข้อเสนอที่ดี แต่ต้องไปดูในรายละเอียดว่าจะทำอย่างไร เข้าใจว่าในขณะนี้กำลังอยู่ในขั้นตอนของการเสนอตุ๊กตา ซึ่งแต่ละตุ๊กตาก็มีทั้งข้อดีและข้อเสีย เพราะฉะนั้น ต้องดูว่าแต่ละตุ๊กตาที่เขาเสนอมามีรายละเอียดอย่างไร อย่างเช่นเรื่องการตั้งอภิรัฐมนตรีซึ่งมีมาตั้งแต่สมัยรัชกาลที่ 6 อาจจะใช้ได้ในสมัยนั้นแต่สมัยนี้อาจจะใช้ไม่ได้ก็ได้ ดังนั้น ต้องมาดูกันในรายละเอียดว่าแต่ละอันมีรายละเอียดแตกต่างกันอย่างไร แต่เรื่องความคิดของแต่ละคนอย่าไปว่าเขาเลย เพราะต่างคนต่างก็อยากเสนอความคิดอะไรขึ้นมาสักอย่าง แต่เมื่อถึงจุดจุดหนึ่งคงต้องมานั่งละลายพฤติกรรม เปลี่ยนแปลงไปกับสถานการณ์ที่เป็นปัจจุบัน แต่เรื่องความเหลื่อมล้ำนั้นเป็นเรื่องที่ต้องแก้ไข เพราะหากไม่แก้ไข เราก็จะต้องมีเสื้อเหลือง เสื้อแดงตลอดไป ต้องทำให้คนรู้สึกว่าเข้าถึงระบบยุติธรรมได้อย่างเท่าเทียมกัน อย่างนี้คือการปฏิรูป

@ "วิษณุ"บอกไม่รู้เรื่องอภิรัฐมนตรี 

     นายวิษณุ เครืองาม รองนายกรัฐมนตรี กล่าวที่ทำเนียบรัฐบาลถึงข้อเสนอการสร้างดุลอำนาจที่ 4 หรือ อภิรัฐมนตรีว่า ไม่มีความเห็น ไม่รู้ว่ามาจากไหน ไม่ได้เป็นคนพูด ส่วนจะเกิดขึ้นได้หรือไม่นั้นก็นึกไม่ออก ไม่รู้ว่าคืออะไร คงจะต้องไปถามคนที่เสนอ ผมไม่ได้ตามเรื่องนี้ ไม่ได้เอาใจใส่ รู้เพียงว่ามันคืออะไร แต่ไม่รู้ว่าเกี่ยวอะไรในเวลานี้และเอามาทำอะไร จึงต้องถามตามตัวผู้เสนอเอง อย่างไรก็ตาม เป็นเพียงหนึ่งในร้อยในพันข้อเสนอ ไม่เห็นมีอะไรที่ต้องตื่นเต้น ไม่เข้าใจว่าทำไมต้องตื่นเต้นและยังมีข้อเสนออื่นๆ ที่ดีอีกมาก

@ แจงรธน.3 ส่วนแค่โยนหินถามทาง

      นายวิษณุกล่าวว่า ส่วนข้อเสนอรัฐธรรมนูญ 3 ส่วนที่ได้เสนอในงานเสวนานั้น เป็นข้อเสนอหนึ่งหรืออาจจะมีส่วนที่ 4 หรือ 5 ก็ได้ ซึ่งเป็นการเสนอเป็นส่วนๆ แต่ละส่วนอาจจะแก้ไขเพิ่มเติมได้ยาก ง่ายต่างกัน หรือแม้แต่การลงประชามติอาจจะแยกกันลงก็ได้ ซึ่งจะทำให้มีการปฏิบัติกันคนละอย่างได้ ส่วน คสช.เห็นด้วยหรือไม่นั้น ไม่ทราบ เพราะยังไม่เคยได้คุยกับ คสช. แต่ที่ไปพูดนั้นเนื่องจากเป็นเวทีแสดงความคิดเห็นทางวิชาการเท่านั้น 

    "ทั้งนี้ ข้อเสนอดังกล่าวอาจจะไม่ใช่แนวทางที่ดีที่สุด พูดเท่ๆ ไปอย่างนั้น เพียงแต่หากมีข้อเสนอใดที่เสนอได้ต้องช่วยกันเสนอ แต่จะนำไปพิจารณาหรือไม่ก็เป็นเรื่องของเขา ผมไม่ทราบและไม่ได้สนใจที่จะตาม ไม่มีการล็อบบี้" นายวิษณุกล่าว และว่า สำหรับที่มีข้อเสนอจากหลายฝ่ายในขณะนี้จะสามารถตกผลึกได้หลังวันที่ 19 ธันวาคม 

