WORLD7

smed PIONEER 720x100ใจฟู720x100pxgpf 720x100 66

ให้สื่องด'ข่าว-รูปแม้ว' 'บิ๊กตู่'แนะ ลดขัดแย้ง-กดดันรบ.จบวันนี้ 11 กมธ.ล็อตท้าย วิษณุโต้จุฬาคอนเน็กชั่น 'เมธี'เคลียร์ก.ต.ไร้ปัญหา ทีมกม.ปูยก 7 ปมชนสนช.

สักการะ - นายเทียนฉาย กีระนันทน์ นายบวรศักดิ์ อุวรรณโณ และ น.ส.ทัศนา บุญทอง สักการะสิ่งศักดิ์สิทธิ์ ประจำรัฐสภา ภายหลังพิธีรับพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯ แต่งตั้งเป็นประธาน และรองประธาน สปช.คนที่ 1-2 เมื่อวันที่ 3 พฤศจิกายน



เปิดตัว - เครือข่ายและองค์กรต่างๆ กว่า 30 องค์กร นำโดยนายบำรุง คะโยธา แถลงเปิดตัวสภาประชาชนเพื่อการปฏิรูป หรือ สชป. เน้นการขับเคลื่อนปฏิรูปประเทศโดยภาคพลเมือง และทำงานคู่ขนานกับ สปช. ที่อนุสรณ์สถาน 14 ตุลา ถนนราชดำเนิน เมื่อวันที่ 3 พฤศจิกายน



      'ประยุทธ์'ขอร้องสื่อหยุดนำเสนอข่าว'ทักษิณ' 'เมธี'เผยได้แจงที่ประชุม ก.ต. ไม่มีใครติดใจเรื่องขาดคุณสมบัติ 'แบลร์'แนะนายกฯใช้เวทีโลกแจงปัญหาให้เข้าใจการเมืองไทยมีความสลับซับซ้อน

@ "เทียนฉาย"ร่วมพิธีโปรดเกล้าฯ

       เมื่อเวลา 08.00 น. วันที่ 3 พฤศจิกายน บริเวณห้องโถง อาคารรัฐสภา 1 สำนักเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร ได้จัดพิธีรับพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯ แต่งตั้ง นายเทียนฉาย กีระนันทน์ ประธานสภาปฏิรูปแห่งชาติ (สปช.) นายบวรศักดิ์ อุวรรณโณ รองประธาน สปช.คนที่ 1 และ น.ส.ทัศนา บุญทอง รองประธาน สปช.คนที่ 2 อาศัยอำนาจตามความในมาตรา 28 ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย (ฉบับชั่วครา 2557) โดย พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี ในฐานะหัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) เป็นผู้รับสนองพระบรมราชโองการ มีนายจเร พันธุ์เปรื่อง เลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร ปฏิบัติหน้าที่เลขาธิการ สปช.เป็นผู้อัญเชิญพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯ

       หลังเสร็จสิ้นพิธีดังกล่าว นายเทียนฉาย พร้อมด้วยนายบวรศักดิ์ และ น.ส.ทัศนา ได้เข้าสักการะพระราชานุสาวรีย์ รัชกาลที่ 7 บริเวณหน้าอาคารรัฐสภา 1 และสักการะพระสยามเทวาธิราช พระเสื้อเมือง พระทรงเมือง และพระภูมิเจ้าที่ ที่บริเวณศาลพระสยามเทวาธิราช

@ ขอความร่วมมือสปช.ทำงานเต็มที่

      นายเทียนฉายให้สัมภาษณ์ว่า การประชุมของ สปช.ที่กำหนดวาระการพิจารณาร่างข้อบังคับการประชุม สปช. พ.ศ. .... ที่คณะกรรมาธิการ (กมธ.) ยกร่างข้อบังคับการประชุมสภาปฏิรูปแห่งชาติ พ.ศ. .... ได้ดำเนินการพิจารณาเสร็จแล้วนั้น จะเปิดโอกาสให้สมาชิก สปช.อภิปรายกันอย่างเต็มที่ ถ้าที่ประชุมมีการเห็นชอบ จะมีผลบังคับใช้ในวันที่ 4 พฤศจิกายนได้ทันที

      ต่อมา นายเทียนฉายได้ทำหน้าที่เป็นประธานการประชุม สปช.ครั้งแรกอย่างเป็นทางการ พร้อมแจ้งต่อที่ประชุมว่า หลังจากนี้ สปช.ต้องทำงานอย่างเต็มที่เพื่อให้การทำงานเดินหน้ามากที่สุดตามที่ตั้งเป้าหมายไว้ หลายเรื่องจะต้องมุ่งไปสู่ความสำเร็จ วิธีการทำงานของ สปช.ต้องไม่ทำในทำนองผู้ออกกฎหมาย และการทำงานของ สปช.ต้องใช้เวลา ความสามัคคี รวมถึงการปรองดองของ สปช.จะต้องเป็นต้นแบบให้ของคนในชาติ ส่วนการประชุม สปช.จะประชุมสัปดาห์ละ 2 วัน ทุกวันจันทร์และวันอังคาร

     ต่อมาที่ประชุมเริ่มการพิจารณาระเบียบวาระเรื่อง ร่างข้อบังคับการประชุม สปช. ตามที่ กมธ.ยกร่างข้อบังคับการประชุมได้พิจารณาเสร็จแล้ว โดยนายเทียนฉายแจ้งต่อที่ประชุมว่า ขอยกเว้นการใช้ข้อบังคับการประชุมที่ 13 ไม่ให้มีการถ่ายทอดสด เรื่องการพิจารณาร่างข้อบังคับการประชุม ทางวิทยุและโทรทัศน์รัฐสภา 

@ มติสปช.เห็นชอบรับหลักการ

       จากนั้น พล.อ.เลิศรัตน์ รัตนวานิช ประธานคณะกรรมาธิการยกร่างข้อบังคับการประชุม สปช. พ.ศ.... ได้เสนอหลักการและเหตุผลของร่างข้อบังคับการประชุมฯดังกล่าว ก่อนเปิดให้สมาชิกได้อภิปรายความเห็นวาระแรกประมาณ 15 นาที ก่อนที่ที่ประชุมจะลงมติรับหลักการวาระแรกด้วยคะแนน 204 ต่อ 1 เสียงและงดออกเสียง 1 เสียง ซึ่งนายอุดม เฟื่องฟุ้ง สปช.ด้านกฎหมายและกระบวนการยุติธรรม ได้เสนอให้ตั้ง กมธ.เต็มสภาในวาระ 2 มาพิจารณาร่างข้อบังคับการประชุมเป็นรายข้อ โดยมีสมาชิกอภิปรายแสดงความเห็นในเนื้อหาของร่างข้อบังคับฯอย่างกว้างขวาง 

