- Details
- Category: อบต,
- Published: Thursday, 15 May 2014 09:23
- Hits: 12831
อบต.บึงชำอ้อ ส่งเสริมเกษตรกรปลูกผัก ตามปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง-ลดรายจ่ายเพิ่มรายได้
บ้านเมือง : สมยศ แสงมณี/ปทุมธานี องค์การบริหารส่วนตำบลบึงชำอ้อ อ.หนองเสือ จ.ปทุมธานี ได้ส่งเสริมเกษตรกรตามแนวสองฝั่งคลองชลประทานที่ 7-8-9 ของตำบลบึงชำอ้อนั้น ได้มีวิถีชีวิตชายคลองโดยให้ชาวบ้านได้มีอาชีพต่างๆ เช่น อาชีพจับเลี้ยงปลาในกระชังปลา อาชีพปลูกพืชผักทำเป็นผักสวนครัวรั้วกินได้ ปลูกแคเตี้ย ปลูกปาล์ม ปลูกไผ่หวาน และพืชอื่นๆ อีกมากมายตามปรัชญาแนวเศรษฐกิจพอเพียงของ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เพื่อเป็นการลดร่ายจ่าย เพิ่มรายได้ให้กับครัวเรือน พร้อมทั้งเป็นการประหยัดในการซื้อพืชผักมาปรุงอาหารภายในครอบครัว
นายอักษร น้อยสว่าง นายกองค์การบริหารส่วนตำบลบึงชำอ้อ เปิดเผยว่า โครงการปลูกผักชายคลองตามแนวคลองชลประทานในตำบลบึงชำอ้อเป็นโครงการตามแนวทฤษฎีใหม่ โดยการสนับสนุนจากองค์การบริหารส่วนตำบล
บึงชำอ้อในการจัดหาเมล็ดพันธุ์พืชผักต่างๆ ให้กับเกษตรกรที่บ้านเรือนอาศัยใกล้กับชายคลองชลประทานอย่างต้นแคเตี้ย ผักบุ้ง พริก ข้าวโพด วอเตอร์เครส โหระภา ใบกระเพรา ถัวฝักยาว ลงปลูกในพื้นที่สาธารณะตามแนวคลองชลประทาน ซึ่งโครงดังกล่าวเป็นการนำร่องพื้นที่ว่างเปล่ามาใช้ประโยชน์โดยเป็นการปลูกพืชผักมาบริโภคในครัวเรือน และส่วนที่เหลือจากการบริโภคก็นำออกจำหน่ายซึ่งเป็นการลดค่าใช้จ่ายรวมถึงเป็นการประหยัดค่าใช้จ่ายในครัวเรือนส่วนพืชผักที่ปลูกนั้นจะใช้ปุ๋ยอินทรีย์ และสารชีวะภาพผู้ที่ซื้อนำไปบริโภคนั้นปลอดสารพิษอย่างร้อยเปอร์เซ็นต์ ซึ่งโครงการนั้นจะทำที่หน้าบ้านของเกษตรกรแต่ละบ้าน ส่วนพืชผักที่จะจำหน่ายไปแล้วนั้นก็จะเก็บเป็นทุนซื้อพันธุ์เมล็ดพืชผักไว้จำหน่ายต่อไป พร้อมทั้งเป็นการนำร่องขยายต่อไปแต่ละหมู่บ้านจนครบ 12 หมู่บ้าน
นายอักษร ยังกล่าวต่ออีกว่า โดยในตอนนี้เราเริ่มตั้งแต่หมู่ 3-4 และหมู่ 5 ซึ่งโครงการดังกล่าวมีวัตถุประสงค์แบบเศรษฐกิจพอเพียงตามแนวทฤษฎีใหม่ของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ซึ่งพระองค์ท่านทรงเป็นผู้ริเริ่มโครงการดังกล่าวมาโดยทางองค์การบริหารส่วนตำบลบึงชำอ้อ จึงได้ทำตามแนวปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงเห็นว่าเป็นประโยชน์ในแต่ละครัวเรือนคือทำแบบพอเพียงพออยู่พอใช้แต่ถ้าทำเป็นพืชเศรษฐกิจแล้วนั้นจะต้องลงทุนอย่างมากในการใส่ปุ๋ย ฉีดยา คือต้นทุนสูงโดยถ้าผลผลิตไม่ดีก็ต้องขาดทุน แต่โครงการดังกล่าวนี้เราให้เกษตรปลูกบริโภคอย่างพอเพียงแก่ครัวเรือน ซึ่งโครงการเป็นการร่วมกันระหว่าง อบต.กับชาวบ้านเกษตรกรโดยทาง อบต.ก็ช่วยในเรื่องของการลดน้ำตามบ้านเรือนที่ขาดน้ำในช่วงตอนเย็นส่วนการทำแปลงปลูกต่างๆ ชาวบ้านจะรวมกันทำพร้อมกันทีเดียว โดยการนัดวันกันเพื่อเป็นการกระตุ้นให้ชาวบ้านได้เห็นคุณค่าของพื้นที่สาธารณะประโยชน์ที่รกร้างว่างเปล่าที่ไม่มีประโยชน์โดยให้ชาวบ้านนำมาทำประโยชน์ ซึ่งการปลูกพืชผักดังกล่าวยังเป็นการ
