- Details
- Category: อบต,
- Published: Wednesday, 01 December 2021 18:44
- Hits: 7326
กรมการพัฒนาชุมชน Kick off การขับเคลื่อนการดำเนินงานขจัดความยากจนและพัฒนาคนทุกช่วงวัยอย่างยั่งยืน ตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง
นายสมคิด จันทมฤก อธิบดีกรมการพัฒนาชุมชน เป็นประธานพิธีเปิด ‘กิจกรรม Kick off การขับเคลื่อนการดำเนินงานขจัดความยากจนและพัฒนาคนทุกช่วงวัยอย่างยั่งยืน’ โดยมีคณะผู้บริหารกรมการพัฒนาชุมชน และเจ้าหน้าที่ในสังกัด พช. เข้าร่วมพิธี ณ บริเวณโถงหน้าห้องสมุด ชั้น 5 กรมการพัฒนาชุมชน
นายสมคิด จันทมฤก อธิบดีกรมการพัฒนาชุมชน เปิดเผยว่า การขจัดความยากจนและพัฒนาคนทุกช่วงวัยอย่างยั่งยืนตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง เป็นนโยบายสำคัญของรัฐบาลในการแก้ไขปัญหาความยากจน ลดความเหลื่อมล้ำ และพัฒนาคนทุกช่วงวัยอย่างบูรณาการ ดำเนินการขับเคลื่อนโดยมีศูนย์อำนวยการขจัดความยากจน และพัฒนาคนทุกช่วงวัยอย่างยั่งยืนตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง (ศจพ.) และมีการแต่งตั้งคณะกรรมการขจัดความยากจนและพัฒนาคนทุกช่วงวัยอย่างยั่งยืนตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง (คจพ.)
โดยมีรองนายกรัฐมนตรี (พลเอก ประวิตร วงศ์สุวรรณ) เป็นประธานฯ และมีการจัดตั้งกลไกในระดับต่างๆ ได้แก่ (1) ศูนย์อำนวยการขจัดความยากจนและพัฒนาคนทุกช่วงวัยอย่างยั่งยืน ตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงจังหวัด และกรุงเทพมหานคร (ศจพ.จ. และ ศจพ.กทม.) (2) ศูนย์อำนวยการปฏิบัติการขจัดความยากจนและพัฒนาคนทุกช่วงวัยอย่างยั่งยืนตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงอำเภอ และเขตในกรุงเทพมหนคร (ศจพ.อ. และ ศจพ.ข.) (3) ทีมปฏิบัติการขจัดความยากจนและพัฒนาคนทุกช่วงวัยอย่างยั่งยืนตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงในระดับพื้นที่
นายสมคิด จันทมฤก กล่าวต่อว่า แนวทางการขับเคลื่อนผ่าน 4 แนวทาง 1 เงื่อนไขการพัฒนา ดังนี้ (1) การเติมเต็มข้อมูลให้ครอบคลุมประเด็นการพัฒนาทุกมิติและทุกพื้นที่ในประเทศ(2) ร่วมแก้ไขปัญหาในระดับบุคคล/ครัวเรือน ด้วยการลงพื้นที่แก้ไขปัญหาความยากจนในกลุ่มเป้าหมายที่ต้องเร่งให้ความช่วยเหลือ ทั้งกลุ่มเป้าหมายในระบบ TPMAP ที่มีปัญหาความยากจนใน 5 มิติ ได้แก่ มิติสุขภาพ มิติความเป็นอยู่ มิติการศึกษา มิติรายได้ และมิติการเข้าถึงบริการภาครัฐ จำนวน 983,316 คน กลุ่มคนที่ ตกหล่นจากระบบ (exclusion error) และกลุ่มคนเปราะบาง เพื่อให้กลุ่มเป้าหมายสามารถอยู่รอดและดำรงชีพอยู่ได้ (3) ร่วมแก้ไขปัญหาและพัฒนาคนทุกช่วงวัยอย่างยั่งยืน