      ด้าน พล.อ.เลิศรัตน์ให้สัมภาษณ์ว่า หากที่ประชุม สปช.ให้ความเห็นชอบผ่านร่างข้อบังคับการประชุม สปช.ในวันนี้ (3 พ.ย.) ทั้ง 3 วาระ คาดว่าในวันที่ 4 พฤศจิกายน จะให้สมาชิกแสดงความจำนงสมัครเป็น กมธ.วิสามัญประจำสภา 17 คณะ หลังจากนั้นในวันที่ 10 พฤศจิกายน จะมีการเปิดประชุม สปช.เพื่อรับทราบผลการบรรจุ สปช.เข้าเป็น กมธ.แต่ละคณะ เริ่มทำงานได้ทันที กมธ.แต่ละคณะจะมีเวลาถึงวันที่ 10 ธันวาคมนี้ ในการส่งความเห็นเรื่องการปฏิรูปในแต่ละด้านให้ สปช.พิจารณา อย่างไรก็ตาม ภายในวันที่ 19 ธันวาคม สปช.ต้องนำแนวทางการปฏิรูปด้านต่างๆ ส่งให้คณะ กมธ.ยกร่างรัฐธรรมนูญพิจารณาต่อไป ทั้งนี้ ระหว่างวันที่ 9-10 พฤศจิกายน สปช.จะจัดสัมมนาละลายพฤติกรรมสมาชิก สปช.ที่โรงแรมเซ็นทรา ศูนย์ราชการและคอนเวนชันเซ็นเตอร์ แจ้งวัฒนะ เพื่อเตรียมการตั้งอนุ กมธ.ชุดต่างๆ และวางแนวทางการทำงาน เพื่อให้ กมธ.วิสามัญประจำสภาทั้ง 17 คณะสามารถเริ่มทำงานได้ทันทีในวันที่ 11 พฤศจิกายนนี้

@ รุมท้วงเปลี่ยนชื่อกมธ.วิสามัญ 

     ผู้สื่อข่าวรายงานว่า การพิจารณาวาระที่ 2 มีประเด็นถกเถียงกันอย่างกว้างขวาง โดยเฉพาะข้อ 80 เรื่องการตั้ง กมธ.วิสามัญประจำสภา 17 คณะ ที่สมาชิกบางส่วน อาทิ นายดุสิต เครืองาม สปช.ด้านพลังงาน ไม่เห็นด้วยกับชื่อ กมธ.วิสามัญประจำสภา เพราะประชาชนไม่เข้าใจความหมายคำว่าวิสามัญ ควรใช้ชื่ออื่นแทน ในที่สุดที่ประชุมยอมเปลี่ยนเป็น กมธ.ปฏิรูป นอกจากนั้นสมาชิก สปช.หลายคนยังติดใจจำนวน กมธ. 17 คณะ อยากให้เพิ่มจำนวน เนื่องจาก กมธ.บางชุดมีภาระการทำงานมากเกินไป โดยสมาชิกเสนอความเห็นหลากหลายกินเวลานาน 8 ชั่วโมง ยังไม่ได้ข้อยุติ

      ต่อมาเวลา 18.30 น. กมธ.ยกร่างข้อบังคับการประชุมได้หารือ ในที่สุดยอมเพิ่ม กมธ.อีก 1 คณะ คือ กมธ.ปฏิรูปการคุ้มครองผู้บริโภค รวมมี กมธ.ทั้งสิ้น 18 คณะ และเปลี่ยนชื่อ กมธ. 4 คณะ ได้แก่ 1.กมธ.ปฏิรูปกฎหมายและกระบวนการยุติธรรม เป็น กมธ.การปฏิรูปกฎหมายและกระบวนการยุติธรรมและสิทธิพื้นฐานของประชาชน 2.กมธ.ปฏิรูปการเกษตรและอุตสาหกรรมการเกษตร เป็น กมธ.ปฏิรูปการเกษตร อุตสาหกรรม พาณิชย์ การท่องเที่ยว และบริการ 3.กมธ.ปฏิรูปการสื่อสารมวลชนและเทคโนโลยีสารสนเทศ เป็น กมธ.ปฏิรูปการสื่อสารมวลชน กิจการโทรคมนาคมและเทคโนโลยีสารสนเทศ 4.กมธ.ปฏิรูปวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี วิจัยและนวัตกรรม เป็น กมธ.วิทยาศาสตร์เทคโนโลยี ทรัพย์สินทางปัญญา วิจัยและนวัตกรรม ส่วนเรื่องความเหลื่อมล้ำและการคุ้มครองผู้บริโภคให้อยู่ในส่วนของภารกิจของ กมธ.ทุกคณะ มีจำนวน กมธ.แต่ละคณะระหว่าง 18-27 คน

@ มติเห็นชอบร่างข้อบังคับ 143 ข้อ

       เมื่อเวลา 23.00 น. ผู้สื่อข่าวรายงาน การประชุม สปช. ได้พิจารณาเห็นชอบร่างข้อบังคับการประชุม สปช. ตามที่คณะ กมธ.พิจารณายกร่างข้อบังคับการประชุมฯ พิจารณาแล้วเสร็จจำนวน 143 ข้อ ในวาระ 3 อย่างเป็นเอกฉันท์ ด้วยคะแนน 160 ต่อ 0 ทั้งนี้ นายบวรศักดิ์ อุวรรณโณ รองประธาน สปช.คนที่ 1 ในฐานะประธานการประชุมได้นัดประชุม สปช.ในวันที่ 4 พฤศจิกายน เวลา 10.00 น. มีวาระสำคัญคือตั้งคณะกรรมาธิการปฏิรูป จำนวน 18 คณะ ตามข้อบังคับที่ 81 และรับรอง กมธ.ทั้ง 18 ชุด อย่างเป็นทางการในวันที่ 11 พฤศจิกายน รวมเวลาการพิจารณากว่า 13 ชั่วโมง 