ปรับภูมิทัศน์ให้แลดูสวยงามแล้วยังเป็นการป้องกันการทะลายของแนวตลิ่งริมคลองชลประทานได้อีกด้วย นอกจากนี้แล้วเรายังมีการปลูกปาล์มตามแนวชายคลองอยู่แล้วทั้งตำบลประมาณหนึ่งหมื่นกว่าต้น โดยปลูกตามแนวคลองถนนทุกเส้นของคลองชลประทาน ซึ่งอีกส่วนหนึ่งของทุนปลูกพืชผักนั้นเราก็นำมาจากการขายทลายปาล์มที่ปลูกชายชลประทานจัดนำมาซื้อเมล็ดพันธุ์ พร้อมทั้งพัฒนาในหมู่บ้านในการวางระบบน้ำลดแปลงผัก โดยการวางสติงเกอร์ไม่ต้องไปใช้งบประมาณของหลวงโดยใช้เงินจากการขายทลายปาล์มมาบริหารจัดการกันเองซึ่งในแต่ละหมู่บ้านจะมีการตั้งกรรมการขึ้นมาบริหารเงินนั้นเข้ากองกลางทั้งหมด ส่วนพืชผักที่ปลูกนั้นให้ดูแลกันเองของแต่ละบ้าน ซึ่งโครงการดังกล่าวนี้ถือเป็นการยกระดับคุณภาพชีวิตของเกษตรกรได้ในอีกส่วนหนึ่ง
ด้านนายวรณัฎฐ์ หนูรอต นายอำเภอหนองเสือจังหวัดปทุมธานี เปิดเผยว่า โครงการนำร่องขององค์การบริหารส่วนตำบลบึงชำอ้อ ตามแนวปรัชญา
เศรษฐกิจพอเพียงของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว นั้นถือว่าเป็นโครงการที่ดีต่อพี่น้องเกษตรกรตำบลบึงชำอ้อ ซึ่งเป็นการยกระดับคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้นโดยสามารถประหยัดค่าใช้จ่ายในครัวเรือนได้เป็นอย่างมาก โดยไม่ต้องไปซื้อพืชผักมาบริโภคและราคาในท้องตลาดนั้นก็มีราคาค่อนข้างสูง ซึ่งก็ได้สอดคล้องกับแนวทางนโยบายของกระทรวงมหาดไทยโดยการส่งเสริมการปลูกปาล์มตามแนวชายคลองชลประทาน ซึ่งเป็นพื้นที่สาธารณะที่รกร้างตั้งแต่คลอง 7 ถึงคลอง 14 เพื่อเป็นการส่งเสริมการประกอบอาชีพเสริมสร้างรายได้ให้กับชุมชนให้ขยายวงกว้างมากขึ้นภายในเขตอำเภอหนองเสือ โดยทางอำเภอได้สนับสนุนพันธุ์และปุ๋ยให้กับพี่น้องเกษตรกรโดยให้พี่น้องเกษตรกรเหล่านั้น เป็นผู้ลงแรงในการปลูกปาล์มตลอดจนการดูแลรักษากิ่งพันธุ์ปาล์มที่ปลูก สาเหตุของการปลูกปาล์มนั้นคือปาล์มเป็นพืชที่ทนน้ำและพื้นที่ปลูกปาล์มนั้นสามารถหน่วงน้ำ เพื่อแก้ปัญหาน้ำท่วมและรากของปาล์มนั้นสามารถยึดเหนี่ยวดินป้องกันการทลายของหน้าดินได้เป็นอย่างดี และอย่างน้อยก็เป็นการปรับปรุงภูมิทัศน์ตามแนวชายคลองชลประทานให้ แลดูสวยงาม และที่สำคัญเมื่อต้นปาล์มออกผลผลิตแล้วพี่น้องประชาชนสามารถตั้งกลุ่มกันไว้บริหารจัดการขายทลายปาล์ม ซึ่งรายได้ที่ได้มาจากการจำหน่าย ก็จะเป็นเงินสวัสดิการของชุมชนและให้ชุมชนเหล่านั้นบริหารจัดการกันเองเพื่อเป็นกองทุนไว้ซื้อพันธุ์ปาล์มหากมีการขยายพื้นที่ได้ในงวดต่อไปโดยไม่ต้องของบประมาณกับทางราชการได้อีกต่อไป