โดยให้ ศจพ. ทุกระดับร่วมกับทีมปฏิบัติการฯ และภาคีการพัฒนาที่เกี่ยวข้อง วิเคราะห์ข้อมูลเพื่อนำไปสู่การกำหนดนโยบาย ยุทธศาสตร์ แนวทาง มาตรการ และให้ส่วนราชการที่เกี่ยวข้องแปลงนโยบายไปสู่การปฏิบัติที่สอดคล้องกับสถานการณ์และข้อเท็จจริงของกลุ่มเป้าหมายและบริบทของแต่ละพื้นที่ต่อไป (4) ร่วมติดตาม ตรวจสอบ และประเมินผล ภายใต้เงื่อนไขการพัฒนา โดยใช้ระบบ TPMAP เป็นเครื่องมือสนับสนุนการแก้ไขปัญหา ความยากจนและการพัฒนาคนทุกช่วงวัยได้อย่ำงมีประสิทธิภาพ
ในโอกาสนี้ถือเป็นการเริ่มต้นที่ดี ที่สำนักงานพัฒนาชุมชนทั้ง 76 จังหวัดทั่วประเทศ จะได้ร่วมกันขับเคลื่อนการดำเนินงานขจัดความยากจนและพัฒนาคนทุกช่วงวัยอย่างยั่งยืนตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง ให้บรรลุเป้าหมายอย่างมีประสิทธิภาพ ภายใต้อุดมการณ์การทำงาน 'พัฒนาคุณภาพชีวิต พิชิตความยากจน พัฒนาคนทุกช่วงวัย'
ตามที่ยุทธศาสตร์ชาติ พ.ศ. 2561 - 2580 มีเป้าหมายการพัฒนาประเทศอย่างยั่งยืน มุ่งเน้นบรรลุวิสัยทัศน์ ‘ประเทศไทยมีความมั่นคง มั่งคั่ง ยั่งยืน เป็นประเทศที่พัฒนาแล้ว ด้วยการพัฒนาตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง’ ได้อย่างเป็นรูปธรรม ซึ่งรัฐบาลให้ความสำคัญในการขจัดความยากจนและความเหลื่อมล้ำ รวมถึงการพัฒนาคนทุกช่วงวัย เพื่อให้ประชาชนมีคุณภาพชีวิตและความเป็นอยู่ที่ดี
โดยได้มีการจัดตั้งศูนย์อำนวยการขจัดความยากจนและพัฒนาคนทุกช่วงวัยอย่างยั่งยืนตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง (ศจพ.) และคณะกรรมการขจัดความยากจนและพัฒนาคนทุกช่วงวัยอย่างยั่งยืนตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง (คจพ.) เพื่อเป็นกลไกเชิงนโยบายในการบูรณาการแก้ไขปัญหาความยากจน ลดความเหลื่อมล้ำ และพัฒนาคนทุกช่วงวัย ในทุกพื้นที่ทั่วประเทศ อย่างเป็นรูปธรรมและยั่งยืน
โดยใช้ข้อมูลจากระบบบริหารจัดการข้อมูลการพัฒนาคนแบบชี้เป้า (Thai People Map and Analytics Platform : TPMAP) ซึ่งในปัจจุบันมีกลไกการทำงานศูนย์อำนวยการขจัดความยากจน และพัฒนาคนทุกช่วงวัยอย่างยั่งยืนตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง แบ่งเป็น 3 ระดับ ได้แก่ ระดับจังหวัด โดยจัดตั้งศูนย์อำนวยการขจัดความยากจนและพัฒนาคนทุกช่วงวัยอย่างยั่งยืน ตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงจังหวัด และกรุงเทพมหานคร (ศจพ.จ. และ ศจพ.กทม.) รวม 77 ศูนย์ ระดับอำเภอ
โดยจัดตั้งศูนย์อำนวยการปฏิบัติการฯ อำเภอ และเขตในกรุงเทพมหานคร (ศจพ.อ. และ ศจพ.ข.) รวม 928 ศูนย์ และระดับปฏิบัติการ โดยจัดตั้งทีมปฏิบัติการขจัดความยากจนและพัฒนาคนทุกช่วงวัยอย่างยั่งยืนตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงในระดับพื้นที่ รวม 7,245 ทีม โดยมีการจัดตั้งทีมพี่เลี้ยงเพื่อดูแล ติดตามการแก้ปัญหาความยากจนของครัวเรือนอย่างใกล้ชิด อธิบดี พช. กล่าวทิ้งท้าย