       ทั้งนี้ ภายหลังจากผ่านร่างข้อบังคับดังกล่าว ตามหมวดที่ 6 การจัดทำร่างรัฐธรรมนูญ จะทำให้นายเทียนฉาย กีระนันทน์ ประธาน สปช. สามารถแต่งตั้ง กมธ.ยกร่างรัฐธรรมนูญทั้ง 36 คน ที่ขณะนี้ยังเหลือสัดส่วนจาก คสช.และ ครม.อย่างละ 5 คน และประธานคณะ กมธ.ยกร่างรัฐธรรมนูญที่ คสช.เลือกมาอีก 1 คน ตามกำหนดการที่ คสช. วางไว้ ในวันที่ 4 พฤศจิกายนนี้ อีกด้วย 

@ "บรรเจิด"ถูกทาบทามร่วมยกร่าง

       นายบรรเจิด สิงคะเนติ คณบดีคณะนิติศาสตร์ สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ (นิด้า) เปิดเผยว่า ยอมรับว่ามีคนกลางมาทาบทามให้เป็น กมธ.ยกร่างรัฐธรรมนูญในสัดส่วน ครม.และ คสช. แต่ไม่แน่ใจว่าจะได้รับเลือกหรือไม่ 

       ขณะที่นายสุจิต บุญบงการ อดีตตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ นายชูเกียรติ รัตนชัยชาญ สมาชิก สนช. และอดีตเลขาธิการคณะกรรมการกฤษฎีกา รวมทั้งนายเจษฎ์ โทณะวณิก คณบดีคณะนิติศาสตร์ปรีดี พนมยงค์ มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์ ที่มีกระแสข่าวว่าจะมีรายชื่ออยู่ใน กมธ.ยกร่างรัฐธรรมนูญสัดส่วน คสช.และ ครม. ได้กล่าวในทำนองเดียวกันว่า ยังไม่มีการทาบทามเข้ามาโดยตรง

       สำหรับ รายชื่อผู้ที่จะมาดำรงตำแหน่งเลขานุการ กมธ.ยกร่างรัฐธรรมนูญ คาดว่ามี 2 คน คือ นายวุฒิสาร ตันไชย รองเลขาธิการสถาบันพระปกเกล้า สมาชิก สปช. กับนางกาญจนารัตน์ ลีวิโรจน์ สนช. อดีตสมาชิกสภาร่างรัฐธรรมนูญ (ส.ส.ร.) ปี 2550 ซึ่งทั้งสองต่างให้สัมภาษณ์ว่า ยังไม่มีใครทาบทามเข้ามาเช่นกัน

@ "วิษณุ"เผยได้ชื่อกมธ.ยกร่างครบ

      เมื่อเวลา 17.30 น. ที่ทำเนียบรัฐบาล นายวิษณุ เครืองาม รองนายกรัฐมนตรี ให้สัมภาษณ์ถึงความคืบหน้ารายชื่อของ กมธ.ยกร่างรัฐธรรมนูญ สัดส่วน คสช.-ครม. ที่จะพิจารณารายชื่อในการประชุมร่วมระหว่าง คสช.และ ครม.วันที่ 4 พฤศจิกายน ว่า เป็นลักษณะแยกการประชุมและแยกการเสนอ ขณะนี้ได้รายชื่อครบทั้ง 11 คนแล้ว รวมถึงประธาน กมธ.ยกร่างรัฐธรรมนูญ ซึ่งไม่สามารถเปิดเผยรายชื่อได้

      ผู้สื่อข่าวถามว่า ตัวประธาน กมธ.ยกร่างรัฐธรรมนูญได้แน่นอนแล้วใช่หรือไม่ นายวิษณุกล่าวว่า "เป็นตำแหน่งที่ไม่ชัวร์ที่สุด" เมื่อถามต่อว่า ทำไมถึงไม่ชัวร์ นายวิษณุกล่าวติดตลกว่า อยากตอบเท่ๆ เล่นๆ พูดแล้วมันเท่ดี ส่วนที่มีรายชื่อเปิดเผยตามสื่อมวลชนก็ไม่ขอตอบ ขอให้ติดตามผลในการประชุมจะดีกว่า เมื่อถามว่า ไปดึงบุคคลจาก สนช.และ สปช.มาเป็นโควต้าด้วยหรือไม่ รองนายกรัฐมนตรีกล่าวว่า รู้ว่ามีใครบ้างแต่รู้ไม่หมดและไม่อยากบอกว่ามีดึงหรือไม่มีดึง ในการตรวจสอบคุณสมบัติมีการตรวจสอบแล้ว ซึ่งระบุไว้ไม่กี่ข้อ เช่น ไม่ติดคุกติดตะราง ไม่เคยเป็นสมาชิกพรรคการเมือง 

@ โต้ข้อหา"จุฬาคอนเน็กชั่น"

      เมื่อถามว่า มีชื่อของนายอุกฤษ มงคลนาวิน นายนครินทร์ เมฆไตรรัตน์ หรือไม่ นายวิษณุกล่าวว่า ไม่ทราบ เมื่อถามว่า คนที่เป็นประธานหน้าตาดีหรือไม่ นายวิษณุกล่าวว่า ประธานขี้เหร่ที่สุด เมื่อถามต่อว่า จะเป็นโควต้าที่เป็นจุฬาฯ คอนเน็กชั่นหรือไม่ รองนายกรัฐมนตรีกล่าวว่า "ไม่รู้นะ เรื่องคอนเน็กชั่น แต่คนไทยก็หาเจอทั้งนั้น เพราะเวลาเลือกไม่ได้พิจารณาจากกลุ่ม ไม่ใช่เรื่องของคอนเน็กชั่น เพราะเราต้องการให้มีความหลากหลาย แต่เมื่อเราไปเลือกใครที่เราคิดว่าเราหลีกคอนเน็กชั่นแล้ว สื่อมวลชนก็เก่งกว่าเราไปขุดเจอว่ามีคอนเน็กชั่น คนเขาประทับตราว่าจบธรรมศาสตร์ แต่คุณก็บอกว่ามีจุฬาฯ คอนเน็กชั่น ทั้งอธิการบดี ม.รามคำแหง เราเลือกท่านเพราะคิดว่าท่านคือรามคำแหง แต่คุณก็บอกว่าเขาจบจุฬาฯ บางคนไม่ได้จบจุฬาฯ แต่เรียนสาธิตจุฬาฯ คุณก็ไปโน่นอีก" 