      เพราะช่วงนี้เป็นช่วงของการโยนหินถามทาง เพราะให้กำหนดว่าภายใน 60 วันตั้งแต่ตั้ง สปช.ต้องมีข้อเสนอไปยัง กมธ.ยกร่างรัฐธรรมนูญ ซึ่ง 60 วันจะครบในวันที่ 19 ธันวาคม ช่วงนี้ใครมีอะไรก็เสนอได้ หลังจากนั้น กมธ.ยกร่างจะเข้าสู่กระบวนการยกร่างตั้งแต่วันที่ 20 ธันวาคมเป็นต้นไป

@ เขียนรธน.เหมือนสร้างบ้าน

    ผู้สื่อข่าวถามว่า มีแนวทางอย่างไร ไม่ให้รัฐธรรมนูญฉบับนี้เกิดความขัดแย้งและถูกฉีกบ่อยๆ นายวิษณุกล่าวว่า เป็นเรื่องที่ต้องช่วยกันคิด การทำรัฐธรรมนูญก็เหมือนการสร้างบ้าน เวลาสร้างบ้านคงไม่คิดแค่ว่าจะทำยังไงให้อยู่ในบ้านได้ด้วยความสะดวกสบายอย่างเดียว แต่ต้องคิดว่าจะทำอย่างไรไม่ให้โจรผู้ร้ายเข้าไป หรือทำอย่างไรไม่ให้เกิดน้ำท่วม ซึ่งสมัยก่อนอาจจะไม่ต้องทำ 

    "ผมจึงคิดว่าการสร้างบ้านกับรัฐธรรมนูญจึงคล้ายกันจะต้องคิดว่าภัยต่างๆ จะมีอะไรบ้าง หลายคนถามว่าทำไมต้องคิดร่างรัฐธรรมนูญป้องกันการรัฐประหารก็ทำมา 19 ฉบับ ก็ทำรัฐประหารกันเสียตั้งเยอะ เรารู้ว่าเป็นภัยหนึ่งในหลายภัย ถ้าคิดว่าเป็นภัยก็ต้องหาทางป้องกันไว้ ที่ผ่านมาก็มีการคิดและแก้ไขไปบ้างแล้ว" นายวิษณุกล่าว

@ ชี้อยากทำประชามติพร้อมจัดให้

      เมื่อถามว่า ความเป็นไปได้ในรัฐธรรมนูญฉบับนี้จะระบุข้อห้ามในการทำรัฐประหารหรือไม่ นายวิษณุกล่าวว่า เคยเขียนมาแล้วฉบับหนึ่ง แต่พอถึงเวลาเขาก็ยกเลิกทั้งฉบับ หรือเลิกมาตรานั้น สิ่งที่ห้ามไว้ก็หายไป ประโยชน์ก็ไม่มี เพราะฉะนั้น การเขียนห้ามไม่มีประโยชน์ อยู่ที่ความรู้สึกนึกคิด จิตใจ การยอมรับ อะไรที่รู้สึกว่าเป็นที่ยอมรับ เราจะหวงแหน เมื่อหวงแหนก็รู้สึกผูกพัน อย่าว่าแต่ฉีกเลยแก้ยังไม่อยากให้มีการแก้

    ผู้สื่อข่าวถามว่า การทำประชามติจะเป็นเกราะป้องกันไม่ให้รัฐธรรมนูญถูกฉีกทิ้งหรือไม่ นายวิษณุกล่าวว่า เป็นส่วนหนึ่งได้ในช่วงสั้นๆ แต่พออยู่ไปก็ห่างเหินความรู้สึกอื่นจะเข้ามา ความจำเป็นอื่นจะเข้ามา แรกๆ เมื่อทำอาจจะยังศักดิ์สิทธิ์ มั่นคง การทำประชามติสามารถนำผลประชามติไปใช้ในเรื่องอื่นได้ เช่น ยันว่าผ่านประชามติมาแล้ว นำไปกีดกันการคิดที่จะแก้ไขเพิ่มเติม หากคิดว่าทำออกมาดีที่สุดและไม่คิดจะแก้อีกแล้วในชาตินี้ก็เป็นเรื่องที่คุ้ม แต่ถ้าคิดว่าไม่เป็นไร ทำไป แก้ไป ลองไป อย่าให้ประชามติเป็นอุปสรรค ขณะนี้เริ่มมีคนเสนอแล้วว่าให้ทำประชามติบางหลักการ บางมาตรา บางหมวด เป็นไปได้ทั้งนั้น หรือจะประชามติทั้งฉบับก็ไม่ได้ว่าอะไร 

     "ผมถึงพูดตั้งแต่ต้นว่ารัฐธรรมนูญชั่วคราวฉบับปัจจุบัน ไม่ได้ปิดกั้นการทำประชามติ ถ้าประสงค์จะทำก็ทำได้ เราจงใจใส่เอาไว้ให้แล้วไปดูได้ ไม่ได้เขียนบังคับตั้งแต่แรกว่าต้องทำ ถ้าอยู่ไปอยากทำ ทำได้ บอกมาผมจัดให้"นายวิษณุกล่าว