      เมื่อถามว่า มีการตั้งข้อสังเกตว่ามีโควต้าสำหรับ กปปส. จะทำให้รัฐธรรมนูญเป็นฉบับ กปปส. ด้วยหรือไม่ นายวิษณุกล่าวว่า "คุณไม่จำเป็นต้องเชื่อใจใครทั้ง 36 คน แต่อย่างน้อยก็มีคนที่คุณน่าจะเชื่อใจเขาอยู่บ้าง แค่นี้เขาก็ควรจะคัดท้ายกันได้อยู่บ้าง ไม่เชื่อใครก็เชื่อนายมานิจ สุขสมจิตร สักคนก็ยังได้"

@ เขียนนอกเหนือรธน.มาตรา35ได้

ผู้สื่อข่าวถามว่า การยกร่างรัฐธรรมนูญ จะเขียนนอกเหนือรัฐธรรมนูญฉบับชั่วคราว มาตรา 35 ได้หรือไม่ นายวิษณุกล่าวว่า ได้ เพราะการร่างรัฐธรรมนูญมีกรอบคือ 1.ตามมาตรา 35 ที่ต้องเขียนให้ครบตามนั้น ไม่ครบไม่ได้ 2.กรอบอื่นๆ ที่ สปช.จะเสนอแนะภายใน 60 วัน ไม่ผูกมัดอะไร ถ้าทำไม่ได้ กมธ.ก็ตอบกลับไปว่าอยากเห็นแบบไหน 3.คือสิ่งที่ กมธ.ต้องไปรับฟังความคิดเห็นจากประชาชน และ 4.กมธ.ก็คิดเอง เพราะคือเกจิทั้งนั้น

เมื่อถามว่า แสดงว่ามาตรา 35 จะเป็นมาตราหลักที่รัฐธรรมนูญต้องมีแบบนี้จะเป็นการล็อกหรือไม่ นายวิษณุกล่าวว่า จะล็อกก็ล็อกเพราะต้องการล็อกไว้ รัฏฐาธิปัตย์เขาล็อกเอาไว้ ให้ทำอย่างไร เมื่อถามว่าแบบนี้จะเรียกรัฐธรรมนูญฉบับนี้ว่าอะไร นายวิษณุยิ้มแล้วกล่าวติดตลกว่า "เกือบหลุดปากไปแล้ว อย่าให้พูดเลย" 

@ "บิ๊กตู่"มีชื่อกมธ.ยกร่างแล้ว

เมื่อเวลา 11.20 น. ที่ทำเนียบรัฐบาล พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี และหัวหน้า คสช. ให้สัมภาษณ์ถึงความพร้อมในการพิจารณาคัดสรรบุคคลเป็น กมธ.ยกร่างรัฐธรรมนูญ ในสัดส่วนของคณะรัฐมนตรี (ครม.) และ คสช. ว่า วันนี้ได้รายชื่อบุคคลมีการเตรียมการไว้ทั้งหมดแล้ว ในวันที่ 4 พฤศจิกายน จะมีการประชุมร่วมกันของ ครม. และ คสช. และจะคัดเลือกบุคคลออกมาให้ครบจำนวนตามที่รัฐธรรมนูญระบุว่า แบ่งเป็นสัดส่วน ครม. และ คสช. อย่างละ 5 คน และประธาน กมธ.ยกร่างรัฐธรรมนูญอีก 1 คน รวมทั้งหมด 11 คน

เมื่อถามว่า เป็นคนนอกหรือคนใน พล.อ.ประยุทธ์กล่าวอย่างสั้นๆ ว่า "เป็นคนในประเทศ" และว่า ขอให้ใจเย็นๆ เมื่อเปิดเผยรายชื่อออกมาแล้วจะเป็นที่ยอมรับหรือไม่ต้องฝากสื่อมวลชน ทุกคนต้องให้เกียรติซึ่งกันและกัน อย่าเพิ่งไปติติงตั้งแต่ยังไม่ทำอะไร เพราะถึงเวลาก็จะมีทั้งคนที่ยอมรับและไม่ยอมรับ แต่ละคนก็มีความคิดที่หลากหลาย ตนก็ไม่จำกัดความคิดเห็นอะไรเนื่องจากต้องการให้ทุกอย่างเดินหน้าต่อไปได้ การจะทำร่างรัฐธรรมนูญก็ต้องมีการหารือกันผ่านขั้นตอนและคนกลั่นกรองจำนวนมาก จะไปมุ่งเน้นอย่างใดอย่างหนึ่งคงไม่ได้ ทุกอย่างต้องเอาประเทศชาติเป็นหลักเพื่อให้สามารถเดินหน้าต่อได้ในอนาคต

@ ปัดพรเพชรดอดคุยกมธ.ยกร่างฯ 

เมื่อถามว่า นายพรเพชร วิชิตชลชัย ประธาน สนช. ได้มาร่วมประชุมมีการพูดคุยเกี่ยวกับรายชื่อ กมธ.ยกร่างรัฐธรรมนูญหรือไม่ พล.อ.ประยุทธ์กล่าวว่า นายพรเพชรได้มาประชุมกับคณะกรรมการอำนวยการการจัดงานเฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ในโอกาสเจริญพระชนมายุ 5 รอบ 2 เมษายน 2558 เพราะ สนช.ก็ต้องมีการจัดงานเฉลิมพระเกียรติด้วย เนื่องจากพระองค์ทรงเกี่ยวข้องกับงานหลายๆ เรื่อง

พล.อ.ประยุทธ์ให้สัมภาษณ์ถึงความเข้มงวดของ คสช.เกี่ยวกับการออกมาเคลื่อนไหวและแสดงความคิดเห็น ว่า มีการพูดคุยกันอยู่โดยให้ฝ่ายความมั่นคงไปพูดคุย ส่วนใหญ่พอเชิญมาพูดคุยรู้เรื่องทุกครั้ง เดี๋ยวคงต้องหามาตรการอื่นต่อไปแต่ก็ต้องระมัดระวัง ไม่เช่นนั้นจะกลายเป็นการจำกัดสิทธิและจะเป็นปัญหา จึงอยากขอร้องประชาชนส่วนใหญ่ให้เข้าใจช่วยกันลดแรงกดดัน ไม่เช่นนั้นเราไม่สามารถเดินไปได้ ที่ผ่านมาให้ทุกคนได้แสดงออกอยู่แล้ว แต่ถ้าการแสดงออกทำให้เกิดปัญหาก็ต้องหามาตรการอื่นต่อไป 

@ ย้ำนำม็อบออกมาผิดกฎหมาย

ผู้สื่อข่าวถามว่า ทั้งสองกลุ่มเคลื่อนไหวทางการเมืองขู่ว่าจะนำมวลชนออกมาเคลื่อนไหว หาก สนช.มีท่าทีที่ชัดเจนเกี่ยวกับอำนาจการถอด น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรี พล.อ.ประยุทธ์กล่าวว่า "หากนำม็อบออกมาก็ถือว่าผิดกฎหมาย ขอร้องว่าอย่ามีการชุมนุมกันเลย มีอะไรก็ขอให้เสนอแนะและพูดคุยกัน ถ้ามากดดันกันก็คงเป็นแบบเก่าต้องออกมาใช้กฎหมายอยู่ดี ต้องดูเหตุผลความจำเป็นด้วย วันนี้ส่วนตัวคิดว่าเราต้องก้าวพ้นคำว่ากับดักของประเทศไทยให้ได้ โดยเฉพาะกับดักประชาธิปไตย วันนี้เราเข้ามาแก้เพื่ออนาคต ถ้ายังแก้แล้วกลับไปทะเลาะกันจะมีปัญหาเรื่องเดิมๆ คงไม่ได้ อย่ามาพูดจาข่มขู่กันไปกันมา มันไม่ได้"

พล.อ.ประยุทธ์กล่าวว่า มีรายงานความเคลื่อนไหวต่างๆ ทุกวัน แต่ไม่สามารถบอกรายละเอียดได้

รัฐบาลมีมาตรการรับมืออยู่แล้ว ส่วนการบังคับใช้กฎหมายอย่างเด็ดขาดหรือไม่นั้นต้องเป็นไปตามขั้นตอน ตนไม่ได้ใจดี แต่เป็นเรื่องที่ต้องดำเนินการไปตามสถานการณ์ บางครั้งต้องใช้อำนาจในทางสร้างสรรค์ แก้ไขปัญหาชาติบ้านเมือง แต่ให้ความเป็นธรรมกับคนทุกฝ่าย แต่ถ้าจำเป็นต้องใช้กฎหมายก็ต้องใช้ 

เมื่อถามว่า แสดงว่าไม่หวั่นไหวกับนักการเมืองที่ออกมาลองของหรือไม่ นายกฯกล่าวว่า อย่าใช้คำว่าไม่หวั่นไหวเลย ได้เตรียมการรับในฐานะรัฐบาลที่เข้ามาเพื่อลดปัญหา และความขัดแย้งก็ต้องขอให้ยุติกันไปก่อน

@ ขอร้องสื่ออย่านำเสนอข่าวทักษิณ 

ส่วนประเด็นการถอดถอนนักการเมืองจะกลายเป็นเรื่องเปราะบางสำหรับรัฐบาลหรือไม่นั้น พล.อ.ประยุทธ์กล่าวว่า เป็นเรื่องของกฎหมายไม่เกี่ยวกับรัฐบาล ไม่ได้ไปก้าวล่วง ส่วนจะกระทบการทำงานของรัฐบาลหรือไม่ขึ้นอยู่กับสื่อว่าจะช่วยกันทำอย่างไรให้ปัญหาลดลง ต้องช่วยกันอธิบายให้เข้าใจว่าวันนี้ต้องทำตามกฎหมาย ระเบียบและข้อบังคับต่างๆ ถ้าใช้แต่อำนาจ อนาคตข้างหน้าปัญหาก็จะเกิดขึ้นอีก ดังนั้น วันนี้ให้ทุกอย่างเดินไปตามข้อกฎหมายถ้าใครไม่พอใจก็สามารถร้องทุกข์กล่าวโทษได้ เมื่อถามถึงที่ผ่านมายังมีภาพการเคลื่อนไหวของ พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรี อาจจะทำให้กลุ่มที่สนับสนุนยังมีการเคลื่อนไหวว่า

นายกฯกล่าวว่า "สื่อ ก็อย่าไปเสนอข่าว ถ้าใครทำผิดกฎหมายก็อย่าเสนอภาพคนที่ผิดกฎหมายก็จบแล้ว แล้วเสนอกันทำไม วันนี้อยากขอความ

ร่วมมือจากสื่อมวลชนว่าอะไรที่ยังอยู่ในกระบวนการยุติธรรมอย่าเพิ่งนำเสนอ จะเห็นได้ว่า ผมไม่ได้ไปห้ามปรามใคร เพราะยังไม่มีการตัดสินอย่างชัดเจน ถ้ามันมีคดีความอยู่แล้วขอให้สื่อช่วยลดการนำเสนอลงหน่อยได้ไหมเพราะเมื่อมีการนำเสนอขึ้นมาจะมีคนมาเปรียบเทียบว่าทำไมรัฐบาลไม่ทำอะไร ถ้าช่วยกันไม่เสนอข่าวก็เบาลง"

@ ให้มาคุยกันทั้งฝ่ายซ้ายและขวา 

นายกรัฐมนตรีกล่าวต่อว่า ในสังคมออนไลน์ที่มีการเสนอข่าวก็ปล่อยไป หนังสือพิมพ์ก็เป็นส่วนหนังสือพิมพ์ แต่ในสังคมออนไลน์มีการติดตามอยู่ บางคนก็เขียนไม่ดีนัก ถ้าเขียนในทางสร้างสรรค์ไม่ได้มีการปิดกั้น อะไรที่รับได้ก็รับได้ แต่ที่เขียนเสียหายมันไม่ได้ อย่างน้อยเป็นการละเมิดสิทธิมนุษยชน ทุกประเทศก็มีมาตรการทั้งหมดแต่ของไทยยังคุมกันไม่ได้ ทุกคนต่างเป็นเสรีภาพของสื่อ เสรีภาพของประชาชน แต่ถ้าเสรีภาพเหล่านี้นำไปสู่ความขัดแย้งหรือเป็นการละเมิดสิทธิผู้อื่นเป็นเรื่องที่ไม่สมควร อย่าต้องให้ใช้กฎหมายหรืออำนาจหรือกำลังกันเลย วันนี้ขอให้พูดจากันหาทางออกให้ได้ก่อน