@ เชื่อกมธ.ร่างรธน.ทุกคนมีจุดยืน

     เมื่อถามว่า หลายฝ่ายอาจกังวลว่าคนที่ยกร่างรัฐธรรมนูญไม่ได้มีความเป็นกลาง มีอคติกับนักการเมืองมาโดยตลอด นายวิษณุกล่าวว่า พูดยาก แล้วแต่คนจะมอง อยากให้มองผลงานเขาดีกว่า เพราะทุกคนก็มีจุดยืนทั้งนั้น แต่ไม่มีใครรู้ว่าเกิดมาเขาจะถูกนำมาร่างรัฐธรรมนูญ เพราะแต่ละคนก็สำแดงอภินิหารกันไปพอสมควรแล้ว แต่มาถึงจุดนี้ทุกคนต้องปรับทัศนคติ และตีตัวให้เข้ามาอยู่ในร่องรอยให้สังคมไว้วางใจ ไม่เช่นนั้นจะอยู่ไม่ได้ สุดท้ายก็ต้องอาศัยคนอื่นช่วยกันประคับประคองกันไป 

    "คนสองคนเห็นอย่างไร คนอื่นไม่เห็นด้วยเอาชนะกันไม่ได้ ขอให้ว่ากันไป เพราะการร่างรัฐธรรมนูญไม่ว่าจะเป็นโลกไหนต้องเจอปัญหาเช่นนี้ หากจะให้เป็นกลางเลยก็คงหายาก แม้จะบอกว่าคนนั้นกลาง แต่ก็มีคนออกมาบอกว่าไม่กลางอยู่ดี ฉะนั้น ไม่ต้องสนใจว่าใครเป็นคนคิดและเสนออะไรเอาหลักการที่เสนอมาปู ส่วนชอบ ไม่ชอบ ถ้าใช้ได้ก็ตกลง ใครจะเสนอก็ช่าง" นายวิษณุกล่าว

    เมื่อถามว่า มีแนวคิดเสนอให้มีผู้ว่าราชการจังหวัดมาจากการเลือกตั้งจะเป็นการสร้างความขัดแย้งเพิ่มขึ้นหรือไม่ นายวิษณุกล่าวว่า ถ้ามองไม่ขัดแย้งก็ไม่ขัดแย้ง เราเปิดโอกาสให้เขาเสนอ ถ้าเสนอแล้วเป็นความขัดแย้งก็ไม่ต้องเสนอ ไม่ต้องทำอะไร ไม่ต้องร่างอะไรกันแล้ว อย่ามองเป็นความขัดแย้งเลย

@ เลื่อนพิจารณาถอดปูเป็น 28 พ.ย.

     นพ.เจตน์ ศิรธรานนท์ โฆษกวิป สนช.แถลงข่าวถึงผลประชุมวิป สนช.ว่า วิป สนช.มีมติเลื่อนการพิจารณาถอดถอน น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร อดีตนายกฯออกไป เนื่องจากทนายความของ น.ส.ยิ่งลักษณ์ ทำหนังสือขอเลื่อนการพิจารณาคดีถอดถอนออกไป 30 วัน เพราะ น.ส.ยิ่งลักษณ์ยังไม่ได้ศึกษารายละเอียดของสำนวน ซึ่งวิป สนช.ได้รับรายงานจากเจ้าหน้าที่ว่าได้ส่งหนังสือถึง น.ส.ยิ่งลักษณ์ ไปเมื่อวันที่ 7 พฤศจิกายน ซึ่งตามข้อบังคับต้องส่งสำนวนภายใน 15 วัน ซึ่งจะตรงกับวันที่ 22 พฤศจิกายน แต่เนื่องจากเป็นวันหยุด จึงต้องเลื่อนการพิจารณาไปในวันที่ 27 พฤศจิกายน แต่ที่ประชุม สนช.ต้องพิจารณาเรื่องถอดถอนนายสมศักดิ์ เกียรติสุรนนท์ อดีตประธานรัฐสภา และนายนิคม ไวยรัชพานิช อดีตประธานวุฒิสภา กรณีแก้ไขรัฐธรรมนูญประเด็นที่มา ส.ว.โดยมิชอบ "ดังนั้น เพื่อความเป็นธรรมและให้ถูกต้องตามข้อบังคับ วิป สนช.จึงมีมติเลื่อนการพิจารณาออกไปเป็นวันที่ 28 พฤศจิกายน ซึ่งถือเป็นการพิจารณานัดแรก เพื่อกำหนดวันแถลงเปิดคดี" นพ.เจตน์กล่าว 

     นพ.เจตน์กล่าวต่อว่า วันที่ 12 พฤศจิกายน จะเปิดโอกาสให้ทนายความ น.ส.ยิ่งลักษณ์ แถลงเพิ่มเติม

 

apm

 

 

Facebook

5 ข่าวฮอตนิวส์!