"ไม่ว่าใครจะอยู่ซ้ายหรือขวาอยากให้คุยกัน ผมคิดว่าปัญหาและการเดินหน้าประเทศอยู่ที่พวกเราทุกคน อยากขอร้องสื่อว่าวันนี้ผมพยายามเต็มที่ พูดกับพวกเราอย่างใจเย็นที่สุด รู้ตัวเป็นคนค่อนข้างโมโหเร็ว วันนี้เย็นลงเยอะแล้ว ที่ผ่านมาต้องขอบคุณคำตักเตือนและข้อแนะนำ ผมคงไม่ได้เปลี่ยนบุคลิกเพราะมีหลายบุคลิกอยู่แล้ว" พล.อ.ประยุทธ์กล่าว 

เมื่อถามกรณี นายวารินทร์ บัววิรัตน์เลิศ โหรชื่อดังสำนักสุขิโต เจ้าของฉายาโหรคณะมนตรีความมั่นคงแห่งชาติ (คมช.) ระบุว่ารัฐบาลจะมีอายุ 2-3 ปี พล.อ.ประยุทธ์กล่าวว่า ให้กลับไปถามโหรวารินทร์ดู ตนไม่รู้ 

พล.อ.ประยุทธ์กล่าวถึงกรณีข้อสงสัยเกี่ยวกับการยื่นบัญชีทรัพย์สินและหนี้สินว่า ก็ว่ากันไป ให้ความร่วมมือทุกอย่างตามกฎหมายแล้ว ถ้าไม่มั่นใจคงไม่เสนอหรอก ก็แล้วแต่สื่อก็แล้วกัน ขอให้ไปดูและให้ความเป็นธรรมกับทุกคนด้วย

@ "พรเพชร"ถก"ถอดถอน"ไม่กดดัน

ที่ทำเนียบรัฐบาล นายพรเพชร วิชิตชลชัย ประธานสภานิติบัญญัติแห่งชาติ (สนช.) ให้สัมภาษณ์ถึงกรณีการเรียกประชุม สนช.เพื่อพิจารณารับเรื่องถอดถอนนายสมศักดิ์ เกียรติสุรนนท์ อดีตประธานรัฐสภา และนายนิคม ไวยรัชพานิช อดีตประธานวุฒิสภา กรณีการแก้ไขรัฐธรรมนูญเรื่องที่มา ส.ว. โดยมิชอบในวันที่ 6 พฤศจิกายน ว่าการเคลื่อนไหวของกลุ่มต่างๆ ไม่ได้เป็นการกดดันการทำงานตามหน้าที่ของ สนช. เพราะรู้ดีว่าต้องพิจารณาไปตามหลักความถูกต้อง หลักความยุติธรรม เพราะบ้านเมืองต้องอาศัยความถูกต้อง ความยุติธรรมเป็นหลัก ส่วนความถูกใจนั้นจะให้ถูกใจใครทุกคนคงไม่ได้ และไม่มีอะไรที่จะฝากถึงกลุ่มที่ระบุว่าจะออกมาเคลื่อนไหว ยืนยันว่าสนช.ทำงานเพื่อประโยชน์ของประเทศชาติ คิดถึงแต่ความถูกต้องและหลักความยุติธรรม หนักแน่น หากจะทำให้เกิดความไม่พอใจกับบางฝ่ายก็ต้องขออภัยด้วย เพราะคงทำให้ถูกใจทุกคนไม่ได้

@ โต้ไม่เคยมีใบสั่งจากคสช.

เมื่อถามว่า มีวิป สนช.บางคนระบุว่าอาจจะรับเรื่องไว้พิจารณาก่อนแล้วค่อยมาพิจารณาตามกฎหมาย ประธาน สนช.กล่าวว่า คงเป็นเพียง

วิปบางคนเท่านั้นที่พูดอย่างนั้น ถือเป็นสิทธิที่จะออกความเห็นเพราะการทำงาน สนช.เป็นอิสระ ก็แล้วแต่ที่ประชุม สนช.ว่าจะมีความคิดเห็นในเรื่องดังกล่าวอย่างไร

"ขึ้นอยู่กับที่ประชุม หน้าที่ของผมคือ ให้ข้อมูล ให้สมาชิกทราบอย่างครบถ้วนว่าเป็นอย่างไร" นายพรเพชรกล่าว ผู้สื่อข่าวถามต่อว่า ทาง สนช.ยืนยันหรือไม่ว่า คณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) ไม่สามารถสั่งเรื่องถอดถอนได้ว่าต้องพิจารณาอย่างไร นายพรเพชรกล่าวว่า ไม่เคยสั่ง ไม่จำเป็นต้องสั่งด้วย เมื่อถามว่ามีความกังวลหรือไม่ว่าเรื่องดังกล่าวจะกลายเป็นปมทางการเมืองอีก ประธาน สนช.กล่าวว่า นั่นเป็นประเด็นที่หนังสือพิมพ์พูดกัน ตนยังไม่เคยพูด เมื่อถามว่าในวันที่จะประชุมเรื่องถอดถอนต้องประสานเจ้าหน้าที่รักษาความสงบบริเวณรัฐสภาหรือไม่ นายพรเพชรกล่าวว่า ยังไม่ได้พิจารณาเรื่องนั้น

@ ปม2แนวทางถอดถอนได้หรือไม่

ผู้สื่อข่าวรายงานจากรัฐสภาว่า ความเคลื่อนไหวของสมาชิก สนช. ที่เตรียมพิจารณาสำนวนถอดถอน นายสมศักดิ์ เกียรติสุรนนท์ อดีตประธานรัฐสภา และนายนิคม ไวยรัชพานิช อดีตประธานวุฒิสภา กรณีแก้ไขรัฐธรรมนูญ ปี 2550 ที่ ป.ป.ช.ส่งสำนวนให้สนช.พิจารณานั้น ขณะนี้ สนช.ส่วนใหญ่ได้ศึกษาสำนวนดังกล่าวแล้ว ทำให้มีคำตอบอยู่ในใจ ขณะนี้มี 2 แนวทาง คือที่ประชุม สนช.มีมติรับเรื่องดังกล่าวไว้พิจารณา และ 2.มีมติไม่รับเรื่องดังกล่าว ซึ่งความเห็นแนวทางที่ 2 นั้นเนื่องจากเห็นว่าขณะนี้ไม่มีความผิดเหลืออยู่ เพราะรัฐธรรมนูญปี 2550 ที่ ป.ป.ช.ใช้อ้างฐานความผิดถูกยกเลิกไปเห็นตรงกันว่าข้อกฎหมายไม่สามารถทำอะไรได้ ทำให้สมาชิก สนช.ส่วนใหญ่ไม่กังวลว่าจะถูกฟ้องฐานละเว้นปฏิบัติหน้าที่ หากไม่รับเรื่องดังกล่าวไว้พิจารณา เพราะเป็นการใช้สิทธิโดยสุจริตใจ ขณะเดียวกัน สนช.หลายคนยังมองว่าหากที่ประชุมรับเรื่องดังกล่าวไว้พิจารณาจะมีผลกระทบต่อบรรยากาศปรองดองสมานฉันท์ที่ คสช.ให้ความสำคัญ 

@ เชื่อเสียงสนช.ไม่พอถอดถอน"ปู"

ผู้สื่อข่าวรายงานต่อว่า สนช.หลายคนยังให้ความเห็นว่าคดีนี้ตัดสินใจยากกว่าการถอดถอน น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรี ในคดีทุจริตโครงการรับจำนำข้าว ที่ ป.ป.ช.อ้างฐานความผิดตาม พ.ร.บ.ประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วย ป.ป.ช. และ พ.ร.บ.บริหารราชการแผ่นดินฯ อย่างไรก็ตาม การลงมติถอดถอนในเรื่องดังกล่าวที่ต้องใช้เสียงสมาชิก สนช. 3 ใน 5 คือจำนวน 132 เสียงขึ้นไปนั้น ทำให้มีการประเมินว่าเป็นไปได้ยากที่เสียงของสมาชิก สนช. จะเพียงพอต่อการถอดถอนได้ อีกทั้งการพิจารณาเรื่องนี้ วันที่ 6 พฤศจิกายน หากมีการลงมติรับหรือไม่รับเรื่องดังกล่าวไว้พิจารณานั้น สนช.สายทหารมีความเคลื่อนไหวโดยจะงดออกเสียง รวมทั้งหากเรื่องเข้าสู่กระบวนการถอดถอนและลงมติถอดถอนหรือไม่นั้น สายทหารก็จะงดออกเสียงเช่นกัน

นายนรนิติ เศรษฐบุตร สมาชิก สนช. กล่าวว่า การที่ สนช. พิจารณาเรื่องนี้ ประธานการประชุมก็ต้องเปิดให้สมาชิกอภิปรายอย่างเต็มที่ ส่วนจะมีมติรับหรือไม่รับพิจารณานั้นต้องดูฐานความผิด หากรับมาพิจารณาก็ต้องพิจารณาว่านายสมศักดิ์และนายนิคมมีความผิดตามรัฐธรรมนูญหรือผิดกฎหมายอื่น หากที่ประชุมมีมติรับเรื่องพิจารณาและเห็นว่ามีความผิดตามรัฐธรรมนูญ ยอมรับว่าเป็นเรื่องที่ปวดหัว เพราะรัฐธรรมนูญ ปี 2550 ถูกยกเลิกไปแล้ว

@ "ทนายปู"ค้านถอดถอน7ประเด็น

นายพิชิต ชื่นบาน คณะทำงานฝ่ายกฎหมายพรรคเพื่อไทย (พท.) และที่ปรึกษากฎหมาย น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรี แถลงผลการประชุมร่วมกับคณะทำงานเรื่องข้อยุติที่จะนำเรื่องเสนอต่อ น.ส.ยิ่งลักษณ์ เพื่อจัดทำเป็นคำคัดค้านคำสั่งประธาน สนช. เรื่องนำสำนวนคดีถอดถอน น.ส.ยิ่งลักษณ์ เข้าวาระการประชุม สนช. นัดพิเศษในวันที่ 12 พฤศจิกายน โดยมีประเด็นข้อเท็จจริงและข้อกฎหมายที่จะคัดค้านคดีถอดถอน ดังนี้ 1.หลักการคุ้มครองสิทธิเสรีภาพ คดีถอดถอนมีผลเป็นการจำกัดสิทธิและเสรีภาพของบุคคลที่รัฐธรรมนูญรับรองไว้ จะกระทำมิได้หากรัฐธรรมนูญมิได้กำหนดให้อำนาจไว้ 2.รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย (ฉบับชั่วคราว) พุทธศักราช 2557 มิได้กำหนดให้อำนาจ เรื่องการถอดถอนผู้ดำรงตำแหน่งตามกฎหมายประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการทุจริต

3.ข้อบังคับการประชุมสภานิติบัญญัติแห่งชาติ พ.ศ.2557 เฉพาะหมวด 10 ว่าด้วยการถอดถอนผู้ดำรงตำแหน่งตามกฎหมาย ประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการทุจริต ไม่เป็นไปตามหลักนิติธรรมและหลักการตรากฎหมายในระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข และตามพันธกรณีระหว่างประเทศ

@ อ้างปธ.สนช.อย่าเลือกปฏิบัติ

นายพิชิตกล่าวข้อ 4 ว่า ข้อบังคับการประชุมสภานิติบัญญัติแห่งชาติ พ.ศ.2557 เฉพาะหมวดที่ 10 ว่าด้วยการถอดถอนและการให้บุคคลพ้นจากตำแหน่ง ในส่วนที่ 1 การถอดถอนผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง ตาม พ.ร.บ.ประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการทุจริตเป็นการขัดหรือล้างประเพณีการปกครองประเทศไทยในระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุขและขัดต่อรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย (ฉบับชั่วคราว) พ.ศ.2557 มาตรา 5

5.ประธาน สนช.หรือวิป สนช.ไม่อาจเลือกปฏิบัติในการเลือกฐานความผิดในการดำเนินคดีถอดถอนให้ผิดไปจากมติคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ (ป.ป.ช.) ที่ชี้มูลความผิดต่ออดีตนายกรัฐมนตรี ในฐานะผู้ถูกกล่าวหาตามข้อบังคับหมวด 10 ส่วนที่ 1 ที่ปรากฏ ตามรายงานคณะกรรมการ ป.ป.ช.ที่เสนอต่อ สนช.หากฝ่าฝืนปฏิบัติถือเป็นการกระทำที่ขัดต่อหลักนิติธรรมและรัฐธรรมนูญมาตรา 5 เสียเอง 6.อ้างบทบัญญัติกฎหมายที่ไม่มีบทบังคับโทษมาเป็นเหตุถอดถอนไม่ได้ และ 7.ความเป็นนายกรัฐมนตรีของ น.ส.ยิ่งลักษณ์ ได้สิ้นสุดลงแล้ว ไม่ใช่ผู้ดำรงตำแหน่งตามมาตรา 58 ของ พ.ร.บ.ประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการทุจริตประพฤติมิชอบ พ.ศ.2542 

อย่างไรก็ตาม เหตุที่คัดค้านเพราะคณะทำงานเห็นว่าการตรวจสอบความชอบด้วยกฎหมายในการปฏิบัติหน้าที่ของอดีตนายกรัฐมนตรีในเรื่องคดีถอดถอน ต้องเป็นไปโดยถูกต้องชอบธรรมตามหลักนิติธรรม

@ พท.ชี้เมืองจีนต้อนรับ"แม้ว-ปู"

นายสิงห์ทอง บัวชุม ฝ่ายกฎหมายพรรคเพื่อไทย (พท.) ให้สัมภาษณ์ว่า น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรี เดินทางกลับประเทศไทยแล้ว ใช้เวลาพักผ่อนภายในบ้านพัก ไม่อยากออกไปปรากฏตัว เนื่องจากที่ผ่านมากระแสโซเชียลมีเดียโจมตี พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร อดีตนายกฯ และ น.ส.ยิ่งลักษณ์ ระหว่างช่วงไปพักผ่อนที่ประเทศจีน ที่นั่นมีข้าราชการและพี่น้องชาวจีนให้การต้อนรับและถ่ายรูปด้วยจำนวนมาก จึงอาจเกิดการเปรียบเทียบระหว่างการเดินทางไปยังต่างประเทศของผู้นำประเทศทั้งสองได้ เรื่องนี้เป็นความศรัทธา ความรัก ที่มีต่อ พ.ต.ท.ทักษิณ และ น.ส.ยิ่งลักษณ์ การได้รับการยกย่องและได้รับการต้อนรับเป็นเรื่องของความศรัทธาเชื่อมั่นในตัวบุคคล พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา ควรยอมรับสิทธิเสรีภาพขั้นพื้นฐาน ไม่ปิดหู ปิดตา ปิดปากประชาชน

"ทาง น.ส.ยิ่งลักษณ์ ขอเก็บตัวเงียบเพื่อเตรียมตัวต่อสู้คดีจำนำข้าวของ สนช. และเร็วๆ นี้ ทีมทนาย น.ส.ยิ่งลักษณ์ จะเดินทางไปยื่นหนังสือต่อประธาน สนช. คัดค้านการถอดถอน เนื่องจากรัฐธรรมนูญ 2550 สิ้นสุดลงแล้ว ประกอบกับรัฐธรรมนูญชั่วคราว พ.ศ.2557 ไม่ได้กำหนดไว้ให้ดำเนินการ สนช.ก็ไม่มีอำนาจ จึงไม่ควรดำเนินการตามคำเรียกร้องของพรรคประชาธิปัตย์ (ปชป.) และอดีตกลุ่ม 40 ส.ว.ที่อยากให้ถอดถอน หาก สนช.ฝืนลงมติถอดถอน คงต้องใช้ช่องทางกฎหมายดำเนินการต่อไป" ฝ่ายกฎหมาย พท.กล่าว

@ "เมธี"ชี้แจงในที่ประชุมก.ต.

วันเดียวกัน นายเมธี ครองแก้ว คณะกรรมการตุลาการศาลยุติธรรม (ก.ต.) ผู้ทรงคุณวุฒิ เปิดเผยภายหลังการเข้าร่วมประชุม ก.ต.ว่า การประชุม ก.ต.วันนี้ ได้ชี้แจงข้อเท็จจริงกรณีกลุ่มทนายความ 18 คน ยื่นคัดค้านตนในการดำรงตำแหน่ง ก.ต.ผู้ทรงคุณวุฒิ เพื่อให้ทราบถึงข้อเท็จจริงเรื่องดังกล่าวว่าคดีที่ถูกฟ้องร้องเป็นคดีสมัยตนดำรงตำแหน่งคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ (ป.ป.ช.) เป็นการฟ้องร้องเกี่ยวกับการทำหน้าที่ของ ป.ป.ช. และเป็นการฟ้องร้องทั้งคณะ ป.ป.ช. ไม่ใช่ฟ้องแค่ตนคนเดียว ส่วนคดีความหลักที่ถูกฟ้องต่อศาลฎีกาแผนกคดีอาญาของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมืองเมื่อประมาณ 3-4 ปีที่แล้วนั้น ศาลไม่ประทับรับฟ้องแต่อย่างใด ศาลเองก็รับรองไว้ จึงกล่าวได้ว่าเรื่องคดีความที่ถูกฟ้องร้องส่วนตัว ยังไม่เคยตกเป็นจำเลย ส่วนคดีความที่อยู่ในชั้นพิจารณาในศาลอื่นๆ เป็นคดีเกี่ยวกับการปฏิบัติหน้าที่สมัยเป็น ป.ป.ช.ทั้งสิ้น ตามกฎหมายระบุว่าในการชี้มูลของคณะกรรมการ ป.ป.ช. ย่อมไม่อาจถูกฟ้องร้องเรื่องการปฏิบัติหน้าที่ได้ 

@ ระบุไม่มีก.ต.อื่นค้านคุณสมบัติ

นายเมธีกล่าวต่อว่า ในที่ประชุม ก.ต.ได้แจ้งให้นายดิเรก อิงคนินันท์ ประธานศาลฎีกา รับทราบข้อเท็จจริงทั้งหมดแล้ว รวมทั้งสอบถามถึงกรณีประธานศาลฎีกาทำหนังสือไปยังนายพรเพชร วิชิตชลชัย

apm

 

 

Facebook

5 ข่าวฮอตนิวส์!